วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สังสรรค์บัญชีจุฬา ฯ Shi 33



เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2556 พลอยโพยมได้รับคำชวนไปเที่ยวเกาะสีชัง หลังจากพลาดงานสังสรรค์ที่โรงแรมมมณเฑียรริเวอร์ไซด์ อดใส่ฃุดน้องใหม่นิสิต ปี 1 ไปร่วมงาน อันที่จริงพลอยโพยมทีทริปที่ตรงกัน คือ มีเพื่อนรุ่นโรงเรียนดัดดรุณี (ม.ศ.3 รุ่น 2512 ) ซึ่งรับราชการเป็นระดับ ซี 10 ที่กระทรวงคมนาคม เป็นเจ้าภาพทริปที่อ่าวมะนาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเลื่อนนัดมาชนตรงวันกัน กับ Shi 33 ทำให้พลอยโพยมอดไปเที่ยวอ่าวมะนาวย้อนความหลังครั้งยังเยาว์ ม.ศ. 1-3 ไปอย่างน่าเสียดาย

ชาว STAT 5 และกลุ่ม ก ข ของบัญชีอีก 3-4 สาวเพียงกลุ่มแค่นี้แต่อายุตัวบวกอายุน้ำหนักตัว ผลบวกที่ได้หนักหนาสาหัสทีเดียว บรรดาสาวน้อยทั้งหลายนั่งคอยพลพรรครถบัสคันใหญ่ที่ต้องใช้รถตู้ไปขนถ่ายจากริมถนนใหญ่เข้ามาที่ท่าเรือ
การไปเกาะสีชังก็ไม่ทำให้ผิดหวัง เพราะพลอยโพยมชอบอยู่ในวังวนของเรื่องวันวานมาโดยตลอด ที่เกาะสีชังมีเรื่องราวให้ย้อนรอยอดีตมากมาย
งานนี้ไได้รับโทรศัพท์ว่าใส่เสื้อผ้าให้มีแนวสีชมพูมานะแจ้งกันก่อนแต่งตัวเตรียมไปเที่ยวไม่นานเลยแต่ไม่ยุ่งยากเพราะเป็นสีโปรดของพลอยโพยมอยู่แล้ว




ฟองคลื่นในทะเล



พบเพื่อนสถิติ เพื่อนบัญชีกลุ่มใหญ่ 1 รถบัส และ1 รถตู้ ไปพร้อมกันที่เกาะลอย ลงเรือของสถาบัน ฯ ท่องทะเลข้ามฟากไปเกาะสีชัง เมื่อไปถึงก็ต้องนั่งรถสองแถวหรือรถตุ๊ก ๆ ไปยังสถานที่ต่าง ๆ





ก่อนอื่นก็ต้องไปเคารพสิ่งศักดื์สิทธิ์ประจำเกาะ คือไปไหว้ศาลเจ้าพ่อเสือ และเจ้าพ่อเขาใหญ่ และิื่ิื่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อีกหลายองค์







รับประทานอาหารกลางวัน ซื้อของที่หมายปอง เพราะขากลับจะไม่แวะที่ใดบนเกาะสีชังอีกเลย เรียบร้อยนแล้วจึงนั่งรถสองแถวไปยังพระจุฑาธุชราชฐาน ซึ่งมีคุณวันดี รักชาติ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ คอยอธิบายบอกกล่าวเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟัง







มีเรื่องราวมากมายที่ฟังแล้วก็ประทับใจมากกับพระราชฐานนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถ ในการสร้างถนนหนทาง สร้างบ่อเก็บน้ำทีทางส่งน้ำลงมาจากเขาลดหลั่นเก็บตามบ่อน้ำต่าง ๆ โดยใช้ระบบน้ำล้น เมื่อน้ำบ่อที่1 เต็มจะไหลลงมาตามทางส่งน้ำ สู่ บ่อน้ำที่ 2, 3 ,4 ...และไปยังทุก ๆ บ่อ







ทรงโปรดพระราชทานนามต้นไม้ นามสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ดังบทความในเรื่องพระจุฑาธุชราชฐาน
คุณวันดียกตัวอย่างว่า ต้นไม่ใหญ่ ๆ จะทรงพระราชทานตามนามคนลงมือปลูก เช่น คุณประวิทย์ปลูกต้นเลียบ ทรงพระราชทานนามว่า ต้นเลียบประวิทย์เป็นต้น ( ไม่แน้ใจคำว่าประวิทย์ ว่าเขียนเช่นนี้หรือไม่)
แล้วต้นเลียบหน้าตาเป็นอย่างไรกันหนอต้องติดตามอ่านรายละเอียดและภาพประกอบกันเองแล้วละ เพราะบทความจะยาวเกินไป



