วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๙๔ เจ้าหญิงโรหิณี แห่งกรุงกบิลพัสดุ์





ขอขอบคุณภาพจากwww.dmc.tv

เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่นิโครธาราม ทรงปรารภเรื่องของเจ้าหญิงโรหิณีว่า

ในสมัยหนึ่ง
พระอนุรุทธะได้มาที่กรุงกบิลพัสดุ์ พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ พวกพระญาติของท่านจึงได้มาสู่สำนักพระเถระ เว้นแต่พระน้องนางของพระเถระ คือ เจ้าหญิงโรหิณี เหตุที่เธอไม่เสด็จมา เพราะโรคผิวหนังบังเกิดขึ้นที่สรีระ

พระอนุรุทธเถระจึงแนะนำเธอให้สร้างโรงฉัน
พระนางได้ขายเครื่องประดับเพื่อสร้างโรงฉัน พระเถระและพวกญาติได้ช่วยกันดูแลการก่อสร้าง
พระเถระแนะนำให้พระนางโรหิณีทำโรงฉันเป็น ๒ ชั้น ให้ปูอาสนะไว้ชั้นล่าง ตั้งหม้อน้ำดื่ม และกวาดพื้นไว้เสมอ ๆ

พระนางกวาดพื้นทำให้ความสะอาดอยุู่เสมอ โรคผิวหนังของพระนางก็หายไป เมื่อโรงฉันเสร็จ พระนางได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุข แล้วได้ถวายขาทนียโภชนีย อันประณีตแด่ภิกษุสงฆ์เต็มโรงฉัน

เมื่อเสร็จภัตกิจ พระพุทธองค์ตรัสถามว่า
"นี่เป็นทานของใคร"
พระเถระกราบทูลว่า "เป็นของโรหิณี พระน้องนางของข้าพระองค์"
พระบรมศาสดาจึงรับสั่งให้หา พระนางแม้จะไม่ปรารถนาก็ตาม ก็มาเฝ้าตามรับสั่ง
พระบรมศาสดาตรัสถามว่า
"เธอรู้ไหมว่าโรคนั้นอาศัยกรรมอะไรของเธอ"
พระนางกราบทูลว่า " ไม่ทราบพระเจ้าข้า "

พระพุทธองค์ตรัสว่า
" โรคของเธอเกิดขี้นเนื่องจากความโกรธ" แล้วตรัสพระคาถาว่า

"บุคคลพึงสละความโกรธ สละความถือตัว ล่วงสังโยขน์ทั้งสิ้นได้ ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกต้องบุคคลนั้น ผู้ไม่มีกิเลศเครื่องกังวล "

ในกาลจบพระธรรมเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้น พระนางโรหิณีดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล สรีระของพระนางได้มีวรรณะดุจทองคำ ในขณะนั้นเองพระนางจุติจาก
อัตตภาพนั้น ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)




ขอขอบคุณภาพจากwww.youtube.com

หมายเหตุ
ขาทนียโภชนียะ [ขา-ทะ-นี-ยะ-โพ-ชะ-นี-ยะ] (มค. ขาทนีย = ของเคี้ยว + โภชนีย = ของกิน) น. ของเคี้ยวและของกิน.
ขอขอบคุณ http://dictionary.sanook.com




ต้นเต่ารั้ง (เต่าร้าง)
ขอขอบคุณภาพจาก www.oknation.net


บุรพกรรมของพระนางโรหิณี

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสแก่พระนาง) ว่า

ในอดีตกาล พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ผูกอาฆาตในหญิงนักฟ้อนของพระราชาองค์หนึ่ง ทรงดำริว่า "เราจักให้ทุกข์เกิดแก่หญิงนั้น"

แล้วให้เขานำลูกเต่าร้างใหญ่มา รับสั่งให้เรียกหญิงนักฟ้อนนั้นมายังสำนักของตนแล้ว ให้ใส่ผงเต่าร้างบนที่นอน ที่ผ้าห่ม และที่ระหว่างเครื่องใช้ มีผ้าปูที่นอนเป็นต้นของหญิงนักฟ้อนนั้น
โดยประการที่นางไม่ทันรู้ตัว. โปรยลงแม้ที่ตัวของนาง ราวกะทำความเย้ยหยันเล่น
ทันใดนั้นเอง สรีระของหญิงนั้นได้พุพองขึ้นเป็นตุ่มน้อยตุ่มใหญ่.
นางเกาอยู่ไปนอนบนที่นอน.
เมื่อนางถูกผงเต่าร้างกัดแม้บนที่นอนนั้น เวทนากล้ายิ่งนักเกิดขึ้นแล้ว.
พระอัครมเหสีในกาลนั้นได้เป็นพระนางโรหิณี.




พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ตรัสว่า
"โรหิณี ก็กรรมนั่นที่เธอทำแล้วในกาลนั้น, ก็ความโกรธก็ดี ความริษยาก็ดี แม้มีประมาณเล็กน้อย ย่อมไม่ควรทำเลย"

ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ
สญฺโญชนํ๒- สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ
อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา.

บุคคลพึงละความโกรธ, สละความถือตัว, ล่วงสังโยชน์ทั้งสิ้นได้
ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกต้องบุคคลนั้น
ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล.




ในกาลจบพระธรรมเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้น แม้พระนางโรหิณี ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. สรีระของพระนางได้มีวรรณะดุจทองคำ

ในขณะนั้นเอง. พระนางจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในระหว่างเขตแดนของเทพบุตร ๔ องค์ ในภพดาวดึงส์ ได้เป็นผู้น่าเลื่อมใส ถึงความเป็นผู้มีรูปงามเลิศ
เทพบุตรทั้ง ๔ องค์เห็นนางแล้ว เป็นผู้เกิดความสิเนหา วิวาทกันว่า
"นางเกิดภายในแดนของเรา, นางเกิดภายในแดนของเรา"

เมื่อตกลงกันไม่ได้ต้องไปให้ท้าวสักกะ จอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นตุลาการตัดสินคดีความ
เทพบุตรทั้ง ๔ จึงพาไปสู่สำนักของท้าวสักกเทวราช กราบทูลว่า
"ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์ทั้งสี่เกิดคดีขึ้นเพราะอาศัยเทพธิดานี้, ขอพระองค์ทรงวินิจฉัยคดีนั้น."




ท้าวสักกเทวราช
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=559321

แม้ท้าวสักกะ แต่พอได้ทรงเห็นพระนาง ก็เป็นผู้เกิดสิเนหาขึ้นมาเสียเอง
ตรัสถามเหล่าเทพบุตรว่า
"จำเดิมแต่กาลที่พวกท่านเห็นเทพธิดานี้แล้ว จิตเกิดขึ้นอย่างไร?"

ลำดับนั้น
เทพบุตรองค์หนึ่งกราบทูลว่า "จิตของข้าพระองค์เกิดขึ้นดุจกลองในคราวสงครามก่อน ไม่อาจจะสงบลงได้เลย."
องค์ที่ ๒. จิตของข้าพระองค์เกิดขึ้นเหมือนแม่น้ำตกจากภูเขา ย่อมเป็นไปเร็วพลันทีเดียว.
องค์ที่ ๓. จำเดิมแต่กาลที่ข้าพระองค์เห็นนางนี้แล้ว ตาทั้งสองถลนออกแล้ว ดุจตาของปู.
องค์ที่ ๔. จิตของข้าพระองค์ประดุจธงที่เขายกขึ้นบนเจดีย์ ไม่สามารถจะดำรงนิ่งอยู่ได้.

ครั้งนั้น ท้าวสักกะตรัสกับเทพบุตรทั้งสี่นั้นว่า
"พ่อทั้งหลาย จิตของพวกท่านยังพอข่มได้ก่อน ส่วนเราเมื่อได้เห็นเทพธิดานี้ จึงจักเป็นอยู่ เมื่อเราไม่ได้ จักต้องตาย."

พวกเทพบุตรจึงทูลว่า
"ข้าแต่มหาราช พวกข้าพระองค์ไม่มีความต้องการด้วยความตายของพระองค์"
แล้วต่างสละเทพธิดานั้นถวายท้าวสักกะแล้วหลีกไป.

เทพธิดานั้นได้เป็นที่รักที่พอพระหฤทัยของท้าวสักกะ ทรงตามใจนางเทพธิดาทุกอย่าง
เมื่อนางกราบทูลว่า
"หม่อมฉันจักไปสู่สนามเล่นชื่อโน้น"
ท้าวสักกะก็ไม่สามารถจะทรงขัดคำของนางได้เลย ดังนี้แล.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=27&p=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น