วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๒๓




ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย

บุณยสถานกาสี

ในสมัยพุทธกาล เมืองพารารณสีมีความสำคัญในมหาปรินิพพานสูตร กล่าวว่า อิสิปตนะ เป็นสังเวชนียสถานแห่งหนึ่งในบรรดาสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง และเป็นเมืองหนึ่งที่พระอานนท์กราบทูลพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองใหญ่เหล่านี้คือ จัมปา ราชคฤห์ สาวัตถี สาเกต โกสัมพี พาราณสี ขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเลือกสด็จดับขันธปรินิพพานในเมืองดังกล่าว นอกจากนี้เมืองพาราณสียังเป็นนครแห่งการบำเพ็ญบุญของพระโพธิสัตว์ เตมียราช กับ สุวรรณสาม เป็นต้น

ในคัมภีร์บาลี กล่าวว่า

กาสีคาม แห่งแคว้นกาสี เป็นหมู่บ้านที่พระเจ้ามหาโกศลทรงมอบให้แก่โกศลเทวีธิดาของพระองค์เป็นของขวัญ เมื่อทรงอภิเษกกับพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์มคธ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารถูกอชาตศัตรูทำปิตุฆาต พระนางโกศลเทวี(พระขนิษฐาพระเจ้าปเสนธิโกศล ) ก็สวรรคตด้วยความทุกข์ระทม พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงยึดเมืองกาสีคืนจากพระเจ้าอชาตศัตรูพระราชนัดดา แต่ต่อมาทรงให้อภัยพระเจ้าอชาตศัตรูและยกพระธิดาให้อภิเษกสมรสด้วยและทรงยกเมืองกาสีให้เป็นสินสมรสอีก


ขอขอบคุณภาพจากwww.indiaindream.com

พระพุทธศาสนาเคยรุ่งเรืองในพาราณสีมานานก็ถึงคราวตกต่ำอับแสงลง
ซึ่งในมหาโควิทนสูตรกล่าวว่า

เมื่อพระเจ้าพลาทิยคุปต์สถาปนาเมืองพาราณสีให้เป็นราชธานีอีกครั้ง ได้ทรงยกย่องศาสนาพราหมณ์ขึ้นเป็นศาสนาประจำรัฐ สร้างเทวาลัยทั่วเมืองพาราณสี แม้กษัตริย์ที่ผลัดกันครองราชสมบัติก็นับถือศาสนาพราหมณ์แทบทั้งหมด ศาสนาพุทธกับชินจึงถึงคราวอับแสงลง นำคำสอนอื่นมาผสมผสานเข้า ยกให้พระพุทธเจ้าเป็นอวตารปางหนึ่งของพระวิษณุ ศาสนาพุทธก็ถูกกลืนหายไปในศาสนาของสังกราจารย์ ซึ่งเรียกว่าศาสนาฮินดูในปัจจุบัน

สถานที่ตั้งของเมืองพาราณสี อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองคยา ตัวเมืองอยู่ด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคงคา เชื่อกันว่าเก่าแก่โบราณนานกว่า ๔,๐๐๐ ปี คำว่า เมือง พาราณสี เป็นชื่อเมืองอมตะ ที่ยังไม่เคยเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเลย ทั้ง ๆ ที่กาลเวลายุคสมัยพยายามที่จะให้เป็นชื่ออื่นมาแล้วหลายครั้ง

ในศตวรรษที่ ๑๒ หลวงจีนถังซัมจั๋งได้บันทึกการไปสืบศาสนาที่สารนาถได้บันทึกไว้ว่า ที่สารนาถมีกุฏิอยู่ ๓๐ หลัง มีภิกษูจำพรรษาราว ๑,๕๐๐ รูป ล้วนเป็นภิกษุฝ่ายเถรวาททั้งสิ้น แต่ก็เห็นความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนาที่สารนาถแล้ว คือมีโบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเกิดอยู่ใกล้เคียงสารนาถถึง ๑๐๐ หลัง แสดงถึงศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามารุกรานพุทธศาสนาแล้วในสมัยนั้น




ธัมเมกขสถูป

เป็นสถูปโบราณทรงบาตรคว่ำก่อด้วยหินทราย สถูปสร้างอุทฺสให้ผู้เห็นธรรม
(ธัมเมกข = ธัมมะ + อิกขะ ซึ่ง อิกขะ แปลว่าเห็น ธัมมะ แปลว่า ธรรม)
หมายถึงสถานที่แสดงธรรมที่นำพาให้ถึงความหลุดพ้น มียอดทรงกรวยสูงประมาณ ๘๐ ฟุต วัดโดยรอบประมาณ ๑๒๐ ฟุต สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญญจวัคคีย์

