วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พรรณไม้ชายน้ำ...ปรงทะเล

ปรงทะเล


ปรงทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acrostichum aureum L.
ชื่อพื้นเมือง: ปรงทะเล
ชื่ออื่น : ปรงทอง, ปรงไข่, ปรงใหญ่, บีโย (มลายู-สตูล)
วงศ์ PTERIDACEAE



ปรงทะเล เป็นไม้พื้นล่าง สูง 1 – 3 เมตร เป็นพืชพวกเฟิร์น สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์




 มีระบบรากฝอย และบริเวณโคนต้นมีรากค้ำยัน




ลำต้น
เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ชูส่วนของใบขึ้นมาเป็นกอ เหง้ามีเกล็ดใหญ่สีน้ำตาลคล้ำ





ใบ

ลักษณะใบยาว ใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปใบหอก ก้านใบมีหนามแข็งสั้นๆ ใบย่อยรูปขอบขนานแคบ หรือรูป ใบหอก ขอบเรียบ มี 15 - 30 คู่ เรียงสลับ ผิวเรียบเป็นมัน ใบที่ไม่สร้างสปอร์ ปลายใบกลม ถึงหยักเว้า และมีติ่งหนามสั้นๆ ฐานใบรูปลิ่มถึงมนกลม สองข้างไม่เท่ากัน เส้นกลางใบนูนเด่น เส้นใบสานกันเป็นร่างแห ก้านใบย่อยสั้น ใบย่อยที่สร้างสปอร์อยู่ตอนปลายกิ่ง มีขนาดเล็กกว่าใบย่อยที่ไม่สร้างสปอร์ซึ่งอยู่ทางด้านโคนใบ กลุ่มของ อับสปอร์เรียงตัวชิดกัน เต็มพื้นที่ด้านล่างของแผ่นใบย่อย มีขนปกคลุมเล็กน้อย ที่ปลายยอด สีน้ำตาล




ขยายพันธุ์โดยใช้สปอร์และลำต้น
ลักษณะเด่น ใบยาว ใบประกอบยาวได้ถึง 3 เมตร ปลายใบกลมหรือตัด มีติ่งหนาม
ปรงทะเล มักขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ด้านหลังป่าชายเลน และป่าน้ำกร่อย หรือ พื้นที่ป่าชายเลนที่ถูกทำลาย ชายคลอง บริเวณดินเลน บางครั้งพบตามที่โล่งในป่าพรุ



ประโยชน์
ใบอ่อนสีแดงใช้กินได้
ยางจากต้นใช้ทาแผล หรือ ฝีเพื่อดูดหนอง และดับพิษ หัวฝนผสมน้ำข้าวสารทาแก้เริม ต้มพอกแผลที่มีอาการบวมฟกช้ำดำเขียว หัวปรงกับหัวว่าวและหัวจากตำเข้าด้วยกัน ใส่น้ำ ใช้ทาแผลแก้เริม งูสวัด




ใบอ่อนสีแดง





ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://tanhakit.blogspot.com
http://www.aquatoyou.com



ปรงทะเล พบเห็นได้ทั่วไป และจากการที่เป็นพืชตระกูลเฟิร์นที่แพร่พันธ์ได้ด้วยลำต้นและสปอร์ ปรงทะเลจึงแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วและมากมาย ปรงทะเลที่พบมักเเป็นกอใหญ่ สูงเลยตัวคน แมัจะมีสรรพคุณทางสมุนไพร แต่ก็นับว่าเป็นพืชกึ่งวัชพืชไม่เป็นที่ต้องการของชาวบ้านนักและเพราะพบได้ทั่วไป หากปรงทะเลมาขึ้นในบริเวณบ้านหรือสวน หรือพื้นที่ใช้ทำประโยชน์อื่น ก็จะถูกกำจัดทิ้ง แต่หากจำเป็นจะต้องใช้ประโยชน์จากปรงทะเลขึ้นมาละก็ จะต้องลุยเข้าไปตามดงหญ้ารก ๆ ชื้นแฉะชุ่มฉ่ำด้วยน้ำ ( ที่ค่อนข้างสกปรก) กันละ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านบางกรูดไม่นิยมใช้ยาสมุนไพรจากปรงทะเลนัก เสาะห่าคุณสมบัติตัวยาที่ต้องการจากพืชพรรณอื่น ๆ ทดแทน การจะขุดหัวปรงนั้นไม่ใช่ของง่าย เพราะต้องขุดลงไปในดินเลนนั่นเอง









พลอยโพยมนึกถึงปรงเม็กซิกัน ปรงญี่ปุ่น ที่มีรูปทรงสวยงาม มีราคาแพงเพราะถือเป็นปรงนอก สังเกตว่าลำต้นที่เป็นเหง้าหรือหัวจะโผล่พ้นดินขึ้นมา ดังนั้นใบของปรงจะไม่ระเลื้อยรกรุงรังเหมือนปรงทะเลบ้านเรา หากคิดวิธีการให้เหง้า ลำต้น ของปรงทะเลโผล่พ้นดินขึ้นมาได้ ก็อาจจะได้รูปทรงของปรงทะเลที่สวยงาม แต่พอห้วหรือเหง้าลอยพ้นดินขึ้นมาจะทำให้คูณสมบัติของสารต่าง ๆ ในหัวปรงทะเลคงเดิมหรือไม่กันละหนอ




สภานที่ของภาพนี้เป็นคูน้ำข้างถนนในหมูบ้าน เผอิญส่วนบริเวณนี้เป็นแอ่งน้ำด้วย ในภาพมีทั้งปอทะเล ปรงทะเล ขลู่ สาบเสือ ถัดแถบนี้ไปมีทั้งแสม และลำพู และวัชพืชอื่น ๆ มากมาย พลอยโพยมผ่านบริเวณนี้ตอนบ่าย ดอกปอทะเลเปลี่ยนเป็นสีส้มแล้วบนต้น และมีที่หล่นลอยอยู่ในน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น