วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๑๙ ป่าอืสิปตนมฤคทายวัน



อิสิปตนมฤทายวัน...สารนาถ...

ขอขอบคุณภาพจาก
www.geocities.ws


อิสิปตนมฤทายวัน เป็นป่าไม้ที่มีความร่มรื่น เป็นที่ตกลงของเหล่าฤาษี
ความเดิมเล่ากันว่า
ฤาษีผู้ทรงฌานสมาบัตินิยมมาชุมในุมกัน ณ สถานที่แห่งนี้สนทนาธรรมกัน ข้อตกลงใน ข้ออรรถ ข้อธรรมต่าง ๆ บางท่านเล่าว่า พระฤาษีเหาะมาจากทิศใด ๆ ก็ตาม ก็จะตกลงมา ณ ที่ตรงนี้
เมื่อดูตามคำศัพท์ที่ว่า อิสิ + ปตนะ ก็น่าจะได้ความเช่นนั้นอยู่เหมือนกัน


ป่าอิสิปตนมฤทายวัน ปัจจุบันเรียกว่าสารนาถ
สารนาถ หรือป่าอิสิปตนมฤทายวัน แคว้นเมืองพาราณศรี เป็นสังเวชนียสถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เมื่อวันเพ็ญ อาสาฬหมาส ก่อนพุทธศก ๔๕ ปี

สถานที่แห่งนี้เคยเป็นศูนย์กลางของศาสนาพราหมณ์ มีพวกฤาษีชีไพรตั้งอาศรมอยู่นอกเมือง โดยเฉพาะในครั้งพุทธกาล ป่าอิสิปตนมฤทายวัน เป็นรมมณียสถานที่สมบูรณณ์ด้วยนักพรต ดาบส ฤาษี แม้แต่ปัญวัคคีย์ทั้ง ๕ ผู้ละทิ้งพระพุทธองค์ขณะเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ก็พากันมาอยู่ที่นี่

ขอขอบคุณภาพจาก
http://ld2541.blogspot.com/2012/05/blog-post_150.html

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจึงออกเดินทางต่อไปโดยลำดับ จนถึงพวกภิกษุปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี. พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้เห็นเราเดินทางมาแต่ไกลจึงได้นัดหมายกันว่า ท่านพระสมณโคดมพระองค์นี้ ที่เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก กำลังเสด็จมา พวกเราไม่ต้องไหว้ ไม่ต้องลุกขึ้นยืนรับ ไม่ต้องรับบาตรจีวร แต่ว่าต้องปูอาสนะไว้ ถ้าทรงปรารถนา ก็จักประทับนั่ง.

เมื่อเราเข้าไปใกล้ พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ในข้อนัดหมายกัน คือ บางรูปลุกขึ้นรับบาตรจีวร บางรูปปูอาสนะ บางรูปตั้งน้ำล้างเท้า แต่พูดกับเราโดยระบุนาม และใช้คำพูดว่า "อาวุโส"

เราจึงบอกภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้พูดกับตถาคตโดยระบุนาม และใช้คำพูดว่า "อาวุโส" ตถาคตได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤตธรรมที่เราได้บรรลุ เราจะแสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันเป็นคุณยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรผู้ออกบรรพชาโดยชอบ มุ่งหมาย ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง.

 เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวกับเราว่า
ดูกรอาวุโส โคดม แม้เพราะการประพฤติอย่างนั้น เพราะการปฏิบัติอย่างนั้นเพราะการบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างนั้น ท่านก็ไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นอริยญาณทัสสนะชั้นพิเศษอย่างเพียงพอ ก็บัดนี้ ไฉนเล่า ท่านผู้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นอริยญาณทัสสนะชั้นพิเศษอย่างเพียงพอได้

เมื่อพวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนี้แล้ว เราจึงได้กล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมิได้เป็นคนมักมาก มิได้คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันเป็นคุณยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรผู้ออกบรรพชาโดยชอบ มุ่งหมาย ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง.

พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวคัดค้านกับเราเป็นครั้งที่สอง เป็นครั้งที่สาม
เมื่อพวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวคัดค้านอยู่อย่างนี้ เราจึงได้กล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่า คำอย่างนี้ เราได้เคยพูดมาแล้วแต่ก่อน.
พวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำอย่างนี้พระองค์มิได้เคยตรัสเลย.

