วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

[บทความ] เขาอ่างฤาไน ป่าสมมบูรณ์สุดท้ายของภาคตะวันออก ตอนที่ ๒


[บทความ] เขาอ่างฤาไน ป่าสมมบูรณ์สุดท้ายของภาคตะวันออก ตอนที่ ๒
ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ทำให้สัตว์ป่าจำนวนมากและหลากหลายประเภทพักพิงอยู่ที่ เขาอ่างฤาไน อย่างผาสุก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง กวาง เนื้อทราย เก้ง กระทิง วัวแดง เลียงผา ฯลฯ สัตว์เลื้อยคลานประเภทต่าง ๆ สัตว์สะเทิ้นนำสะเทิ้นบก ปลา หรือนก ป่าแห่งนี้นับเป็นแหล่งดูนกชั้นเยี่ยม เพราะมีนกกว่า ๒๐๐ ชนิด และได้ชื่อว่ามีนกขุนทองและไก่ฟ้าพญาลออาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศไทย

เขาอ่างฤาไน มีน้ำตกที่สวยงามอยู่สองแห่ง คือ น้ำตกอ่างฤาไนหรือน้ำตกบ่อทอง เกิดจากคลองหมากบนเขาอ่างฤาไนด้านอำเภอท่าตะเกียบ ซึงเป็นบริเวณหุบเขาที่ร่มรื่นและเยือกเย็น มีสายน้ำไหลพุ่งลงมาจากช่องเขา ผ่านลงมาตามรากไทรเป็นฝอยราวฝักบัวตลอดทั้งปี และน้ำตกเขาตะกรุบอันเกิดจากคลองกัดตะนาวใหญ่บนเขาตะกรุบ ด้านอำเภอวังน้ำเย็นจังหวัดสระแก้ว มีความสูงชันและสวยงามมากในฤดูฝน

นอกจากความงามและประโยชน์ทางนิเวศวิทยาแล้ว เขาอ่างฤาไนยังมีคุณค่าในฐานะที่เป็น " ธนาคารสายพันธุ์" อย่างดี ในป่าแห่งนี้มีพันธุ์พืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ลำไย ลางสาด ลิ้นจี่ มะไฟ กระท้อน มะม่วง ระกำ เป็นต้น ซึ่งเป็นพันธุ์ที่แข็งแรงทนทานต่อโรคและแมลง เมื่อใดที่พืชเศรษฐกิจอ่อนแอลง ก็อาจนำสายพันธุ์จากป่ามาปรับปรุงพืชเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้ ในขณะเดียวกันป่าแห่งนี้ก็ยังมีประชากรสัตว์ป่ามากมายและหลากหลายประเภท ซึ่งสามารถนำมาปรับปรุงสายพันธุ์ของสัตว์เศรษฐกิจให้ดีขึ้นไดด้วย เช่น นำ วัวแดงมาผสมพันธุ์กับวัวบ้าน และนำหมูป่ามาผสมพันธุ์กับหมูบ้าน เพื่อให้ลูกผสมที่เกิดมาโตเร็วและมีความต้านทานต่อโรคมากขึ้น




เขาอ่างฤาไน ยังเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยทางสายวิชาการหรือห้องทดลองขนาดใหญ่ เป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยสัตว์ป่าแห่งแรกของภาคตะวันออก และแห่งที่สองของประเทศไทยต่อจากสถานีวิจัยสัตว์ป่านางรำที่ห้วยขาแข้ง ขณะนี้ได้มีการวิจัยด้านชีววิทยาเกี่ยวกับนกขุนทองและไก่ฟ้าพญาลอซึ่งเป็นสัตว์สำคัญของป่าแห่งนี้ เพื่อทำการเพาะเลี้ยงและอนุรักษ์ไว้มิให้สูญพันธุ์

