วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

[บทความ] ปลากระมัง...ยังมีอยู่คู่ลำน้ำ

ปลากระมัง...ยังมีอยู่คู่ลำน้ำ




ปลากระมัง


ปลากระมัง



กระมัง เป็นชื่อปลา
มิใช่สร้อยคำท้ายประโยคที่คล้ายจะเป็นการคาดคะเนไม่แน่ใจ ลังเลใจที่คนไทยใช้กันบ่อย ๆ เช่นคงหิวละกระมัง



ชื่อสามัญ ปลากระมัง

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ SMITH'S BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntioplites protozsron
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

ชื่ออื่น ปลาเหลี่ยม ปลาสะกาง ปลาวี ปลามัง ปลาแพะ




ลักษณะทั่วไป

ปลากระมังเป็นชื่อปลานำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน แต่ต่างสกุลกัน มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาตะเพียนขาว และปลาตะพาก แต่ลำตัวแบนข้างกว่ามาก ลำตัวเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หัวและลำตัวแบนข้าง นัยน์ตาโตและอยู่ค่อนไปทางด้านบน ไม่มีหนวด ครีบหางเว้าลึก ลำตัวด้านหลังสีคล้ำ แต่ด้านท้องเป็นสีเงิน

ลักษณะสำคัญที่แตกต่างกว่าปลาสกุลปลาตะเพียนคือ ก้านครีบเดี่ยวอันสุดท้ายของครีบก้นมีขนาดใหญ่แข็ง และขอบด้านในหยักคล้ายฟันเลื่อย
มีครีบหลังยกสูง และกระโดงหลังของปลากระมังที่พบในแม่น้ำโขง จะมีความสูงสะดุดตากว่าแหล่งน้ำอื่น ๆ
ก้านครีบอันแรกและครีบก้นเป็นรอยหยัก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงิน ครีบท้องและครีบอกสีเหลืองอ่อน ครีบหางเว้าลึก ตาโต หัวมนกลม ไม่มีหนวด ความยาวประมาณ 13-15 ซ.ม.ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 22.5 เซนติเมตร



ถิ่นอาศัย
ในแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศไทย แต่ละภาคจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น



ภาคกลางเรียกว่า ปลากระมัง บางแห่งเรียกชื่อสั้น ๆ เช่นที่บึงบอระเพ็ด เรียกว่า ปลามัง หรือบางคนเรียก ปลาสมิด
ที่ปากน้ำโพมักเรียก ปลาเลียม หรือปลาเหลี่ยม
ที่จังหวัดเชียงรายเรียกปลาวี
ภาคใต้ที่บ้านดอนเรียก ปลาแพะ
ที่หนองคายและนครพนม เรียก ปลาสะกาง



อาหารของปลากระมัง-กินพืชพันธุ์ไม้น้ำ อินทรีย์สารที่เน่าเปื่อย



ประโยชน์-ปลากระมังใช้เป็นอาหารนิยมบริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป ได้ทั้งสดและตากแห้ง
และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม


ที่มาของข้อมูล กรมประมง



ส่วนข้อมูลของวิกิพีเดียเกี่ยวกับสกุลของปลากระมังที่แยกหัวข้อออกมาคือ

สกุลปลากระมัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Puntioplites)
ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อย ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) 4 ชนิด




มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวแบนข้างมากกว่าปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หัวมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด ตาโต มีจุดเด่นคือ สันหลังยกสูงและครีบหลังก้านสุดท้ายแข็งและมีขนาดใหญ่ ยกสูง ด้านหลังของก้านครีบนี้มีทั้งรอยยักและไม่มีรอยยัก ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด
พบกระจายพันธุ์อยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย, แม่น้ำโขง และคาบสมุทรมลายูไปจนถึงเกาะบอร์เนียว, เกาะชวา และเกาะสุลาเวสี



มี 4ชนิดดังนี้ คือ

Puntioplites bulu (Bleeker, 1851)
Puntioplites falcifer (Smith, 1929)
Puntioplites proctozystron (Bleeker, 1851)
Puntioplites waandersi (Bleeker, 1858-59)



ปลากระมังที่บางกรูด เป็นปลาตัวเล็กและมีก้างมากตามคุณสมบัติชองปลาวงศ์ปลาตะเพียน และเป็นปลาที่ได้มาพร้อมกับปลาอื่น ๆ ดังนั้นพลอยโพยมก็ไม่เคยลิ้มชิมรสชาติว่า เหมือน หรือแตกต่างกับปลาตะเพียนอย่างไร

แต่เมื่อพูดคุยกับคนที่อยู่ในยุครุ่นพี่ ๆ ของพลอยโพยมที่เป็นชาวบ้านริมแม่น้ำ จะส่ายหน้าว่า โอ๊ย ! ปลากระมังก้างเยอะเหลือเกินกินแล้วก็คล้าย ๆ ตะเพียนนั่นแหละ แต่ผมว่าปลาตะเพียนอร่อยกว่า

คำว่าปลาตะเพียนของชาวบางกรูด ก็คือปลาตะเพียนขาว




เมื่อถามไถ่ เจ้าของเรือผีหลอกว่า ยังพบเห็นปลากะมังบ้างไหม เขาบอกว่า ไม่ค่อยเจอครับ ไม่เจอมานานมากแล้ว คงยังมีอยู่ในแม่น้ำนี่แหละ แต่ไม่มาเข้าเรือของผมเอง และคงมีน้อยลงกว่าแต่ก่อน คนที่พายเรือผีหลอกเป็นเด็กรุ่นหลังพลอยโพยมหลายปีเหมือนกัน

ยังมีปลากระมังครีบสูงที่พลอยโพยมพบข้อมูลในวิกิพีเดียเลยนำข้อมูลมาเสนอต่อท้ายบทความ

ปลากระมังครีบสูง
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntioplites falcifer
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายปลากระมัง (Puntioplites spp.) ชนิดอื่น ๆ เพียงแต่กระมังครีบสูง มีครีบหลังที่แหลมและยกสูงกว่า มีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร

พบเฉพาะแม่น้ำโขง ที่เดียวเท่านั้น เป็นปลาที่พบน้อย ใช้บริโภคในท้องถิ่น และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
มีชื่อเรียกเป็นภาษาอีสานว่า "สะกางเกสูง" หรือ "สะกาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น