วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๓๘ นางมาคันทิยาผู้อาฆาตพระพุทธองค์

นางมาคันทิยา



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.sookjai.com/index.php?topic=37822.0

นางมาคันทิยา เป็นธิดาของพราหมณ์ชื่อมาคันทิยะและนางพราหมณีมาคันทิยา ในแคว้นกุรุ

เนื่องจากนางมีรูปงามดุจนางเทพอัปสร จึงมีเศรษฐี คฤหบดี ตลอดจนพระราชา จากเมืองต่าง ๆ ส่งสารมาสู่ขอมากมาย แต่บิดามารดาของนางก็ปฏิเสธทั้งหมดด้วย คำว่า “พวกท่านไม่คู่ควรแก่ธิดาของเรา” นางจึงครองความเป็นโสดเรื่อยมา

พระบรมศาสดาทรงพิจารณาเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของพราหมณ์สองสามีภรรยา จึงเสด็จมายังแคว้นกุรุ

ฝ่ายพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของนางออกไปธุระนอกบ้าน พบพระศาสดาในที่ไม่ไกลจากบ้านของตนนัก เห็นพระลักษณะถูกตาต้องใจและคิดว่า “บุรุษผู้นี้แหละคู่ควรกับลูกสาวของเรา”
 พราหมณ์จึงเข้าไปกราบทูลพระบรมศาสดาให้คอยอยู่ตรงนี้ก่อนตนจะกลับไปบอกนางพราหมณีภรรยาและนำลูกสาวมายกให้

จากนั้นก็รีบกลับไปบ้านแจ้งแก่ภรรยาว่าพบชายผู้คู่ควรกับธิดาแล้ว ขอให้รีบแต่งตัวธิดาแล้วพาออกไปโดยด่วน


ฝ่ายพระบรมศาสดามิได้ประทับอยู่ตรงที่เดิม ทรงอธิษฐานประทับรอยพระบาทไว้แล้วเสด็จไปประทับในที่ไม่ไกลจากที่นั้น
สองสามีภรรยาพร้อมด้วยธิดามาคันทิยาเมื่อมาถึงที่นั้น ไม่เห็นพระพุทธองค์ในที่นั้นก็มองหาจนพบรอยพระบาท
พราหมณ์ผู้สามีจึงกล่าวว่า “นี่แหละคือรอยเท้าของชายคนนั้น”
เนื่องจากนางพราหมณีผู้ภรรยามีความเชียวชาญเรื่องมนต์ทำนายลักษณะฝ่าเท้า จึงบอกแก่สามีว่า
“รอยเท้านี้มิใช่รอยเท้าของคนเสพกามคุณ เพราะธรรมดารอยเท้าของคนที่มีราคะ จะมีรอยเท้ากระหย่งคือเว้าตรงกลาง
คนที่มีโทสะ รอยเท้าจะหนักส้น
คนที่มีโมหะ รอยเท้าจะหนักที่ส่วนปลาย
แต่รอยเท้านี้เป็นรอยเท้าของคนไม่มีกิเลส ดังนั้น เจ้าของรอยเท้านี้จะไม่มีความยินดีในกามคุณ”

ฝ่ายพราหมณ์ผู้สามีไม่เชื่อคำนำนายของภรรยา พยายามมองหาจนพบพระบรมศาสดาแล้วกล่าวกับภรรยาว่า “ชายคนนี้แหละเป็นเจ้าของรอยเท้านั้น เป็นผู้ที่คู่ควรกับลูกสาวของเรา” แล้วเข้าไปกราบทูลว่า:-

“ท่านสมณะ ข้าพเจ้าจะยกธิดาให้เป็นคู่ชีวิตแก่ท่าน”
พระผู้มีพระภาค ตรัสห้ามแล้วตรัสต่อไปว่า:- “ดูก่อนท่านพราหมณ์ เมื่อตถาคตตรัสรู้ใหม่ ๆ ธิดามาร ๓ คน คือนางตัณหา นางอรดี และนางราคา ซึ่งล้วนมีร่างกายเป็นทิพย์สวยงามกว่าธิดาของท่านหลายเท่านัก มาประเล้าประโลมเราที่โคนต้นอชปาลนิโครธ เรายังไม่สนใจไม่พอใจ เหตุไฉนจะมาพอใจยินดีในลูกสาวของท่านที่ร่างกายเต็มไปด้วยมูตรและกรีส (ปัสสาวะและอุจจาระ) ถ้าเท้าของเราเปื้อนฝุ่นธุลีมา และลูกสาวของท่านเป็นผ้าเช็ดเท้า เรายังไม่ปรารถนาจะถูกต้องลูกสาวของท่านแม้ด้วยเท้าเลย”



ขอขอบคุณภาพจากtrang82.wordpress.com

เมื่อตรัสดังนี้แล้ว ทรงแสดงธรรมโปรดสองสามีภรรยาจนได้บรรลุเป็นพระอนาคามี

สองสามีภรรยากราบทูลขออุปสมบทปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสองท่าน

