เล่าเรื่อง.... เมืองพุทธเกศ
พลอยโพยมไปสะดุดตากับบทความเรื่องจดหมายจากเมืองพุทธเกศ
จากหนังสือ แทนความทรงจำ ซึ่งเป็นหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพคุณพัฒน เกษสำลี อดีตรองผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้าง นายช่างใหญ่ กฟผ. เมื่อคราวไปประชุมที่โปรตุเกส ได้เขียนบทความไว้ ขอคัดย่อมาดังนี้
เฉลาขนมหวาน
(เพิ่มเติม )
โปรตุเกสเป็นฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาติดต่อกับไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2054 ทูตคนแรกที่เข้ามาคือ DUARTE FERNANDES จนปี พ.ศ.2059 จึงส่งทูตที่มีอำนาจเต็มจากพระเจ้า มานูเอล ที่ 1 ชื่อ DUARTE COELHO เข้ามาทำสนธิสัญญาถวายพระราชสาส์นอย่างเป็นทางการ ในรัชสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กษัตริย์องค์ที่ 10 แห่งกรุงศรีอยุธยาพ.ศ.2034-2072
สิ่งที่น่าสังเกตประการหนึ่งก็คือ จากการศึกษาเอกสารของฝ่ายโปรตุเกสระบุว่าปีที่ทำสัญญาฉบับนี้ได้แก่ปี ค.ศ.1518 ในขณะที่หนังสือประวัติศาสตร์ไทยระบุ ว่าเป็นปี ค.ศ.1516 แต่ผู้ทำสัญญฉบับนี้ตรงกันคือดูอาร์ต โกแอลโฮ
โปรตุเกส ดูจะเป็นฝรั่งชาติเดียวที่ไม่หวังจะฮุบเอาไทยเป็นเมืองขึ้น (อย่างน้อยก็ไม่ปรากฏหลักฐาน) และตั้งแต่เข้ามาอยู่จนตั้งหมู่บ้านเป็นหลักแหล่ง เมื่อ พ.ศ.2083 ที่กรุงศรีอยุธยา ก็มุ่งแต่ค้าขาย เผยแพร่ศาสนา และแลกเปลี่ยนวิชาความรู้ ด้านต่าง ๆ กับคนไทย แม้กระทั่งช่วยรบกับพม่า มีผู้บัญชาการทหารโปรตุเกสในกองทัพครั้งเสียกรุงครั้งที่ 1 เมื่อเสียกรุงครั้งที่2 โปรตุเกส ก็หนีมากรุงธนบุรี และกรุงเทพฯ ด้วยกัน คนไทยจึงคบกับคนโปรตุเกสอย่างสนิทใจ โปรตุเกสเองก็แต่งงานกับคนไทยจนกลายเป็นไทยไปในที่สุดทุกวันนี้มีคนไทยเชื้อสายโปรตุเกสอยู่ไม่น้อย คนไทยก็รับเอาวัฒนธรรมโปรตุเกสไว้เมื่อเวลาผ่านไปก็คิดว่าเป็นของไทย เช่น ขนม ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และอื่น ๆ เรียกกันเต็มปากว่าขนมไทย คำว่า สบู่ เลหลัง กะละมัง ล้วนเป็นภาษาโปรตุเกสทั้งนั้น พริกชี้ฟ้าก็โปรตุเกสได้นำมาเผยแพร่ในไทย แต่ก่อนเราเรียกว่า พริกเทศ จะได้ต่างจาก พริกไทย ดั้งเดิมของเรา
เฉลาขนมหวาน
คนโปรตุเกส ชอบกินขนมหวานเสียจริง ๆ เดินไปต้องเจอร้านขนมแทบทุกหัวมุมถนน ถนนละหลาย ๆ ร้าน ขนมมีมากมายหลายชนิด หวานถึงใจ
เฉลาขนมหวาน
ขนมตระกูลทอง ที่โปรตุเกส
เช่นฝอยทอง เหมือนของไทยเปี๊ยบเลย ทำเส้นเล็กและละเอียด ไม่ทำเป็นแพเรียบร้อยอย่างไทย แต่ทำเป็นเส้น ๆ แช่ในน้ำเชื่อม ทำเสร็จแล้วเขาจะเอาเหล็กซึ่งเป็นยี่ห้อของร้านมาเผาไฟให้แดงจิ้มลงไป เส้นฝอยทองและน้ำเชื่อมส่วนหนึ่งก็จะมีรอยไหม้เกรียม เป็นรูปตรา ส่งกลิ่นหอมน่ากิน (ต่างจากของไทยซึ่งอบกลิ่นดอกไม้หรือเทียนอบ) มีฝอยทองอีกอย่างหนึ่งคล้ายกันแต่น้ำเชื่อมน้อยกว่าและเส้นสั้นกว่าใส่มาในกะละมังเป็นขยุ้ม ๆ และยังใช้โรยบนขนมอื่น ๆ เช่น ขนมเค้กก็โรย ทาร์ดก็โรย บางคนบอกว่าของคาวบางอย่างก็โรย บางชนิดมีกลิ่นคาวของไข่แรงทีเดียว
เฉลาขนมหวาน
ขนมทองหยิบ
ไม่สวยอย่างเมืองไทย เพราะเป็นทองไม่หยิบเสียมากกว่า คือ เป็นแต่แผ่นกลม ๆ อยู่ในน้ำเชื่อม บางทีก็แผ่นโตเกือบเท่าฝ่ามือ รสนั้นเหมือนกันแต่ไม่มีกลิ่นหอมแบบของไทย
(เพิ่มเติม : คนไทยเอาแผ่นไข่กลม ๆ ที่ลอยในน้ำเชื่อม ใส่ถ้วยเล็ก ๆ ที่ทำไว้เฉพาะไว้หยิบทองหยิบ จากนั้นก็ใช้ปลายนิ้วมือ หยิบ แผ่นไข่ให้เป็นกลีบดอกไม้ คนที่มีฝีมือ ก็จะหยิบได้ 5 กลีบและสวยงาม หากด้อยฝีมือ กลีบดอกจะไม่งามนัก)
ขนมสังขยา
มีหลายอย่างและหวานแสบไส้ ทำเหลว ๆ คล้ายสังขยาทาขนมปัง บางทีก็เอาแป้งทาร์ดทำเป็นกระทงแล้วใส่ไส้สังขยา บางทีก็ทำเป็นไส้ของขนมปังประเภท roll บางชนิดแถมยังเอาน้ำตาลไอส์ซิ่งโรยข้างนอกเสียอีก
เฉลาขนมหวาน
ขนมทองทองพลุ
ปัจจุบันคนไทยเองก็แทบไม่รู้จักทองพลุกันแล้ว ทองพลุเป็นแป้งทอดลูก กลม ๆ ข้างนอกกรอบ ข้างในกลวงและนุ่ม ใช้จิ้มน้ำหวาน น้ำเชื่อม น้ำผึ้ง หรือนมข้นกิน ทองพลุที่โปรตุเกสทำเหมือนขนม เอแคลร์ ไส้เป็นครีมหรือสังขยา แต่แป้งนั้นเป็นแป้งทอดไม่ใช่แป้งอบแบบเอแคลร์ ทองพลุยัดไส้นี่หน้า " CARNIVALE " ที่อิตาลีก็มีกิน
ขนมบ้าบิ่น
อันนี้ใช่เลยรสชาติเหมือนกันเป๊ะ แต่บ้าบิ่นที่โปรตุเกสสวยกว่าที่เมืองไทย ซึ่งเป็นแผ่นทื่อ ๆ ตัดออกมาเฉย ๆ แต่บ้าบิ่นที่โปรตุเกสอยู่ในกระทงประดับหน้าด้วยลูกเชอร์รี่ เขียว ๆ แดง ๆ ดูสดใส
นอกจากนี้ยังมีอะไร ที่ดูเหมือนใช่ แต่ไม่ใช่อีกอย่าง คือขนมที่ปั้นเป็นรูปผลไม้ต่าง ๆ ทาสีสวยงามคล้ายขนมลูกชุบของบ้านเรา แต่ที่โปรตุเกสไม่ชุบ และทำด้วยอัลมอนต์บด กินแล้วสาก ๆ ลิ้น ไม่นุ่มนวลเหมือนกินลุกชุบถั่วกวนบ้านเรา ลูกไม่ชุบนี้ เห็นมีที่เสปนและอิตาลี ก็มีเหมือนกัน
ขนมสารพัดเหล่านี้ เขากินกับกาแฟหรือชา ซึ่งเรียกในภาษาโปรตุเกส ว่า "กาแฟ" และ "ชา " เหมือนกันอีก
คุณพัฒน เกษสำลี เขียนว่ามิใข่แต่ท่านคนไทยที่ตื่นเต้นกับขนมหวานที่เหมือน ๆ บ้านเรา แต่เพื่อนสาวชาวญี่ปุ่น ก็บอกว่า ของหลายอย่างที่ญี่ปุ่นก็มี ทั้งนี้คงเป็นเพราะสมัยก่อน โปรตุเกสเที่ยวได้เดินเรือไปร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ ขึ้นบกที่ไหนก็คงไปถ่ายทอดวัฒนธรรมของตนไว้ รับของเขามาบ้าง บางคนถึงกับบอกว่าคำขอบคุณของชาวญี่ปุ่น ที่ว่า "อาริกาโต" ก็คล้ายคำขอบคุณของโปรตุเกสที่ว่า " OBRIGADO " มาก
มาเห็นต้นตอขนมไทยที่โปรตุเกสแล้วก็อดคิดไม่ไม่ได้ว่า บรรพบุรุษไทยรู้จักเลือกรับสิ่งที่เหมาะกับตัวเองและนำมาดัดแปลงโดยอาศัยความละเอียดอ่อนซึ่งมีอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ให้สิ่งเหล่านั้นกลายเป็นไทยไปได้อย่างน่าภาคภูมิ แต่พวกเราปัจจุบันจะรู้จักเลือกและปรับปรุงสู้ท่่านเหล่านั้นได้หรือไม่ จะรับอะไรใหม่เข้ามาก็ดูตะกรุมตะกรามไม่คิดหน้าคิดหลังเสียมากกว่า
คุณพัฒน เกษสำลี ใช้นามปากาในการเขียนบทความว่า "มะสะลุม" และได้เขียนเรื่องราวที่ไปดินแดนต่าง ๆ อย่างน่าอ่าน มาก
บรรพบุรุษของท่าน เป็นเชื้อสายมอญ ,ชาวไทยเชื้อสายจีน
ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งกรุงศรีอยุธยา
ในรัชสมัยของพระองค์ได้เกิดสงครามไทยกับพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2081 เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ แห่งกรุงหงสาวดี ได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงกราน อันเป็นหัวเมืองชายแดนทางทิศตะวันตกของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยกทัพไปตีกลับคืนมา ในการทัพครั้งนี้ พระองค์นำทหารอาสาชาวโปรตุเกสไปด้วย อาสาชาวโปรตุเกสมีความชำนาญในการใช้ปืนไฟ และได้เริ่มใช้ปืนไฟ ในการรบเป็นครั้งแรก กองทัพไทยสามารถยึดเมืองเชียงกราน กลับคืนมาได้
เมื่อพระองค์ยกทัพกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบแก่กองอาสาชาวโปรตุเกส พระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนที่บริเวณตำบลบ้านดิน เหนือคลองตะเคียน ซึ่งต่อมาเรียกว่าบ้านโปรตุเกส และทรงอนุญาตให้สร้างโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทำให้มีบาทหลวงเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนา
เฟอร์ดินันท์ เมนเดซ ปินโต พ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาในอาณาจักรอยุธยาในสมัยนั้น เป็นผู้บันทึกว่าสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคตด้วยยาพิษโดยท้าวศรีสุดาจันทร์ สนมเอกซึ่งลักลอบมีความสัมพันธ์กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) พราหมณ์ผู้คุมหอพระ ซึ่งต่อมาได้ลอบปลงพระชนม์พระองค์ด้วยยาพิษ ในปี พ.ศ. 2089
บ้านโปรตุเกสนี้ เรียกไปเรียกมาก็กลายเป็นบ้านพุทธเกศ เหมือนชาวฮอลันดาที่เรียกไปเรียกมากลายเป็นชาววิลันดา
โปรตุเกสคือดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมแตกต่างกันไปอย่างต่อเนื่องในช่วง 3,500 ปีที่ผ่านมา ทั้งอารยธรรมของชาวไอบีเรีย ชาวเซลต์ ชาวฟีนีเชีย และชาวคาร์เทจ ชาวกรีก ชาวโรมัน ชาวเผ่าเยอรมัน รวมถึงอารยธรรมของชาวอาหรับ ล้วนเคยเหยียบย่ำบนแผ่นดินโปรตุเกสมาแล้วทั้งสิ้น ในชื่อ "โปรตุเกส" นั้นก็บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์สมัยโบราณส่วนใหญ่ของประเทศนี้ไปแล้ว เนื่องจากรากศัพท์ของคำว่าโปรตุเกสนั้น คือชื่อที่ชาวโรมันตั้งให้ชื่อว่า "Portus Cale" อาจเป็นไปได้ว่าคำนี้จะมาจากการสมาสคำระหว่างภาษากรีกและภาษาละตินซึ่งมีความหมายว่า "ท่าเรือที่สวยงาม"
ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ คริสต์ศตวรรษที่ 16 นั้นโปรตุเกสคือประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม โดยจักรวรรดิโปรตุเกสนั้นแผ่ขยายอำนาจของตนไปทั่วโลก เมื่อหลังจากที่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ พัฒนาขึ้นในด้านการล่าอาณานิคมแล้ว โปรตุเกสจึงเสื่อมถอยลงไป
หมู่บ้านพุทธเกศของชาวศรีอยุธยา
http://www.teawtourthai.com/ayutthaya/?id=3295
ภูมิหลังประเทศของชาวเมืองพุทธเกศของชาวกรุงศรีอยุธยา
ในช่วงต้น ๆ หนึ่งสหัสวรรษก่อนคริสตกาล ชาวเซลต์ได้ทำการรุกรานโปรตุเกสจากภูมิภาคยุโรปตอนกลางอยู่หลายระลอกด้วยกัน รวมถึงแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวไอบีเรียซึ่งเป็นประชากรท้องถิ่น ก่อให้เกิดชาวเซลต์ลูกครึ่งไอบีเรีย
ต่อมาพ.ศ. 305 (ก่อนคริสตกาล 238 ปี) ชาวคาร์เทจเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามแนวชายฝั่งบนคาบสมุทรไอบีเรีย ในช่วงนี้มีเผ่าย่อยๆ หลายเผ่าอาศัยอยู่กระจัดกระจายกันไป ส่วนใหญ่มักจะเป็นชาวลูซิทาเนีย ชาวแคลเลไค ชาวโคนิไอ ชาวเซลติไค ชนรุ่นหลังของชาวเซลต์
ก่อนคริสตกาล 219 ปี ทหารชาวโรมันชุดแรกเข้ามาทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย และขับไล่ชาวคาร์เทจออกไประหว่างสงครามพิวนิค การพิชิตโปรตุเกสของชาวโรมันเริ่มต้นขึ้นทางตอนใต้ขึ้นมา, ในตอนใต้นี้เอง ที่ทำให้พวกเขาพบกับชาวพื้นเมืองที่เป็นมิตรเผ่าแรกคือเผ่าโคนิไอ หลายทศวรรษต่อมา ชาวโรมันก็ค่อยๆ ขยายวงแหวนแห่งการปกครองออกไป แต่ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. 349
(194 ปีก่อนคริสตกาล) เกิดการกบฎขึ้นทางตอนเหนือ โดยชาวลูซิเทเนียที่ในที่สุดก็สามารถตรึงกำลังพวกโรมันเอาไว้ได้
ได้ทำการยึดอาณาเขตคืนมาจากชาวโรมัน และตีเมืองโคนิสทอร์จิส ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเผ่าโคนิไอ เพราะชาวโคนิไอนี้ผูกมิตรกับโรมอยู่ ผู้นำของชาวลูซิเทเนีย วิเรียธิอุส เป็นผู้นำการขับไล่ทหารโรมันออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย ทำให้โรมต้องส่งกองทหารโรมันมาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมาทางโรมจึงทำการประนีประนอมโดยการเปลี่ยนสัญชาติชาวลูซิเทเนียให้เป็นชาวโรมัน ด้วยการมอบสิทธิ์ละติน (Latinius หรือ Latin Right) ให้กับชาวลูซิเทเนียในปี พ.ศ. 616 (ค.ศ. 73)
ภาพจาก http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=37944
ปราสาทแห่งกีมารานช์ ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวเผ่าอนารยชนเยอรมันได้ทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย, ก่อตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้น และกลายเป็นชาวพื้นเมืองไอบีเรียในที่สุด มีชาวเผ่ากลุ่มน้อยเช่นชาวแวนดัล เผ่าซิลิงไก และเผ่าฮาสดิงไก รวมถึงชาวซาร์มาเทีย (หรือ ชาวอลัน - Alans) อาศัยอยู่ด้วย แต่ต่อมาพวกเขาโดนเนรเทศหรือจำกัดถิ่นที่อยู่โดยชาววิสิกอธ
การรุกรานของชาวมุสลิมเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1254 (ค.ศ. 711) บรรดาขุนนางที่ถูกขับไล่ออกมาอพยพไปยังทางตอนเหนือที่ยังไม่ได้ทำการยึดครอง ณ ที่ราบสูงแอสทูเรีย จากจุดนั้นพวกเขามีจุดมุ่งหมายในการยึดดินแดนคืนมาจากชาวมัวร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเบอร์เบอร์ และชาวอาหรับจำนวนหนึ่ง ซึ่งใช้เวลาไม่นานนักในการยึดคืนมาเนื่องมาจากการยึดดินแดนคืนครั้งใหญ่ของชาวคริสต์หรือ Reconquista ในปี พ.ศ. 1411 (ค.ศ. 868) เคานต์วีมารา เปเรช เป็นผู้ยึดดินแดนระหว่างแม่น้ำมีโนและดูโรคืนมาได้ ดินแดนดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันได้นามว่า Portucale (ซึ่งก็คือโปรตุเกสในปัจจุบัน)
ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น