ประหลาดเหลือ...ปลาเสือพ่นน้ำ
(เพิ่มเติม)
กาพย์ยานี ๑๑
ปลาเสือเหลือที่ตา
เลื่อมแหลมกว่าปลาทั้งปวง
เหมือนตาสุดาดวง
ดูแหลมล้ำขำเพราคม
กาพย์เห่เรือ เห่ชมปลา พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
ภาพจาก montereybayaquarium.org
(http://pet.kapook.com/view2547.html)
ปลาเสือพ่นน้ำ
หรือ ปลาขมังธนู หรือปลานักยิงธนู
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Common Archer Fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Toxotes chatareus
ลักษณะทั่วไป
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง
เป็นปลาผิวน้ำขนาดเล็ก พบได้ทั้งในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย อาศัยอยู่ตามผิวน้ำ
( เพิ่มเติม)
ลำตัวป้อมสั้นแบนข้างมาก เนื่องจากเป็นปลาที่ชอบว่ายน้ำอยู่บริเวณผิวน้ำ แนวสันหลังจากจะงอยปากถึงครีบหลังเกือบเป็นเส้นตรง พื้นลำตัวสีเงินแซมเหลือง บริเวณท้องมีสีขาวเงิน มีแถบสีดำขนาดใหญ่พาดขวางลำตัว 5 - 6 แถบ เหมือนลายเสือ จึงได้ชื่อว่าปลาเสือ ปากกว้างมีขนาดใหญ่และเฉียงขึ้นข้างบนและจะงอยปากยืดหดได้ มีตากลมโต และอยู่ค่อนไปทางสันหลังกลับกลอกไปมาได้ มีรอยประสีดำบริเวณครึ่งบนลำตัว ประมาณ 5-6 แต้ม เกล็ดสาก ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอนครีบหลังส่วนหน้ามีก้านครีบแข็ง ครีบก้นเป็นครีบอ่อนมีลักษณะใสโปร่งแสงสีของครีบหลังและครีบก้นเป็นสีส้มอมเหลือง ขอบครีบหลังและครีบก้นเป็นสีดำ ครีบหางจะมีสีเข้มกว่าเป็นสีส้มอมเหลือง
ซึ่งนับว่าปลาเสือพ่นน้ำสายพันธุ์นี้เป็นปลาเสือพ่นน้ำสายพันธุ์ที่มีแถบดำมากที่สุด และเป็นปลาเสือพ่นน้ำสายพันธุ์ที่พบได้มากและแพร่หลายที่สุด
นิสัย
เป็นปลาที่ก้าวร้าว ชอบอยู่รวมเป็นฝูง และลอยตัวอยู่ผิวน้ำเพื่อคอยจับแมลงผิวน้ำกิน ว่ายหากินอยู่ตามผิวน้ำเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่เกิน 20 ตัว
ปลาเสือพ่นน้ำมีความสามารถพิเศษอยู่สองประการ คือ สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่เหนือน้ำ ได้เป็นระยะห่าง 3 - 5 ฟุต
และอีกประการหนึ่ง คือ สามารถพ่นน้ำได้สูงถึง 1.5 เมตร จากผิวน้ำ พ่นน้ำได้โดยแรงกดดันอย่างรวดเร็วของแผ่นแก้มปิดเหงือกกับช่องเล็ก ๆ ใต้เพดาน ปากฉีดพ่นน้ำจากปากใส่แมลงที่อยู่เหนือน้ำได้เหมือนปืนฉีดน้ำ เพื่อให้เหยื่อตกลงมาและจับกินได้
ถิ่นอาศัย
พบได้ตามแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำต่าง ๆ ลำคลองหนองบึงที่มีทางเชื่อมติดต่อกับแม่น้ำ ลำคลองทั่วไป ตามบริเวณปากแม่น้ำที่ติดต่อกับทะเล จนถึงเขตน้ำกร่อยเช่น ป่าชายเลน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยด้วย พบชุกชุมในภาคกลางและภาคใต้
อาหาร- แมลงน้ำ แมลงที่บินอยู่เหนือผิวน้ำ นอกจากนี้แล้วยังกินสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น ลูกน้ำ ปลาขนาดเล็ก ลูกกุ้ง กุ้งฝอย เป็นต้น
ขนาด-มีความยาวประมาณ 10-15 ซ.ม. แต่ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง30-40 ซ.ม.
ประโยชน์-มีเนื้อน้อยและมีกลิ่นเหม็นเขียวไม่นิยมรับประทาน เนื่องจากมีลักษณะสวยงามเป็นที่รู้จักดีในความสามารถด้านการล่าแมลงจึงเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามกันมาก
ข้อมูลของกรมประมง และวิกิพีเดีย
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (วงศ์: Toxotidae)
คำว่า "Toxots" เป็นภาษากรีกหมายถึง นักยิงธนู
ปลาจำพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes)
ในอันดับ Perciformes
ปลาในวงศ์นี้มีขนาดตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ถึง 40 เซนติเมตร ปากยาว จะงอยปากยืดได้ มีลำตัวป้อม แบนข้าง ตากลมโต ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง 4-5 ชิ้น ตอนหลังเป็นครีบอ่อน เกล็ดเป็นแบบสาก
การกระจายพันธุ์
มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Toxotes ใน 7 ชนิด พบกระจายทั่วไปในเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงรัฐควีนส์แลนด์และนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีในออสเตรเลีย อาศัยทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย พบมากบริเวณปากแม่น้ำหรือแถบชายฝั่ง
พฤติกรรม
อาศัยเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ แมลง ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก มีความสามารถพิเศษคือ พ่นน้ำได้ไกลถึง 1-2 เมตร เพื่อยิงแมลงให้ตกลงน้ำเป็นอาหาร สมชื่อภาษาอังกฤษว่า "ปลานักยิงธนู" (Archer Fish) ถ้าแมลงยังไม่ตก จะยิงซ้ำสำเร็จ สามารถเปลี่ยนพิกัดมุมยิงได้อีกด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะปลาในวงศ์นี้มีลิ้นที่ยาว และมีร่องลึกที่ลิ้น ประกอบกับจะงอยปากที่กว้างพอดี เมื่อหุบเหงือกลงจะพ่นน้ำออกมาได้ในลักษณะเดียวกับปืนฉีดน้ำ
นอกจากนี้ยังสามารถกระโดดขึ้นงับเหยื่อเหนือน้ำได้สูงถึง 1 ฟุต
วางไข่ในฤดูฝนแถบชายฝั่งทะเลหรือปากแม่น้ำ โดยมีจำนวนตั้งแต่ 20,000-150,000 ฟอง ไข่มีขนาด 0.4 มิลลิเมตร โดยวางไข่แบบปล่อยลอยไปตามกระแสน้ำ พ่อแม่ปลาไม่ดูแลไข่
และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมีทั้งสิ้น 7 ชนิด เป็นชนิดที่ค้นพบใหม่ 1 ชนิด พบในไทย 3 ชนิด ได้แก่ เสือพ่นน้ำ, เสือพ่นน้ำเกล็ดถี่ และ เสือพ่นน้ำน้ำกร่อย
การจำแนกชนิดของปลาเสือพ่นน้ำ
1.ปลาเสือพ่นน้ำพม่า (Toxotes blythi) พบในประเทศพม่า มีสีสันลวดลายสวยงาม เพิ่งเข้าสู่การค้าขายเป็นปลาสวยงามได้ไม่นานมานี้
2.ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotes chatareus) เป็นชนิดที่พบมากที่สุด มีขนาดใหญ่ได้ถึง 40 เซนติเมตร พบกระจายทั่วไป และมีจุดดำมากกว่าทุกชนิด
3.ปลาเสือพ่นน้ำน้ำกร่อย (Toxotes jaculatrix)
4.ปลาเสือพ่นน้ำโบราณ (Toxotes lorentzi) มีรูปร่างแปลกไปจากชนิดอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด โดยมีลำตัวยาว ปากแหลม พื้นลำตัวสีคล้ำ พบในนิวกินี, อินโดนีเซียและออสเตรเลีย
5.ชนิดที่ค้นพบใหม่ (Toxotes kimberleyensis) ได้ทำอนุกรมวิธานเมื่อปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) มีลวดลายคล้ายปลาเสือพ่นน้ำพม่า พบในแคว้นคิมเบอร์ลี่ย์ ออสเตรเลียตะวันตก
6.ปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่ (Toxotes microlepis) มีสีเหลืองสดกว่าทุกชนิด
7.ปลาเสือพ่นน้ำตะวันตก (Toxotes oligolepis) พบเฉพาะในแม่น้ำฟริตซ์รอย ทางทิศตะวันตกของออสเตรเลีย ที่เดียวเท่านั้น มีเกล็ดที่มีความแตกต่าง
ปลาเสือของชาวบางกรูดก็คือปลาเสือพ่นน้ำ
ในช่วงน้ำขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำหรือริมฝั่งคลอง จะพบเห็น ปลากระทุงเหว ปลาเข็มและปลาเสือพ่นน้ำ บ่อยครั้งก็จะเห็นการพ่นน้ำของปลาเสือพ่นน้ำพุ่งขึ้นเป็นฝอย สูงบ้าง ต่ำบ้างตามของขนาดของปลาเสือพ่นน้ำที่มีจะเรียวแรงฉีดน้ำใส่ตัวแมลง แต่พลอยโพยมยังไม่เคยเจอปลาเสือพ่นน้ำเป็นฝูง ๆ ก็เลยไม่รู้ว่าถ้ามีเหยื่อตกลงมาในน้ำแล้วปลาเสือพ่นน้ำจะเปิดศึกแย่งเหยื่อกันรุนแรงขนาดไหน (ตามนิสัยที่ว่าปลาเสือพ่นน้ำนี้มีนิสัยก้าวร้าว ) จะพบเห็นต่างตัวต่างแหวกว่ายแต่พบเห็นครั้งละหลาย ๆ ตัว โดยไม่รวมกันเป็นฝูงแบบปลาซิว ปลาแขยง และพบเห็นปลาเสือพ่นน้ำตัวไม่โตนัก แต่ถ้าพบเห็นปลาเสือพ่นน้ำก็จะพบครั้งละหลาย ๆ ตัว และจะว่ายน้ำอยู่ไม่ไกลฝั่งนัก
ปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่
ปลาเสือพ่นน้ำจาก เทคโนโลยีชาวบ้าน
คอลัมน์ ปลาสวยงาม
โดย พิชิต ไทยยืนวงษ์
ชื่อสกุลของปลาเสือพ่นน้ำ คือ Toxotes เป็นภาษากรีก แปลว่า "นักยิงธนู" นักเลี้ยงปลาทั่วโลกก็รู้จักมันในชื่อทางการค้าว่า "Archer fish" หรือปลานักยิงธนูนั่นเอง
แหล่งกระจายพันธุ์ของปลาในสกุล Toxotes หรือปลาเสือพ่นน้ำจะอยู่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลงไปจนถึงทวีปออสเตรเลีย มีการสำรวจค้นพบได้ถึง 7 ชนิดพันธุ์ เฉพาะในเมืองไทยก็มีถึง 3 ชนิดพันธุ์ (species) ดังนี้ครับ
1. ปลาเสือพ่นน้ำธรรมดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Toxotes chatareus
ชื่อทางการค้า Seven-spot Archerfish, Largescale Archerfish
เป็นตัวที่พบเห็นได้ทั่วไป ส่วนมากอาศัยอยู่ตามบริเวณปากแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีทางเชื่อมต่อกับปากแม่น้ำติดทะเล พบได้มากทั้งทางภาคกลางและภาคใต้
2. ปลาเสือพ่นน้ำนครสวรรค์ หรือปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Toxotes microlepis
ชื่อทางการค้า Smallscale Archerfish
บางคนก็เรียกว่าปลาเสือพ่นน้ำน้ำจืด เพราะพบได้มากในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำจืดสนิท มีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าเพื่อน แต่มีสีสันเหลืองเข้มสวยงาม สามารถนำมาเลี้ยงในตู้ปลาได้ดีกว่าปลาเสือพ่นน้ำชนิดอื่น
3. ปลาเสือพ่นน้ำน้ำกร่อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Toxotes jaculatrix
ชื่อทางการค้า Banded Archerfish
สามารถพบได้ทั้งปากแม่น้ำและบริเวณชายฝั่งทั่วไป มีขนาดใหญ่กว่าปลาเสือพ่นน้ำชนิดอื่นๆ การนำมาเลี้ยงต้องปรับสภาพน้ำเสียก่อน ซึ่งบางตัวก็ใช้เวลานานมาก
ที่มา http://pet.kapook.com/view2547.html
วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
[บทความ] ปลาจิ้มฟันจระเข้..เร่เข้าอวน
ปลาจิ้มฟันจระเข้..เร่เข้าอวน
ปลาจิ้มฟันจระเข้
ภาพจากกรมประมง
ชื่อสามัญปลา จิ้มฟันจระเข้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Microphis boaja
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ COMMON FRESHWATER-PIPEFISH
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ลำตัวเรียวและมีสัณฐานเป็นเหลี่ยม เกล็ดของปลาชนิดนี้ได้เปลี่ยนรูปกลายเป็นแผ่นกระดูกแข็ง เป็นข้อ ๆ รอบตัวจะงอยปากยื่นแหลมมีลักษณะเป็นหลอด ปลายปากมีลักษณะคล้ายปากแตร ไม่มีฟัน ใช้ปากดูดอาหาร เพศผู้จะมีถุงฟักไข่อยู่ที่หน้าท้องเป็นร่องลึก ขอบของถุงฟักไข่มีส่วนของแผ่นเกล็ดแผ่ยื่นออกมาคลุมไว้ ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันอันตรายจากวัตถุภายนอกที่จะมากระทบไข่
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามผิวน้ำ ในแม่น้ำลำคลองและหนองบึง ที่มีทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำ พบในแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำแม่กลอง ทางภาคใต้พบในทะเลน้อย
อาหาร -กินแมลงและตัวอ่อนที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำ
ขนาด-ความยาวประมาณ 16-47 ซ.ม.
