วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ พระราหุลเถระ ผู้ใคร่ในการศึกษา
ขอขอบคุณภาพจากth.wikipedia.org
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดสอนสามเณรราหุลถึงเรื่องศีล
โดยหยิบอุปกรณ์โดยการใช้กะลา และก็เทียบให้ดูกะลาที่มีน้ำกับกะลาที่ไม่มีน้ำ กระลาที่มีน้ำเมื่อคว่ำเทลงไป…มันรดหกหมด ก็เหมือนกับที่เราได้เทศีลเทธรรม ไม่สำรวมระวังในวาจา เมื่อได้กล่าวคำเท็จเสียแล้ว ก็เท่ากับเทศีลของตนออกหมด เหมือนกับเทน้ำออกจากกะลา เพราะฉะนั้นการกล่าววาจาที่ไม่เป็นเท็จเป็นจริง นั่นแหละชื่อว่าเป็นการได้ตักตวงเอาศีลไว้ ตักน้ำไว้ในกะลาได้มากทีเดียว โดยย่อ ๆ ก็ว่าอย่างนั้น
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจากhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=angelina-jerrry&date=13-02-2011&group=23&gblog=113
นำมาจากสมุดภาพพุทธประวัติ สำหรับประชาชน เล่าโดย พระอาจารย์พยอมกัลยาโณ วาดภาพโดย อาจารย์คำนวณ ชานันโท
เมื่อราหุลกุมาร บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ตามเสด็จพระบรมศาสดา และพระสารีบุตรเถระอุปัชฌาย์ของท่าน ไปยังสถานที่ต่าง ๆ เมื่ออายุครบก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
วันหนึ่ง ขณะที่พระราหุลพักอยู่ที่สวนมะม่วง ในกรุงราชคฤห์ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาราหุโลวาทสูตร ให้ท่านฟังหลังจากนั้นทรงสอนในทางวิปัสสนา ทรงยกอายตนะภายใน และภายนอกขึ้นแสดง พระราหุลส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
ขอขอบคุณภาพจาก www.musicvideos.com
พระราหุลได้รับยกย่องเป็นผู้ใคร่การศึกษา
พระราหุล เป็นผู้มีอัธยาศัยใคร่ต่อการศึกษาพระธรรมวินัย ทุกวันที่ท่านตื่นขึ้นมาเวลาเช้า ท่านจะกำทรายให้เต็มฝ่าพระหัตถ์แล้วตั้งความปรารถนาว่า
“วันนี้ ข้าพเจ้าพึงได้รับคำสั่งสอนจากสำนักพระบรมศาสดา สำนักพระอุปัชฌาย์และสำนักพระอาจารย์ทั้งหลายให้ได้ประมาณเท่าเม็ดทรายในกำมือของข้าพเจ้านี้”
ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา ให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ เป็น ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ใคร่ในการศึกษา
สามเณรราหุล เป็นต้นบัญญัติ ห้ามภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบัน
ในขณะเมื่อท่านยังเป็นสามเณรเล็ก ๆ อยู่นั้น ท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายจนเป็นที่เลื่องลือในหมู่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่า ครั้งนั้นพุทธบริษัททั้งหลาย ฟังธรรมกันยามค่ำคืน โดยมีพระเถระผลัดเปลี่ยนกันแสดงธรรม เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ต่างก็กลับที่พักของตน ส่วนพระภิกษุผู้บวชใหม่ และสามเณรรวมทั้งอุบาสก ที่ไม่สามารถจะกลับที่พักได้เพราะค่ำมืดจึงอาศัยนอนกันในโรงธรรมนั้น เนื่องจากเป็นพระบวชใหม่ จึงไม่สำรวมในการนอน ทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดู รุ่งเช้า อุบาสกทั้งหลายพากันติเตียนและความทราบไปถึงพระผู้มีพระภาค
ขอขอบคุณภาพจาก www.youtube.com
พระพุทธองค์จึงรับสั่งประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท “ห้ามภิกษุนอนร่วมในที่มุงที่บังเดียวกันกับอนุปสัมบัน (อนุปสัมบัน คือ ผู้มิใช่พระภิกษุ) ถ้านอนร่วมต้องอาบัติปาจิตตีย์”
ครั้นในคืนต่อมา สามเณรไม่สามารถจะนอนร่วมกับพระภิกษุได้ และเมื่อไม่มีที่จะนอน ท่านจึงเข้าไปนอนในเว็จกุฏี (ส้วม) ของพระบรมศาสดา
เมื่อเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธองค์เสด็จไปพบเธอนอนในที่นั้น และทรงทราบว่าเพราะเธอไม่มีที่นอนอันเนื่องมาจากพุทธบัญญัติทำให้พระองค์สลดพระทัยจึงดำริว่า “ต่อไปภายหน้า สามเณรน้อย ๆ จะได้รับความลำบาก เพราะขาด ผู้ดูแลเอาใจใส่” จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า:-
“ให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ถ้าเกิน ๓ คืน พระภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์”
ในพุทธบัญญัตินี้ หมายถึงให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ในคืนที่ ๔ ให้เว้นเสีย ๑ คืน แล้วค่อยกลับมานอนรวมกันใหม่ได้ โดยเริ่มนับหนึ่งจนถึงคืนที่ ๓ ทำโดยทำนองนี้จน กว่าจะมีสถานที่นอนแยกกันเป็นการถาวร
ท่านพระราหุลเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพานที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ดาวดึงส์เทวโลก
ท่านมีอายุไม่มากนัก เพราะท่านนิพพานก่อนพระพุทธองค์ผู้เป็นพระบิดา ก่อนพระสารีบุตรผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นพระอาจารย์
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.84000.org/one/1/08.html
ป้ายกำกับ:
[บทความ]
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น