บทความพรรณไม้ชายน้ำของพลอยโพยมตั้งแต่ เหงือกปลาหมอ สำมะงา พังกาหัวสุม แสม ถอบแถบน้ำ โกงกาง ลำแพน ลำพู รุ่ย และตะบูนขาว รวมถึงพรรณไม้ที่ยังไม่กล่าวถึงอีก ล้วนเป็นพันธุ์ไม้ป่าชายเลน หากแต่พลอยโพยมเรียกพันธุ์ไม้ดังกล่าวว่า "พรรณไม้ชายน้ำ" นั้น เป็นเหตุผลส่วนตัวของพลอยโพยมเอง โดยมีข้อมูลสนับสนุนจาก www.royin.go.th ดังนี้
เริ่มต้นจากคำว่า "พรรณ"
“พรรณ” คือ วรรณ, หมายถึง ผิว สี รูป เพศ, เช่น ผิวพรรณ สีสันวรรณ รูปพรรณ.
“พันธุ์” หมายถึง เชื้อสาย เทือกเถา เหล่ากอ, เช่น พงศ์พันธุ์ พืชพันธุ์ สืบพันธุ์.
พรรณ หมายความว่า ชนิด ใช้กับคำว่าพืช เป็น พืชพรรณ เพราะไม่ปรากฏเป็นวงศ์ญาติ เช่น พรรณข้าว พรรณปลา
พันธุ์ หมายความว่า เผ่าพงศ์ ใช้กับคำว่า เผ่า เป็นเผ่าพันธุ์ กับคำว่า พงศ์ เป็นพงศ์พันธุ์
มีที่สังเกตว่า ถ้าใช้กับคนเป็น เผ่าพันธุ์ พงศ์พันธุ์ ใช้กับสัตว์หรือต้นไม้เป็นพรรณ พืชพรรณ
คำว่า “พืชพันธุ์” และ “พืชพรรณ”
ถ้าจะเขียนว่า “พืชพันธุ์” แล้ว ก็มีความหมายเหมือนกัน คือ หมายถึงเชื้อสาย หรือ กำพืด
แต่ถ้าใช้ว่า พืชพรรณ แล้ว หมายถึงชนิดสิ่งที่มีชีวิตเนื่องจากพืช หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง พรรณไม้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1146
ซึ่งมีรายละเอียดอธิบาย คำว่า พันธุ์ และพรรณอีก มากมาย รวมทั้งมีตัวอย่างอธิบายที่ชัดเจน
สำหรับพรรณไม้ และพันธุ์ไม้ นั้น พลอยโพยมขอใช้คำว่าพรรณไม้
ส่วนคำว่าชายน้ำ ซึ่งพลอยโพยมใช้แทนคำว่าชายเลน เป็นการสื่อความถึงพรรณไม้ที่ขึ้นใกล้กับน้ำทั้งหลาย ชายฝั่งแม่น้ำ ริมคู คลอง หนองบึง บนบกที่อยู่ใกล้คูน้ำ ใกล้คลอง และบนบกที่นาน ๆ มีน้ำท่วมขัง อาจเป็นน้ำจากแม่น้ำในบางช่วงที่น้ำใหญ่มาก แม้แต่ ในกระถางปลูกต้นไม้ที่เคยเป็นพรรณไม้อยู่ริมชายน้ำมาก่อน
ภาพต่าง ๆ ที่พลอยโพยมถ่ายภาพเองและนำมาสื่อเกือบไม่ได้ถ่ายจากป่าชายเลนที่ใดเลย บางครั้งขับรถอยู่บนถนนระหว่างหมู่บ้านก็จอดแอบข้างทางเมื่อพบเห็นแล้วถ่ายภาพมาก็บ่อยมาก ส่วนภาพที่นำมาจากอินเทอร์เนท ก็คงเป็นภาพมาจากป่าชายเลนของจริง
โกงกางใบใหญ่
ต้นตะบูนขาวที่อยู่ใกล้กับต้นมะม่วงบนพื้นที่ราบเดียวกัน
ต้นจาก กอไผ่ หางนกยูงไทย ในพื้นที่ต่างระดับเพียงเล็กน้อย
ต้นคลัก( ขลัก ,ประสักดอกขาว ,พังกาหัวสุมดอกขาว) ที่ต่างระดับกับต้นมะขามเพียงเล็กน้อย
ต้นคลัก( ขลัก ,ประสักดอกขาว ,พังกาหัวสุมดอกขาว)
ลำพู
ต้นแสม
โกงกางใบเล็ก
ต้นรุ่ย ,ถั่วชาว
ลำแพน
สำมะงา
เหงือกปลาหมอ
ถอบแถบน้ำ
คำว่าป่าชายเลนมีคำอธิบายจากวิกิพีเดียดังนี้
ป่าชายเลน หรือ ป่าโกงกาง (อังกฤษ: Mangrove forest หรือ Intertidal forest)
คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว
อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มี ใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora spp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง
ได้มีการค้นพบป่าประเภทนี้มาตั้งแต่เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางมาบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะคิวบา ต่อมา เซอร์ วอลเตอร์ เรลห์ ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้อยู่บริเวณปากแม่น้ำในประเทศตรินิแดดและ กิอานา
คำว่า "mangrove"
เป็นคำจากภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "manglier" ส่วนภาษาไทยเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง"
บริเวณที่พบป่าชายเลนโดยทั่วไป คือตามชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบภูมิภาคเขตร้อน ส่วนเขตเหนือหรือใต้เขตร้อน จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างแต่ไม่มาก โดยพื้นที่ที่พบป่าชายเลนเช่น ในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และ ไทย เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
ตำบลบางกรูด เพียงแต่อยู่ชายฝั่งแม่น้ำบางปะกงซึ่งมีระบบน้ำสองน้ำ คือ น้ำจืดและน้ำกร่อย มิได้อยู่ ชายฝั่งทะเล ชายฝั่งบริเวณปากอ่าว ชายฝั่งทะเลสาบ หรือชายฝั่งของเกาะ มิหนำซ้ำ ชายฝั่งของแม่น้ำบางปะกง ฝั่งแหลมก็พอจะมีชายฝั่งเลนและมีพันธุ์ไม้ขึ้นให้พอจะเรียกได้ว่าป่า เช่น ป่าจาก ป่าแสม ให้เห็นบ้าง แต่หากอยู่ฝั่งคุ้งก็จะไม่มีพันธุ์ขึ้นมากมายหนาแน่นพอจะให้เรียกว่า ป่า นั้น ไม่มี หรือพอจะมีพันธุ์ไม้บ้างแต่ มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ดังตัวอย่างภาพของชายฝั่งแม่น้ำที่วัดบางกรูดมีสภาพดังนี้
ฝั่งวัดบางกรูด
ส่วนตรงข้ามวัดมีสภาพดังนี้
ฝั่งตรงข้ามวัดบางกรูดคือฝั่งบ้านที่พลอยโพยมเติบโตมา
ป่าจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น