ประโยชน์-เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อไม่ใช้บริโภค
ข้อมูลของกรมประมง
(ใครบริโภคปลาจิ้มฟันจระเข้ได้ ก็ใช้ชีวิตในโลกใบนี้ได้ง่ายสบายมาก เก็บกิ่งไม้ท่อนไม้กินเป็นอาหารได้ไม่ต้องยุ่งยากไปหาปลาจิ้มฟันจระเข้ในแม่น้ำให้เหนื่อยยากลำบากกาย)
ปลาจิ้มฟันจระเข้
ภาพจากกรมประมง
วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Syngnathidae
เป็นวงศ์ปลาวงศ์หนึ่ง ในอันดับ Syngnathiformes
ปลาจิ้มฟันจระเข้ เป็นปลากระดูกแข็งมีรูปร่างประหลาดไปจากปลาในวงศ์อื่น ๆ ทั่วไป กล่าวคือ มีรูปร่างเรียวราวคล้ายกิ่งไม้ มีเกล็ดลำตัวแข็งดูคล้ายเกราะ ลำตัวแบ่งเป็นปล้อง ๆ หางยาว ตัวผู้จะเป็นผู้ที่ดูแลไข่โดยจะฟักไข่ไว้ในถุงหน้าท้องหลังจากไข่จากตัวเมียได้รับการปฏิสนธิแล้ว จนกว่าไข่จะฟักเป็นลูกปลาขนาดเล็ก ดวงตามีขนาดเล็ก ไม่มีฟันและขากรรไกร ครีบทุกครีบมีขนาดเล็ก ว่ายน้ำได้ช้า ๆ ปากยาวเป็นท่อ หากินโดยการดูดอาหาร จำพวก แพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล โดยมากจะพบในทะเลมากกว่า มีพบในน้ำจืดและน้ำกร่อย ไม่กี่ชนิด
แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ย่อย คือ วงศ์ Hippocampinae มี 2 สกุล หรือ ม้าน้ำ กับ Syngnathinae หรือ ปลาจิ้มฟันจระเข้ มี 52 สกุล โดยพบทั้งหมดประมาณ 215 ชนิด ใน 2 วงศ์ย่อยนี้
พบได้ทั่วโลก จัดเป็นปลาขนาดเล็ก ที่มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยเต็มที่ไม่เกิน 30 เซนติเมตร ประกอบกับรูปร่างที่แปลก จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ในตู้ปลาส่วนตัว หรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการนำไปปรุงเป็นยาสมุนไพรตามตำรับยาจีนอีกด้วย
ซึ่งคำว่า "Syngnathiformes" นั้นมาจากภาษากรีก แปลว่า "ติดกับขากรรไกร" โดยมาจากภาษากรีกโบราณ คำว่า συν แปลว่า ด้วยกัน กับ γνάθος แปลว่า ขากรรไกร และ "formes" มาจากภาษาลาตินที่หมายถึง "รูปแบบที่คล้ายคลึงกัน"
ในวิกิพีเดียมีข้อมูลของปลาจิ้มฟันจระเข้ดังนี้
1.ปลาจิ้มฟันจระเข้
2.ปลาาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์
3.ปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ
1.ปลาจิ้มฟันจระเข้
ชื่อ อังกฤษ: Pipefish
ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Syngnathinae
ในวงศ์ Syngnathidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับม้าน้ำและมังกรทะเล
ปลาจิ้มฟันจระเข้ คือ ปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง มีลักษณะและพฤติกรรมโดยรวมคล้ายกับปลาชนิดอื่นและสกุลอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน กล่าวคือ มีปากที่ยื่นเป็นท่อ ลำตัวหน้าตัดเป็นเหลี่ยม แต่ยาวเรียวมากดูคล้ายกิ่งไม้ ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นข้อ ครีบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก ไม่มีครีบท้อง ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่โดยเก็บไว้บริเวณหน้าท้อง ลำตัวมักมีสีน้ำตาล อาจมีลายสีเข้มพาดขวางในบางชนิด
หากแต่ปลาจิ้มฟันจระเข้ จะพบได้แม้ในน้ำจืดและน้ำกร่อยด้วย ซึ่งผิดไปจากปลาในวงศ์เดียวกันนี้ส่วนใหญ่
มีขนาดแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตรจนถึงฟุตกว่า ๆ ในชนิด ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (Doryichthys boaja) ที่พบในน้ำจืด เป็นต้น
มีทั้งหมด 52 สกุล
มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการนำไปทำเป็นยาจีนเช่นเดียวกับม้าน้ำ และนิยมเลี้ยงไว้ในตู้ปลาเพื่อความเพลิดเพลิน อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของนักดำน้ำอีกด้วย ในการถ่ายภาพใต้น้ำในแนวปะการัง เช่น ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง (Corythoichthys haematopterus)เป็นต้น
(มีภาพปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่างด้วย)
2.ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Doryichthys boaja
อยู่ในวงศ์ม้าน้ำและปลาจิ้มฟันจระเข้ Syngnathidae
วงศ์ย่อย Syngnathinae
เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีรูปร่างแปลกไปจากปลาทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกิ่งไม้ สัณฐานเป็นเหลี่ยม เกล็ดได้เปลี่ยนรูปกลายเป็น แผ่นกระดูกแข็ง เป็นข้อรอบตัว จะงอยปากยื่นแหลม ปลายปากคล้ายปากแตร ไม่มีฟัน ใช้ปากดูดอาหาร ลำตัวมีสีน้ำตาลเขียว และมีลายดำเป็นวงทั่วตัว ว่ายน้ำเชื่องช้า อาหารได้แก่ แมลงน้ำ, ลูกกุ้ง, ลูกปลาขนาดเล็ก และแพลงก์ตอนสัตว์ มีความยาวประมาณ 16 - 47 เซนติเมตร
ปลาในวงศ์นี้ โดยมากเป็นปลาทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด มีลักษณะเฉพาะ คือ เมื่อวางไข่ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้องโดยตัวเมียจะวางไข่ไว้ที่หน้าท้องตัวผู้ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลจนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว
จิ้มฟันจระเข้ยักษ์ พบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ ในแม่น้ำลำคลองและหนอง บึง ทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศ สำหรับภาคใต้พบมากในส่วนของทะเลน้อย ทะเลสาบสงขลา
ไม่ใช้สำหรับการบริโภค แต่ในสูตรยาจีน ใช้ตากแห้งเพื่อเป็นสมุนไพรทำยาเช่นเดียวกับม้าน้ำ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เป็นชนิดที่เลี้ยงยากมาก เนื่องจากปากมีขนาดเล็ก ผู้เลี้ยงจึงหาอาหารให้กินได้ลำบาก
รูปร่างหน้าตาของปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์นี้ เหมือนภาพของกรมประมง และที่พบในลำน้ำบางปะกง
3.ปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ หรือ ปลาจิ้มฟันจระเข้ลำธาร
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Doryichthys martensii
ในวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ Syngnathidae
วงศ์ย่อยSyngnathinae
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (D. boaja) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีลำตัวที่สั้นกว่า จะงอยปากสั้นกว่ามาก หัวเล็ก ลำตัวมีปล้อง 15 - 17 ปล้อง หางยาวกว่าลำตัวมาก ซึ่งแตกต่างจากจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ ลำตัวสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลแดง และมีจุดดำเล็ก ๆ ระหว่างปล้อง ครีบใส ครีบหางสีน้ำตาลและขอบสีจาง มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ใหญ่สุด 15 เซนติเมตร
อาหารได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก อาศัยอยู่ตามลำธารแม่น้ำในภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทยไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย พบมากในบางแหล่งน้ำ โดยมักหลบซ่อนอยู่ตามพื้นท้องน้ำใต้ใบไม้ที่ร่วง หากินโดยคืบคลานไปกับพื้นน้ำ ตัวผู้และตัวเมียต่างกันชัดเจนในขณะที่ปลาตัวเมียโตเต็มที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย และไม่มีถุงช่องหน้าท้องที่มีไว้เพื่อเก็บไข่และลูก ๆ
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย
ในวิกิพีเดียมีภาพประกอบ ท่านที่จะใช้ข้อมูลและภาพของปลาจิ้มฟันจระเข้ คงต้องยึดชื่อภาษาอังกฤษชื่อวิทยาศาสตรฺ ชื่อวงศ์เป็นหลัก
มีนกรที่บ้านบอกว่า หากใช้ชื่อในท้องถิ่น (ภาษาไทยเป็นหลัก ก็จะสับสน) พลอยโพยมไม่สันทัดเรื่องนี้เพราะไม่ได้เป็นชาวมีนกร ก็เลยจัดการประมวลผลข้อมูลเรื่องปลาจิ้มฟันจระเข้ เป็นเรื่องเดียวกันไม่ได้ และยังไม่มีข้อมูล Up Date ของกรมประมงล่าสุด จึงขอเสนอข้อมูลดิบตามที่หามาได้ เป็นดังนี้แล
ปลาจิ้มฟันจระเข้ในลำน้ำบางปะกง
ในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เป็นช่วงที่ชาวริมแม่บางปะกงที่บางกรูดหลาย ๆ บ้าน รอเคยกะปิกันในแม่น้ำ เป็นช่วงที่น้ำกร่อยจากการที่น้ำทะเลหนุนเข้ามาในแม่น้ำบางปะกงตามปกติในช่วงน้ำขึ้น และเนื่องจากเป็นหน้าแล้ง ต้นน้ำของแม่น้ำบางปะกงที่มีต้นน้ำมาจากเทือกเขาไม่ค่อยมีฝนตก ปริมาณน้ำฝนที่ไหลสู่บางปะกงมีน้อยมาก หรือบางปีไม่มีเลยจึงไม่สามารถผลักดันน้ำทะเลลงทะเลไปได้ ดังนั้นในเวลาน้ำขึ้นของลำน้ำบางปะกงตั้งแต่อำเภอบางปะกง ผ่านอำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง ต่อมาก็ขึ้นถึงอำเภอบางบางคล้าจนไปถึงปราจีนบุรีจึงเป็นน้ำกร่อย เมื่อน้ำไหลงกลับสู่ปากอ่าวทะเลที่อำเภอบางปะกงไม่มีน้ำจืดไหลผลักดันลงมา เวลาน้ำขึ้นก็หมุนเวียนเอาน้ำทะเลปะปนเข้ามาเป็นน้ำกร่อยอีก น้ำกร่อยนี้ก็เริ่มกินเวลานานขื้นจากสี่เดือนกลายเป็นเจ็ดถึงแปดเดือน ( ในแถบอำเภอบ้านโพธิ์ถึงบางปะกง)
ชาวบ้านใช้ศัพท์ว่า น้ำเค็มขึ้นมาถึงบริเวณไหนกันแล้ว เช่น น้ำเค็มมาถึงแสนภูดาษแล้ว มาถึงบางกรูดแล้ว น้ำเค็มมาถึงอำเภอเมืองแล้ว
เมื่อถึงเวลาที่มีฝนตกมาก ๆ น้ำกร่อยก็จะค่อย ๆ ถอยระยะทางลงไปทางทะเล ชาวบ้านใช้คำว่า น้ำจืดลงมาถึง เช่น น้ำจืดลงมาถึงบางคล้า ลงมาถึงอำเภอเมือง ลงมาถึงบางกรูดแล้ว เป็นต้น
บางปีเราจะรู้สึกว่า น้ำเค็มขึ้นมาช้า บางปีน้ำเค็มขึ้นมาเร็ว และน้ำจืดลงมาช้า น้ำจืดลงมาเร็ว ทั้งนี้ก็ขึ้นกับปริมาณของน้ำฝนที่ลงมาผลักดันน้ำทะเลลงคืนสู่ทะเลนั่นเอง
ดังนั้นในจังหวัดฉะเชิงเทราเดียวกัน ในช่วงต้นน้ำกรอยและต้นน้ำจืด จึงใช้ระยะเวลาห่างกันพอสมควร ที่จะเป็นระบบนิเวศน้ำที่เหมือนกันทั้งจังหวัดยกเว้นบริเวณที่ใกล้ปากอ่าวบางปะกงถือเป็นที่น้ำกร่อยหรือน้ำเค็มตลอดปี
น้ำเค็มจะเริ่มดันเข้ามาในลำนำบางปะกงเมื่อหมดฝน มักเป็นเวลาหลังงานแห่หลวงพ่อโสธรแล้ว ช่วงเวลาที่น้ำกร่อยขึ้นมาถึงบางกรูดที่ค่อนข้างแน่นอนคือช่วงตรุษจีน เป็นความยากลำบากของชาวบางกรูดที่ต้องล่้างผัก ถ้วยชาม หม้อ กะทะ ครก ลังถึง (นึ่งขนมเข่ง ขนมเทียน ) หม้อต้มหมู ต้ม ไก่ ล้วนแต่เป็นภาชนะที่มันด้วยน้ำมัน การล้างภาชนะของใช้เหล่านี้ด้วยน้ำกร่อยโดยเอาไปล้างที่หัวสะพาน จะทำความสะอาดด้วยผงซักปอกที่เราเรียกติดปากว่าแฟ้บ ( ทั้ง ๆ ที่ใช้บรีสก็ตามที) เมื่อห้าสิบปีมาแล้วไม่มีน้ำยาล้างจานยี่ห้อใด ๆ ใช้กัน แฟ้บจะไม่ค่อยมีฟองในน้ำกร่อย เมื่อหน้าตรุษจีนมาถึง การล้างผัก ( ต้องใช้น้ำจืดล้วนล้าง ) การล้างหม้อและอื่น ๆ ยากลำบาก ( อุปกรณ์ทุกอย่างที่ล้างด้วยน้ำจากแม่น้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อยที่ตักไว้ในโอ่ง หรือล้างในแม่น้ำ จะต้องใช้น้ำฝนล้างเป็นน้ำสุดท้ายอีกทีหนึ่ง ทุกครั้ง ทุกฤดูกาลอยู่แล้ว)
แต่ก็เป็นช่วงสนุกสนานของการรอกุ้งกะปิกัน
มักจะรอกุ้งกะปิกันในช่วงปิดเทอมการศึกษาใหญ่ โดยเฉพาะปลายเดือนมีนาคม ในเดือนเมษายนทั้งเดือนและต้นเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่มีกุ้งเคยมาก การทำกะปิจะได้กุ้งเคยจากการพายกุ้งกะปิ และรออวน
ปลาจิ้มฟันจระเข้
คือเส้นดำ ๆ ที่รวมกลุ่มกับ กุ้ง กั้ง ในภาพ
จะพบเห็นปลาจิ้มฟันจระเข้และกั้งมากจากการรอกุ้งเคยมาทำกะปิ ทุกคราวที่นำเรือออกไปกู้อวนก็จะได้พบปลาจิ้มฟันจระเข้ที่เด็ก ๆ ไม่ค่อยรู้จักว่านี่เป็นตัวอะไรกันรูปร่างแปลกประหลาด รวมทั้งกั้งที่ถูกเจ้าปลาจิ้มฟันจระเข้ชักชวนมาด้วยหลงเข้ามาในอวนแทบทุกครั้ง (เพิ่งมารู็จักตอนโตแล้วว่า เจ้าตัวประหลาดนี้ชื่อ ปลาจิ้มฟันจระเข้)
เด็ก ๆ จะเลือกจับแล้วเหวี่ยงหรือโยนปลาจิ้มฟันจระเข้และกั้งเหล่านี้ลงน้ำไปตั้งแต่พบเห็นบนเรือที่เอาไปกู้อวน
นึก ๆ ดู แล้วตอนเด็ก ๆ ก็ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำหลาย ๆ ชนิดคืนสู่แม่น้ำบางปะกงก็ได้บุญหลายส่วน แม้จะมีบาปแต่เป็นบาปที่ก่อเพื่อการยังชีพ มิใช่เพื่อนำไปขาย เรายังชีพโดยตรงคือกินกันเองในครอบครัว มิใช่บาปทางอ้อมคือจับไปขาย แต่ก็บาปเท่ากันทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย นั่นแหละหนอ
ปลาจิ้มฟันจระเข้
ภาพจากกรมประมง
ชื่อสามัญปลา จิ้มฟันจระเข้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Microphis boaja
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ COMMON FRESHWATER-PIPEFISH
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ลำตัวเรียวและมีสัณฐานเป็นเหลี่ยม เกล็ดของปลาชนิดนี้ได้เปลี่ยนรูปกลายเป็นแผ่นกระดูกแข็ง เป็นข้อ ๆ รอบตัวจะงอยปากยื่นแหลมมีลักษณะเป็นหลอด ปลายปากมีลักษณะคล้ายปากแตร ไม่มีฟัน ใช้ปากดูดอาหาร เพศผู้จะมีถุงฟักไข่อยู่ที่หน้าท้องเป็นร่องลึก ขอบของถุงฟักไข่มีส่วนของแผ่นเกล็ดแผ่ยื่นออกมาคลุมไว้ ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันอันตรายจากวัตถุภายนอกที่จะมากระทบไข่
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามผิวน้ำ ในแม่น้ำลำคลองและหนองบึง ที่มีทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำ พบในแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำแม่กลอง ทางภาคใต้พบในทะเลน้อย
อาหาร -กินแมลงและตัวอ่อนที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำ
ขนาด-ความยาวประมาณ 16-47 ซ.ม.
