วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปลาเอ๋ย...ปลากระบอก

ปลาเอ๋ย...ปลากระบอก

วงศ์ปลากระบอก (ขื่ออังกฤษ: Mullet)

วงศ์: Mugilidae (/มู-จิ-ลิ-ดี/)

เป็นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับ Mugiliformes นับเป็นวงศ์เดียวที่อยู่ในอันดับนี้

ปลากระบอกมีรูปร่างโดยรวมเรียวยาวค่อนข้างกลมเป็นทรงกระบอก ปากเล็ก มีครีบหลัง 2 ตอน เป็นปลาที่พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล มีตาทรงกลมโต พบทั่วไปในทั้งในทวีปยุโรป, อเมริกาเหนือ และในมหาสมุทรอินเดียในย่านอินโดแปซิฟิกเลยไปถึงญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย

มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไว

เกล็ดโดยมากเป็นสีเงินเหลือบเขียวหรือเทาขนาดใหญ่

ปลากระบอก สามารถแบ่งออกได้เป็นสกุลได้ 17 สกุล ประมาณ 80 ชนิด โดยมีชนิดที่สำคัญ ๆ เป็นที่รู้จักกันดี อาทิ

ปลากระบอกท่อนใต้ (Liza vaigiensis)

ปลากระบอกดำ (L. parsia),

ปลากระบอกขาว (L. seheli) เป็นต้น

ปลากระบอกอาศัยหากินอยู่ในน้ำกร่อยบริเวณปากแม่น้ำ

ปลากระบอกสามารถปรับตัวเข้าอยู่อาศัยได้ดีในน้ำกร่อยและน้ำจืด ปลากระ-บอกนำมาเลี้ยงในบ่อได้ดี และสามารถนำมาเลี้ยงรวมกับปลาอื่นเช่น ปลาในสกุลคาร์ปและสกุลตีลาเบียในบ่อน้ำกร่อยเล็กน้อย

เป็นปลาที่เป็นที่นิยมในการตกปลา และเป็นปลาเศรษฐกิจ มีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ในในเชิงการประมง


สกุลของปลากระบอก

Agonostomus (3 ชนิด)

Aldrichetta (มีชนิดเดียว)

Cestraeus (3 ชนิด)

Chaenomugil (มีชนิดเดียว)

Chelon (3 ชนิด)

Crenimugil (2 ชนิด)

Joturus (มีชนิดเดียว)

Liza (24 ชนิด)

Moolgarda (มีชนิดเดียว)

Mugil (17 ชนิด)

Myxus (4 ชนิด)

Neomyxus (2 ชนิด)

Oedalechilus (2 ชนิด)

Rhinomugil (2 ชนิด)

Sicamugil (2 ชนิด)

Valamugil (9 ชนิด)

Xenomugil (มีชนิดเดียว)

โดยที่ปลากระบอก มีชื่อเรียกในภาษาไทยแตกต่างออกไปตามแต่ละท้องที่ อาทิ ในภาษาใต้จะเรียกว่า "กระเมาะ", "ละเมาะ", "ยมก" หรือ "มก" เป็นต้น

ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย

วงจรชีวิตของปลากระบอกคล้ายกับปลานวลจันทร์ทะเลกล่าวคือ ผสมพันธุ์วางไข่ในทะเลแล้วลูกปลาจะเข้ามาหากินและเจริญเติบโตในบริเวณชายฝั่ง ปลาจะเจริญเติบโตในบริเวณชายฝั่งและจะโตเต็มวัยพร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ ปลาจะวางไข่ในทะเลลึกนอกชายฝั่ง ลักษณะไข่ปลาเป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอยลูกปลาที่ฟักเป็นตัวจะถูกกระแสน้ำพัดพาเข้าในบริเวณชายฝั่ง ลูกปลาช่วงวัยอ่อนจะกินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหารเมื่อลูกปลาเจริญได้ขนาดประมาณ 3 ซม. ก็จะเปลี่ยนอุปนิสัยการกินอาหารมากินพืชแทน

ปลากระบอกเป็น เป็นปลาที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆได้ง่าย

ปลากระบอกเป็นปลาที่มีสรีระวิทยาของทางเดินอาหารและกรรมวิธีการกินอาหารที่น่าสนใจ ปลาชนิดนี้จัดว่าเป็นนักกินบริเวณผิวสัมผัส (Interface feeder) ไม่ว่าเป็นผิวพื้นก้นบ่อ ผิวน้ำ ผิวของใบพืช เช่น หญ้าทะเล ผิวของหินใต้น้ำ ผิวของรากต้นไม้ในป่าชายเลน ฯลฯ

ปลากระบอกจะกินโดยวิธีการดูดหรือแทะเล็มที่พื้นผิววัสดุซึ่งมีทั้งอาหารและไม่ใช่อาหาร แต่ปลากระบอกจะมีอวัยวะกรองที่คอเรียกว่า (Phary ngeal fitering device) แยกตะกอนอาหารออกจากตะกอนที่ไม่ใช่อาหารแล้วพ่นตะกอนที่ไม่ใช่อาหารออกมาและส่วนที่เป็นอาหารก็จะกลืนลงสู่กระเพาะอาหารส่วนลำไส้ของปลากระบอกจะยาวมาก ขดอยู่หลังกระเพาะอาหารยาวประมาณ 5 เท่าของตัวปลา