เขาอ่างฤาไน นับว่าเป็นผืนป่าใหญ่และสมบูรณ์ใกล้กับกรุงเทพฯ มากที่สุด สามารถเดินทางไปกลับในวันเดียวได้ เหมาะจะไปทัศนศึกษาและพักผ่อนชมธรรมชาติ เส้นทางการเดินทางเข้าป่าไปเที่ยวชมความงดงามของป่า เริ่มที่อำเภอสนามชัยเขต ตัดตรงไปถนนลาดยางอย่างดีผ่านไปบนเนินสลับซับซ้อน ซึ่งเคยเป็นป่าดงดิบ ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านหนองคอก เลี้ยวขวาไปตามถนนลูกรังอีกราว สิบกิโลเมตร เส้นทางก็จะเป็นป่าละเมาะ อันเป็นสัญญาณว่าเริ่มเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนแล้ว เมื่อผ่านหน่วยพิทักษ์ป่าหลุมจังหวัดมีด่านกั้นอยู่ เส้นทางก็จะเริ่มทอดไปในป่าดงดิบ จากนั้นราว ๖ กิโลเมตร ทางขวามือจะเห็นหนองน้ำชื่อว่า "หนองปรือ" ซึ่งมีสัตว์ลงมากินน้ำเป็นประจำ และเมื่อเลยหนองน้ำหนองปรือ นี้ไปอีกราว ๑๐ กิโลเมตรา ก็จะถึงหน่วยพิทักษ์ป่าบ่อทอง ซึ่งมีบ้านพักรับรองอย่างดีสองหลัง อยู่ห่างจากน้ำตกเขาอ่างฤา หรือน้ำตกบ่อทองไน เพียง ๒ กิโลเมตร สภาพในป่าร่มรื่นสวยงาม มีเส้นทางเดินป่าหลายสายให้เที่ยวชม ธรรมชาติ (ข้อมูลใน ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งในปัจจุบันอาจมีข้อมูลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงไปบ้าง)เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าแควระบม - สียัด ซึ่งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ติดกับบริเวณรอยต่อของจังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันจังหวัดสระแก้ว) จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรี





จากการสำรวจสัตว์ป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน แบ่งเป็นประเภทๆ ได้ดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบรวมทั้งหมด 64 ชนิด จาก 50 สกุล ใน 23 วงศ์ สัตว์ที่พบเห็นส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็กและขนาดกลาง ได้แก่ พญากระรอกดำ กระรอกหลากสี ชะนีมงกุฏ อีเก้ง เป็นต้น

ในขณะที่สัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ช้างและกระทิง ส่วนใหญ่จะพบเฉพาะร่องรอยเท่านั้นและมักพบในพื้นที่ตอนในของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เนื่องจากบริเวณขอบด้านนอกรายล้อมด้วยหมู่บ้าน พื้นที่เกษตรกรรมซึ่งมากด้วยกิจกรรมมนุษย์ด้านต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ ปรากฎว่ามีฝูงกระทิงและวัวแดงออกมากินยอดมันสำปะหลังตามริมไร่ที่ติดกับป่ามากขึ้น นก สามารถพบได้ตลอดเวลา




ทั่วพื้นที่ประกอบด้วยนก 246 ชนิด 160 สกุลใน 64 วงศ์ ส่วนใหญ่เป็นชนิดนกที่เลือกใช้ถิ่นที่อาศัยในรูปแบบของป่าและสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ชนิดนกป่าที่พบในพื้นที่ เช่น นกกาฮังหรือนกเงือกใหญ่ นกเงือกกรามช้าง ไก่ฟ้าพญาลอ นกแต้วแล้วธรรมดา นกกระติ๊ดขี้หมู นกเขาใหญ่ นกปรอดสวน นกเอี้ยงสาริกา และเหยี่ยวขาว เป็นต้น

สัตว์เลื้อยคลาน พบในพื้นที่รวม 53 ชนิด 40 สกุลใน 16 วงศ์ สัตว์ที่พบได้แก่ งูเขียวหัวบอนหรืองูง่วงกลางดง จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ จิ้งเหลนหลากลาย ตะกวด และงูสายม่านเกล็ดใต้ตาใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบจระเข้น้ำจืดและตะกองหรือตัวลั้ง