ประโยชน์-เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อไม่ใช้บริโภค
ข้อมูลของกรมประมง
(ใครบริโภคปลาจิ้มฟันจระเข้ได้ ก็ใช้ชีวิตในโลกใบนี้ได้ง่ายสบายมาก เก็บกิ่งไม้ท่อนไม้กินเป็นอาหารได้ไม่ต้องยุ่งยากไปหาปลาจิ้มฟันจระเข้ในแม่น้ำให้เหนื่อยยากลำบากกาย)
ปลาจิ้มฟันจระเข้
ภาพจากกรมประมง
วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Syngnathidae
เป็นวงศ์ปลาวงศ์หนึ่ง ในอันดับ Syngnathiformes
ปลาจิ้มฟันจระเข้ เป็นปลากระดูกแข็งมีรูปร่างประหลาดไปจากปลาในวงศ์อื่น ๆ ทั่วไป กล่าวคือ มีรูปร่างเรียวราวคล้ายกิ่งไม้ มีเกล็ดลำตัวแข็งดูคล้ายเกราะ ลำตัวแบ่งเป็นปล้อง ๆ หางยาว ตัวผู้จะเป็นผู้ที่ดูแลไข่โดยจะฟักไข่ไว้ในถุงหน้าท้องหลังจากไข่จากตัวเมียได้รับการปฏิสนธิแล้ว จนกว่าไข่จะฟักเป็นลูกปลาขนาดเล็ก ดวงตามีขนาดเล็ก ไม่มีฟันและขากรรไกร ครีบทุกครีบมีขนาดเล็ก ว่ายน้ำได้ช้า ๆ ปากยาวเป็นท่อ หากินโดยการดูดอาหาร จำพวก แพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล โดยมากจะพบในทะเลมากกว่า มีพบในน้ำจืดและน้ำกร่อย ไม่กี่ชนิด
แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ย่อย คือ วงศ์ Hippocampinae มี 2 สกุล หรือ ม้าน้ำ กับ Syngnathinae หรือ ปลาจิ้มฟันจระเข้ มี 52 สกุล โดยพบทั้งหมดประมาณ 215 ชนิด ใน 2 วงศ์ย่อยนี้
พบได้ทั่วโลก จัดเป็นปลาขนาดเล็ก ที่มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยเต็มที่ไม่เกิน 30 เซนติเมตร ประกอบกับรูปร่างที่แปลก จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ในตู้ปลาส่วนตัว หรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการนำไปปรุงเป็นยาสมุนไพรตามตำรับยาจีนอีกด้วย
ซึ่งคำว่า "Syngnathiformes" นั้นมาจากภาษากรีก แปลว่า "ติดกับขากรรไกร" โดยมาจากภาษากรีกโบราณ คำว่า συν แปลว่า ด้วยกัน กับ γνάθος แปลว่า ขากรรไกร และ "formes" มาจากภาษาลาตินที่หมายถึง "รูปแบบที่คล้ายคลึงกัน"
ในวิกิพีเดียมีข้อมูลของปลาจิ้มฟันจระเข้ดังนี้
1.ปลาจิ้มฟันจระเข้
2.ปลาาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์
3.ปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ
1.ปลาจิ้มฟันจระเข้
ชื่อ อังกฤษ: Pipefish
ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Syngnathinae
ในวงศ์ Syngnathidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับม้าน้ำและมังกรทะเล
ปลาจิ้มฟันจระเข้ คือ ปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง มีลักษณะและพฤติกรรมโดยรวมคล้ายกับปลาชนิดอื่นและสกุลอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน กล่าวคือ มีปากที่ยื่นเป็นท่อ ลำตัวหน้าตัดเป็นเหลี่ยม แต่ยาวเรียวมากดูคล้ายกิ่งไม้ ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นข้อ ครีบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก ไม่มีครีบท้อง ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่โดยเก็บไว้บริเวณหน้าท้อง ลำตัวมักมีสีน้ำตาล อาจมีลายสีเข้มพาดขวางในบางชนิด
หากแต่ปลาจิ้มฟันจระเข้ จะพบได้แม้ในน้ำจืดและน้ำกร่อยด้วย ซึ่งผิดไปจากปลาในวงศ์เดียวกันนี้ส่วนใหญ่
มีขนาดแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตรจนถึงฟุตกว่า ๆ ในชนิด ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (Doryichthys boaja) ที่พบในน้ำจืด เป็นต้น
มีทั้งหมด 52 สกุล
มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการนำไปทำเป็นยาจีนเช่นเดียวกับม้าน้ำ และนิยมเลี้ยงไว้ในตู้ปลาเพื่อความเพลิดเพลิน อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของนักดำน้ำอีกด้วย ในการถ่ายภาพใต้น้ำในแนวปะการัง เช่น ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง (Corythoichthys haematopterus)เป็นต้น
(มีภาพปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่างด้วย)
2.ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Doryichthys boaja
อยู่ในวงศ์ม้าน้ำและปลาจิ้มฟันจระเข้ Syngnathidae
วงศ์ย่อย Syngnathinae
เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีรูปร่างแปลกไปจากปลาทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกิ่งไม้ สัณฐานเป็นเหลี่ยม เกล็ดได้เปลี่ยนรูปกลายเป็น แผ่นกระดูกแข็ง เป็นข้อรอบตัว จะงอยปากยื่นแหลม ปลายปากคล้ายปากแตร ไม่มีฟัน ใช้ปากดูดอาหาร ลำตัวมีสีน้ำตาลเขียว และมีลายดำเป็นวงทั่วตัว ว่ายน้ำเชื่องช้า อาหารได้แก่ แมลงน้ำ, ลูกกุ้ง, ลูกปลาขนาดเล็ก และแพลงก์ตอนสัตว์ มีความยาวประมาณ 16 - 47 เซนติเมตร
ปลาในวงศ์นี้ โดยมากเป็นปลาทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด มีลักษณะเฉพาะ คือ เมื่อวางไข่ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้องโดยตัวเมียจะวางไข่ไว้ที่หน้าท้องตัวผู้ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลจนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว
จิ้มฟันจระเข้ยักษ์ พบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ ในแม่น้ำลำคลองและหนอง บึง ทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศ สำหรับภาคใต้พบมากในส่วนของทะเลน้อย ทะเลสาบสงขลา
ไม่ใช้สำหรับการบริโภค แต่ในสูตรยาจีน ใช้ตากแห้งเพื่อเป็นสมุนไพรทำยาเช่นเดียวกับม้าน้ำ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เป็นชนิดที่เลี้ยงยากมาก เนื่องจากปากมีขนาดเล็ก ผู้เลี้ยงจึงหาอาหารให้กินได้ลำบาก
รูปร่างหน้าตาของปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์นี้ เหมือนภาพของกรมประมง และที่พบในลำน้ำบางปะกง
3.ปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ หรือ ปลาจิ้มฟันจระเข้ลำธาร
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Doryichthys martensii
ในวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ Syngnathidae
วงศ์ย่อยSyngnathinae
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (D. boaja) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีลำตัวที่สั้นกว่า จะงอยปากสั้นกว่ามาก หัวเล็ก ลำตัวมีปล้อง 15 - 17 ปล้อง หางยาวกว่าลำตัวมาก ซึ่งแตกต่างจากจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ ลำตัวสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลแดง และมีจุดดำเล็ก ๆ ระหว่างปล้อง ครีบใส ครีบหางสีน้ำตาลและขอบสีจาง มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ใหญ่สุด 15 เซนติเมตร
อาหารได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก อาศัยอยู่ตามลำธารแม่น้ำในภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทยไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย พบมากในบางแหล่งน้ำ โดยมักหลบซ่อนอยู่ตามพื้นท้องน้ำใต้ใบไม้ที่ร่วง หากินโดยคืบคลานไปกับพื้นน้ำ ตัวผู้และตัวเมียต่างกันชัดเจนในขณะที่ปลาตัวเมียโตเต็มที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย และไม่มีถุงช่องหน้าท้องที่มีไว้เพื่อเก็บไข่และลูก ๆ