ที่มาของข้อมูล

http://www.nicaonline.comเอกสารวิชาการฉบับที่ 18/2536 สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง นิเวศน์ เรืองพานิช, เรณู ยาชิโร และวิชัย วัฒนกุล. 2536 การเพาะและอนุบาลลูกปลากระบอกดำ (Liza Subviridis) เอกสารวิชาการฉบับที่ 18/2536 สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง


ปลากระบอกที่พบในลำน้ำบางปะกงคือ ปลากระบอกท่อนใต้

ปลากระบอกท่อนใต้



ชื่อสามัญ กระบอกท่อนใต้

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ DIAMOND-SCALED GREY MULLET

ชื่อวิทยาศาสตร์ Liza vaigiensis

ปลากระบอกท่อนใต้Liza vaigiensis เป็นปลากระบอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

ลักษณะทั่วไป

รูปร่างเรียวยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวกว้างใหญ่และแบน ตาเล็กไม่มีเยื่อไขมันปิด มีเกล็ดใหญ่กว่าเกล็ดของปลากระบอกชนิดอื่น พื้นลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลปนเทา มีแถบดำพาดตามยาวลำตัว 8-10 แถบ ครีบทุกครีบมีสีเทาอมดำ หรือน้ำตาลไหม้ แต่ครีบอกมีสีดำเข้มกว่าเห็นได้ชัดเจน

ถิ่นอาศัย

แหล่งอาศัย ริมฝั่งทะเล บริเวณน้ำกร่อย ปากแม่น้ำ และแม่น้ำในอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน ชอบอาศัยอยู่ตามผิวน้ำ และหาอาหารตามชายฝั่งทะเลตื้น ๆ และในบริเวณปากแม่น้ำและแม่น้ำในอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

อาหาร

ปลากระบอกท่อนใต้กินสาหร่าย ขี้แดด ตะไคร่น้ำ รวมทั้งแมลงน้ำและสัตว์อื่น ๆ ที่มีขนาดเล็ก



ขนาด

มีความยาวประมาณ 19-40 ซ.ม.

ประโยชน์

จัดเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เนื้อมีรสอร่อยเหมาะสำหรับนำมาประกอบอาหาร ประเภท นึ่งทอด และที่นิยมทีมาก คือปลากระบอกต้มส้ม

ปลากระบอกท่อนใต้ นั้น จัดเป็น ตัวบ่งบอก ความอุดมสมบูรณ์ ของสภาพแวดล้อมทางทะเลได้เป็นอย่างดี ทะเลที่มีปลากระบอกท่อนใต้ อาศัยอยู่นั้นแสดงว่าพื้นที่ บริเวณนั้น สภาพยังสมบูรณ์


สำหรับในหนังสือภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย จะมีปลากระบอกอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ชื่อภาษาไทยว่า ปลากระบอกปีกเหลือง โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Valamugil siheli

ลักษณะทั่วไป



เป็นปลาทะเลที่ชอบลอยตัวหาอาหารบนผิวน้ำ และกลางน้ำ ว่ายน้ำเรียงกันเป็นแถว เป็นฝูง รูปร่างยาวเรียว เมื่ออยู่ในวัยอ่อน ลูกปลากระบอกชอบเข้ามาหาอาหารเลี้ยงตัวเองตามแถบชายฝั่งปากแม่น้ำ ซึ่งมีบริเวณติดต่อกับทะเล และตามนากุ้ง ความหนาของลำตัวทำให้รูปร่างทู่ ด้านหลังของลำตัวแบนลงเล็กน้อย ครีบหูมีสีเหลืองพร้อมจุดสีดำเข้มตรงโคนครีบหู มีจุดสีในเนื้อเกล็ดทำให้เกิดเป็นลายตามยาวของลำตัว

แหล่งที่พบ

พบทั่วไปในระดับน้ำลึกบริเวณอ่าวไทยและบริเวณปากแม่น้ำ ดอนนากุ้ง ปัจจุบันนิยมเลี้ยงปลากระบอกปีกเหลืองในนากุ้งแบบธรรมชาติ ในบริเวณปากน้ำปากพูน ปากพญา และปากนคร

ความสัมพันธ์กับชุมชน




ใช้เป็นอาหาร เพราะเนื้อมีรสชาติมันอร่อยเนื้อนิ่มกว่าปลากระบอกท่อนใต้ปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงส้มปลากระบอก ปลากระบอกทอดกรอบ ปลากระบอกนึ่ง ต้มส้มปลากระบอก ดังนั้นการนำปลากระบอกปีกเหลืองมาประกอบอาหารชนิดต่าง ๆ กลายเป็นเอกลักษณ์ของอาหารพื้นบ้านของนครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงด้านความอร่อยมาก

ที่มาของข้อมูล

ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย โดยสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์

http://www.nakornsri.com/index.php?topic=131.0


ปลากระบอกต้มส้มมักจะเป็นเมนูที่นิยมมากสำหรับปลากระบอก ไม่ว่าจะเป็นตามบ้านเรือนหรือตามร้านอาหาร หากมีปลากระบอกอยู่ในร้าน เมื่อยื่นเมนุูให้ลูกค้า มักจะมีคำพูดเชิญชวนว่า วันนี้มีปลากระบอก จะรับปลากระบอกต้มส้มไหม ปลาสดมาก ดูราวกับว่า ปลากระบอกท่อนใต้นี้เกิดมาเพื่อให้มนุษย์เอามาปรุงเป็นปลากระบอกต้มส้ม แม้แต่ที่บ้านของพลอยโพยมเองด้วยเช่นกัน

1 ความคิดเห็น: