วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นครกุสินารา ๒๘ วิหารมถากัวร์





ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=bite25&month=18-02-
2009&group=20&gblog=13




 วิหารแห่งนี้อยู่ริมถนนห่างจากสถูปที่ปรินิพพาน ประมาณ ๕๐๐ เมตร ชาวบ้านเรียกกันว่า มาถาบาบา หรือมาถา บาบากิ มูรติ มณฑีร แปลว่า มณฑปพระตาย ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางภูมิสัมผัส สร้างด้วยหินสีดำสมัยปาละ



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=bite25&month=18-02-2009&group=20&gblog=13



 เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม เมื่อมาที่นี่ครั้งแรก ได้บันทึกไว้ว่า ขุดได้ใต้ต้นโพธิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ ( ค.ศ. ๑๘๖๑ ) เป็นพระพุทธรูปในสายของมหายาน สมัยพระเจ้า กนิษกะ สูง ๕ ฟุต ๖ นิ้ว เมื่อขุดได้แล้วก็ประดิษฐานไว้บนแท่นหินของเดิม จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๖๙ ( ค.ศ. ๑๙๒๖ ) นางอูโฟเที้ยว เศรษฐีชาวพม่า ผู้บูรณะมหาปรินิพพานสถูป จึงสร้างวิหารแห่งนี้ให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป อีกด้วย


ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=bite25&month=18-02-2009&group=20&gblog=13


สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า "อุปวตฺตนสาลวนํ" หรือ อุปวัตตนะสาลวัน ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น ซึ่งหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์แล้ว กษัตริย์แห่งมัลละก็ได้ประดิษฐานพระพุทธสรีระไว้ ณ เมืองกุสินาราเป็นเวลากว่า ๗ วัน ก่อนที่จะประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ในวันที่ ๘ แห่งพุทธปรินิพพาน


สถานที่ประดิษฐานพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้าเป็นเวลา ๗ วันก่อนอัญเชิญไปถวายพระเพลิงพระบรมศพ ขอขอบคุณภาพจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/กุสินารา#/media/File:Kusinara3.jpg แคว้นมัลละ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น