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย
ในวิกิพีเดียมีภาพประกอบ ท่านที่จะใช้ข้อมูลและภาพของปลาจิ้มฟันจระเข้ คงต้องยึดชื่อภาษาอังกฤษชื่อวิทยาศาสตรฺ ชื่อวงศ์เป็นหลัก
มีนกรที่บ้านบอกว่า หากใช้ชื่อในท้องถิ่น (ภาษาไทยเป็นหลัก ก็จะสับสน) พลอยโพยมไม่สันทัดเรื่องนี้เพราะไม่ได้เป็นชาวมีนกร ก็เลยจัดการประมวลผลข้อมูลเรื่องปลาจิ้มฟันจระเข้ เป็นเรื่องเดียวกันไม่ได้ และยังไม่มีข้อมูล Up Date ของกรมประมงล่าสุด จึงขอเสนอข้อมูลดิบตามที่หามาได้ เป็นดังนี้แล
ปลาจิ้มฟันจระเข้ในลำน้ำบางปะกง
ในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เป็นช่วงที่ชาวริมแม่บางปะกงที่บางกรูดหลาย ๆ บ้าน รอเคยกะปิกันในแม่น้ำ เป็นช่วงที่น้ำกร่อยจากการที่น้ำทะเลหนุนเข้ามาในแม่น้ำบางปะกงตามปกติในช่วงน้ำขึ้น และเนื่องจากเป็นหน้าแล้ง ต้นน้ำของแม่น้ำบางปะกงที่มีต้นน้ำมาจากเทือกเขาไม่ค่อยมีฝนตก ปริมาณน้ำฝนที่ไหลสู่บางปะกงมีน้อยมาก หรือบางปีไม่มีเลยจึงไม่สามารถผลักดันน้ำทะเลลงทะเลไปได้ ดังนั้นในเวลาน้ำขึ้นของลำน้ำบางปะกงตั้งแต่อำเภอบางปะกง ผ่านอำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง ต่อมาก็ขึ้นถึงอำเภอบางบางคล้าจนไปถึงปราจีนบุรีจึงเป็นน้ำกร่อย เมื่อน้ำไหลงกลับสู่ปากอ่าวทะเลที่อำเภอบางปะกงไม่มีน้ำจืดไหลผลักดันลงมา เวลาน้ำขึ้นก็หมุนเวียนเอาน้ำทะเลปะปนเข้ามาเป็นน้ำกร่อยอีก น้ำกร่อยนี้ก็เริ่มกินเวลานานขื้นจากสี่เดือนกลายเป็นเจ็ดถึงแปดเดือน ( ในแถบอำเภอบ้านโพธิ์ถึงบางปะกง)
ชาวบ้านใช้ศัพท์ว่า น้ำเค็มขึ้นมาถึงบริเวณไหนกันแล้ว เช่น น้ำเค็มมาถึงแสนภูดาษแล้ว มาถึงบางกรูดแล้ว น้ำเค็มมาถึงอำเภอเมืองแล้ว
เมื่อถึงเวลาที่มีฝนตกมาก ๆ น้ำกร่อยก็จะค่อย ๆ ถอยระยะทางลงไปทางทะเล ชาวบ้านใช้คำว่า น้ำจืดลงมาถึง เช่น น้ำจืดลงมาถึงบางคล้า ลงมาถึงอำเภอเมือง ลงมาถึงบางกรูดแล้ว เป็นต้น
บางปีเราจะรู้สึกว่า น้ำเค็มขึ้นมาช้า บางปีน้ำเค็มขึ้นมาเร็ว และน้ำจืดลงมาช้า น้ำจืดลงมาเร็ว ทั้งนี้ก็ขึ้นกับปริมาณของน้ำฝนที่ลงมาผลักดันน้ำทะเลลงคืนสู่ทะเลนั่นเอง
ดังนั้นในจังหวัดฉะเชิงเทราเดียวกัน ในช่วงต้นน้ำกรอยและต้นน้ำจืด จึงใช้ระยะเวลาห่างกันพอสมควร ที่จะเป็นระบบนิเวศน้ำที่เหมือนกันทั้งจังหวัดยกเว้นบริเวณที่ใกล้ปากอ่าวบางปะกงถือเป็นที่น้ำกร่อยหรือน้ำเค็มตลอดปี
น้ำเค็มจะเริ่มดันเข้ามาในลำนำบางปะกงเมื่อหมดฝน มักเป็นเวลาหลังงานแห่หลวงพ่อโสธรแล้ว ช่วงเวลาที่น้ำกร่อยขึ้นมาถึงบางกรูดที่ค่อนข้างแน่นอนคือช่วงตรุษจีน เป็นความยากลำบากของชาวบางกรูดที่ต้องล่้างผัก ถ้วยชาม หม้อ กะทะ ครก ลังถึง (นึ่งขนมเข่ง ขนมเทียน ) หม้อต้มหมู ต้ม ไก่ ล้วนแต่เป็นภาชนะที่มันด้วยน้ำมัน การล้างภาชนะของใช้เหล่านี้ด้วยน้ำกร่อยโดยเอาไปล้างที่หัวสะพาน จะทำความสะอาดด้วยผงซักปอกที่เราเรียกติดปากว่าแฟ้บ ( ทั้ง ๆ ที่ใช้บรีสก็ตามที) เมื่อห้าสิบปีมาแล้วไม่มีน้ำยาล้างจานยี่ห้อใด ๆ ใช้กัน แฟ้บจะไม่ค่อยมีฟองในน้ำกร่อย เมื่อหน้าตรุษจีนมาถึง การล้างผัก ( ต้องใช้น้ำจืดล้วนล้าง ) การล้างหม้อและอื่น ๆ ยากลำบาก ( อุปกรณ์ทุกอย่างที่ล้างด้วยน้ำจากแม่น้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อยที่ตักไว้ในโอ่ง หรือล้างในแม่น้ำ จะต้องใช้น้ำฝนล้างเป็นน้ำสุดท้ายอีกทีหนึ่ง ทุกครั้ง ทุกฤดูกาลอยู่แล้ว)
แต่ก็เป็นช่วงสนุกสนานของการรอกุ้งกะปิกัน
มักจะรอกุ้งกะปิกันในช่วงปิดเทอมการศึกษาใหญ่ โดยเฉพาะปลายเดือนมีนาคม ในเดือนเมษายนทั้งเดือนและต้นเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่มีกุ้งเคยมาก การทำกะปิจะได้กุ้งเคยจากการพายกุ้งกะปิ และรออวน
ปลาจิ้มฟันจระเข้
คือเส้นดำ ๆ ที่รวมกลุ่มกับ กุ้ง กั้ง ในภาพ
จะพบเห็นปลาจิ้มฟันจระเข้และกั้งมากจากการรอกุ้งเคยมาทำกะปิ ทุกคราวที่นำเรือออกไปกู้อวนก็จะได้พบปลาจิ้มฟันจระเข้ที่เด็ก ๆ ไม่ค่อยรู้จักว่านี่เป็นตัวอะไรกันรูปร่างแปลกประหลาด รวมทั้งกั้งที่ถูกเจ้าปลาจิ้มฟันจระเข้ชักชวนมาด้วยหลงเข้ามาในอวนแทบทุกครั้ง (เพิ่งมารู็จักตอนโตแล้วว่า เจ้าตัวประหลาดนี้ชื่อ ปลาจิ้มฟันจระเข้)
เด็ก ๆ จะเลือกจับแล้วเหวี่ยงหรือโยนปลาจิ้มฟันจระเข้และกั้งเหล่านี้ลงน้ำไปตั้งแต่พบเห็นบนเรือที่เอาไปกู้อวน
นึก ๆ ดู แล้วตอนเด็ก ๆ ก็ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำหลาย ๆ ชนิดคืนสู่แม่น้ำบางปะกงก็ได้บุญหลายส่วน แม้จะมีบาปแต่เป็นบาปที่ก่อเพื่อการยังชีพ มิใช่เพื่อนำไปขาย เรายังชีพโดยตรงคือกินกันเองในครอบครัว มิใช่บาปทางอ้อมคือจับไปขาย แต่ก็บาปเท่ากันทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย นั่นแหละหนอ
วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
[บทความ] ปลาสวาย...คล้ายสังกะวาด
ปลาสวาย...คล้ายสังกะวาด
ปลาสวายเผือก
ปลาสวาย....คล้ายสังกะวาด
ที่กล่าวว่า ..ละม้ายคล้ายคลึงกัน....คือในช่วงที่ยังเป็นลูกปลานั่นเอง
ปลาสวายเผือก
นอกจากลูกของปลาสวายจะคล้ายกับลูกปลาปลาสังกะวาดแล้ว ยังคล้ายคลึงกับลูกปลาเทโพอีกด้วยคล้ายกันมากจนจำแนกได้ยากมาก
บางคนเรียกปลาที่ผิดแผกจากธรรมชาติไปเช่นสีว่า ปลาพิการ แต่กลายเป็นของแปลกที่นักเลี้ยงปลาในตู้ปลาชื่นชอบแสวงหามาเลี้ยงกัน
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดของกรมประมงจัดตู้ปลาขนาดใหญ่ ในตู้ปลามี ปลาสวายเผือก ปลาสวาย ปลาเทพา ปลาเทโพ ไว้ด้านหน้าสุดของชั้นล่างไว้ต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือน
แต่แสงไฟ ตู้กระจก อุปกรณ์ในตู้ และขนาดปลาตัวที่ใหญ่ ความปราดเปรียว ว่องไว เวลากลับตัวของบรรดา ปลา ๆ ทั้งหลายทำให้ถ่ายภาพได้ยากมาก
แม้ว่าปลาตัวใหญ่จะค่อย ๆ เคลื่อนตัว ตั้งกล้องไว้รอพอได้จังหวะดี ๆ ปลาก็พลิกตัวพลิ้วผ่านกล้องไปหน้าตาเฉย ไม่ได้เห็นอกเห็นใจคนถ่ายภาพเลย รู้ว่ามีคนสนใจก็ยิ่งเล่นตัวมากขึ้นจริง ๆ
ปลาสวายเผือกมาอยู่รวมกับปลาเทพา ปลาเทโพ ในตู้เลี้ยงปลาเดียวกันเลยดูเป็นปลาขนาดเล็ก
ชื่อสามัญ : Siriped Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pangasianodon hypophthalmus เอกสารบางที่ใช้ชื่อว่าPangasius hypophthalmus
อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae)
ปลาสวายเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ไม่มีเกล็ด ชอบอยู่รวมฝูง อยู่ในสกุลเดียวกับปลาเทโพ มีรูปร่างลักษณะและขนาดตลอดจนความเป็นอยู่คล้ายปลาเทโพ
แสงไฟสะท้อนกับกระจกและวัตถุในตู้ปลาทำให้ปลายสวายเผือกสีขาวกลายเป็นปลาสีชมพู
ปลาสวายมีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า ต่อมาได้เข้าไปในประเทศอินโดนิเซีย และไทย ( Smit 1945)
ปัจจุบันพบได้ในลาว กัมพูชา เวียตนาม
ในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการนำเข้าประเทศไต้หวันจากประเทศไทย
ปลาสวายเผือก
ลักษณะทั่วไป
มีส่วนหัวค่อนข้างเล็กกว้างแต่ไม่แบนนัก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก (Pangasianodon gigas) รูปร่างเรียวลำตัวยาว ด้านข้างมีสัณฐานอวบกลม ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8 - 9 เส้น ครีบก้นยาว มีสันหลังค่อนข้างตรง ส่วนหน้าจะลาดไปถึงบริเวณปาก หน้าทู่ปากกว้างมีหนวด 2 คู่ ลำตัวมีสีนวลขาว บริเวณหลังมีสีหม่นเข้ม บริเวณครีบจะมีสีเหลืองอ่อน แต่ปลายหางครีบหลังและครีบอกจะมีสีค่อนข้างหม่น
ปลาสวายขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร
ปลาสวายขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาวคาดลำตัว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ขนาดความยาวประมาณ 10 - 20 เซนติเมตร
ลูกปลาสวายมีลักษณะต่าง ๆ คล้ายลูกปลาเทโพ และลูกปลาสังกะวาด ซึ่งความคล้ายกันมากนี้ ยากในการจำแนก ต้องพิจารณาความแตกต่างของลูกปลา หลาย ๆ ส่วนประกอบ (9 องค์ประกอบ) เช่น เทียบแนวส่วนหลัง สีของครีบหลังและครีบอก สีของครีบหาง การผุดขึ้นผิวน้ำ การรวมฝูง เป็นต้น
สีของครีบหาง
ลูกปลาสวาย สีดำจาง ๆ ลูกปลาเทโพ สีดำเข้ม ลูกปลาสังกะวาด ไม่มีสี
การผุดขึ้นผิวน้ำ ลูกปลาสวาย ผุดขึ้นเร็วและสะบัดหางจนน้ำกระจาย ลูกปลาเทโพ ผุดขึ้นเร็ว สะบัดหางเร็วกว่าลูกปลาสวาย ลูกปลาสังกะวาด ผุดขึ้นช้า ๆ และไม่สะบัดหาง
การรวมฝูง
ลูกปลาสวาย ไปเป็นฝูงเดียว หรือร่วมกับปลาเทโพ
ลูกปลาเทโพ ไปเป็นฝูงหรือร่วมกับลูกปลาสวาย
ส่วนลูกปลาสังกะวาด ไปฝูงเดียวไม่ร่วมกับปลาชนิดอื่น
(ดูยุ่งยากพึลึกกึกกือในการแยกลูกปลา สวาย เทโพและสังกะวาด ต้องเปรียบเทียบดูหลายองค์ประกอบ นอกจากข้อมูลข้างต้นซึ่งดูได้ง่ายกว่าการพิจารณา ก้านอ่อนของครีบใต้ท้อง รอยผ่าของปาก ดูซี่เหงือก ว่ามีกี่ซี่ สีของครีบหลังและครีบอก อ่านแล้วงงว่า ถ้าไม่เจอพร้อม ๆ กัน สามพันธุ์นี้ เราจะแยกออกไหมนี่)
ปลาสวายมีนิสัยรักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงในที่ร่มใกล้พันธุ์ไม้น้ำ เลี้ยงง่าย โตเร็ว .
ถิ่นอาศัย
พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย ในที่ร่มใกล้พืชพันธุ์ไม้น้ำ หรือบริเวณใต้แพ กร่ำ หรือใต้กอผักตบชวา นับแต่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาไปถึงจังหวัดนครสวรรค์และในลำน้ำโขง
มักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ
โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพ (P. larnaudi) เข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก
เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 เติบโตได้ดีทั้งในบ่อเลี้ยงและกระชังที่ลอยน้ำ เลี้ยงง่าย เติบโตเร็ว ไม่มีโรค
มีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน
และจากการศึกษาล่าสุดพบว่า ในเนื้อปลาสวายนั้นมีโอเมกา 3 คิดเป็นปริมาณแล้วสูงกว่าในปลาทะเลเสียอีก โดยมีถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
อาหารของปลาสวาย กินอาหารได้ทุกชนิด กินซากสัตว์และซากพืชที่เน่าเปื่อยรวมทั้งวัชพืช ลูกหอย หนอน ไส้เดือน เศษอาหารจากร้านค้า มูลสัตว์เช่น มูลไก่ มูลสุกร
นิยมบริโภคกันมานับแต่ครั้งโบราณกาล โดยทั่วไปนำมาต้มยำ แกงคั่ว หรือฉู่ฉี่
ปลาสวาย
ปลาสวายมีกลิ่นสาบโดยเฉพาะปลาเลี้ยง มีกลิ่นสาบโคลนค่อนข้างแรง และเพราะเป็นปลาตัวใหญ่ก็ยิ่งมีกลิ่นสาบแรง
ซึ่งโดยปกติสัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อดิน ในกระชัง จะมีความแตกต่างของเนื้อปลาจากปลาในธรรมชาติ เพราะความหลากหลายของอาหารที่ใช้เลี้ยงน้อยกว่าที่บรรดาสัตว์น้ำจะหากินได้เองในธรรมชาติ เนื้อจะไม่แน่นเหมือนสัตว์น้ำธรรมชาติ
ส่วนใหญ่กุ้ง ปลาที่เลี้ยงในบ่อดิน จะมีกลิ่นสาบโคลนแทบทั้งนั้นถ้าสังเกตดี ๆ โดยเฉพาะคนที่นิยมกินปลาทะเลก็จะบอกว่าปลาน้ำจืดเหม็นคาว ( ปลาธรรมชาติ ) ปลาน้ำจืดเหม็นโคลน ( ในปลาที่เลี้ยงบ่อดิน)
ส่วนคนที่ชินกับปลาน้ำจืดก็จะบอกว่าปลาทะเลเหม็นคาวกว่า แบบนี้ก็หาข้อสรุปไม่ได้เหมือนกับคนที่ชอบโค๊กก็จะบอกว่าเป็บซี่หวานและซ่าน้อยกว่าโค๊ก ส่วนคนที่ชอบเป๊บซี่ก็แย้งว่าโค๊กต่างหากที่หวานและซ่าน้อยว่าเป๊บซี
ก็ถือเสียว่า นานาจิตตัง สุดแต่ใจปรารถนาที่จะชอบหรือไม่ชอบต่างกันของแต่ละบุคคล
ที่บ้านพลอยโพยมไม่กินปลาหลายชนิดรวมทั้งปลาสวายและปลาสังกะวาดข้างล่างนี้ด้วยอีก 2 ชนิด
(สองปีผ่านไป พลอยโพยมมาถ่ายภาพที่กรมประมงใหม่ พบว่าไม่มีปลาสวายเผือกว่ายวนเวียนไปกับปลาเทโพและปลาเทพาในตู้เลี้ยงปลาใหญ่ตู้เดิม ทั้งที่เมื่อก่อนมีปลาสวายเผือกหลายตัว
นี่คือสัจธรรมของสัตว์โลกจริง ๆ อนิจจัง สังขารไม่เที่ยง จริง ๆ )
ปลาสังกะวาดในกาพย์เห่เรือเรียกว่าปลาชะวาด
(เพิ่มเติม )
ปลาชะวาด หรือปลาสังกะวาด เป็นคำที่เรียกกันในภาคกลาง ปลา ยอนหรือปลา ยอนเขียว ปลา ยอนหลังเขียวเป็นคำเรียกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็นปลาไม่มีเกล็ด มีหลายชนิดคือ
ปลาสังกะวาดขาว
ปลาสังกะวาดเหลือง
ปลาสังกะวาดท้องคม
ปลาสังกะวาดท้องโต
ปลาสังกะวาด เป็นปลาไม่มีเกล็ด พบได้ตามแม่นำสายต่าง ๆ หนองบึง
ปลาสังกะวาดที่พบชุกชุมในแม่น้ำเจ้าพระยาคือปลาสังกะวาดเหลือง
ปลาสังกะวาดเหลือง
ชื่อสามัญ สังกะวาดเหลือง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ SIAMENSIS PANGASIU
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasius macronema
ปลาสังกะวาด
(เพิ่มเติม )
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มประมาณกลุ่มละสิบตัว รูปร่างคล้ายปลาสวาย แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวยาวเรียวและมีหนวดยาว โดยเฉพาะหนวดคู่ที่มุมปากปลายหนวดยาวเลยฐานครีบท้อง ซี่กรองเหงือกเรียวยาว มีฟันอยู่บนขากรรไกรบนและเพดานปาก ลำตัวมีสีขาว ด้านหลังสีเทาคล้ำ ครีบหางมีแถบดำ
ชอบหากินอยู่ตามผิวน้ำ ว่ายน้ำได้รวดเร็วและปราดเปรียว ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะภายนอกเหมือนกัน
ปลาสังกะวาด
(เพิ่มเติม)
นิสัย-ปลาสังกะวาดชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มปะปนกันกับปลาอื่น ๆ เช่นปลาแปบ ขณะว่ายน้ำอยู่มักชูหนวดไปด้านหน้า ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวว่องไว หากินบริเวณผิวน้ำเฉพาะเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะหากินที่ระดับน้ำลึกกว่า 3 เมตร
ยกเว้นฤดูผสมพันธุ์วางไข่ จะพบว่ายขึ้นมาบริเวณผิวน้ำตอนกลางวันด้วย
ถิ่นอาศัย
อยู่ในแหล่งน้ำไหลเป็นส่วนใหญ่จะพบเห็นได้บ้างตามหนองและบึง แต่มีจำนวนไม่มากนัก มีชุกชุมในภาคกลาง บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
อาหาร กินซากของพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย รวมทั้งผลไม้สุกงอมที่เน่าเปื่อย หอยฝาเดียว และแมลงน้ำ
ขนาดความยาวที่พบใหญ่สุดประมาณ 30 ซ.ม.