 เราจึงกล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมิได้เป็นคนมักมาก มิได้คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว เราจะแสดง ธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันเป็นคุณยอดเยี่ยมที่กุลบุตรผู้ออกบรรพชาโดยชอบ มุ่งหมายในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง.
เราจึงได้สามารถให้พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ยอมเข้าใจตาม.




ขอขอบคุณภาพจาก
www.kammatan.com

เรากล่าวสอนภิกษุสองรูปภิกษุสามรูปก็เที่ยวไปบิณฑบาต เราทั้งหกคนฉันบิณฑบาตที่ภิกษุสามรูปนำมา.
เรากล่าวสอนภิกษุสามรูป ภิกษุสองรูปก็เที่ยวไปบิณฑบาต เราทั้งหกคนฉันบิณฑบาตที่ภิกษุสองรูปนำมา......"

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://ld2541.blogspot.com/2012/05/blog-post_150.html


ตามมิคาราชชาดก กล่าวว่า

ป่าอิสิปตนมฤทายวัน แห่งนี้ เป็นที่อาศัยของกวางซึ่งพระเจ้ากรุงพาราณสีโปรดพระราชทานไว้ และให้ความคุ้มครองด้วยคุณธรรมของพระยากวางโพธิสัตว์

คำว่า "สารนาถ" นำมาจาก "สารังคนาถ " แปลว่าพื้นดินที่เป็นที่พึ่งของสัตว์ คือกวาง หมายถึงที่พึ่งอันประเสริฐของมวลมนุษย์ จากการประกาศพระธรรมจักร คือ ทางเดินที่เลือกไว้ดีแล้ว ได้แก่ "มัชฌิมาปฏิปทา"

.


ขอขอบคุณภาพจาก
picasaweb.google.com


ปัจจุบันเป็นบุญสถานของผู้แสวงบุญที่มาจาริก มาไหว้พระ สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ของชาวพุทธทั่วโลก ด้วยสำคัญว่าเป็นที่ " สังฆรัตนะ " เกิดขึ้นสมบูรณ์ครั้งแรกในโลกเมื่อพระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม หลังจากสดับพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกและกัณฑ์ลำดับต่อมา ได้เทศนาโปรดบุตรเศรษฐีชื่อว่า ยสะ ไม่นานพระอริยสงฆ์ก็เกิดขึ้น ๖๐ องค์ ในพรรษาแรกนี้เอง



ขอขอบคุณภาพจากdownload.buddha-thushaveiheard.com

อุบัติสังฆรัตนะ

ในวันเพ็ญเดือนอาสฬะ คือขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนา ซึ่งทำให้ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ท่านได้กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนาแล้วประทับจำพรรษาแรก ณ อิสิปตนมฤทายวัน

วันต่อมา พระพุทธองค์ประทานโอวาทแก่ปัญญจวัคคีย์ที่เหลือด้วยธรรมีกถา ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ ท่านวัปปะ และท่านภัททิยะ ว่า 

"สื่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา" 

ท่านทั้งสองบรรลุธรรมแล้วได้กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระบรมศาสดาประทานอหิภิกขุอุปสมบทแก่ท่านทั้งสองนั้น

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารที่ภิกษุทั้งสาม (ที่บรรลุแล้ว) บิณฑบาตนำมาถวาย ทั้ง ๖ รูปก็เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนั้น

วันต่อมา พระโลกนาถประทานโอวาทแก่ปัญญวัคคีย์ที่เหลือด้วยธรรมีกถา ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ ท่านมหานามะและท่านอัสสชิ ว่า

" สื่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา "

ท่านทั้งสองบรรลุธรรมแล้วได้กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานอหิภิกขุอุปสมบทแก่ท่านทั้งสองนั้น




