วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๑๑ พระอานนท์ ๖




ขอขอบคุณภาพจากwww.lacamomille.com


เกียรติคุณอีกอย่างหนึ่งที่ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ คือ มีฝีมือทางช่าง สาเหตุที่ทรงชมเชย มีว่าครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จจากนครราชคฤห์ไปสู่ทักษิณาคิรีชนบท ได้ทอดพระเนตรเห็นคันนาของชาวมคธเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคันนาสั้น ๆ คั่นในระหว่าง แล้วตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า จะเย็บจีวรอย่างนั้นได้ไหม? พระอานนท์เถระทูลรับว่า เย็บได้ และต่อมาท่านเย็บจีวรให้พระหลายรูปแล้วนำไปถวายให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทอดพระเนตรแล้วตรัสชมเชยในท่ามกลางสงฆ์ว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด เป็นเจ้าปัญญา ซาบซึ้งถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำ ที่เรากล่าวโดยย่อให้พิสดารได้ ทำผ้ากุสิก็ได้ ทำผ้าอัฑฒกุสิ ผ้ามณฑล ผ้าอัฑฒมณฑล ผ้าวิวัฏฏะ ผ้าอนุวิวัฏฏะ ผ้าคีเวยยกะ ผ้าชังเฆยยกะ และผ้าพาหันตะก็ได้"




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=98

นอกจากนี้พระอานนท์เป็นผู้ที่ประหยัดและฉลาดในเรื่องนี้มาก
ดังเหตุการณ์ที่พระนางสามาวดีมเหสีของพระเจ้าอุเทนแห่งนครโกสัมพี เสื่อมใสในการแสดงธรรมของพระอานนท์ ทำการบูชาพระธรรมด้วยผ้าอุตราสงค์ ๕๐๐ ผืน แด่พระอานนท์
เมื่อพระเจ้าอุเทนทราบจึงตำหนิพระอานนท์ว่ารับจีวรไปจำนวนมาก เมื่อได้โอกาสจึงนมัสการถามว่าเอาจีวรไปทำอะไร

พระเจ้าอุเทนถามพระอานนท์ว่า "ผ้าอุตราสงค์ที่ถวายไม่มากเกินไปหรือ ท่านจักทำอย่างไรด้วยผ้าจำนวนมากเหล่านี้"
พระอานนท์ตอบว่า "จักถวายผ้าที่เหลือแก่ภิกษุผู้จีวรเก่ากว่า "
พระเจ้าอุเทน ถาามว่า " ภิกษุทำจัวรเก่าของตนให้เป็นอะไร"
พระอานนท์ตอบว่า " เธอจักทำให้เป็นผ้าปูที่นอน "
พระเจ้าอุเทนถามว่า " เธอจักทำผ้าปูที่นอนเก่าให้เป็นอะไร"
พระอานนท์ตอบว่า "เธอจักทำเป็นผ้าปูพื้น"
พระเจ้าอุเทนถามว่า "เธอจักทำผ้าปูพื้นเก่าให้เป็นอะไร"
พระอานนท์ตอบว่า "เธอจักทำเป็นผ้าเช็ดเท้า"
พระเจ้าอุเทนถามว่า "เธอจักทำผ้าเช็ดเท้าเก่าให้เป็นอะไร"
พระอานนท์ตอบว่า "เธอจักโขลกให้ละเอียด ผสมด้วยดินเหนียวแล้วฉาบทาฝา"
พระเจ้าอุเทนทรงเลื่อมใส รับสั่งให้นำผ้า ๕๐๐ ผืน ถวายวางไว้แทบบาทมูลของพระอานนท์เถระ




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=30-07-2011&group=54&gblog=23



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=98

พระอานนท์ผู้เป็นปฐมเหตุให้เกิดพระภิกษูณี
ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าสุทโทนะพระพุทธบิดาได้นิพพานแล้ว
พระนางมหาปชาบดี ผู้เป็นพระเทวี และพระมาตุจฉาของพระพุทธองค์ ได้มีศรัทธาเลื่อมใสที่จะบวชเป็นภิกษุณี จึงเสด็จพร้อมด้วยเหล่าศากยกุมารีหลายพระองค์ ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทูลขอออกบวช แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามเสีย แม้พระนางเจ้าจะได้กราบทูลขอถึง ๓ครั้ง แต่พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงประทานพระพุทธานุญาตก็ไม่เป็นผล พระนางรู้สึกผิดหวังเศร้าโศกโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงกราบทูลลาเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ พระบรมศาสดาประทับ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ โดยสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวาร เสด็จไปยังพระนครเวสาลีประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=98

พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีพระทัยเปี่ยมด้วยศรัทธา รับสั่งให้ช่างกัลบกมาปลงกระเกศา แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ นำพาศากิยนารีเป็นบริวารประมาณ ๕๐๐ พระองค์ (นางกษัตริย์เหล่านี้สวามีออกบวชไปก่อนแล้ว) เสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองเวสาลีแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยืนกรรแสงอยู่ที่ซุ้มประตู ขณะนั้น พระอานนท์ผ่านมาพบจึงทูลถาม เมื่อพระอานนท์เถระทราบแล้ว รูสึกสงสารคิดจะช่วยพระนาง จึงเข้าเฝ้ากราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า:-


ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=98


ถ้าสตรีบวชในพระศาสนาแล้ว อาจทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผล ระสกทาคามิผล รอนาคามิผล และพระอรหัตผลได้หรือไม่ พระเจ้าข้า ?”
“ดูก่อนอานนท์ อาจทำให้แจ้งได้เหมือนบุรุษเพศทุกประการ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นควรจะอนุญาตเพื่ออนุเคราะห์แก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีคุณูปการบำรุงเลี้ยงดูพระองค์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ให้สมปรารถนาด้วยเถิด พระเจ้าข้า”

ถ้าพระนางปชาบดีโคตรมีรับประพฤติครุธรรม ๘ ประการได้ พระพุทธองค์ทรงยินยอมให้บวชได้
พระอานนท์เถระจดจำนำเอาครุธรรมทั้ง ๘ ประการนี้มาแจ้งแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางได้สดับแล้วมีพระทัยผ่องใสโสมนัส ยอมรับปฏิบัติได้ทุกประการ พระพุทธองค์จึงประทานการอุปสมบทให้แก่พระน้านางสมเจตนาพร้อมศากยขัดติยนารีที่ติดตามมาด้วยทั้งหมด เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทสำเร็จเป็นนางภิกษุณีแล้วเรียนพระกรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา


ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=30-07-2011&group=54&gblog=23




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 http://www.84000.org/one/1/12.html
 http://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=98
 สารานุกรมวิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น