วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปลากะพงขาว

ชื่อสามัญ ปลากะพงขาว





ชื่อสามัญอื่น ปลากะพงน้ำจืด

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ GIANT SEAPERCH

ชื่อวิทยาศาสตร์  Lates calcarife

อยู่ในวงศ์ปลากะพงขาว Latidae

ปลากะพงขาวเป็นปลาน้ำกร่อย ถือเป็นปลาสองน้ำ


ลักษณะทั่วไป

เป็นปลาที่มีรูปร่างยาว ลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากค่อนข้างยาวและแหลม นัยน์ตาโต ปากกว้างยืดหดได้ มุมปากอยู่เลยไปทางหลังนัยน์ตา ฟันเป็นฟันเขี้ยวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง ขอบกระดูกแก้มเป็นหนามแหลม ขอบกระดูกกระพุ้งเหงือกแข็งและคม คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสากมือ ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็น หนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน พื้นลำตัวสีขาวเงินปนน้ำตาล แนวสันท้องสีขาวเงิน

ถิ่นอาศัย

พบกระจายทั่วไปในชายฝั่งทะเลของทวีปเอเชียไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยเป็นปลาที่อพยพไปมาระหว่างทะเลกับน้ำจืด เข้ามาอยู่ปากแม่น้ำซึ่งเป็นแหล่งน้ำกร่อย อพยพย้ายถิ่นเข้ามาหาอาหารและอาศัยในแม่น้ำเป็นระยะทางนับร้อยกิโลเมตร

นิสัย

พ่อแม่ปลาจะว่ายจากชายฝั่งเข้ามาวางไข่ในป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ จนกระทั่งลูกปลาฟักและเติบโตแข็งแรงดีแล้ว จึงจะว่ายกลับสู่ทะเล บางครั้งพบอยู่ไกลจากทะเลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร เช่นที่ แม่น้ำโขง ก็มี

อาหาร

ปลากะพงเป็นปลากินเนื้อโดยจะ กินปลา กุ้งและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า


ขนาด

ความยาวประมาณ 20-50 ซ.ม. พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร หนักได้ถึง 60 กิโลกรัม โดยปลาที่พบในทะเลจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาที่พบในน้ำจืด

ประโยชน์

เป็นปลาเศรษฐกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยง เกษตรกรนิยมผลิตลูกปลาชนิดนี้ส่งไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซียและไต้หวัน เนื้อมีรสชาติดี นำมาประกอบอาหารได้หลายประเภทเช่น แปะซะ, นึ่งบ๊วย เป็นต้น และนิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย

ปลากะพงขาว ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กะพงน้ำจืด" ขณะที่ชื่อท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำบางปะกงเรียก "โจ้โล้

ขอขอบคุณ   ที่มาของข้อมูล
                      ภาพปลาและสัตวฺ์น้ำของไทย โดยสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ และวิกิพีเดีย


                                                      .
                                                        ขอขอบคุณ  -  ภาพจากวิกิพีเดีย

จากการที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยงปลากะพงขาว สำหรับที่แม่น้ำบางปะกงในเขตอำเภอบ้านโพธิ์ ที่มีเขตแดนอยู่ชิดกับอำเภอบางปะกง และที่อำเภอบางปะกงเองนั้น    ชาวบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำนิยมทำกระชังเลี้ยงปลากะพงขาวกันมาก ส่วนที่อยู่ไม่ติดแม่น้ำ ก็สามารถขุดบ่อเลี้ยงปลากะพงได้

ส่วนปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากการที่กรมประมงมีการปล่อยพันธุ์กุ้ง พันธฺุปลาต่าง ๆ รวมทั้งพันธุ์ปลากะพงขาวนี้ด้วยลงในแม่น้ำทุกปี ทำให้ในแม่น้ำบางปะกงมีปลากะพงขาวค่อนข้างมาก แม้แต่เรือผีหลอก ก็จะได้ปลากะพงขาวทั้งที่ยังเป็นลูกปลาและปลากะพงขาวตัวโตกระโดดเข้ามาในเรือ ในบางครั้งก็จะมีชาวบ้านมาดักซื้อลูกปลากะพงขาวจากเรือผีหลอก ทำให้เรือผีหลอกสมัยนี้ มีถังพลาสติคใส่ออกซิเจน สำหรับใส่ลูกปลากะพงขาวเพื่อให้มีชิวิตรอดมาจนถึงมือคนที่รอคอยดักซื้อลูกปลากะพงขาวเอาไปปล่อยเลี้ยงในบ่อเลี้ยงของตนเอง ซึ่งลูกปลาที่ได้จากแม่น้ำจะเป็นปลาที่แข็งแรงโตไว เหมาะสำหรับคนที่มีบ่อไม่ใหญ่นักและเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติในบ่อเลี้ยง คือไม่เลี้ยงปลาให้แน่นมากนั่นเองและไม่ต้องให้ออกซิเจน แต่ต้องหาอาหารให้

รวมทั้งกิจกรรมตกปลาของผู้ที่นิยมกิจกรรมนี้ ก็จะสามารถตกปลากะพงขาวได้ค่อนข้างมากเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น