วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

[บทความ} ปลาชะโด ..โอ้ปลาแมลงภู่

ปลาชะโด ..โอ้ปลาแมลงภู่




ปลาชะโด

กาพย์ยานี ๑๑
แมลงภู่คู่เคียงว่าย
เห็นคล้ายคล้ายน่าเชยชม

คิดความยามเมื่อสม
สนิทเคล้าเจ้าเอวบาง

กาพย์เห่เรือ เห่ชมปลา
พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์


ปลาชะโด
ปลาชะโด

ปลาชะโดหรือปลาแมลงภู่ หรือเรียกกันอีกชื่อว่า ปลาอ้ายป๊อก

ชื่อสามัญ : Giant Snake-head Fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes
อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)

เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง และเป็นปลาขนาดใหญ่สุดในวงศ์ปลาช่อน


ปลาชะโด

ลักษณะทั่วไป

มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาวทรงกระบอก ลักษณะครีบต่าง ๆ คล้ายกับปลาช่อน แต่เมื่อเติบโตเต็มวัยมีขนาดใหญ่กว่า พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม

เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด

เ มื่อเริ่มโตขึ้นมา เป็นปลาความยาวลำตัว 40-50 ซ.ม. แถบสีและลายต่าง ๆ จะเริ่มลบเลือนจางหายไปสีของลำคัวกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาล หรือ สีน้ำเงินเข้มเหลือบเขียวคล้ายสีของเปลือกหอยแมลงภู่แทนตลอดตัว

โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ปลาชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า "ปลาชะโด" หรือ "ปลาอ้ายป๊อก" เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า "ปลาแมลงภู่" ตามสีของลำตัว



ปลาชะโด

นิสัย
นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลา คือช่วง เดือนกรกฎาคม-กันยายน ปลาชะโดตัวผู้ จะทำรัง บริเวณที่มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นหนาแน่น โดยจะกัดต้นไม้น้ำทำให้ล้มเป็นแพและทำให้กอไม้น้ำนั้นแหว่งเป็นแอ่งตรงกลาง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง " และคอยกบนานนิ่งเผ้าดูแลไข่และลูกอ่อน และจะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ นี่้เป็นวาระแห่งชาติพ่อปลาชะโดที่ธรรมชาติเสกสรร และสร้างสรรค์ให้โลกนี้

ปลาชะโดมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจโดยไม่ต้องกรองผ่านช่องเหงือกเหมือนปลาช่อน จึงมักพบว่ายน้ำขึ้นมาหายใจในอากาศเป็นครั้งคราว

ถิ่นอาศัย
เป็นปลาที่พบได้ในแม่น้ำสายใหญ่ทุกภาคของประเทศไทย และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย, อินเดีย, อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย

ชะโดมีการเลี้ยงในกระชังตามแม่น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, สะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์, เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี



ลูกปลาชะโด

อาหาร-กินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า



ประโยชน์- เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นที่นิยมของผู้บริโภค มีเนื้อมาก รสชาติดี แต่เนื้อปลาแข็งมีก้างมาก บริโภคทั้งปรุงสดและตากแห้งหรือทำเป็นปลาเค็ม
นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลาขนาดเล็กหรือที่เรียกกันว่าปลาตอร์ปิโด พบมีขายในตลาดปลาสวยงามเป็นปลาตู้สวยงามและมีราคาถูก


ที่มาของข้อมูล กรมประมง และวิกิพีเดีย

มีบทความเกี่ยวกับปลาชะโดและลูกครอกปลาชะโด เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554 เรื่อง เจ้าสุดสายสวาสดิ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น