(จระเข้น้ำจืด โดยปกติจะกินปลาและสัตว์อื่นที่เล็กกว่าเป็นอาหาร จะไม่ทำร้ายมนุษย์หากไม่ถูกรบกวนหรือมีอาหารเพียงพอ ในอดีตในประเทศไทยเคยพบชุกชุมในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง เช่น ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่จระเข้ชุม เคยมีรายงานว่าพบจระเข้ถึง 200 ตัว หรือในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องต่าง ๆ เช่น ไกรทอง ของจังหวัดพิจิตร เป็นต้น แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปจนหมดแล้ว สถานะในธรรมชาติเชื่อว่าหลงเหลืออยู่เพียงที่เดียวคือ ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาอ่างฤๅไน จังหวัดฉะเชิงเทรา, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้ว เท่านั้น[ แต่ในต่างประเทศยังคงพบอยู่ที่ทะเลสาบเขมรอยู่ สถานะในอนุสัญญาของไซเตส ได้ขึ้นบัญชีจระเข้น้ำจืดไว้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix 1) )




สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พบทั้งหมด 18 ชนิด 9 สกุลใน 5 วงศ์ สัตว์ที่พบได้แก่ เขียดหลังปุ่มที่ราบ เขียดตะปาด เขียดจิก กบหนอง อึ่งอ่างบ้าน และอึ่งอ่างแม่หนาว เป็นต้น

ปลาน้ำจืด ชนิดปลาที่พบไม่น้อยกว่า 23 ชนิดจาก 18 สกุลใน 13 วงศ์ ปลาที่พบได้แก่ ปลาแก้มช้ำ ปลาซิวควาย ปลาเนื้ออ่อน ปลาช่อน ปลากระดี่ ปลาหลด เป็นต้น

แมลง แมลงถือเป็นสัตว์ที่มีจำนวนและชนิดมากที่สุด จากการที่ป่าไม้ได้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว ทำให้แมลงรวมถึงไข่ของแมลงด้วย จากเหตุนี้จึงมีการรวมแมลงและไข่ของแมลงไว้เป็นสัตว์ป่า นอกจากนี้ยังได้ประกาศแมลงที่หายากเป็นสัตว์ป่า คุ้มครองอีกด้วย ได้แก่ ผีเสื้อภูฐาน สกุลผีเสื้อไกเซอร์ สกุลผีเสื้อถุงทอง สกุลผีเสื้อนางพญา ผีเสื้อรักแร้ขาว ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว สกุลผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ ด้วงดินปีกแผ่น สกุลด้วงดินขอบทองแดง สกุลด้วงคีมยีราฟ และสกุลกว่างดาว เป็นต้น แมลงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน สามารถพบเห็นได้ในทุกๆ ที่ โดยเฉพาะในฤดูฝน แมลงที่พบมีจำนวน 106 ชนิด จาก 76 สกุลใน 12 วงศ์ กลุ่มที่พบเห็นได้บ่อย ได้แก่ ผีเสื้อติ่งฉะอ้อน ผีเสื้อสะพายฟ้า ผีเสื้อหางติ่งแววมยุรา ผีเสื้อช่างร่อน ผีเสื้อหางติ่งนางระเวง ผีเสื้อโยม่า ผีเสื้อโคคิโน ผีเสื้อเจ้าป่า กว่างสามเขาเมืองจันทน์ เป็นต้น

ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ผู้ไปเยียมยือนจะได้ชมผีเสื้อได้ เช่น ผีเสื้อสะพายฟ้า ผีเสื้อหางกระดิ่งแววมยุรา ผีเสื้อเจ้าป่า

พันธุ์ไม้ จัดตามกลุ่มสังคมพืชและชั้นความสูงของพันธุ์ไม้ดังนี้ตะแบกแดง กระบก ยางแดง สมพง ตะเคียนทอง ปออีเก้ง
ค้างคาว ลำป้าง กระท้อน เฉียงพร้านางแอ ตาเสือ คอแลน.
แก้ว ตังตาบอด นางดำ ลำบิด จันทน์ชะมด สั่งทำ กะโมกเขา ว่านช้างร้อง
ประดู่ งิ้วป่า กางขี้มอด ตะคร้อ สมอภิเภก
ตีนนก ขี้อ้าย ติ้วแดง แคหัวหมู หอมไกลดง รักขาว มะกอกป่า
หมีเหม็น เม่าไข่ปลา โมกมัน มะกา มะกวม กระมอบ เคล็ดหนู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น