ดงต้นพวงชมพู







ต้นลั่นทม

ต้นเลียบ หรือผักเฮียด
มีรายละเอียดดังนี้พอเป็็นสังเขป
โพธิญาณพฤกษา
พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัสรู้
ต้นเลียบ (ต้นปิปผลิ) (ปักชำ)
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ทีปังกรพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 4 พระนามว่า พระทีปังกรพุทธเจ้า ผู้ทรงรู้แจ้งโลกในกาลทั้งปวง ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 10 เดือนเต็ม จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้เลียบ
ต้นเลียบ ในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นปิปผลิ” หรือ “ต้นปิลกฺโข” (พระคัมภีร์อภิธานนัปปทีปิกา) ไม้เลียบเป็นพืชที่จัดอยู่ในสกุล Ficus lacor วงศ์ Moraceae มีชื่อพื้นเมืองที่เรียกกันต่างไปในแต่ละท้องถิ่นของไทย คือ ไกร (กรุงเทพฯ), ผักเลือด, เลียบ (ภาคกลาง), ผักฮี, ผักเฮือก, ผักเฮือด (ภาคเหนือ), ผักเฮียด (ภาคอีสาน) ส่วนทางเพชรบุรี เรียกว่า ผักไฮ, ประจวบคีรีขันธ์ เรียกว่า ไทรเลียบ และนครราชสีมา เรียกว่า โพไทร เป็นต้น
ต้นไกรหรือต้นเลียบนี้ เป็นไม้ป่า พบในทุกสภาพป่าทั่วประเทศ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลักษณะคล้ายต้นไทร มียาง ลำต้นเป็นพูพอน เรือนยอดแผ่กว้าง กิ่งก้านแผ่สาขา เปลือกสีเทาเรียบ ใบเรียวยาวปลายแหลมคล้ายใบหอก ดอกออกเป็นกระจุกบนช่อสั้นๆตามกิ่ง ผลอ่อนสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีชมพูแดงม่วง หรือดำ เมื่อแก่เต็มที่ภายในมีเมล็ดมาก มักเป็นอาหารของนก

ช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม จะผลัดใบ และในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมจะผลิใบใหม่ ใบอ่อนสีชมพู หรือชมพูอมเขียว ดูใสแวววาวไปทั้งต้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือปักชำ
เหตุที่เรียกต้นเลียบว่า “ผัก” นั้น ก็เพราะยอดอ่อน หรือใบอ่อน สามารถรับประทานเป็นผักได้ มีรสเปรี้ยวมัน ยอดผักเฮือด 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 39 กิโลแคลอรี่
แพทย์พื้นบ้านไทยใช้เปลือกของต้นเลียบ มาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มดื่มแก้ปวดท้อง ท้องร่วง แต่แม่ลูกอ่อนที่มีอาการไอ ห้ามกินผักเฮือด เพราะจะทำให้โรคกำเริบขึ้น ส่วนยางไม้เลียบนั้นชาวบ้านมักนำมาใช้ดักนกหรือแมลง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.nanagarden.com
มีภาพต้นเลียบและรายละเอียดตามเข้าไปอ่านได้ที่
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=690683 (ยอดเลียบลวกกะทิ)


ต้นมะขาม

แม้แต่ต้นมะขามก็ทรงเรียกว่าต้นหัตถวิจารณ์ ฟังดูแล้วก็งง ว่าทำไมจึงทรงเรียกเช่นนั้น คุณวันดีอธิบายว่า เนื่องจากพระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าที่โคนต้นมะขามส่วนใหญ่มักมีหมอดูทำนายทายทักดวงชะตา และมักเป็นหมอดูลายมือลูกค้านั่นเอง พลอยโพยมและเพื่อน ๆ ฟังแล้ว ร้องอ๋อ กันตรึม







สถานที่ทั้งธรรมชาติ และสิ่งปลูกสร้างสวยงามคุ้มค่าที่ต้องต่อสู้กับไอแดดที่แทบจะแผดเผาพวกเราทุกคนให้ไหม้เกรียม





คุณวันดีพาไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีชื่อไม่ธรรมดาเพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่ พระจุฑาธุชราชฐาน พิพิธภัณฑ์นี้มีชื่อว่า "ชลทัศนสถาน" เปิดเวลา9.00-17.00 น. หยุดทุกวันจันทร์









ได้เวลาบ่ายคล้อย ตะวันย้อยลอยต่ำ ควรกลับกันได้แล้ว ก่อนกลับมีการเลี้ยงน้ำดื่มและอาหารว่างจากผู้จัดรายการทริปนี้ และยังมีเงินเหลือ หลายพันบาทร่วมบริจาคสมทบการบูรณะโบราณสถานในพระราชฐานในนาม Shi 33 ด้วย



น้ำดื่มที่จัดเตรียมไว้คอยเลี้ยงส่งอำลาพระราชฐาน เป็นน้ำใบเตยและน้ำฝาง น้ำใบเตยก็เป็นที่รู้จักกันดีของทุก ๆ คน แต่น้ำฝางนี่สิเป็นของแปลกใหม่


อาคารที่พักเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้ามาพักได้สะดวกสบายสะอาดใกล้ชายหาด






ต้นฝางที่พลอยโพยมรู้จัก คือต้นที่นำมาทำน้ำยาอุทัย เมื่อรับแก้วน้ำฝางสีสดสวยก็รีีบดมกลิ่นทันที ไม่มีกลื่นน้ำยาอุทัยเลย ก็รู้สึกแปลกใจ จึงสอบถามเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ตอบว่า จะใช้น้ำหยดน้ำยาอุทัยได้ ต้องเป็นต้นที่แก่จัด แต่ที่นำมาใช้ทำน้ำฝางนี้เป็นต้นฝางอายุไม่มากนัก โดยใช้เปลือกของลำต้นมาทำ จึงไม่มีกลิ่นน้ำยาอุทัย และสีของน้ำฝางก็จะสีอ่อนกว่าสีน้ำยาอุทัย พลอยโพยมก็เลยถึงบางอ้อ































ขากลับเพื่อน ๆ และพลอยโพยมก็แวะที่ตลาดหนองมน พ่อค้าแม่ค้าบอกว่า ช่วงนี้ยอดขายไม่ค่อยดี ขายของไม่ค่อยได้กัน ก็ได้แต่ถอนหายใจเฮ้อใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น