ประโยชน์ ปลาสังกะวาดเป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด ทั้งสดและแปรรูป เนื้อปลาแน่น ไม่คาว มีรสชาติดี
ปัจจุบันกรมประมง สามารถเพาะพันธุ์ปลาสังกะวาดได้ด้วยวิธีการฉ๊ดฮอร์โมนผสมเทียม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545
ปลาสังกะวาด จากเรือผีหลอก
เพราะนิสัยของปลาสังกะวาดชอบว่ายน้ำที่ผิวน้ำในเวลากลางคืน จึงตกเป็นเหยื่อของเรือผีหลอกพร้อม ๆ กับปลาอีกหลายชนิดที่ชอบแหวกว่ายอยู่ตามผิวน้ำ โดยเฉพาะเวลากลางคืน
ปลาสังกะวาดเป็นปลาที่พบเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะ ยกยอ รออวน เรือผีหลอก ส่วนใหญ่จะถูกคัดทิ้งเพราะเป็นปลาตัวเล็ก
ในสมัยเด็กพลอยโพยมไม่ค่อยมีความทรงจำเรื่องปลาสังกะวาด อาจจะปะปนมากับปลาแขยงและพลอยโพยมไม่ได้สนใจ เพราะจ้องรอคอยแต่ปลาตัวใหญ่ ๆ ที่ตัวเองชอบ
ปลาเล็กปลาน้อยในการจับซั้งแต่ละครั้ง ก็จะไม่เก็บให้น้านุ้ยที่มาช่วยจับซั้งเช่นกัน จะคัดทิ้งหมดถ้ายังเป็น ๆ อยู่ ก็แค่ โยน หรือเหวี่ยงหรือหย่อนหรือปล่อยไปในแม่น้ำ (ตามลักษณะอาการของคนที่รับปลาจากสวิง มาเทลงในภาชนะใส่ในเรือว่า ใช้วิธีใด) เพราะเรือที่มารับกุ้งปลาจากการจับซั้ง ก็ลอยเท้งเต้งอยู่ในแม่น้ำอยู่แล้ว ส่วนที่ตายแล้วก็เอาไปฝากน้องหมาน่ารักของบ้าน
แม้แต่คนพายเรือผีหลอกเองก็ปล่อยไปหรือโยนทิ้งเช่นกัน
แต่ในระยะ 4-5 ปี มานี้ พลอยโพยมพบว่าที่ตลาดริมน้ำวัดโสธร มีการเอาสารพัดปลาเล็กปลาน้อย มาแช่น้ำปลาตากแดดเดียวแล้วทอดขาย แต่ ไปที่ตลาดนี้กี่ครั้ง ๆ ก็ไม่เห็นมีคนซื้อในช่วงที่พลอยโพยมไปเดินเลย ขายเป็นกอง ๆ กองละ 20 บาท มีหลายพรรณปลาเล็ก พรรณปลาน้อย
คนซื้อน่าจะเป็นคนที่มาอาศัยอยู่ใหม่ เช่นย้ายมาทำงานตามโรงงาน
ที่มาของข้อมูล
กรมประมง วิกิพีเดีย
รายงาน ชีวประวัติของปลาสวาย เอกสารวิชาการกรมประมง 3/2523 ของสมปอง หิรัญวัฒน์ พ.ศ.2523
ปลาสวายเผือก
ปลาสวาย....คล้ายสังกะวาด
ที่กล่าวว่า ..ละม้ายคล้ายคลึงกัน....คือในช่วงที่ยังเป็นลูกปลานั่นเอง
ปลาสวายเผือก
นอกจากลูกของปลาสวายจะคล้ายกับลูกปลาปลาสังกะวาดแล้ว ยังคล้ายคลึงกับลูกปลาเทโพอีกด้วยคล้ายกันมากจนจำแนกได้ยากมาก
บางคนเรียกปลาที่ผิดแผกจากธรรมชาติไปเช่นสีว่า ปลาพิการ แต่กลายเป็นของแปลกที่นักเลี้ยงปลาในตู้ปลาชื่นชอบแสวงหามาเลี้ยงกัน
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดของกรมประมงจัดตู้ปลาขนาดใหญ่ ในตู้ปลามี ปลาสวายเผือก ปลาสวาย ปลาเทพา ปลาเทโพ ไว้ด้านหน้าสุดของชั้นล่างไว้ต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือน
แต่แสงไฟ ตู้กระจก อุปกรณ์ในตู้ และขนาดปลาตัวที่ใหญ่ ความปราดเปรียว ว่องไว เวลากลับตัวของบรรดา ปลา ๆ ทั้งหลายทำให้ถ่ายภาพได้ยากมาก
แม้ว่าปลาตัวใหญ่จะค่อย ๆ เคลื่อนตัว ตั้งกล้องไว้รอพอได้จังหวะดี ๆ ปลาก็พลิกตัวพลิ้วผ่านกล้องไปหน้าตาเฉย ไม่ได้เห็นอกเห็นใจคนถ่ายภาพเลย รู้ว่ามีคนสนใจก็ยิ่งเล่นตัวมากขึ้นจริง ๆ
ปลาสวายเผือกมาอยู่รวมกับปลาเทพา ปลาเทโพ ในตู้เลี้ยงปลาเดียวกันเลยดูเป็นปลาขนาดเล็ก
ชื่อสามัญ : Siriped Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pangasianodon hypophthalmus เอกสารบางที่ใช้ชื่อว่าPangasius hypophthalmus
อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae)
ปลาสวายเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ไม่มีเกล็ด ชอบอยู่รวมฝูง อยู่ในสกุลเดียวกับปลาเทโพ มีรูปร่างลักษณะและขนาดตลอดจนความเป็นอยู่คล้ายปลาเทโพ
แสงไฟสะท้อนกับกระจกและวัตถุในตู้ปลาทำให้ปลายสวายเผือกสีขาวกลายเป็นปลาสีชมพู
ปลาสวายมีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า ต่อมาได้เข้าไปในประเทศอินโดนิเซีย และไทย ( Smit 1945)
ปัจจุบันพบได้ในลาว กัมพูชา เวียตนาม
ในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการนำเข้าประเทศไต้หวันจากประเทศไทย
ปลาสวายเผือก
ลักษณะทั่วไป
มีส่วนหัวค่อนข้างเล็กกว้างแต่ไม่แบนนัก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก (Pangasianodon gigas) รูปร่างเรียวลำตัวยาว ด้านข้างมีสัณฐานอวบกลม ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8 - 9 เส้น ครีบก้นยาว มีสันหลังค่อนข้างตรง ส่วนหน้าจะลาดไปถึงบริเวณปาก หน้าทู่ปากกว้างมีหนวด 2 คู่ ลำตัวมีสีนวลขาว บริเวณหลังมีสีหม่นเข้ม บริเวณครีบจะมีสีเหลืองอ่อน แต่ปลายหางครีบหลังและครีบอกจะมีสีค่อนข้างหม่น
ปลาสวายขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร
ปลาสวายขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาวคาดลำตัว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ขนาดความยาวประมาณ 10 - 20 เซนติเมตร
ลูกปลาสวายมีลักษณะต่าง ๆ คล้ายลูกปลาเทโพ และลูกปลาสังกะวาด ซึ่งความคล้ายกันมากนี้ ยากในการจำแนก ต้องพิจารณาความแตกต่างของลูกปลา หลาย ๆ ส่วนประกอบ (9 องค์ประกอบ) เช่น เทียบแนวส่วนหลัง สีของครีบหลังและครีบอก สีของครีบหาง การผุดขึ้นผิวน้ำ การรวมฝูง เป็นต้น
สีของครีบหาง
ลูกปลาสวาย สีดำจาง ๆ ลูกปลาเทโพ สีดำเข้ม ลูกปลาสังกะวาด ไม่มีสี
การผุดขึ้นผิวน้ำ ลูกปลาสวาย ผุดขึ้นเร็วและสะบัดหางจนน้ำกระจาย ลูกปลาเทโพ ผุดขึ้นเร็ว สะบัดหางเร็วกว่าลูกปลาสวาย ลูกปลาสังกะวาด ผุดขึ้นช้า ๆ และไม่สะบัดหาง
การรวมฝูง
ลูกปลาสวาย ไปเป็นฝูงเดียว หรือร่วมกับปลาเทโพ
ลูกปลาเทโพ ไปเป็นฝูงหรือร่วมกับลูกปลาสวาย
ส่วนลูกปลาสังกะวาด ไปฝูงเดียวไม่ร่วมกับปลาชนิดอื่น
(ดูยุ่งยากพึลึกกึกกือในการแยกลูกปลา สวาย เทโพและสังกะวาด ต้องเปรียบเทียบดูหลายองค์ประกอบ นอกจากข้อมูลข้างต้นซึ่งดูได้ง่ายกว่าการพิจารณา ก้านอ่อนของครีบใต้ท้อง รอยผ่าของปาก ดูซี่เหงือก ว่ามีกี่ซี่ สีของครีบหลังและครีบอก อ่านแล้วงงว่า ถ้าไม่เจอพร้อม ๆ กัน สามพันธุ์นี้ เราจะแยกออกไหมนี่)
ปลาสวายมีนิสัยรักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงในที่ร่มใกล้พันธุ์ไม้น้ำ เลี้ยงง่าย โตเร็ว .