ฝ่ายนางมาคันทิยา ได้ยินพระดำรัสของพระศาสดาโดยตลอด รู้สึกโกรธที่พระพุทธองค์ตำหนิประณามว่าร่างกายของนางเต็มไปด้วยอุจจาระปัสสาวะ ไม่ปรารถนาจะสัมผัสถูกต้องแม้ด้วยเท้า จึงผูกอาฆาตของเวรต่อพระศาสดา

เมื่อบิดามารดาของนางมาคันทิยาออกบวชหมดแล้ว นางจึงได้ไปอยู่อาศัยกับน้องชายของบิดาผู้เป็นอาชื่อ จูฬมาคันทิยะ

ต่อมาอาของนางคิดว่าหลานสาวผู้มีความงามเป็นเลิศอย่างนี้ ย่อมคู่ควรแก่พระราชาเท่านั้น จึงนำไปถวายเป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน แห่งกรุงโกสัมพี เป็นมเหสีองค์ที่ ๓



ขอขอบคุณภาพจาก

สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จมายังเมืองโกสัมพี มีพระอานนท์เถระตามเสด็จมาด้วย พระนางมาคันทิยา ได้โอกาส จึงว่าจ้างทาส กรรรมกร และนักเลงพวกมิจฉาทิฏฐิ ผู้ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ให้ติดตามด่าพระพุทธองค์ไปในทุกหนทุกแห่งทั่วทั้งเมืองด้วยคำด่า ๑๐ ประการคือ
เจ้าเป็นโจร
เป็นคนพาล
  เป็นคนบ้า
เป็นอูฐ
เป็นลา
เป็นวัว
เป็นสัตว์นรก
เป็นสัตว์ดิรัจฉาน
สุคติของเจ้าไม่มี
เจ้ามีแต่ทุคติอย่างเดียว

พระอานนท์เถระได้ฟังแล้วสุดที่จะทนไหว จึงกราบทูลให้พระพุทธองค์เสด็จไปยังเมืองอื่น
พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า:-
“อานนท์ ถ้าคนที่เมืองนั้นด่าเราอีก เราจะทำอย่างไร ?”
“ก็เสด็จไปที่เมืองอื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า”
“ถ้าคนที่เมืองนั้นด่าเราอีก เราจะทำอย่างไร ?”
“ก็เสด็จไปที่เมืองอื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า”
“ดูก่อนอานนท์ ถ้าทำอย่างนั้นเราก็จะหนีกันไม่สิ้นสุด ทางที่ถูกนั้นอธิกรณ์เกิดขึ้นในที่ใด ก็ควรให้อธิกรณ์สงบระงับในที่นั้นก่อนแล้วจึงไป”
พระพุทธองค์ตรัสต่อไปอีกว่า:-
“ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาอธิกรณ์เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วย่อมไม่เกิน ๗ วัน ก็จะสงบระงับไปเอง”

และพระศาสดาได้ตรัสกับพระอานนท์ด้วยว่า “อานนท์ เราเป็นเช่นกับช้างที่เข้าสู่สงคราม การอดทนต่อลูกศรที่แล่นมาจาก 4 ทิศ เป็นภาระของช้างที่เข้าสู่สงคราม ฉันใด ชื่อว่าการอดทนถ้อยคำที่ชนทุศีลแม้มากกล่าวแล้ว เป็นภาระของเราฉันนั้นเหมือนกัน” จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท สามพระคาถานี้ว่า

อหํ นาโคว สงฺคาเม
จาปาโต ปติตํ สรํ
อติวากฺยํ ติติกฺขิสฺสํ
ทุสฺสีโล หิ พหุชฺชโน ฯ


ทนฺตํ นยนฺติ สมิตึ
ทนฺตํ ราชาภิรูหติ
ทนฺดต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ
โยติวากฺยํ ติติกฺขติ ฯ

วรมสฺสตรา ทนฺตา
อาชานียา จ สินฺธวา
กุญฺชรา จ มหานาคา
อตฺตทนฺโต ตโต วรํ ฯ
เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน
เหมือนช้างอดทนลูกศรที่ตกจากแล่งในสงครามฉะนั้น
เพราะชนเป็นอันมากเป็นผู้ทุศีล
ชนทั้งหลาย ย่อมนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม
พระราชาย่อมทรงสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้ว.
บุคคลผู้อดกลั้นคำล่วงเกินได้ ฝึกตนแล้ว
เป็นผู้ประเสริฐ ในมนุษย์ทั้งหลาย
ม้าอัสดร๑ ม้าสินธพผู้อาชาไนย1๑
ช้างชนิดกุญชร๑ ที่ฝึกแล้ว
ย่อมเป็นสัตว์ประเสริฐ
แต่บุคคลที่มีตนฝึกแล้ว
ย่อมประเสริฐกว่า(สัตว์พิเศษนั้น)”


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง มหาชนแม้ทั้งหมดนั้น ผู้รับสินจ้างแล้วยืนด่าอยู่ในที่ทั้งหลาย มีถนนและทางแยกเป็นต้น บรรลุโสดาปัตติผล


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก

http://www.84000.org/one/4/04.html
http://www.sookjai.com/index.php?topic=37822.0
http://board.palungjit.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น