วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

[บทความ ] ปลาแปบแนบกาย... ในสายวารี

ปลาแปบแนบกาย... ในสายวารี


กาพย์ยานี ๑๑

ชะแวงแฝงฝั่งแนบ
ชะวาดแอบแปลบปนปลอม

เหมือนพี่แนบแอบถนอม
จอมสวาทนาฎบังอร

กาพย์เห่เรือ
เห่ชมปลา พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์



ปลาแปบ
ชื่อสามัญ ปลาแปบ ปลาแปบควาย

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ SIAMESE RIVER ABRAMINE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Paralaubuca riveroi
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน Cyprinidae
วงศ์ย่อย Alburninae



ปลาแปบ

ในภาคกลางเรียกปลาแปบ มีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "ปลาท้องพลุ" และในภาษาตะวันออกเฉัยงเหนือเรียกว่า "ปลาแตบ", "ปลาแตบขาว" หรือ "ปลามะแปบ" เป็นต้น

ปลาแปบบเป็นปลาน้ำจืด



ปลาแปบ


ลักษณะทั่วไป

ปลาแปบ มีลำตัวยาว แบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เกล็ดบางและหลุดง่าย เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน เกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังไม่เลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตา เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนาน 50-85 แถว ครีบอกยาว เกือบถึงครีบหลัง ครีบหางเว้าลึก ครีบสีจาง ลำตัวมีสีเงินอมเหลือง ครีบหางสีเหลืองอ่อน มีขอบคล้ำบางเล็กน้อย
เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะภายนอกเหมือนกัน

นิสัย
เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ตามบริเวณผิวน้ำ แต่ละกลุ่มจะมีจำนวนไม่มากนัก ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวว่องไว
มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล

ถิ่นอาศัย

ชอบอยู่ในแหล่งน้ำไหลในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว พบในแม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงมาเลเซีย ในประเทศไทย พบในแม่น้ำลำคลอง ในภาคกลาง เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำแม่กลอง


อาหาร-กินแมลงและตัวอ่อนของแมลงตามผิวน้ำ กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร


ขนาด-ความยาวประมาณ 7-18 ซ.ม.

ประโยชน์-ใช้บริโภคเป็นอาหารได้ ถูกจับขึ้นมาเพื่อทำปลาแห้ง ปลาร้า และบริโภคโดยปรุงสด อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย


ปลาแปบ
ภาพจากhttp://www.siamensis.org/taxonomy/term/1777/0


ปลาแปบ มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยเป็นชนิดที่พบได้ในประเทศไทย 3 ชนิด
Paralaubuca barroni (Fowler, 1934)
Paralaubuca harmandi (Sauvage, 1883)**พบในประเทศไทย
Paralaubuca typus (Bleeker, 1865)**พบในประเทศไทย
Paralaubuca riveroi (Fowler, 1935)**พบในประเทศไทย
Paralaubuca stigmabrachium (Fowler, 1934)

ซึ่งสำหรับในประเทศไทย ปลาแปบควายทั้ง 3 ชนิด ถูกจับขึ้นมาเพื่อทำปลาแห้ง ปลาร้า และบริโภคโดยปรุงสด อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย


ที่มาของข้อมูลจาก กรมประมง ,
วิกิพีเดีย จากหนังสือ หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ดร.ชวลิต วิทยานนท์ และหนังสือสาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ ,
http://guru.sanook.com/dictionary/dict_fish/%E0%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น