วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๑๕ พระอานนท์ ๑๐
พระพุทธองค์เสด็จจาริกประกาศพระศาสนาตามแคว้นและเมืองต่างๆ เป็นเวลา ๔๕ พรรษานับตั้งแต่วันตรัสรู้เป็นต้นมา พรรษาที่ ๔๕ จึงเป็นพรรษาสุดท้ายของพระพุทธองค์ และเป็นเวลาที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนมายุได้ ๘๐ ปี นับแต่ประสูติเป็นต้นมา
พรรษาสุดท้าย พระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ที่เวฬุคาม แขวงเมืองไพศาลี ระหว่างพรรษาทรงพระประชวรเพราะอาพาธหนัก จวนเจียนจะเสด็จปรินิพพานนิพพาน พระสงฆ์ทั้งปวงที่ยังเป็นปุถุชน หรือแม้แต่พระอานนท์ องค์อุปัฏฐากต่างก็หวั่นไหว เพราะตวามตกใจที่เห็นพระพุทธองค์ประชวรหนัก พระพุทธองค์ตรัสบอกพระอานนท์ว่า เวลานี้พระกายของพระองค์ถึงอาการชรามาก มีสภาพเหมือนเกวียนชำรุด ที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่
ทรงหายจากอาพาธคราวนี้แล้ว และเมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระอานนท์เสด็จไปประทับที่ร่มพฤกษาแห่งหนึ่งในปาวาลเจดีย์ แขวงเมืองไพศาลี เวลากลางวัน พระพุทธองค์ทรงแสดงโอภาศนิมิตแก่พระอานนท์ว่า 'อิทธิบาทสี่' (ชื่อของธรรมหมวดหนึ่งมี ๔ ข้อ) ถ้าผู้ใดได้บำเพ็ญได้เต็มเปี่ยมแล้ว สามารถจะต่ออายุให้ยืนยาวไปได้อีกกำหนดระยะเวลาหนึ่ง 'โอภาสนิมิต' แปลเป็นภาษาชาวบ้านว่าบอกใบ้ คือพระพุทธองค์มีพระชนมายุจะสิ้นสุดลงในปีที่กล่าวนี้ จึงทรงบอกใบ้ให้พระอานนท์กราบทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงมีพระชนมายุยืนยาวต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่พระอานนท์ท่านนึกไม่ออก ทั้งๆ ที่พระพุทธองค์ทรงบอกใบ้ถึง ๓ หน
ปฐมสมโพธิบอกว่า เมื่อพระอานนท์นึกไม่ออกเช่นนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสบอกพระอานนท์ให้ไปนั่งอยู่ที่ใต้ร่มไม้อีกแห่งหนึ่ง แล้วมารก็เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลพระพุทธองค์ให้เสด็จนิพพาน พระพุทธองค์ทรงรับคำแล้วทรงปลงอายุสังขาร
'ปลงอายุสังขาร' แปลเป็นภาษาสามัญได้ว่ากำหนดวันตายไว้ล่วงหน้า วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนสาม พระพุทธองค์ตรัสว่า นับจากนี้ไปอีก ๓ เดือนข้างหน้า (กลางเดือนหก) พระองค์จะนิพพานที่เมืองกุสินารา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.84000.org...icture/f68.html
พระพุทธองค์พร้อมกับพระอานนท์้ข้าไปยังกุฎาคารศาลา ป่ามหาวัน ครั้นแล้วตรัสกับพระอานนท์ว่า
"เธอจงให้ภิกษุที่อาศัยอยู่ในกรุงเวสาลีทั้งหมดมาประชุมกัน ที่อุปัฏฐานศาลา"
เมื่อภิกษุมาพร้อมเพรียงกันแล้ว ถวายบังคมยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง
พระพุทธองค์ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาน ธรรมเหล่านั้นพวกเธอเรียนแล้ว พึงส้องเสพ พึงเจริญ พึงกระทำให้มากด้วยดี โดยที่พรหมจรรย์นี้พึงยัั้งยืน พึงดำรงอยู่ได้นาน เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้น คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านี้เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่งแก่พวกเธอ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
ป้ายกำกับ:
[บทความ]
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น