วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

...แก้วเจ้าจอม หอมรวยริน...



แก้วเจ้าจอม

ชื่อสามัญ Lignum Vitage
ชื่อวิทยาสาสตร์ Guaiacum Officinale Linn
วงศ์ ZYGOPHYLLACEAE

แก้วเจ้าจอมเป็นไม้ดอกประวัติศาสตร์ ต้นแรกในเมืองไทย มีอายุกว่า 100 ปี มีความเป็นมาว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจองเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสอินเดีย ทรงนำมาปลูกไว้ในพระราชอุทยานวังสวนสุนันนทา ด้านหลังเนินพระนาง หรือพระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันนทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี( ปัจจุบันตือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา) เป็นต้นแก้วเจ้าจอมลักษณะใบประกอบ 2 คู่ ( คือสี่ใบ)

แก้วเจ้าจอม ได้ถูกจัดลำดับเป็นพืชพันธุ์อนุรักษ๋ในบัญชี 2 ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2525 กรมส่งเสริมการเกษตร ศาสตราจารย์ เต็ม สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤษศาสตร์ เป็นผู้ตั้งชื่อไม้ชนิดนี้ว่า "แก้วเจ้าจอม" หรือ " น้ำอบฝรั่ง" ปัจจุบันเป็นดอกไม้สัญลักษร์ประจำมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ยังมีแก้วเจ้าจอม ชนิด 3 ใบคู๋ คือ หกใบ ดังในภาพประกอบ เป็นไม้พุ่มสวย มีลักษณะใบประกอบ 3 คู่ ปลูกไว้ ณ ฝ่ายปฎิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ปัจจุบัน ไม้ต้นนี้มีอายุ 26 ปี (ณ วันลงข้อมูล ของ http://www.rdi.ku.ac.th/
โดย อุดม แก้วสุวรรณ และคณะ

แก้วเจ้าจอม เป็นพันธุ์ไม้จาก หมู่เกาะอินดีสตะวันออก จะออกดอกกลีบสีม่วงคราม (สีฟ้าอมม่วง)มีเกสรสีเหลือง ในช่วง เดือน สิงหาคม-ตุลาคม และ ธันวาคม - เมษายน มีกลิ่นหอม ผลของแก้วเจ้าจอม สีเหลือง เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม การขายพันธุ์ โดย เมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักชำ การปลูก ควรปลูกในที่แสงแดดรำไร เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-12 เมตร

