วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

พญาสัตบรรณ





ชื่อไทย พญาสัตบรรณ


ต้นพญาสัตบรรณ เคียงข้างอนุสาวรีย์พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)


ชื่อสามัญ Devil Tree , White Cheesewood ,Black Board tree,Devil 's Bark,Dita Bark
ชื่ออื่น สัตบรรณ (ภาคกลาง เขมร-จันทบุรีชบา ตีนเป็ด (ภาคกลาง) ตีนเป็ดขาว (ยะลา) ยางขาว (ลำปาง) หัสบรรณ (บางแห่งใช้ หัสบัน ) (กาญจนบุรี) จะบัน (เขมร-ปราจีนบุรี) ,กะโน๊ะ ( กะเหรี่ยง -แม่ฮ่องสอน) บะซา ปูลา ปูแล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris (Linn.) R.Br.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE




ลักษณะทั่วไป

พญาสัตบรรณเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตรผิวลำต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ เปลือกหนาแต่ดปราะ ผิวลำต้นมีสะเก็ดเล็กๆสีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาว

 ลำต้น
ตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้น ๆ เปลือกต้นสีเทา มียางขาวมาก





ใบ
ใบเดี่ยว เรียงรอบข้อ ออกเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น ใบสีเขียวถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับ ยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลม





ดอก
ดอกเป็นช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลำต้นดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็ม ช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่มดอกมีสีขาวอมเหลือง
ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดดมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่น ๆ

ออกดอก เดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน






ผล
เป็นฝักเรียวยาว ลักษณะเป็นเส้นๆ มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ ในฝักมีเมล็ดเล็ก ๆ เมล็ดแบบทรงบรรทัดแคบ ๆ มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง





ถิ่นกำเนิด
เป็นพืชท้องถิ่นดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแฟริกาเขตร้อน ขึ้นตามป่าละเมาะและป่าดิบทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ในทุกภาค



การขยายพันธุ์
เมล็ด ปักกิ่งชำ ราก





สรรพคุณ
ราก
ขับลมในลำไส้




เปลือกต้น
มีสาร อัลคาลอยด์ picralinal และ echitamine แก้บิด ขับพยาธิไส้เดือน ขับระดู ขับน้ำเหลืองเสีย สมานลำไส้ แก้ไข้หวัดหลอดลมอักเสบ โรคตับ ไข้มาเลเรีย เบาหวาน

 ใบ
ตำพอกดับพิษต่าง ๆ
ใบอ่อน ชงน้ำดื่มแก้โรคลักปิดลักเปิด





เมล็ดมีสาร cardiac glycoside เป็นพิษ
จาก หนังสือไม้ดอกและไม้ประดับ




ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เปลือกต้นพญาสัตบรรณรักษาโรคบิด ลำไส้ติดเชื้อ และมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
ในประเทศอินเดียมีการนำส่วนต่างๆ ของต้น พญาสัตบรรณมาใช้เป็นพืชสมุนไพรเช่นใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคมาลาเรียในชื่อ Ayush-64 ซึ่งมีขายตามท้องตลาด นำยางสีขาวและใบรักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ นอกจากนี้ ต้นพญาสัตบรรณยังเป็นแหล่งของสารอัลคาลอยด์ที่สำคัญ
ในบอร์เนียว นำเนื้อไม้ไปทำทุ่นของแหและอวน
จากวิกิพีเดีย

การทดลองในสัตว์พบว่าสารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิด (สารานุกรมสมุนไพร เล่ม1 สมุนไพร สวนสิรีรุกขชาติ)






นายเจษฎา ตั้งมงคลสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ จ.ชลบุรี ในฐานะนักศึกษาโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (Junior Science Talent Project : JSTP) สวทช.เปิดเผยว่า ได้ทำโครงงานวิจัย เรื่อง “ผลของการสกัดหยาบและส่วนสกัดของดอกพญาสัตบรรณที่มีต่อพฤติกรรมยุง” โดยมี ผศ.ดร.จงกลณี จงอร่ามเรือง ภาควิชาเคมี และอาจารย์เบญจวรรณ ชิวปรีชา จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
เบื้องต้นสรุปได้ว่า สารหอมระเหยในดอกพญาสัตบรรณน่าจะมีผลต่อการไล่ยุง ขั้นตอนในงานวิจัยต่อไปอยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมในเชิงลึกว่าสารที่ออกฤทธิ์ไล่ยุงของดอกพญาสัตบรรณคือสารใด และเพราะเหตุใดจึงสามารถไล่ยุงได้






การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นสัตบรรณไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเกียรติเพราะพญาสัตบรรณหรือฉัตรบรรณคือเครื่องสูงที่ใช้ในขบวนแห่เป็นเกียรติยศ และ พญา ก็คือ ผู้เป็นใหญ่ที่ควรยกย่อง เคารพนับถือ ดังนั้นพญาสัตบรรณจึงเป็นไม้มงคลนาม นอกจากนี้การเจริญเติบโตของทรงพุ่มมีลักษณะคล้ายกับฉัตรคือเป็นชั้นๆ และยังมีความเชื่ออีกว่าบ้านใดปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ประจำบ้านจะได้รับการยกย่องและนับถือจากบุคคลทั่วไปเพราะสัตคือสิ่งที่ดีงามมีคุณธรรมดังนั้นจึงเป็นที่เคารพนับถือและยก ย่องของคนทั่วไป





ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search_detail&medicinal_id=118
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/BotanicalGarden/sattaban.html
http://www.dnp.go.th/EPAC/province_plant/samudkhon.htm
http://www.saunmitpranee.com/catalog.php?category=36
http://jstpmedia.exteen.com/20120907/entry
วิกิพีเดีย
หนังสือไม้ดอกและไม้ประดับ





บทความนี้เขียนไว้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม แต่ยังไม่มีภาพประกอบ เผอิญป่วยเพราะอากาศเปลี่ยนแปลงเสียหลายวัน
เมื่อกว่า สิบปีก่อน ที่สวนจตุจักรนำต้นพญาสัตบรรณมาขายใหม่ ๆ แผงขายไม้ดอกหอมก็บอกว่า ชื่อเป็นมงคล และดอกหอมมาก ดอกสวยมากด้วย ราคาก็แพงเป็นธรรมดา พลอยโพยมซื้อหามาปลูก มีนกรอาวุโสของบ้านหัวเราะขำพลอยโพยมและบอกว่า คือต้นตีนเป็ด ต่อมาก็ขายในแผงไม้ป่า ต้นสูงเกือบเมตร ราคาต้นละ 20 บาท พลอยโพยมรู้สึกว่่าเสียรู้อีกแล้วเลยประชดซื้อมาอีกหลายต้น แต่ไป ๆ มา ๆ ก็ตายจนเหลือต้นเดียวในบ้าน เพราะรอเทวดารดน้ำให้นั่นเอง ต้นที่เหลืออยู่ก็ถูกตัดแต่งกิ่งจนสูงลิบลิ่ว จนไม่เคยได้เห็นดอก (เพราะไม่ค่อยได้แหงนเงยดู) ก็เลยไม่สังเกต และไม่เคยได้กลิ่นหอมว่า หอมฉุนแบบไหน หอมแรงเพียงใด และเพราะปลูกไกลบ้านก็เลยไม่ต้องวิงเวียนศีรษะกับไม้มงคลต้นนี้



ลำต้นและรูปทรงของต้นก็สมชื่อว่าพญาสัตบรรณจริง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น