เบญจมาศน้ำเค็ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wedella biflora (L.) DC.
วงศ์ : COMPOSITAE
ชื่ออื่น : ผักคราดทะเล
เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ยาวประมาณ 1 - 5 เมตร ราก มีรากฝอยแตกออกตามข้อรอบ ลำต้นที่สัมผัสดินชื้น ลำต้น ไม้เนื้ออ่อน ลำต้นเล็กเรียว มีกิ่งมาก มักแผ่ทอดยอดคลุมพื้นดิน กิ่ง ใบ และช่อดอก มีขนสั้นสีขาว สากมือ
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่ แกมรูปขอบขนาน ถึงรูปหอก ปลายเรียวแหลม ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบหย้กคล้ายฟันเลึ่อย ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน เส้นใบเด่นชัด 3 เส้น จากโคนใบ มีก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร
ดอก ออกเบียดชิดกันแน่นคล้ายดอกเดี่ยวบนปลายก้านช่อตามง่ามใบใกล้ยอด และเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 1-7 เซนติเมตร ดอกเล็กมาก สีเหลือง
ออกดอกเดือนกรกฎาคม-กันยายน
ผล เป็นผลแห้ง รูปไข่กลับ ด้านบนมีขนสั้นๆ แข็ง และโค้งงอ
มักขึ้นอยู่รวมกัน พบไดัทั่วไปตามพี้นที่ป่าชายเลนที่ชื้นแฉะอยู่เสมอ
ประโยชน์
ต้นต้มน้ำกินแก้ปวดหัว และเป็นไข้มาลาเรีย ใบ ใช้บดเป็นยาพอกที่ท้องหญิงคลอดบุตร รักษารอยปริตามผิวหนัง แก้หน้าท้องลาย และใช้พอกตามรอยด่าง แก้ผิวหนังด่าง แผลที่ถูกของมีคมบาด และแก้เส้นเลือดขอด
น้ำที่คั้นจากใบนำมาผสมกับนมวัวดื่ม เป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ
ดอก เป็นยาถ่ายอย่างแรง
ราก ต้มเป็นยาซับระดู ขับปัสสาวะ เป็นยารักษากามโรคชนิดหนองใน และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
tanhakit.blogspot.com
http://www.aquatoyou.com
เบญจมาศน้ำเค็มซึ่งชาวบางกรูดเรียกหากันว่า คราดทะเล ( โดยไม่มีคำว่าผัก ) เป็นพรรณไม้ที่ชาวบ้านถือว่าเป็นวัชพืขอย่างหนึ่ง พบได้ทั้วไป เข่น ริมคูคลอง ชายทุ่ง ที่ค่อนข้างชื้นแฉะ แม้แต่ชายถนนที่ติดลำรางทางน้ำ หรือพื้นที่ที่มิได้ทำประโยชน์อะไรของชาวบ้าน หากจะใช้ประโยชน์ คราดทะเลก็จะถูกฟันทิ้งอย่างไม่ไยดี ทั้งที่ดอกก็มีความสวยงามพอตัว ( แต่ในทางสมุนไพรกลายเป็นยาถ่ายอย่างรุนแรง) ส่วนสรรพคุณทางสมุนไพร ของต้นใบและรากของคราดทะเล ก็มีผู้รู้บอกต่อ ๆ กันมาบ้างเหมือนกัน แต่ชาวบ้านทั่วไปก็นิยมใช้ยาสมัยใหม่มากกว่าเพราะสะดวกสบายกว่ากัน ประเภทใกล้เกลือกินด่าง สมุนไพรที่ต้องนำมาต้ม นำมาบด ดูออกจะเป็นการยุ่งยาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น