วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มหัศจรรย์..การดำรงพันธุ์..คลักขาว

คลัก (ขลัก,ประสัก,พังกาหัวสุม) ชนิดดอกขาว



คลัก (ขลัก,ประสัก,พังกาหัวสุม) มีการแพร่พันธุ์ในธรรมชาติ โดยฝัก



เมื่อฝักร่วงลงจากต้นเดิมหากเป็นดินเลน ลักษณะของฝักอาจปักดิ่งลงไปตั้งอยู่บนเลนตามลักษณะของฝักที่หล่นจากขั้ว และสามารถงอกลำต้นได้เลยโดยหัวที่เป็นสุ่มหลุดออกไป



หากหล่นลงน้ำ ฝักของคลักก็จะลอยไปตามกระแสน้ำทั้งน้ำขึ้นและน้ำลงและอาจไปติดดค้าง ณ ที่ใด ที่หนึ่งริมชายฝั่งที่กระแสน้ำพัดพาไป





แล้วธรรมชาติก็จัดสรรให้คลัก ปักฝักในลักษณะให้หัวขั้วอยู่ด้านบนเพื่อสามารถงอกลำต้น กิ่งใบและยอดเพื่อเจริญเติบโตต่อไป  โดยหัวสุมที่อยู่ยอดฝักร่วงหลุดไป  บริเวณที่ถ่ายภาพมานี้ไม่มีต้นคลักใหญ่เลย แสดงว่าฝักคลักลอยน้ำมาจากที่อื่น  เป็นฝักคลักที่งอกลำต้นในดงรากของลำพู และกกสามเหลี่ยม  ภาพนี้อยู่ริมชายฝั่งแม่น้ำบางปะกง


ฝักของคลักก็จะกลืนเป็นลำต้นจนถ้าไม่สังเกตจะมองไม่ออกว่าโคนต้นเป็นฝักคลักมาก่อน




คลักและพรรณไม้ชายน้ำ อีกหลายชนิดสามารถเจริญเติบโตทั้งในดินเลน ดินแข็ง บนบกและแม้แต่ในกองหินที่มีซอกให้รากสามารถชอนไชลงไปยึดเกาะกับพื้นดินได้ ภาพนี้เป็นริมชายฝั่งแม่น้ำบางปะกง




คลักต้นนี้เติบโตอยู่ริมท้องร่องสวนแห่งหนึ่ง



ต้นคลักริมถนนสายในหมู่บ้านที่ติดกับคูคลองเลียบถนน




ลักษณะที่เรียกว่า พูพอนที่โคนต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น