ถิ่นอาศัย
พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย ในที่ร่มใกล้พืชพันธุ์ไม้น้ำ หรือบริเวณใต้แพ กร่ำ หรือใต้กอผักตบชวา นับแต่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาไปถึงจังหวัดนครสวรรค์และในลำน้ำโขง
มักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ
โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพ (P. larnaudi) เข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก
เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 เติบโตได้ดีทั้งในบ่อเลี้ยงและกระชังที่ลอยน้ำ เลี้ยงง่าย เติบโตเร็ว ไม่มีโรค
มีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน
และจากการศึกษาล่าสุดพบว่า ในเนื้อปลาสวายนั้นมีโอเมกา 3 คิดเป็นปริมาณแล้วสูงกว่าในปลาทะเลเสียอีก โดยมีถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
อาหารของปลาสวาย กินอาหารได้ทุกชนิด กินซากสัตว์และซากพืชที่เน่าเปื่อยรวมทั้งวัชพืช ลูกหอย หนอน ไส้เดือน เศษอาหารจากร้านค้า มูลสัตว์เช่น มูลไก่ มูลสุกร
นิยมบริโภคกันมานับแต่ครั้งโบราณกาล โดยทั่วไปนำมาต้มยำ แกงคั่ว หรือฉู่ฉี่
ปลาสวาย
ปลาสวายมีกลิ่นสาบโดยเฉพาะปลาเลี้ยง มีกลิ่นสาบโคลนค่อนข้างแรง และเพราะเป็นปลาตัวใหญ่ก็ยิ่งมีกลิ่นสาบแรง
ซึ่งโดยปกติสัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อดิน ในกระชัง จะมีความแตกต่างของเนื้อปลาจากปลาในธรรมชาติ เพราะความหลากหลายของอาหารที่ใช้เลี้ยงน้อยกว่าที่บรรดาสัตว์น้ำจะหากินได้เองในธรรมชาติ เนื้อจะไม่แน่นเหมือนสัตว์น้ำธรรมชาติ
ส่วนใหญ่กุ้ง ปลาที่เลี้ยงในบ่อดิน จะมีกลิ่นสาบโคลนแทบทั้งนั้นถ้าสังเกตดี ๆ โดยเฉพาะคนที่นิยมกินปลาทะเลก็จะบอกว่าปลาน้ำจืดเหม็นคาว ( ปลาธรรมชาติ ) ปลาน้ำจืดเหม็นโคลน ( ในปลาที่เลี้ยงบ่อดิน)
ส่วนคนที่ชินกับปลาน้ำจืดก็จะบอกว่าปลาทะเลเหม็นคาวกว่า แบบนี้ก็หาข้อสรุปไม่ได้เหมือนกับคนที่ชอบโค๊กก็จะบอกว่าเป็บซี่หวานและซ่าน้อยกว่าโค๊ก ส่วนคนที่ชอบเป๊บซี่ก็แย้งว่าโค๊กต่างหากที่หวานและซ่าน้อยว่าเป๊บซี
ก็ถือเสียว่า นานาจิตตัง สุดแต่ใจปรารถนาที่จะชอบหรือไม่ชอบต่างกันของแต่ละบุคคล
ที่บ้านพลอยโพยมไม่กินปลาหลายชนิดรวมทั้งปลาสวายและปลาสังกะวาดข้างล่างนี้ด้วยอีก 2 ชนิด
(สองปีผ่านไป พลอยโพยมมาถ่ายภาพที่กรมประมงใหม่ พบว่าไม่มีปลาสวายเผือกว่ายวนเวียนไปกับปลาเทโพและปลาเทพาในตู้เลี้ยงปลาใหญ่ตู้เดิม ทั้งที่เมื่อก่อนมีปลาสวายเผือกหลายตัว
นี่คือสัจธรรมของสัตว์โลกจริง ๆ อนิจจัง สังขารไม่เที่ยง จริง ๆ )
ปลาสังกะวาดในกาพย์เห่เรือเรียกว่าปลาชะวาด
(เพิ่มเติม )
ปลาชะวาด หรือปลาสังกะวาด เป็นคำที่เรียกกันในภาคกลาง ปลา ยอนหรือปลา ยอนเขียว ปลา ยอนหลังเขียวเป็นคำเรียกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็นปลาไม่มีเกล็ด มีหลายชนิดคือ
ปลาสังกะวาดขาว
ปลาสังกะวาดเหลือง
ปลาสังกะวาดท้องคม
ปลาสังกะวาดท้องโต
ปลาสังกะวาด เป็นปลาไม่มีเกล็ด พบได้ตามแม่นำสายต่าง ๆ หนองบึง
ปลาสังกะวาดที่พบชุกชุมในแม่น้ำเจ้าพระยาคือปลาสังกะวาดเหลือง
ปลาสังกะวาดเหลือง
ชื่อสามัญ สังกะวาดเหลือง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ SIAMENSIS PANGASIU
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasius macronema
ปลาสังกะวาด
(เพิ่มเติม )
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มประมาณกลุ่มละสิบตัว รูปร่างคล้ายปลาสวาย แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวยาวเรียวและมีหนวดยาว โดยเฉพาะหนวดคู่ที่มุมปากปลายหนวดยาวเลยฐานครีบท้อง ซี่กรองเหงือกเรียวยาว มีฟันอยู่บนขากรรไกรบนและเพดานปาก ลำตัวมีสีขาว ด้านหลังสีเทาคล้ำ ครีบหางมีแถบดำ
ชอบหากินอยู่ตามผิวน้ำ ว่ายน้ำได้รวดเร็วและปราดเปรียว ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะภายนอกเหมือนกัน
ปลาสังกะวาด
(เพิ่มเติม)
นิสัย-ปลาสังกะวาดชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มปะปนกันกับปลาอื่น ๆ เช่นปลาแปบ ขณะว่ายน้ำอยู่มักชูหนวดไปด้านหน้า ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวว่องไว หากินบริเวณผิวน้ำเฉพาะเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะหากินที่ระดับน้ำลึกกว่า 3 เมตร
ยกเว้นฤดูผสมพันธุ์วางไข่ จะพบว่ายขึ้นมาบริเวณผิวน้ำตอนกลางวันด้วย
ถิ่นอาศัย
อยู่ในแหล่งน้ำไหลเป็นส่วนใหญ่จะพบเห็นได้บ้างตามหนองและบึง แต่มีจำนวนไม่มากนัก มีชุกชุมในภาคกลาง บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
อาหาร กินซากของพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย รวมทั้งผลไม้สุกงอมที่เน่าเปื่อย หอยฝาเดียว และแมลงน้ำ
ขนาดความยาวที่พบใหญ่สุดประมาณ 30 ซ.ม.
ประโยชน์ ปลาสังกะวาดเป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด ทั้งสดและแปรรูป เนื้อปลาแน่น ไม่คาว มีรสชาติดี
ปัจจุบันกรมประมง สามารถเพาะพันธุ์ปลาสังกะวาดได้ด้วยวิธีการฉ๊ดฮอร์โมนผสมเทียม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545
ปลาสังกะวาด จากเรือผีหลอก
เพราะนิสัยของปลาสังกะวาดชอบว่ายน้ำที่ผิวน้ำในเวลากลางคืน จึงตกเป็นเหยื่อของเรือผีหลอกพร้อม ๆ กับปลาอีกหลายชนิดที่ชอบแหวกว่ายอยู่ตามผิวน้ำ โดยเฉพาะเวลากลางคืน
ปลาสังกะวาดเป็นปลาที่พบเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะ ยกยอ รออวน เรือผีหลอก ส่วนใหญ่จะถูกคัดทิ้งเพราะเป็นปลาตัวเล็ก
ในสมัยเด็กพลอยโพยมไม่ค่อยมีความทรงจำเรื่องปลาสังกะวาด อาจจะปะปนมากับปลาแขยงและพลอยโพยมไม่ได้สนใจ เพราะจ้องรอคอยแต่ปลาตัวใหญ่ ๆ ที่ตัวเองชอบ
ปลาเล็กปลาน้อยในการจับซั้งแต่ละครั้ง ก็จะไม่เก็บให้น้านุ้ยที่มาช่วยจับซั้งเช่นกัน จะคัดทิ้งหมดถ้ายังเป็น ๆ อยู่ ก็แค่ โยน หรือเหวี่ยงหรือหย่อนหรือปล่อยไปในแม่น้ำ (ตามลักษณะอาการของคนที่รับปลาจากสวิง มาเทลงในภาชนะใส่ในเรือว่า ใช้วิธีใด) เพราะเรือที่มารับกุ้งปลาจากการจับซั้ง ก็ลอยเท้งเต้งอยู่ในแม่น้ำอยู่แล้ว ส่วนที่ตายแล้วก็เอาไปฝากน้องหมาน่ารักของบ้าน
แม้แต่คนพายเรือผีหลอกเองก็ปล่อยไปหรือโยนทิ้งเช่นกัน
แต่ในระยะ 4-5 ปี มานี้ พลอยโพยมพบว่าที่ตลาดริมน้ำวัดโสธร มีการเอาสารพัดปลาเล็กปลาน้อย มาแช่น้ำปลาตากแดดเดียวแล้วทอดขาย แต่ ไปที่ตลาดนี้กี่ครั้ง ๆ ก็ไม่เห็นมีคนซื้อในช่วงที่พลอยโพยมไปเดินเลย ขายเป็นกอง ๆ กองละ 20 บาท มีหลายพรรณปลาเล็ก พรรณปลาน้อย
คนซื้อน่าจะเป็นคนที่มาอาศัยอยู่ใหม่ เช่นย้ายมาทำงานตามโรงงาน
ที่มาของข้อมูล
กรมประมง วิกิพีเดีย
รายงาน ชีวประวัติของปลาสวาย เอกสารวิชาการกรมประมง 3/2523 ของสมปอง หิรัญวัฒน์ พ.ศ.2523
วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
[บทความ] ฝูงมัจฉา... ปลาแขยง
ฝูงมัจฉา... ปลาแขยง
ในบทเห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้งทรงเรียกปลาแขยงว่า ปลาชะแวง
ปลาแขยงหิน
แขยงหิน (ชื่อสามัญ)
กดหิน (ชื่อสามัญ)
SIAMESE ROCK CATFISH (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
Leiocassis siamensis (ชื่อวิทยาศาสตร์)
ปลาแขยงหิน
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวค่อนข้างยาว ไม่มีเกล็ด หัวแบนราบลงเล็กน้อย ตามีผิวหนังใสปิดคลุม มีฟันซี่แหลมเล็ก ๆ อยู่บนขากรรไกร และเพดานปาก มีหนวด 4 คู่ มีรูจมูกข้างละหนึ่งคู่ แต่ละคู่อยู่ห่างจากกัน ครีบหลังและครีบหูมีหนามแหลม ลำตัวมีพื้นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีแถบดำหรือน้ำตาลเข้มพาดขวางลำตัว แถบที่ว่านี้จะมีขนาดโตกว่าช่วงสีพื้นของลำตัว ขนาดและที่ตั้งของแถบเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของปลา
ถิ่นอาศัยอยู่ตามลำธาร เช่น บริเวณปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี ฯลฯ
อาหารกินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก
ขนาดความยาวประมาณ 17 ซ.ม.
