วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พรรณไม้ชายทุ่ง...ตะขบสวย ละลวยหอม...




...ตะขบฝรั่ง ...
ชื่อสามัญ JamaicanCcherry, Malayan Cherry, West Indian Cherry
ชื่อวิทยาศาสตร์ Muntingia calabura L.
วงศ์ TILICEAE
ชื่อท้องถิ่น ครบฝรั่ง ตะขบ

วงศ์ตะขบฝรั่ง มีสมาชิกเพียง ๓ สกุล คือ Dicraaspidia Muntingia และ Neotessmannia ซึ่งแต่ละสกุลมีสมาชิกเพียงชนิดเดียว ( มีต้นจาก หนึ่งในสกุลปาล์ม ที่มีจากเป็นสมาชิกหนึ่งเดียวในวงศ์ย่อย) มีถิ่นกำเนิดและเขตการกระจายพันธุ์ใน แถบอเมริกากลางและใต้ พบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผลทั่วไปในเขตร้อน ในไทยมีเพียงสกุลเดียวคือ สกุล ตะัขบฝรั่ง
Muntingia สมาชิกคือ Muntingia calabura L. ในไทย พบปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ผล หรือขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างทั่วไปเป็นไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ประมาณ ๑๐ เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับในระนายเดียวกัน ขอบใบจักฟันเลื่อย โคนใบเบี้ยวมีหูใบร่วม ขนาดไม่เท่ากัน มีขนปกคลุมหนาแน่น ดอกออกเดี่ยวตามซอกใบ ผลกลมผิวบางเรียบ เมื่อดิบสีเขียวอมชมพู เมื่อสุกมีสีอดง มีเมล็ดเล็กๆภายในจำนวนมากภายใน ก้านผลยาว ๒-๓ ซ.ม. รสหวานกินได้ มีผลทั้งปี

หมายเหตุ ชื่อสามัญ Jamaican Cherry เนื่องจากพันธุ์ไม้ต้นแบบ (type specimens) เก็บจากจาไมก้า


ประโยชน์ของตะขบ : นอกจากกินได้รสหวานเย็นมีกลิ่นหอม บำรุงกำลังทำให้ชุ่มชื่นใจ ยังมีประโยชน์ทางสมุนไพรด้วยคือ

- เปลือก ใช้ต้มกินเป็นยาระบาย
- ราก แก้เสมหะ โรคผิวหนัง แก้ผื่นคันตามตัว
- ต้น แก้โรคผิวหนัง
- เนื้อไม้ ใช้ขับไส้เดือน แก้ตานโขมย แก้ท้องร่วง บิด มูกเลือด แก้ไข้หวัด แก้ปวดศีรษะ
- ใบ รสฝาด ขับเหงื่อ
- ดอก นำมาตากแห้ง ชงน้ำ เป็นยาแก้ปวดศีรษะ ลดไข้ ใช้แก้หวัด แก้ปวดเกร็งในทางเดินอาหารต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ช่วยขับระดู แก้โรคตับอักเสบ ผล กินได้


ตะขบที่เราพบเห็นมากมาย จนบางครั้งก็กลายเป็นวัชพืช กลับไมใช่ ไม้พื้นเมือง ถือว่า เป็นพันธุ์ไม้นอก สาเหตุที่กลายเป็นวัชพืช ก็เพราะ ตะชบ มีผลขนาดเล็กเมื่อสุก สีแดงสวยงามสะดุดตา แถมมีกลิ่นหอมยวนยั่วใจเวลากัดกิน ดังนั้นบรรดานกทั้งหลายจึงชื่นชอบ เมื่อกินแล้วก็ ถ่ายออกมาขยายพันธ์ รวมทั้งสามารถคาบผลไปไหนมาไหนได้ง่าย ตะขบแต่ละต้นให้ผลตลอดปี และให้ผล คราวละเต็มต้น จึงมีปริมาณมากมาย พอให้มนุษย์ และนก แบ่งสรร กันเก็บกินได้ตามอัธยาสัย ไม่ต้องแย่งยื้อกัน

ที่บ้านพลอยโพยม ตั้งใจให้ตะขบ ขึ้นในเนื้อที่ เพื่อเป็นอาหารล่อนก เนื่องจากพลอยโพยมชอบนกมาส่งเสียงเจื้อยแจ้ว หากตะขบไม่มีลูกบางครั้งก็เอากล้วยน้ำว้าสุกไปแขวนที่ต้นตะขบ แต่น่าแปลกใจ ที่นกไม่ค่อยมากินกล้วยที่ต้นตะขบ เพราะนก เกิดระแวงภัย กระมัง ว่า ตะขบบ้านนี้ออกลูกเป็นกล้วยน้ำว้า มีนัยอย่างอื่นหรือเปล่า เลยไม่ค่อยยอมมาจิกกินกล้วย ก็จะมี กระรอกน้อย หนึ่งตัว กระโดดไปมาระหว่างต้นไม้ มาแทะกินบ้าง ส่วนใหญ่ก็กลายเป็นหนูไต่ขึ้นมากกิน

ตะขบออกดอกชูหงายขึ้นเหนือใบรับแสงตะวัน แสงเดือน แสงดาว รับทั้งน้ำค้างและน้ำฝน แต่พอกลายเป็นผล กลับบิดผลห้อยลง เมื่อแก่เต็มที่ กลับเป็นการซ่อนผลไว้ใต้ใบ เวลาไปหาผล ถ้าต้นสูงก็แหงนเงยหน้าขึ้นไปหา แต่ถ้าเป็นกิ่งต่ำเตี้ย ต้องพลิกหงายใบหากัน เวลาถ่ายภาพ ภาพที่ได้ดูจะขัดธรรมชาติ

ข้อมูลจาก : สำนักหอพรรณไม้ / http://www.biogang.net/


...ลีลา...ตะขบ...Photo by Amorn Tun















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น