วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

รวยรินกลิ่นผกา..ไม้ดอกหอม


รวยรินกลิ่นผกา




ยามเช้า หอมกลิ่น ดอกไม้
ชื่นใจ มะลิ เข็มขาว
สายหยุด พุดซ้อน งามพราว
กุหลาบ สวยราว เนรมิต



ดอกช้างกระ

ยามสาย กลิ่นแก้ว จำปี
ช้างกระ สลับสี ไพจิตร
มณฑา รสสุคนธ์ ชวนพิศ
หอมตลบ ชวนชิด เชยชม



ดอกกระดังงาสงขลา


ยามเย็น พลบค่ำ ค่อนคืน
รวยรื่น กระดังงา สุขสม
ดอกปีบ หอมหวน ทวนลม
ราตรี ลั่นทม เล็บมือนาง



ดอกเล็บมือนาง

โลกเรานี้แวดล้อมด้วยกลิ่นไม้ดอกหอมทุกช่วงเวลา ตั้งแต่ เช้า สาย บ่าย ค่ำ จนย่ำดึก พรรณไม้ดอกหอมในบ้านเรามีมากมาย ไม้ดอกหอมเหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดกลิ่นหอมตามธรรมชาติ คนไทยจะเคยคุ้นชินกลิ่น ไม้ดอกหอม ตั้งแต่แรกเกิดนอนในเปลที่ห้อยอุบะดอกไม้สด พวงมาลัยมะลิเรียงร้อยในพิธีโกนผมไฟ และในวัยที่เติบโตขึ้นมาเป็นลำดับก็ล้วนผูกพันกับไม้ดอกหอม จนแก่ชรา ถึงแก่ชีวิต ในพิธีศพก็มักประดับประดากด้วยไม้ดอกหอม เช่นกุหลาบ ซ่อนกลิ่น และอื่น ๆ ไม้ดอกหอม จึงสำคัญมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต คนไทยอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด





ดอกสายหยุดดอกแดง

ไม้ดอกหอมสะท้อนศิลปวัฒนธรรมไทย
กลิ่นหอมของดอกไม้ก่อให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด จินตนาการและแรงบันดาลใจ รังสรรค์สิ่งที่ดีงามนานัปการ ศิลปวัฒนธรรมไทยในหลายประเภท เช่น ศิลปลายไทย ภาพวาด ภาพแกะสลัก สิ่งก่อสร้างทั้งวัดวาอาราม พระราชวัง ผู้รังสรรค์ความงามได้รับอิทธิพลจากไม้ดอกหอม วรรณคดีไทยมักนำดอกไม้หอมมาผูกเรื่อง เช่นอิเหนา ที่กล่าวถึงอิเหนาใช้กลีบดอกปะหนันหรือลำเจียกที่มีกลิ่นหอม เขียนสารสื่อรักให้บุษบา




ดอกลำเจียก

ความหอมของดอกไม้มีคำใช้สื่อความถึงกลิ่นหอมหลายคำเช่น หอมเย็น หอมหวาน หอมฉุน หอมแรง หอมอ่อน ๆ หอมเอียน หอมสดชื่น หอมฟุ้ง หอมละมุน หอมกรุ่น หอมตลบ หอมอบอวล หอมขจรขจาย เนื่องจากความหอมของดอกไม้มีความแตกต่างกัน
มีคำเปรียบเทียบตามคุณลักษณะดอกไม้เช่น หอมดังกลิ่นกุหลาบ ขาวดุจดอกมะลิ กระดังงาลนไฟ ดอกพิกุลร่วง ซ่อนกลิ่นซ่อนชู้ เลือดประดู่ไทย ต้นรักดอกโศก