แก้วเจ้าจอม เป็นพันธุ์ไม้ที่ปัจจุบันซื้อหาได้ทั่วไป เมื่อสิบกว่าปีก่อน พลอยโพยม พบต้นแก้วเจ้าจอมที่บ้านของลูกค้าธนาคาร ท่านเป็นอาจารย์คณะเภสัช จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ต้นสูงกว่าหลังคาบ้าน 2 ชั้น โดยพลอยโพยมไปยืนที่โคนต้น ซึ่งร่มเงาครึ้ม เมือแหงนขึ้นไป ก็ได้เห็น ใบของต้น ที่มีลักษณะแปลก ไม่ได้เห็นดอกด้วยซ้ำไปท่านอาจารย์ บอกว่า นี่คือต้นแก้วเจ้าจอม พลอยโพยม ชอบชื่อมาก และชอบลักษณะใบ จึงไปเดินหาซื้อที่สวนจตุจักร วันพุธก็พบว่าถ้าต้นสูง ประมาณ เกือบเมตร ราคา ประมาณ เจ็ดถึงแปดร้อยบาท ก็ซื้อไม่ลง เดินอีกหลายสัปดาห์ ก็ไปพบ ต้นชำเล็กๆ สูงประมาณ หนึ่งคืบ ( คืบของตัวพลอยโพยมเอง) ราคา หนึ่งร้อยห้าสิบบาท ซื้อ มาหลายเที่ยวหลายต้น ( ประมาณ 6 ต้น) มีทั้ง ชนิด สี่ใบ และชนิด หกใบ ตามแต่พ่อค้าคนขาย จะบรรยายสรรพคุณ แก้วเจ้าจอมชนิดที่ตัวเองมีขายในร้าน ว่า พันธุ์ ที่เขาขาย ออกดอกง่าย ดอกดก สีสวย ทนทาน ไปยาลใหญ่ จึงต้องซื้อมา ทั้ง สองชนิด ปัจจุบัน คงเหลือรอดชีวิต อยู่ สามต้น ชนิด หกใบ (ก็เลย คิดว่าชนิด หกใบ น่าจะทนทานปลูกง่ายกว่า ชนิด 4 ใบ( ตามต้นตอเดิม อายุ 100 ปี) ทั้งที่อยู่ในกระถางไม่ค่อยได้ดูแล จนมีคนใจดี นำมาปลูกลงดินให้ จึงเหลือรอดมาดังกล่าว แต่ มีนกรที่บ้าน ตัดแต่งกิ่งต้นไม้ทุกต้นไม่ให้เป็นทรงพุ่ม เป็นทรงสูงชลูดหมดทุกต้น ( แม้แต่ต้นตะขบ) ภาพดอกไม้สวนใหญ่ พลอยโพยม ต้องใช้ ม้าสูง (ประมาณ 1 เมตร ) ตั้งไว้ แล้วปีนป่ายขึ้นไปถ่ายภาพ ซึ่งคนในบ้านไม่เห็นด้วยกับความพยายามนี้ เพราะกลัวตกลงมา ไม่คุ้มความเสี่ยงที่จะพิการ พลอยโพยม เสียดายความงามของดอกไม้หลายชนิด ที่อยากนำมาสื่อให้ ผู้เข้ามาเยี่ยมชม เวปไซต์นี้ ได้เห็น แม้จะไม่มีฝีมือเรื่องการถ่ายภาพเลยก็ตามที


แก้วเจ้าจอม มีสรรพคุณในด้านสมุนไพรดังนี้

ใช้รักษา รูมาติซัมเรื้อรัง โรคไขข้ออักเสบ ปวดประจำเดือน โรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคเก้าด์ ใช้เป็นยาตรวจครบเลือดในนิติเวชวิทยา เรียกว่า Gum Guaiacum แถบอเมริกาใต้ อินเดีย อินเดียตะวันตกและฟลอริดา

- ยางไม้ ใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ซับเหงื่อ แก้ข้ออักเสบ หรือทำเป็นยาอมแก้หลอดลมอักเสบ
- ใบ ใช้คั้นน้ำ กินแก้อาการท้องเฟ้อ
- เปลือก เป็นยาระบาย
- ดอก ทำผงชา เป็นยาบำรุงกำลัง





ดอกแก้วกัลยาประดิษฐ์พระราชทาน

เป็นดอกไม้ประดิษฐ์ ที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานนามดอกไม้ประดิษฐ์โดยคนพิการของศูนย์ส่งเสริมอ่ชีพและพัฒนาคนพิการ สภาสังคมสงเคราะห์ว่า "ดอกแก้วกัลยา" เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2547 ตามที่ศูนย์ฯ ได้มีหนังสือขอพระราชทานพระอนุญาต

ดอกแก้วกัลยา มีการจดลิขสิทธิ์ 2 ฉบับ ดอกแก้วกัลยา เป็นดอกไม้ในจินตนาการ มาจากดอกไม้ 2 ชนิด คือดอกแก้ว และดอกแก้วเจ้าจอม มีกลีบดอกสีฟ้าคราม ดอกดแก้วและดอกแก้วเจ้าจอมออกดอกเป็นพวง ให้ความหมายเปรียบเทียบประดุจคนเราทุกคนมีน้ำใจเป็นหนึ่งเดียว ความหมายรวมของดอกแก้วกัลยา คือ ดอกไม้จากนางแก้วที่นมีน้ำพระหฤทัยสดใส ให้แสงสว่างอบอุ่นกับมวลหมู่คนพิการในแผ่นดินไทย ดั่งน้ำพระหฤทัยจากองค์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์


ที่มา : http://www.panyathai.or.th/



เพลงดอกแก้วกัลยา









1 ความคิดเห็น: