น้ำตาลทราย..หลายหลากพันธุ์
น้ำตาล คือ สารให้ความหวานตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง มีเรียกกันหลายแบบ ขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของน้ำตาล เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด น้ำตาลก้อน น้ำตาลปีบ เป็นต้น
แต่ในทางเคมี โดยทั่วไปหมายถึง ซูโครส หรือ แซคคาโรส ไดแซคคาไรด์ ที่มีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีขาว
อ้อยควั่น
น้ำตาลเป็นสารเพิ่มความหวานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขนมหวาน และเครื่องดื่ม ในทางการค้าน้ำตาลผลิตจาก อ้อย(sugar cane) , ต้นตาล(sugar palm),ต้นมะพร้าว(coconut palm),ต้นเมเปิ้ลน้ำตาล(sugar maple) และ หัวบีท (sugar beet) ฯลฯ น้ำตาลที่มีองค์ประกอบทางเคมีแบบง่ายที่สุด หรือ โมโนแซคคาไรด์ เช่น กลูโคส เป็นที่เก็บพลังงาน ที่จะต้องใช้ในกิจกรรม ทางชีววิทยา ของเซลล์ ศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้เรียกน้ำตาลจะลงท้ายด้วยคำว่า "-โอส" (-ose) เช่น กลูโคส
sugar beet
สำหรับ ภาษาอังกฤษ คำว่า "ซูการ์"(sugar) รับผ่านต่อมาจาก ภาษาฝรั่งเศส ว่า "Sucre" ซึ่งก็รับต่อกันมาเป็นทอดๆ ดังนี้ คือ จาก ภาษาอิตาลี zucchero , ภาษาอาหรับ sukkar ,ภาษาเปอร์เซีย shakar , ภาษาสันสกฤต "ศรฺกรา" (शर्करा) ซึ่งมีความหมายว่าน้ำตาล หรือก้อนกรวด (pebble) ในภาษาบาลีเรียกว่า "สกฺขรา" (sakkharā) และตรงกับภาษาฮินดีว่า "สกฺกรฺ" (sakkar) , ภาษาไทย namtarnsine
sugar beet
น้ำตาลทราย หรือ ซูโครส สกัดได้จากพืชหลายชนิด คือ
อ้อย (sugarcane-Saccharum spp.) มีน้ำตาลประมาณ 12%-20% โดยน้ำหนักของอ้อยแห้ง
ต้นบีท (sugar beet-Beta vulgaris)
อินทผลัม (date palm-Phoenix dactylifera)
ข้าวฟ่าง (sorghum-Sorghum vulgare)
ซูการ์เมเปิล (sugar maple-Acer saccharum)
ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544-2545 ประเทศที่ผลิตน้ำตาลจากอ้อยส่วนใหญ่เป็นประเทศในเขตร้อน เช่น ออสเตรเลีย บราซิล และประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2544-2545 มีการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นสองเท่าในประเทศกำลังพัฒนา เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ปริมาณน้ำตาลที่ผลิตมากที่สุดอยู่ใน ละตินอเมริกา สหรัฐอเมริกา และชาติในกลุ่ม แคริบเบียน และ ตะวันออกไกล
แหล่งน้ำตาลจากต้นบีทจะอยู่ในเขตอากาศเย็นเช่น: ตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกของยุโรป ญี่ปุ่นตอนเหนือ และบางพื้นที่ในสหรัฐอเมริการวมทั้งรัฐแคลิฟอร์เนียด้วย
ผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก คือสหภาพยุโรป ตลาดน้ำตาลยังถูกโจมตีโดยน้ำเชื่อมกลูโคส (glucose syrups) ที่ผลิตจากข้าวสาลีและข้าวโพดรวมทั้งน้ำตาลสังเคราะห์ (artificial sweeteners) ด้วย ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตเครื่องดื่มที่มีต้นทุนถูกลง
น้ำตาลจาก sugar beet
SugarBeet พืชมีหัวคล้ายกับเผือกในขณะที่ลำต้นมีลักษณะคล้ายกับผักกาด
โดยคุณสมบัติของชูการ์บีชจะเหมือนกับอ้อยทุกประการมีความหวานของกลูโคลสนำไปผลิตเป็นน้ำตาลและมีส่วนผสมของโมลาสนำไปผลิตเป็นเอทานอลได้แต่ต่างกันตรงที่ชูการ์บีชสามารถปลูกได้ในพื้นดินที่ร่วนซุยหรือมีความเค็มความด่างซึ่งไม่สามารถปลูกอ้อยได้และใช้เวลาปลูกเพียง 4 เดือนในขณะที่อ้อยต้องใช้เวลาปลูกนานถึง12เดือนในด้านผลผลิตต่อไร่นั้นชูการ์บีชให้ผลผลิตประมาณ15ตันต่อไร่ในขณะที่อ้อยให้ผลผลิตประมาณ9ตันต่อไร่เช่นเดียวกับค่าความหวานซึ่งอ้อยให้น้ำตาล11%แต่ซูการ์บีชให้น้ำตาล14-15%
ถ้าในพื้นที่ไหนสภาพดินไม่ดีให้ผลผลิตอ้อยไม่ดีพอก็เปลี่ยนมาปลูกชูการ์บีชแต่ถ้าพื้นที่ไหนมีผลผลิตอ้อยดีอยู่แล้วก็ควรจะปลูกอ้อยต่อไป
หัวชูการ์บีชนี้มีการปลูกใช้แล้วในหลายประเทศเช่นในทวีปยุโรปประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศที่จีนที่มีอากาศหนาวเย็น
ต้นอินทผลัม
อินทผลัม
อินทผลัมเป็นพืชตระกูลปาล์ม มีหลายสายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทราย ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร มีขนาดลำต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร มีใบติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน ทางใบยาว 3-4 เมตร ใบเป็นแบบขนนก ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง ช่อดอกจะออกจากโคนใบ ผลทรงกลมรี ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ออกเป็นช่อรสหวานฉ่ำ ทานได้ทั้งผลดิบและสุก ผลจะมีสีเหลืองจนถึงสีส้มและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มเมื่อแก่จัด ผลสุกมักจะนำไปตากแห้ง สามารถเก็บไว้เป็นเวลาหลายปี มีรสชาติหวานจัด จึงมักถูกเข้าใจผิดว่ามีการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน อินทผลัมเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวมุสลิม ทั้งนี้เพราะว่าชาวมุสลิมโดยทั่วไปแล้ว ในเดือนรอมฎอน (เดือนแห่งการถือศีลอด) จะละศีลอด ด้วยการรับประทานอินทผลัม ท่านรซู้ล (ขอความสันติจงประสบแก่ท่าน) ส่งเสริมให้มุสลิมละศีลอดด้วยการรับประทานอินทผลัม กับน้ำเปล่า ท่านได้กล่าวว่า “หากผู้หนึ่งผู้ใดถือศีลอด ก็ขอให้เขาละศีลอดด้วยอินทผลัม แท้จริงน้ำเปล่านั้นทำให้สดชื่น”
ท่านศาสนดามูฮัมหมัด (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) จะละศีลอดด้วยการรับประทานอินทผลัมเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นอินทผลัมสดหรือแห้ง หากทั้งสองอย่างหาไม่ได้ มีรายงานว่าท่านจะทำการจิบน้ำแทน ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า อินทผลัมนั้นอุดมไปด้วย น้ำตาล ไขมัน โปรตีนและวิตามินที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างราย เนื่องจาก อินทผลัมนั้นเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะดูดซึมเข้าสู่ตับอย่างรวดเร็ว และแปรสภาพเป็นพลังงานที่กระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่ายกายได้อย่างรวดเร็วกว่าสารอาหารตัวอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นอินทผลัมสด ฉะนั้น อินทผลัมจึงเป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุด ที่จะใช้เป็นอาหารละศีลอด เนื่องจากเป็นอาหารที่แปรสภาพเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนใหญ่อินทผลัมที่มีคุณภาพสั่งมาจากประเทศอิสราเอล
คุณค่าทางโภชนาการ
เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยเส้นใย (Fiber) ช่วยลดการท้องผูกย่อยง่าย ภายในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงหลังจากที่รับประทานเข้าไปร่างกายก็ที่อ่อนเปลี้ยเพลียแรงก็จะกลับมีกำลังดังเดิมทั้งนี้เพราะว่าอัตราน้ำตาลในเลือดที่ต่ำทำให้ร่างกายที่รู้สึกหิวกระหายเมื่อได้ดูดซึมเอาสารอาหารจากอินทผลัมจำนวนเล็กน้อย ความรู้สึกหิวก็จะลดลง หลายท่านที่รับประทานอินทผลัมในการละศีลอด จะช่วยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเกินความพอดี
บำรุงกล้ามเนื้อมดลูกและสร้างน้ำนมแม่ อินทผลัมเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญเพราะทั้งผลและลำต้นของมันได้ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์อัลกุรอานถึง 20 ครั้ง และเนื่องจากอินทผลัมเป็นอาหารที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้กับ มัรยัม (มาเรียม,มารี) ในขณะที่นางได้รับความเจ็บปวดหลังตลอดศาสดาอีซา (เยซูคริส์ต) ณ ใต้ต้นอินทผลัม
จากผลการทดลองพบว่าอินทผลัมมีสารกระตุ้นชนิดหนึ่ง ที่สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อมดลูกในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์จะช่วยให้การบีบตัวของมดลูกเป็นไปอย่างง่ายดาย ช่วยให้ลดการสูญเสียเลือดขณะคลอดอีกด้วย
ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการยกอินทผลัมให้เป็นอาหารชั้นยอดอีกชนิดหนึ่งสำหรับแม่ที่ให้นมลูก ทั้งนี้เพราะว่าอินทผลัมอุดมไปด้วยแร่ธาตุจากธรรมชาติที่ช่วยให้มีน้ำนมคงที่และสร้างความอุดมสมบูรณ์ด้วยคุณค่าทางอาหารที่สำคัญสำหรับทารกและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกอีกด้วย
อินทผลัมนั้น เหนือกว่าผลไม้อื่น ๆ ในด้านคุณค่าทางโภชนาการเนื่องจากความร้อนและความชื้นของสสารที่อยู่ในตัวมัน การรับประทานอินทผลัมยามเช้าในขณะท้องว่าง อินทผลัมจะทำการฆ่าเชื้อโรค พยาธิ และสารพิษตกค้างที่อยู่ในลำใส้ และระบบทางเดินอาหาร เพราะอินทผลัมมีฤทธิ์ในการกำจัดพิษ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางตัวอันเป็นสารก่อมะเร็งได้ อินทผลัมมีสารแคลเซี่ยม ซัลเฟอร์ เหล็ก โปแตสเซี่ยม ฟอสฟอรัส แมงกานิส แมกนีเซี่ยม และน้ำมันโวลาไตล์
บำรุงร่างกายแก้โรควิงเวียนศีรษะ ท่านหญิงอาอีชะฮ์ (ภรรยาท่านศาสดามูฮัมหมัด) เคยให้ผู้ที่เป็นโรควิงเวียนศีรษะรับประทานอินทผลัม ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและความดันในโลหิตต่ำนั้นเป็นสาเหตุของโรคมึนเวียนศีรษะ
มีรายงานอีกว่าพระนางอาอีชะฮ์(ภรรยาท่านศาสดา)ได้ใช้อินผาลัมผสมแตงกวา แล้วรับประทานแก้โรคผอมผิดปกติของนาง นางได้
กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “พวกเขาได้แนะนำอาหารบำรุงร่างกายต่าง ๆ นานาให้กับฉันเพื่อเพิ่มน้ำหนัก แต่ก็ไม่ผลเลยสักอย่าง พวกเขาเลยจัดอินทผลัมสดกับแตงกวามาในมื้ออาหารของฉัน และมันก็ได้ผลจริง ๆ”
ช่วยให้กระดูกแข็งแรง เนื่องจากธาตุแคลเซียมที่มีปริมาณมากในอินทผลัม จึงมีส่วนช่วยในการบำรุงรักษากระดูกให้สมบูรณ์แข็งแรง ด้วยเหตุนี้เอง อินทผลัมจึงประโยชน์สำหรับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ หรือคนชรา โดยเฉพาะสตรีควรจะรับประทานอินทผลัมให้มาก ๆ เพื่อกระดูกที่แข็งแรงบำรุงสายตา อินทผลัมมีส่วนสำคัญในการรักษาระบบสายตาและป้องกันโรคตามัวในเวลากลางคืน ได้อย่างมีประสิทธิภาพประวัตศาสตร์อิสลามในยุคต้น ๆ อินทผลัมจะถูกส่งไปยังทหารมุสลิม เพื่อเป็นตัวกระตุ้นกล้ามเนื้อ และเป็นอาหารที่ดีสำหรับผู้ที่จะออกทำสงคราม
ข้าวฟ่าง
ข้าวฟ่าง
ข้าวฟ่าง เป็นกลุ่มพืชตระกูลหญ้าในจีนัส Sorghum บางชนิดเพาะปลูกเพื่อเป็นอาหารทั้งของมนุษย์และสัตว์ มีแหล่งเพาะปลูกอยู่ในเขตอบอุ่นทั่วโลก และจัดว่าเป็นพืชท้องถิ่นในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในทุกทวีป ยกเว้นออสเตรเลียและโอเชียเนีย
โดยทั่วไปข้าวฟ่างเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แหล่งปลูกที่สำคัญในไทย ได้แก่ ลพบุรี เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สระบุรี สุพรรณบุรี
ข้าวฟ่างหวาน (Sorgo or sweet sorghum) - เป็นข้าวฟ่างที่มีน้ำหวานในลำต้น นำมาใช้ทำน้ำเชื่อม น้ำตาล แอลกอฮอล์ หรือ ทำหญ้าเลี้ยงสัตว์
ข้าวฟ่าง
ได้แก่ ข้าวฟ่างพันธุ์ เรย์(Wray) ธีส( Theis) MN 1030 ,
ริโอ (Rio) และ แบรนเดส (Brandes) ซึ่งมีความหวาน 19.3,16.4,15.2,16.4, และ 16.7 องศาบริกซ์ ตามลำดับ
Sugar maples
ซูการ์เมเปิล
Sugar maples
ซูการ์เมเปิล
During the spring and fall, the leaves use chlorophyll (which gives the green coloring) to capture energy from the sun. When water and carbon dioxide are added to the mix, the trees produce sugars and starch for food. As the temperature drops and the daylight diminishes, the trees stop their food-making process, which causes the chlorophyll to break down and the green pigments to be replaced with oranges and yellows (which were present in small quantities all along).
In sugar maples, a separate chemical reaction takes place to form red anthocyanin pigments. Low temperatures above freezing will favor more pigment formation and a brighter fall display. An early freeze will thusly “dim” the red fall colors of sugar maples.
Sugar maples are also widely known for their delicious maple syrup. The first people to tap the trees and make this syrup were the Algonquin and Cree tribes of northeastern America. Amazingly, not much has changed in the hundreds of years since this process was first developed. The Algonquins called the syrup “sinzibuckwud,” meaning “drawn from wood,” as they literally cut a slash in the bark to collect the sap
Sugar maples
ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย
http://www.siamturakij.com
http://sahabatmu-sahabatmu.blogspot.com/2011/05/blog-post_5951.html
http://philadelphiagreen.wordpress.com/2010/10/11/caseys-tree-of-the-month-sugar-maple/
ที่มาของภาพ จาก อินเทอร์เนท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น