วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปลาหนวดพราหมณ์

ปลาหนวดพราหมณ์




ชิ่อสามัญอังกฤษ: Paradise threadfin

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polynemus paradiseus

อยู่ในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae)



ปลาหนวดพราหมณ์ปลาน้ำกร่อยที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้



ลักษณะทั่วไป

รูปร่างภายนอกของปลาชนิดนี้จะมีทรวดทรงเหมือนปลากุเราทุกประการ แต่ปลาหนวดพราหมณ์มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวยาวเรียว ส่วนของหัวค่อนข้างเล็ก หน้าสั้น นัยน์ตามีขนาดเล็ก ตามีขนาดเล็กอยู่เกือบสุดปลายส่วนหัวและมีเยื่อไขมันคลุม ปากอยู่ทางด้านล่างของลำตัว มีฟันเล็กละเอียดอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง ไม่มีริมฝีปากบน ลำตัวแบนข้าง ครีบอกยาว




ครีบหลังมี 2 อัน ครีบท้องอยู่ใต้ครีบหู ครีบหางปลายแยกเป็นแฉกลึก ครีบก้นอยู่ตรงข้ามกับครีบหลังอันที่สอง ก้านครีบหูแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนบนเหมือนครีบหูของปลาอื่น ๆ แต่ส่วนล่างแบ่งเป็นเส้น ๆ มี 7 เส้น 2 เส้นแรกมีความยาวเป็น 2 เท่าของความยาวลำตัว ส่วนปลากุเรามีก้านครีบฝอยค่อนข้างสั้น ข้างละ 4 เส้นเท่านั้น




เกล็ดเล็กละเอียดมีลักษณะเป็นปากฉลาม ตัวมีสีเงินวาวอมชมพูหรือสีเนื้อ (สีเหลือง)หัวสีจางอมชมพูหรือสีเนื้อ ครีบสีจาง ด้านท้องสีจาง

พื้นลำตัวเป็นสีเหลืองบริเวณสันหลังเป็นสีเทาหรือเขียว ไม่มีริมฝีปากบน ปลาในวงศ์นี้อาศัยอยู่ในทะเล




ถิ่นอาศัย

พบตามชายฝั่งทะเลทั่วไป ในแหล่งน้ำจืดพบมากในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำท่าจีนแม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำโขงตอนล่าง ในต่างประเทศพบได้จนถึงบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา

นิสัย

นิยมอยู่เป็นฝูง บางครั้งหากินด้วยการหงายท้องล่าเหยื่อ


อาหาร

กินแมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก

ขนาด

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 25 เซนติเมตร

ประโยขน์

เป็นปลาที่นิยมใช้บริโภคโดยการปรุงสดและทำปลาตากแห้ง นิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งด้วยความสวยงามของหนวดที่ยาว ทำให้ได้รับความนิยมในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่เลี้ยงให้รอดได้ยากมาก เนื่องจากเป็นปลาที่เปราะบาง มักตายอย่างง่าย ๆ จึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูงแต่ในต่างประเทศนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเป็นอย่างมาก โดยมีราคาเฉลี่ย 500 ถึง 1,500 บาท แล้วแต่ขนาดและความสมบูรณ์ของปลา

ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย

หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์

ภาพปลาและสัตว์น้ำจองไทยโดยสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์




ปลาหนวดพรามณ์เป็นปลาที่พบบ่อยในบางกรูดในสมัยเด็ก ๆ แม้ในปัจจุบันก็ยังพอพบเห็นได้ บางครั้งก็กระโดดเข้ามาในเรือ สำเป๊ะ หรือ เรือเท้าวเปีะ หรือเรือเช้าเป๊ะ ซึ่งก็คือเรือผีหลอกนั่นเอง แต่นาน ๆ ครั้งและครั้งละเพียงตัวเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น