สารนาถบริเวณนี้เคยเป็นอุทยานที่กว้างใหญ่มีต้นไม้ร่มรื่นสนามหญ้าเขียวขจี มีสวนกวางขนาดย่อมทางด้านหลังและมีสวนสัตว์อีกด้วย โดยเฉพาะนกยูงที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ เป็นการสร้างบรรยากาศให้คล้ายคลึงกับครั้งพุทธกาลในอาณาบริเวณมีซากวัตถุโบราณที่ทำการขุดค้นแล้วมากมาย


ขอขอบคุณภาพจากภาพเก่าเล่าเรื่องพระพุทธองค์ โดยพระมหาสุวิทย์ ธัมมสิริ (นาลาด)


สถูปแห่งนี้เคยงดงาม สง่าด้วยพุทธศิลป์ สมณะจีนบันทึกไว้คราวมานมัสการว่า รอบสถูปทั้ง ๘ ช่อง มีพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานอยู่ครบ นักแสงวบุญมาเวียนเทียนประทักษิณ สวดมนต์ไหว้พระกันที่นี่ ทั้งนี้เพราะว่า ณ จุดที่ตั้งธัมเมกขสถูป เชื่อกันว่าเป็นบริเวณที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา นำให้โกณทัญญะพราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทเป็นภิกษุองค์แรกในพระพุทธศาสนา ในกาลต่อมา ณ ที่แห่งนี้ พระพุทธองค์ทรงใช้เป็นที่ชุมนุมของพุทธสาวก ๖๐ องค์ ส่งออกไปประกาศพระพุทธศาสนา นับได้ว่าเป็นพระธรรมทูตชุดแรก

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแก่ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพทั้งหลายว่า
จรถ ภิกขฺเว พหุชนหิตาย พหุนสุขาย โลกานุกมฺปาย

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก อย่าไปทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมที่งามใบเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ให้ครบบริบูรณ์โดยสิ้นเชิงเถิด "

ขีณาสพ หรือ กษีณาศรพ /กะสีนาสบ/ แปลว่า ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว, ผู้สิ้นอาสวะแล้ว หมายถึงพระอรหันต์ผู้หมดอาสวะแล้ว เพราะกำจัดอาสวะคือกิเลสที่หมักหมมอยู่ในจิต ที่ชุบย้อมจิตให้ชุ่มอยู่เสมอได้แล้วอย่างสิ้นเชิงไม่กลับมาเกิดทำอันตรายจิตได้อีกต่อไป เรียกเต็มว่า พระขีณาสพ หรือ พระอรหันตขีณาสพ

ขีณาสพ เป็นผู้ละอาสวกิเลสได้แล้วทั้ง ๓ อย่าง คือ
กาม ความติดใจรักใคร่ในกามคุณ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น
ภพ คือ ความติดอยู่ในภพ ในความเป็นนั่นเป็นนี่
อวิชชา ความไม่รู้จริง ความลุ่มหลงมืดมัวด้วยโมหะ
(ขีณาสพ โดยวิกิพีเดีย )



ขอขอบคุณภาพจากwww.oceansmile.com

สถูปแห่งนี้บางแห่งเรียกว่า ธรรมมุขะ สร้างในสมัยราชวงศ์คุปตะ เชื่อกันว่าสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศรีอริยเมตไตรย โดยเข้าใจว่า ณ สถานที่แห่งนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้คำมั่นสัญญาแก่พระศรีอริยเมตไตรย ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต และสถานที่บริเวณสารนาถตามความเห็นของอินเดีย มีความสำคัญสำหรับพระพุทธศาสนา ๓ ประการ คือ
๑. เชื่อกันว่าพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติที่นี่
๒. สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาประทานปฐมเทศนาที่นี่
๓. พระพุทธเจ้าทรงตกลงกับพระศรีอริยเมตไตรย ที่สถูปธรรมมุข เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปในอนาคต


ขอขอบคุณภาพจากภาพเก่าเล่าเรื่องพระพุทธองค์ โดยพระมหาสุวิทย์ ธัมมสิริ (นาลาด)

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของศิษย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์

พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลกเพื่อประโยชน์เกิ้้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย

พวกเธออย่าได้ร่วมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมที่งามใบเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยํญชนะให้ครบถ้วน บริสุทธิ์ บริบูรณ์ 

สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลี คือกิเลศในจักษุมีอยู่น้อย เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น