วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

[บทความ] ปลาเค้าดำ....คำเพรียกเรียกปลาทุก

ปลาเค้าดำ....คำเพรียกเรียกปลาทุก


ปลาเค้าดำ หรือปลาทุก
กาพย์ยานี ๑๑

แก้มช้ำช้ำใครต้อง
อันแก้มน้องช้ำเพราะชม

ปลาทุกทุกข์อกกรม
เหมือนทุกข์พี่ที่จากนาง

กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์


ปลาเค้าดำ

ชื่อสามัญ ปลาเค้าดำ ปลาทุก ปลาอีทุก

ชื่อสามัญอังกฤษ: Black Sheatfish
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Wallago micropogon
อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน Siluridae
จัดเป็นปลาที่อยู่ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes)

ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง เป็นปลาขนาดใหญ่ไม่มีเกล็ด มีชื่อเรียกว่าปลาเต้าดำในภาคกลาง หรือบางท้องถิ่นเรียกว่าปลาทุก
แถบทางภาคใต้บริเวณลุ่มแม่น้ำตาปีและลำสาขา จ.สุราษฎร์ธานี ชาวประมง จะเรียกกันว่า “ปลาทุก” ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่าปลาคูน ปลาอีทุก โดยเรียกตามสีลำตัวที่มีสีดำสนิท เหมือนกับคนสวมชุดไโว้ทุกข์




ลักษณะทั่วไป


มีรูปร่างลำตัวยาวแต่ค่อนข้างป้อม ลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางหางมีลักษณะแบนข้างมาก พื้นลำตัวสีเทาถึงดำสนิท ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และแบน มีจะงอยปากสั้น ปากกว้างเป็นรูปโค้ง ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ อยู่ในขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง มีหนวด 2 คู่ โดยหวดคู่ที่อยู่มุมปากบนมีลักษณะเรียวยาว ส่วนคู่ที่ใต้คางจะสั้นและเล็กมาก มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบก้นใหญ่และยาวจรดครีบหาง ขอบปลายหางด้านบนจะใหญ่กว่าด้านล่าง ส่วนท้องป่องออก ส่วนหลังยกสูงขึ้นกว่าปลาเค้าขาว (W. attu) ซึ่งเป็นปลาที่มีความใกล้เคียงกัน เพราะจัดอยู่ในสกุลเดียวกัน ครีบหางเว้าตื้นปลายมน

ลำตัวสีคล้ำอมเขียวมะกอก หรือสีดำอมน้ำตาล


นิสัย -พฤติกรรมตามปกติ มักจะซุกตัวอยู่นิ่ง ๆ ใต้น้ำ เป็นปลาที่สายตาไม่ดี จึงใช้หนวดในการนำทางและหาอาหาร แต่เนื่องจากเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว หวงถิ่น และกินปลาขนาดเล็กตัวอื่นเป็นอาหาร

ถิ่นอาศัย
พบตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั้งภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งภาคใต้ของประเทศไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา, แม่น้ำโขงและสาขา, แม่น้ำตาปีรวมทั้งที่ทะเลสาบสงขลาด้วย ลำคลอง หนอง บึง และอ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ขนาด-มีขนาดลำตัวยาวได้ถึง 1 เมตร น้ำหนักกว่า 50 กิโลกรัม โดยสถิติที่ใหญ่ที่สุดพบที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ด
ต่อมาได้พบใหญ่สุด 145 เซนติเมตร (ไม่ได้ระบุที่พบ)

ปลาเค้าดำ มีสถานภาพในปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่งในธรรมชาติ แต่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้โดยสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2534 ด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมนผสมเทียม และได้มีการปล่อยลูกปลาที่เพาะได้กลับคืนถิ่นธรรมชาติ

ปลาเค้าดำ เป็นปลาไทยอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ว่าเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว หวงถิ่น และกินปลาขนาดเล็กตัวอื่นเป็นอาหาร จึงมักเลี้ยงตัวเดียวเดี่ยว ๆ


การเพาะพันธุ์
กรมประมงโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด จ.สุราษฎร์ธานี ได้มีการทดลองเพาะพันธุ์ปลาเค้าดำได้สำเร็จในปี 2534

แถบทางภาคใต้บริเวณลุ่มแม่น้ำตาปีและลำสาขา จ.สุราษฎร์ธานี ชาวประมง จะเรียกกันว่า ปลาทก จากคำบอกเล่าว่าในทะเลสาบสงขลาเมื่อก่อนมีชาวประมง บ้านศรีไชย ต.คูขุด อ.สทิงพระ จ.สงขลา จับปลาชนิดนี้ได้เช่นกัน ขนาดความยาวเกือบ 1 เมตร โดยชาวประมงใช้อวนลอยปลากะพงจับได้แต่ไม่ทราบว่า เขาเรียกว่าปลาอะไร เนื่องจากเป็นปลาหายาก ชาวประมงที่จับก็ไม่รู้จักว่าเป็นปลาอะไร หลังจากที่เคยมีคนจับได้แล้วในครั้งนั้นก็ไม่ค่อยพบเห็นปลาแบบนี้ในทะเลสงขลาอีก


ผลจากการปล่อยปลาเค้าในแม่น้ำตาปีตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ชาวประมงในบริเวณดังกล่าวสามารถจับปลาเค้าดำได้ต่อเนื่องหลายพื้นที่บริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการ “คืนปลาเค้าดำสู่ลำน้ำตาปี” รวมระยะเวลาประมาณ 9 ปี และได้ปล่อยลูกปลาเค้าดำรวมทั้งสิ้น 128,934 ตัว จึงทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติบริเวณลุ่มน้ำตาปีและลำสาขาบริเวณนี้มีชาวประมงจับปลาเค้าดำได้เรื่อยมา จึงสอดคล้องกับโครงการฟื้นฟูทรัพยากรประมงในทะเลสาบสงขลา มีโครงการเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำที่คาดว่าจะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในทะเลสาบสงขลาจะเริ่มดำเนินการในปี 2549 – 2552 กรมประมงและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคณะร่วมดำเนินงานลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาหันหน้ามาร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อศึกษาเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำที่เคยพบในทะเลสาบสงขลา ปัจจุบันหายากแทบไม่มีให้เห็น บางชนิดใกล้สูญพันธุ์ เพื่อนำมาปล่อยปลาในทะเลสาบสงขลาให้ลูกหลานได้รู้จัก และเป็นการช่วยฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้กลับคืนมาเคียงคู่กับทะเลสาบสงขลาต่อไป


ข้อมูลจาก กรมประมง วิกิพีเดีย
http://www.nicaonline.com
thaifishingcenter.com/board/index.php?topic=40.0

ในสมัยก่อนที่ลำน้ำบางปะกงที่บางกรูดมีปลาเค้าดำแหวกว่ายให้ผู้คนบางกรูดได้รู้จัก แต่ในช่วงหลาย ๆ ปี ที่ผ่านมา ไม่มีใครได้พบเห็น แต่ส่วนหนึ่งก็มาจาก ผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำที่บางกรูดลดจำนวนลงบางบ้านเรือนเหลือแต่คนชราไม่มีการออกมาหากุ้งหาปลากันดังแต่ก่อน ชายฝั่งน้ำถูกทิ้งร้าง มีป่าจาก ป่าแสมแลลำพูดูรกเรื้อ ทั่วลำน้ำเวิ้งว้างว่างเปล่า นาน ๆ ครั้งจะพบเห็นมีเรือสัญจรเพื่อไปทำกิจธุระ หรือนาน ๆ ครั้งจะมีเรือจากถิ่นอื่นผ่านมาแล้วก็ผ่านเลยไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น