ขอขอบคุณภาพจากprovince.m-culture.go.th



สถูปเจาคันธี



จากเมืองพาราณสีไปทางตะวันออก เฉียงเหนือประมาณ ๙ กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณเจดีย์หรือสถูปเก่าที่เป็นอนุสรณ์ของปัญจวัคคีย์ทั้ ๕ สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษ ที่ ๗ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงว่า ครั้งเมื่อปัญจวัคคีย์หลีกหนีพระพุทธองค์ด้วยสำคัญผิดเพราะมีมิจฉาทิษฐิอย่างแรงได้มาอาศัยอยู่ที่นี่ หลังจากทรงตรัสรู้แล้วพระพุทธองค์ทรงมีพระเมตตาเสด็จมาโปรดปัญญวัคคีย์ สันนิษฐานว่าพบกัน ณ ที่จุดนี้เป็นครั้งแรก และได้ทำความเข้าใจกันในเบื้องต้น จากนั้นนำไปสู่ป่าอิสิปตนมฤทายวัน ตรัสสอนธรรมะอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ณ ที่นั้น

เดิมเจดีย์แห่งนี้สูง ๓๐๐ ฟุต ผุพังตามกาลเวลา เหลืออยู่ ๗๐ ฟุต และมีลักษณะส่วนบนที่เบี่ยงเบนจากพุทธศิลปไปมาก ด้วยว่าเมื่อครั้งราชวงศ์โมกุลเรืองอำนาจ เกิดความวุ่นวายแย่งราชสมบัติเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ หูมายูน (Humayun) กษัตริย์ราชวงศ์โมกุล ทรงเป็นกษัตรย์ที่ทรงปกครองที่เข้มงวด ไม่ให้เสรีภาพแก่ผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ กษัตริย์ราชวงศ์โมกุล และถูกเสรชาห์ยึดอำนาจได้ ต้องไร้บัลลังก์ถึง ๑๕ ปี เคยมาลี้ภัยที่สถูปแห่งนี้ เมื่อบ้านเมืองสงบดี ต่อมาจนถึง อักบาร์มหาราช

(กษัตริย์อักบาร์ (Akbar) เป็นบุตรของหุมายุน ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากบิดา พ.ศ.๒๐๙๙ ขณะอายุ ๑๓ ปี เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย เคยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ลัคเนาว์ ๑๓ ปี มีเสนาคู่ใจเป็นฮินดูนามว่า ราชามานสิงห์ ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ไม่ได้บีบบังคับชาวฮินดู พุทธ เชนหรือซิกซ์ให้มานับถือศาสนาอิสลามเหมือนกษัตริย์องค์ก่อน ๆ พยายามจะสถาปนาศาสนาขึ้นใหม่แต่ไม่สำเร็จ ปกครองจนถึง พ.ศ. ๒๑๔๘ รวม ๔๙ ปี

ในสมัยของจักรพรรดิอักบาร์พ.ศ. ๒๑๔๓ พ่อค้าชาวอังกฤษได้เข้ามาอินเดียเพื่อค้่าขายและก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก (East Indian Company) ขึ้นซึ่งต่อมาก็กลายเป็นบริษัทที่เข้ายึดครองอินเดียทั้งหมดในสมัยต่อมา )

อักบาร์มหาราช โปรดให้สร้างหอคอยแปดเหลี่ยม ขึ้นใน พ.ศ. ๒๑๓๑ บนสถูปทางพุทธศาสนาที่สูงถึงฟ้าคราม เพื่อเป็นที่ระลึกในการที่ หูมายูน กษัตริย์มุสลิมบิดาของอักบาร์เสด็จมาสารนาถ หมายถึงการแสดงอิทธิพลของศาสนาอิสลามนั่นเอง เชอร์อเล็กซานเดอร์ ฯ พยายามเจาะลงที่ใจกลางสถูปจากเบื้องบน เพื่อค้นหาพระบรมสารีริกธาตู แต่ก็หาไม่พบ การเจาะแบบนี้ทำให้พระสถูปไม่ถูกทำลาย

เจาคันธี เป็นรอยต่อของอดีตที่น่าระลึกถึง โดยลักษณะเป็นสถถาปัตยกรรมของโมกุล ที่สร้างทับยอดยอดเจดีย์เดิมของพุทธศาสนา เป็นเครื่องเตือนใจผู้มาเยือนให้รู้ซึ้งถึงความเปลี่ยนแปลงของ อำนาจ ทรัพย์และบริวาร โดยอาศัยช่วงจังหวะที่มีกำลังแต่ไร้จิตสำนึกจนปรากฎให้เห็นแก่โลกเช่นนี้เอง

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://ld2541.blogspot.com/2012/05/blog-post_150.html
http://www.indiaindream.com
หนังสือสู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย - เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโท)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น