วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

[บทความ] ดอกเรียงราย....พริ้งพรายพุ่ม ...กุ่มบก

ดอกเรียงราย... พริ้งพรายพุ่ม ..กุ่มบก


ต้นกุ่มบก

ต้นกุ่มบกเป็นต้นไม้ที่เกี่ยวพันกับพุทธประวัติ
เป็นโพธิญาณพฤกษา
พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัสรู้

ต้น กุ่มบกในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นกักกุธะ” หรือ “ต้นกกุธะ” หรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า “ มารินา ”



ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ อโนมทัสสีพุทธวงศ์, สิขีพุทธวงศ์ และปิยทัสสีพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า

พระพุทธเจ้า 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 10 พระนามว่า พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 10 เดือนเต็ม, พระพุทธเจ้าองค์ที่ 23 พระนามว่า พระสิขีพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 8 เดือนเต็ม และ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 16 พระนามว่า พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 6 เดือนเต็ม ทั้งสามพระองค์จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้กุ่ม เช่นเดียวกัน



ต้นกุ่ม (ต้นกุ่มบก) ในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นกักกุธะ” หรือ “ต้นกกุธะ” เป็นพันธ์ไม้ในสกุล Crateva วงศ์ Capparidaceae ชาวฮินดูเรียกกันว่า “มารินา” ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า พระพุทธเจ้านำผ้าบังสกุลห่อศพมามณพาสี ในอามกสุสาน (ป่าช้าผีดิบ) ไปทรงซัก เมื่อซักเสร็จแล้วก็มาที่ที่ผ้าบังสกุลดังกล่าว พฤกษเทวาซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ต้นกุ่มบก ได้น้อมกิ่งต้นกุ่มให้ต่ำลงเพื่อให้เป็นที่ตากจีวร



ต้นกุ่ม มี 2 ชนิดคือ ต้นกุ่มบก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Crateva adansonii DC.subsp.trifoliata (Roxb.) Jacobs”
และ ต้นกุ่มน้ำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Crateva magna (Lour.) DC. และ Crateva Religiosa Forst.f.”

ในสกุลไม้กุ่ม ในวงศ์ไม้แจง มีถิ่นกำเนิดในญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้
ต้นกุ่มบก เป็นไม้ผลัดใบยืนต้นขนาดกลางสูง 10-25 เมตร ลักษณะคล้ายต้นก้ามปูแผ่พุ่มกว้าง เปลือกต้นสีเทา มีรูระบายอากาศสีขาวอยู่ทั่วไป เนื้อไม้สีขาวปนเหลือง มีเนื้อละเอียด ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ใบรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบมน ขอบขนานเรียบ ปลายแหลมเป็นติ่ง ก้านใบยาว ช่อดอก ออกตรงซอกใบใกล้ปลายกิ่ง



ดอกออกเป็นช่อสีขาวแกมเขียว แล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนภาย ในดอกมีเกสรตัวผู้ ก้านเกสรสีม่วง สวยงาม มีเกสรตัวเมียรังไข่เหนือวงกลีบ 1 อัน กลีบในแบนป้าน 4 กลีบ ตอนเริ่มบานจะเป็นสีเขียวอ่อนเมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีขาวนวล และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม


ผลกลมหรือรูปไข่ ผิวนอกแข็งและสาก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 2-3 ซม. เปลือกมีจุดสีน้ำตาลอมแดง ผลจะแก่ในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และจะกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม ก้านผลยาว เมล็ดรูปคล้ายเกือกม้า



คนไทยสมัยก่อนนิยมปลูกต้นกุ่มไว้เป็นอาหารและเป็นยารักษาโรค โดยนำใบอ่อนและดอกอ่อน ซึ่งออกในช่วงฤดูฝน มาดองก่อนแล้วจึงนำไปรับประทาน สำหรับสรรพคุณด้านพืชสมุนไพรนั้น เปลือก ใช้ เป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง แก้ลงท้อง คุมธาตุ ขับผายลม ขับน้ำดี ขับนิ่ว แก้บวม แก้อาการสะอึก แก้อาเจียน บำรุงไฟธาตุ กระตุ้นลำไส้ให้ย่อยอาหาร บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ใช้เป็นยาระงับประสาท และยาบำรุง แก่น ใช้แก้โรคริดสีดวงทวาร โรคนิ่ว บำรุงเลือด ราก ใช้ขับหนอง ใบ ใช้ขับลม ฆ่าพยาธิ แก้โรคผิวหนัง และกลากเกลื้อน แก้ไข้ตัวร้อน ขับเหงื่อ เจริญอาหาร ดอก เป็นยาเจริญอาหาร แก้เจ็บคอ แก้ไข้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12386



