วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

สามใบเถา...เจ้างาม...พ่างเพี้ยงพิศวง...






สามใบเถา...เจ้างาม...พ่างเพี้ยงพิศวง...

มีพันธุ์ไม้ 3 ชนิด ที่มีลักษณะของต้นและใบ ที่คล้ายคลึงกันมาก คือ ต้นกาหลง ชงโค และโยทะกา
ซึ่งดอกของไม้ทั้งสามต้นนี้มีความงดงามที่แตกต่ากัน

ดอกกาหลง

เต็งแต้วแก้วกาหลง บานบุษบงส่งกลิ่นอาย
หอมอยู่มิรู้หาย คล้ายกลิ่นผ้าเจ้าตราตรู


(กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ)






ดอกกาหลง


พระอภัยมณีศรีสุวรรณ
ต่างชิงกันเก็บพลางตามทางมา
พระพี่เก็บ กาหลง ส่งให้น้อง
เดินประคองเคียงกันด้วยหรรษา


เรื่องพระอภัยมณี




ดอกชงโค


พอเข้าป่าพาใจชื่น
หอมรื่นดอกดวงพวงบุป ผา
สาวหยุดพุดจีบปีบ จำปา
กรรณิการ์มหาหงส์ชงโค


พระราชนิพนธ์อิเหนา






ดอกชงโค

...ร่ายสุภาพ...

พระเหลียวแลไม้ดอก ออกช่อแซมแนมผม ไขสุคนธเสาวรพย์ เลวงตระหลบแหล่งพนัศ
วายุพานพัดรำเพย รเหยหอมฟุ้งเฟื่อง เปลื้องหฤไทยรำจวญ เหล่าลำดวนดาษดง
แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยธกา ...........
ถวิลถึงองค์อ่อนไท้ ธิราศร้อนทรวงเสียว อยู่นาฯ


ลิลิตตะลงพ่าย พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระปรมานุชืตชิโนรส




ดอกชงโค

นกหกบินสล้างในกลางเถื่อน
บ้างพาเพื่อนเที่ยวคะนองบ้างร้องโต้
นกแก้วป้อนลูกบนต้นชงโค
แล้วบินโผพูดจ้ออยู่จอแจ


เสภาขุนช้างขุนแผน





ดอกชงโค

ยูงยางกร่างไกรใบหนา พิลังกาสา
กาหลงแลชงโคขิง
โกงกางต้นลางตะลิงปลิง ล้วนเหล่าลางลิง
มะปริงกระทิงทองหลาง


พรรณพฤกษา พระยาศรีสุนทรโวหาร น้อย อาจารยางกูร





ดอกโยทะกา

ดอกโยทะกา น้องเล็กของตระกูลสามใบเถา เพราะใบของต้นโยทะกาจะเล็กกว่าใบของต้นกาหลงและชงโค โยทะกาเป็นดอกไม้ที่มีการเปลี่ยนสีของดอกตามโมงยามที่เคลื่อนคล้อยลอยเลื่อนของดวงสุริยา จากเช้า สาย บ่ายเย็น จากสีเหลืองนวล ค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีม่วง และม่วงเข้ม เช่นเดียวกับดอกปอทะเล ที่เปลี่ยนสีของดอกจากสีเหลือง ส้ม แสด แดง


พุทธชาดรักซ้อนซ่อนกลิ่น อินทนิลช้องนางนางคลี่
นางแย้มกล้วยไม้มะลุลี ยี่สุ่นโยทะกาชบาบาน
กรรณิการ์เกดแก้วกาหลง ประยงค์พะยอมหอมหวาน

พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์


พิกุลบุนนาคตูมตาด เหียงหาดพลับพลวงหวายหว้า
นมยวงนางแย้มโยทะกา พะวาพะยอมเฟืองไฟ

พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์






ดอกพุดตาน

ดอกพุดพาน เป็นดอกไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีการเปลี่ยนสีของดอกไม้ภายในวันเดียวกัน ตามความร้อนแรงแห่งแสงตะวันที่แผดจ้า ดอกพุดตานเปลี่ยนเป็นสีฃมพูในยามบ่าย


ชมนาดชาตบุษย์ พุดซ้อนพุทธรักษา
พุดตานต้นคงคา เดือดเหมือดคนปนผักเค็ด
พุทธชาดต้นต่ำต่ำ สลอดน้ำต้นสำเส็ด
พุดจีบแลตีนเป็ด ต้นเอื้องเพชรม้าดาดง


พรรณพฤกษา พระยาศรีสุนทรโวหาร น้อย อาจารยางกูร




งามอุบล ปนจันทน์กะพ้อ
ผีเสื้อ แตกกอ พร้อม เล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้
ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ แลวิไล
ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน


เพลงอุทยานดอกไม้




ดอกพุดตาน

เกดแก้วกรรณิการ์สารภี มะลุลีลำดวนหอมหวาน
กุหลาบกาหลงชงโคบาน ชาตบุษย์พุดตานมะลิวัลย์


พระราชนิพนธ์ รามเกียรติ์






มะเขืออินเดีย

ต้นมะเชืออินเดียสูงขนาดตึกขั้นที่สอง ในวัยเด็กได้ยินคนเฒ่าคนแก่ พูดกันบ่อยๆว่า ในยุคปลายศาสนา มนุษย์ต้องใช้ไม้สอยมะเขือมากิน เพราะมนุษย์ จะตัวเล็กมาก แต่แล้วก็พบว่าในปัจจุบันนี้ มะเขืออินเดีย ต้นนี้หากอยากกินลูกมะเขือ ก็ต้องใช้ไม้สอย กันเสียแล้ว เจ้าของมะเขือต้นนี้ เรียกชื่อต้นมะเขืออินเดีย แต่พลอยโพยม พบว่ามีหนังสือดอกไม้บางเล่ม เรียกมะเขือลักษณะอย่างนี้ว่า มะเขือต้น (เพิ่มเติม)






มองไกลๆนึกว่าเป็นดอกพุดสามสีออกดอกพราวเต็มต้น
แท้จริงเป็นดอกมะเขืออินเดีย





ผลมะเขืออินเดีย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น