วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

[บทความ] ปลาคางเบือน .มิเคยเยือนมา

ปลาคางเบือน .มิเคยเยือนมา



ปลาคางเบือน .มิเคยเยือนมา

คางเบือนเบือนหน้ามา
ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย
กาพย์แห่ชมปลาของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)

ชื่อสามัญไทย ปลาคางเบือน (ภาคกลาง ) "ปลาเบี้ยว", "ปลาขบ" , "ปลาปากวิบ" หรือ "ปลาแก็ก"(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อสามัญอังกฤษ: Twisted-Jaw Catfish)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Belodontichthys truncatus
อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ชนิดหนึ่ง


ปลาคางเบือน





ชื่อสามัญไทย ปลาคางเบือน (ภาคกลาง ) "ปลาเบี้ยว", "ปลาขบ" , "ปลาปากวิบ" หรือ "ปลาแก็ก"(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อสามัญอังกฤษ: Twisted-Jaw Catfish)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Belodontichthys truncatus
อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ชนิดหนึ่ง

มีลักษณะทั่วไป

เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน เป็นปลาไม่มีเกล็ด

ส่วนหัวแบนข้างมากเช่นเดียวกับลำตัว รูปร่างเพรียวยาว ด้านท้ายเล็กหัวและจะงอยปากงอนขึ้นด้านบน ปากกว้างมาก คางเชิดขึ้น จึงได้ชื่อว่า "คางเบือน" มีฟันแหลมคมบนขากรรไกร ตาโตอยู่ตอนกลางของหัว ใกล้มุมปากมีหนวด 1 คู่ยาวจนถึงครีบอก ครีบหลังเล็กมาก ครีบอกใหญ่ปลายแหลม ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็กเว้าตื้น ลำตัวมีสีเงินวาวหรือเหลือบสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบก้นและครีบหางมีขอบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 35-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร

นิสัย
ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหลมากกว่าแหล่งน้ำนิ่ง ออกหากินเป็นฝูง ชอบว่ายเวียนหากินในเวลากลางคืน ไล่ต้อนกินลูกปลากุ้งฝอยสัตว์น้ำขนาดเล็กและแมลงชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร


ถิ่นอาศัย
พบในแหล่งน้ำไหลตามแม่น้ำสายใหญ่ทั่วประเทศ และแม่น้ำสาขาในภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บึงที่มีทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำเช่นบึงบอระเพ็ด ยกเว้นแม่น้ำสาละวินและภาคตะวันออก

อาหาร -เป็นปลากินเนื้อ อาหารธรรมชาติได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่น ๆ

มีขนาดประมาณ 35-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร


ปลาคางเบือนเป็นปลาที่เนื้อมีรสชาติดีและราคาแพง สามารถปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอดกระเทียม ต้มยำ และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย


กรมประมงสามารถเพาะพีนธุ์ปลาคางเบือนได้สำเร็จเป็นครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2526


สกุลปลาคางเบือน หรือ สกุลปลาเบี้ยว
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Belodontichthys)
ชื่อสกุลของปลาน้ำจืด 2 ชนิดในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ซึ่งอยู่ในอันดับปลาหนัง

มีรูปร่างโดยรวมคือ ปากกว้างและเชิดขึ้นอันเป็นที่มาของชื่อ ภายในมีฟันแหลมคม ตาโตอยู่ตอนกลางของหัว ใกล้มุมปากมีหนวด 1 คู่ยาวจนถึงครีบอก ครีบหลังเล็กมาก ครีบอกใหญ่ปลายแหลม ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็กเว้าตื้น ตัวมีสีเงินวาวหรือเหลือบสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ กินอาหาร จำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็ก

พบกระจายพันธุ์อยุ่เฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น
พบเพียง 2 ชนิด คือ

Belodontichthys truncatus พบในภูมิภาคอินโดจีน มีความยาวได้ 60 เซนติเมตร
Belodontichthys dinema มีลักษณะคล้ายชนิดแรก เว้นแต่มีครีบหู ช่วงหัว และปลายปากที่สั้นกว่า และพบได้ในแหลมมลายูจนถึงเกาะสุมาตราและบอร์เนียว เป็นปลาที่เพิ่งถูกอนุกรมวิธานแยกออกจากชนิดแรกเมื่อไม่นานมานี้ มีความเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร
เป็นปลาที่นิยมบริโภค โดยเฉพาะในชนิด B. truncatus พบชุกชุมในทะเลสาบเขมร โดยนำมาบริโภคสดและแปรรูปเป็นปลาแห้ง อีกทั้งยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

ที่มาของข้อมูล
กรมประมง และวิกิพีเดีย ( หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ )


ที่บางกรูดมิเคยมีใครเคยพบปลาคางเบือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น