ดอกสายหยุด

ไม้ดอกหอมกับภูมิปัญญาไทย
คนไทยในสมัยก่อนนำดอกไม้หอมมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเช่น
นำมาประดิษฐ์เพื่อการประดับตกแต่งและเครื่องบูชาในงานพิธีต่าง ๆ ทั้งทางศาสนา และประเพณี เช่น ดอกจำปี จำปา มะลิซ้อน นำมาประดับทัดหู ห้อยเสียบผมประบ่า
ประดิษฐ์ร้อยกรองเข่น มะลิ กุหลาบ พิกุล พุทธชาด จำปี จำปา นำมาทำตุ้มอุบะ พวงมาลัย จัดแต่งพุ่มประดับ ประดับสถานที่ต่าง ๆ ให้สวยงาม



ใช้ทำเครื่องสำอางและเครื่องหอม
คนโบราณนิยมปรุงเครื่องหอม
เครื่องหอมประกอบด้วยดอกไม้หอม ใช้อบร่ำเครื่องนุ่งห่มให้หอมติดนาน บุหงารำไปหรือบุหงา (คือดอกไม้ที่ปรุงด้วยเครื่องหอม แล้วบรรจุในถุงผ้าดปร่งเล็ก ๆ ทำเป็นรูปทรงน่ารัก
ใชเน้ำอบน้ำปรุงประพรมร่างกายให้เย็นสบายหอมผิวกาย ก่อนที่น้ำหอมจากทวีปยุโรปจะเข้ามาแพร่หลาย ซค่งก็ได้จากกรรมวิธีสกักกลิ่นจากไม้ดอกหอมเป็นหลัก ดอกไม้ที่นิยมนำมาสกัดได้แก่ มะลิ กุหลาบ กระดังงา ชำมะนาด เป็นต้น


ดอกชำมะนาด

ใช้ปรุงแต่งอาหาร
นิยมใช้ดอกมะลิ กุหลาบ กระดังงา ปรุงแต่งกลิ่นอาหารโดยเฉพาะของหวาน ให้มีกลิ่นหอมและดูสวยงาม ส่วนดอกขจรและดอกพะยอม นำมาปรุงทั้งอาหารความหวาน แม้กระทั่งน้ำดื่มบางคนนิยมดื่มน้ำลอยดอกมะลิที่หอมจรุงใจ

เครื่่องปรุงยาสมุนไพร
คนไทยนิยมนำดอกไม้หอมหลายชนิดเป็นเครื่องประกอบตามตำรับยาไทย ผสมปรุงแต่งเป็นยารักษาโรคและยาบำรุงร่างกาย ปัจจุบันนิยมทำเป้นยาสมุนไพรใช้ชงดื่มเพื่อบำรุงสุขภาพ ไม้ดอกหอมที่นิยมนำมาทำยาสมุนไพรมีดอกมะลิ ปีบ พะยอม สารภี คัดเค้า พิกุล เป็นต้น



ดอกปีบ

ปลูกเป็นไม้ประดับ
ในวรรณดีเรื่องขุนช้างขุนแผน กล่าวถึงต้นไม้ที่มีดอกหอม เช่น แก้ว มะลิ โศก พุดซ้อน ที่ปลูกประดับตามระเบีบงของชานเรือน ส่ว่นจามบ้านเรือนคนไทยที่นิยมปลูกไม้ดอกหอมเป็นรั้วรายรอบบ้าน หรือประดับให้สวยงาม เช่น แก้ว มะลิ โศก พุดซ้อน พุทธชาด ราตรี ซ่อนกลิ่น ชำมะนาด กุหลาบ ส่วนที่นิยมปลูกตามสวนสาธารณะและริมถนนหนทาง เพื่อให้ร่มเงาและส่งกลื่นหอมตามฤดูกาล เช่น กันเกรา อะโศก พิกุล ประดูป่า ลำดวน สารถี บุนนาค ปีบ


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพดอกลำเจียกจากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฉบับเสริมการเรียนรู้เล่มที่ 1

หมายเหตุ
ชำมะนาด : ชื่อไม้เถาชนิด Vallaris glabra Kuntze ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาวเป็นช่อ กลิ่นเหมือนข้าวใหม่, ดอกข้าวใหม่ ก็เรียก, เขียนเป็น ชํมนาด ก็มี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น