ชื่อวิทยาศาสตร์
Crateva religiosa ham.
ชื่อวงศ์
CAPPARIDACEAE
ชื่อท้องถิ่น
ชลบุรี เรียก กุ่มบก
เลย เรียก กุ่ม
ภาคกลาง เรียก กุ่มบก
เขมร เรียก ทะงัน
อีสาน เรียก กะงัน, สะเบาถะงัน, ก่าม


สรรพคุณทางยา


คนไทยสมัยก่อนนิยมปลูกต้นกุ่มไว้เป็นอาหารและเป็นยารักษาโรค โดยนำใบอ่อนและดอกอ่อน ซึ่งออกในช่วงฤดูฝน มาดองก่อนแล้วจึงนำไปรับประทาน

สำหรับสรรพคุณด้านพืชสมุนไพรนั้น
เปลือก ใช้ เป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง แก้ลงท้อง คุมธาตุ ขับผายลม ขับน้ำดี ขับนิ่ว แก้บวม แก้อาการสะอึก แก้อาเจียน บำรุงไฟธาตุ กระตุ้นลำไส้ให้ย่อยอาหาร บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ใช้เป็นยาระงับประสาท และยาบำรุง แก่น ใช้แก้โรคริดสีดวงทวาร โรคนิ่ว บำรุงเลือด
ราก ใช้ขับหนอง ใบ ใช้ขับลม ฆ่าพยาธิ แก้โรคผิวหนัง และกลากเกลื้อน แก้ไข้ตัวร้อน ขับเหงื่อ เจริญอาหาร
ดอก เป็นยาเจริญอาหาร แก้เจ็บคอ แก้ไข้
ใบ รสร้อน ขับลม ฆ่าพยาธิ แก้กลากเกลื้อน และแก้ตะมอย
แก่น รสร้อน แก้ริดสีดวง
ดอก เป็นยาเจริญอาหาร แก้เจ็บคอ แก้ไข้



คติความเชื่อ

คนไทยสมัยก่อนปลูกต้นกุ่มไว้เป็นอาหารและยารักษาโรค ต้นกุ่มนับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกทาง ทิศตะวันตก (ประจิม) เชื่อว่าจะทำให้ครอบครัวมีฐานะเป็นกลุ่มเป็นก้อน ดังชื่อของต้นไม้

ร่ายสุภาพ

พระภูธรถวิลนาง พลางรันทวยรันทด ขุนคอคชหมื่นควาญ ขับคชาธารจรดล ลุตำบลสามสบ ธ ก็ปรารภรำพึง ถึงพักตรพาลพธู พลางพระดูดงเณอ พิศพุ่มเสมอเหมือนฉัตร เป็นขนัดเนืองนรรค์ หลายเหล่าพรรณพฤกษา มีนานาไม้แมก หมู่ตระแบกตระบาก มากตระเบาตระเบียน ตะขบตะเคียนคูนแค สมอมีแสมม่วงโมก ทรากทรึกโศกสนสัก รวกโรครักรังรง ปริกปริงปรงปรางปรู ลำแพนลำพูลำพัน จิกแจงจันทน์พันจำ เกษระกำดอกกุ่ม กระทุ่มกระถินพิมาน เหล่าเสลาลานโลดเลียบ เพียบพื้นแผ่นแดนไพร
หมู่มฝ่อ หมู่มก่อมกัก กระลำภักกระลำภอ ยูงยางยอกำยาน แต้วตูมตาลตาดต้อง ซร้องแมวโมงมูกมัน หาดเหียงหันกันเกรา....
ลิลิตตะเลงพ่าย
พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสและ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์
ตั้งใจอ่านแล้วจะพบว่า ร่ายบทนี้มีเสน่ห์ล้ำลึกไใม่น้อยเลย

ต้นไม้ที่เกี่ยวพันกับพุทธประวัติ ยังมีอีกหลายต้น เช่น ต้นโพธิ์ ต้นสาละ ต้นไทรนิโครธ ต้นเกด ตะเคียนทอง ต้นจิก มะขามป้อม สีเสียด มะม่วง หว้า ส้ม สะเดาอินเดีย ประดู่ลายประดู่แขก ต้นปาริฉัตร ตาล ฝ้าย ไผ่ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น