ประโยชน์นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อใช้ปรุงอาหารได้
เป็นปลาแขยงที่พลอยโพยมไม่เคยเห็นในสมัยเด็ก ๆ
ปลาแขยง
( เพิ่มเติม )
กาพย์ยานี ๑๑
ชะแวงแฝงฝั่งแนบ
ชะวาดแอบแปลบปนปลอม
เหมือนพี่แนบแอบถนอม
จอมสวาทนาฎบังอร
กาพย์เห่เรือ เห่ชมปลา พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
ปลาแขยง เป็นปลาที่อยู่รวมตัวกันเป็นฝูง แหวกว่ายไปที่ใดก็ไปเป็นฝูงเหมือนปลาซิว
ในสมัยเด็กปลาแขยงเป็นปลาที่พลอยโพยมใกล้ชิดมากที่สุด ไม่ว่าจะทำอะไรในแม่น้ำเช่น ล้อมซั้ง ยกยอ รออวน ใช้เบ็ดตกปลา เอาสวิงช้อนหากุ้งหาปลาในแม่น้ำ หรือยามที่ลงว่ายน้ำ เล่นน้ำในแม่น้ำ ล้างถ้วย ชาม หม้อไหหรือภาชนะอะไรก็แล้วแต่ที่หัวสะพานท่าน้ำที่บ้าน จะต้องพบเจอปลาแขยงและพบเป็นฝูง ๆ บางครั้งเอากระแป๋งตักน้ำในแม่น้ำก็พบปลาแขยง ลำบากลำบนต้องเอาปลาแขยงออกจากกระแป๋งอีก คือเทน้ำทิ้งทั้งกระแป๋ง ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีเอาก้นประแป๋งส่ายไปมา หลาย ๆ ที เพื่อไล่ปลาแขยงออกไปจากบริเวณที่จะจ้วงตักน้ำเสียก่อน
หากจะนับว่าปลาแขยงเป็นปลาที่ก่อความเดือดร้อนรำคาญใจในวัยเด็กก็ว่าได้ ไม่ว่าจะอยู่ในกระบวนการหากุ้งหาปลาโดยวิธีใดก็แล้วแต่ เนื่องจากเป็นของไม่ต้องใจ ไม่ต้องประสงค์จำนงหาแต่ได้มาทุกครา
เนื่องจากในสมัยนั้นกุ้งหอยปูปลาในแม่น้ำลำคลองหนองบึง มีมากมายอุดมสมบูรณ์ ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาแปบ ปลาหางไก่ ปลาแขยง และปลาตัวเล็กตัวน้อยอื่น ๆ แม้แต่ปลากระดี่ เป็นปลาที่คนรุ่นพลอยโพยมไม่บริโภคกัน เพราะตัวเล็กเกินไป ปลาตัวใหญ่มีออกมากมาย ปลาเล็กปลาน้อยพวกนี้หากพบเจอเป็น ๆ เราก็ปล่อยคืนแหล่งน้ำไป แค่ปลาตัวใหญ่ เราก็กินไม่ทันเนื่องจากไม่มีไฟฟ้า ไม่มีตู้เย็น การแปรรูปปลา ก็มีเพียงใส่เกลือตากแดดเป็นปลาเค็ม ( ปลาช่อน) ทำลูกชิ้น ( ปลากราย) ซึ่งทำแล้ว แค่วันสองวันก็กินหมดเพราะค้างหลายวันก็ไม่อร่อยแล้ว ปลาเล็กปลาน้อยเหล่านี้เป็นส่วนเกินต้องการ
การที่ปล่อยคืนในแหล่งน้ำและเป็นปลาที่ไม่บริโภค ยิ่งทำให้จำนวนปลาพวกนี้มากขึ้น และค่อนข้างดื้อดึง เช่นตั้งใจตกปลาโดยใช้เบ็ด ปลาแขยงก็ชอบเสนอตัวเสนอหน้ามาให้ก่อนปลาอื่น ๆ คนตกปลาได้มาต้องเกิดอาการหัวเสีย ร้องว้า.... เวลายกเบ็ดขึ้นมา เสียเวลาปลดเบ็ดอีก และปลาแขยงเป็นปลาที่มีเงี่ยง เวลาจับตัวปลาต้องระมัดวะวังจะถูกปลายักเงี่ยงใส่ให้เจ็บมือต้องร้องโอดโอยกัน
เวลาล้างถ้วยชามหม้อ ปลาแขยงและปลาซิวก็มาก่อกวน ดิ้นรนขวนขวาย ว่ายเข้าอยู่ในหม้อ ในอวย ต้องสาดน้ำไล่ฝูงปลาออกไปห่างๆ
และเวลาลงเล่นน้ำในช่วงที่มีฝูงปลาแขยงเยอะ ๆ เราก็จะถูกปลาแขยงตอดก้นกันเป็นประจำ
การยกยอ พอเราปล่อยไปรู้สึกเหมือนเขาวนกลับมาเข้ายออีกซ้ำ ๆ จนต้องเหวี่ยงไปไกล ๆ ยอ
จนบัดนี้พลอยโพยมไม่รู้ว่ารสชาติปลาแขยงเป็นอย่างไร หลายสิบปีต่อมารู้สึกแปลกใจที่เห็นมีปลาแขยงขาย ต่อมาก็ประหลาดใจที่ปลาแขยงถูกนำมานำปรุงเป็นอาหารหลายอย่าง พอ ๆ กับแปลกใจที่เห็นปลาซิวสดราคา กิโลกรัมละ 120 บาท
ท่านผู้อ่านที่บริโภคปลาแขยง ปลาซิว ปลาตัวเล็กตัวน้อย(ปลาน้ำจืด) เหล่านี้ได้ คงไม่ตำหนิพลอยโพยมในเรื่องนี้ เหตุผลที่ไม่เคยกินนั้นเนื่องจากสมัยก่อน กุ้งหอยปูปลา อุดมสมบูรณ์มากมาย และพลอยโพยมมีบ้านอยู่ริมแม่น้ำ มีผู้ชำนาญการล้อมซั้งถึงสี่ซั้ง ล้วงปูทะเลเก่ง งมกุ้งก้ามกรามเก่ง
การตกปลา ถือเป็นการละเล่นของเด็ก
การยกยอหวังผลคือกุ้งไม่ได้หวังปลาเล็กปลาน้อยริมฝั่ง
การรออวนเพราะต้องการกุ้งเคย
หรือการหากุ้งปลาด้วยวิธีอื่น เราก็มีจุดมุ่งหมายและต้องการเพียงตรงตามวัตถุประสงค์เท่านั้น
(แก้ไข)
ปลาแขยง ปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด จัดอยู่ในวงศ์ปลากด เป็นปลาขนาดเล็ก มีหนวดยาว มีครีบหลังอันแหลมคม ครีบหูทั้งสองมีเงี่ยงแหลม พบตามแหล่งน้ำไหล แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง คลอง บึงทั่วไปทุกภาค ปลาแขยง มีหลาย ชนิด คือ ปลาแขยงหิน ปลาแขยงธง ปลาแขยงหมู ปลาแขยงนวล ปลายแขยงใบข้าว ปลาแขยงข้างลาย ซึ่งในปัจจุบันจะไม่ค่อยได้พบเห็นปลาแขยงธงกันแล้ว
ปลาแขยง
ปลาแขยงเป็นปลาที่เคลื่อนที่แหวกว่ายไปเป็นฝูงตามนิสัยปกติ สำหรับปลาแขยงฝูงนี้ เป็นปลาที่เลี้ยงไว้ในตู้ปลา จะมีปลาแขยงหลาย ๆ ตัว ลงเกาะบนพื้นตู้เป็นระยะ ๆ
อ๊ะ อ๊ะ กำลังเพลิน ๆ มีกุ้งก้ามกรามตัวหนึ่งเคลื่อนตัวมาทางมุมพักผ่อนของกลุ่มปลาแขยง
ปลาแขยงตัวที่ใกล้กุ้งก้ามกรามที่สุดเริ่มขยับครีบเตรียมแหวกว่ายย้ายที่หนีกุ้งก้ามกรามที่ส่งก้ามคู่หน้ามารบกวนอารมณ์สุนทรี ฉันไปแหวกว่ายกับเพื่อน ๆ และหมู่ญาติดีกว่า
กุ้งก้ามกรามคืบคลานเข้ามาใกล้ โดยมีสองก้ามยื่นนำทางเคลียพื้นที่ของตนเอง
อันที่จริงตอนถ่ายภาพต้องการภาพปลาตะเพียนทองที่ว่ายอยู่เหนือกลุ่มปลาแขยง ซึ่งในตู้ปลานี้มีทั้ง ปลาตะเพียนทอง ปลาแขยงและกุ้งก้ามกรามอยู่ร่วมกัน
ทุกชีวิตเคลื่อนไหวร่วมกันโดยมีกลุ่มปลาตะเพียนทองแหวกว่ายอยู่บนสุดไม่ลงพื้นตู้ปลาเลย ว่ายไปว่ายมาทั้งกลุ่มปลาตะเพียนทอง
ถัดลงมาเป็นกลุ่มปลาแขยงที่มีหลาย ๆ ตัว ลงนอนพื้นบ่อย ๆ ครั้งละ หลาย ๆ ตัว แต่ไม่นานก็กลับไปแหวกว่ายรวมกลุ่มปลาแขยง
กุ้งก้ามกรามซึ่งอันที่จริงก็ว่ายน้ำได้แต่นาน ๆ ครั้งจึงจะว่ายน้ำ ส่วนใหญ่ลงเกาะพื้นคืบคลานเพ่นพ่านไปทั่วพื้นตู้สุดแต่ใจอยากจะไปมุมไหน
กุ้งก้ามกรามทำท่าจะข้ามโขดหินที่อีกด้านยังมีปลาแขยงนอนเกาะกับพื้นอยู่
พอเข้าไปใกล้ปลาแขยงที่ลงเกาะพื้นอยู่ ดูท่าทางว่าปลาแขยงจะไม่สบอารมณ์กับเจ้าตัวยุ่งกุ้งก้ามกรามแบบเบื่อเหลือระอาเต็มทน คงจะรำคาญก้ามยาวของกุ้งก้ามกรามก็เลยหนีไปดีกว่า
ปลาแขยง
ปลาแขยงตัวนี้ ยังอยู่ห่างจากกุ้งก้ามกรามที่รุกล้ำเข้ามาในฝูงจึงไม่สนใจ สงบเงียบอยู่ในมุมเดิมที่ยึดได้พื้นที่ เพื่อนปลาแขยงว่ายไปมุมอื่นกันแล้วแต่ฉันจะอยู่ตรงนี้แหละ และกุ้งก้ามกรามก็เปลี่ยนทิศทางไปทางอื่นแล้วไม่มากวนใจให้หงุดหงิด เฮ้อ...เบื่อเจ้ากุ้งแสนยุ่งตัวนี้จริง ๆ
ปลาแขยงใบข้าว
แขยงใบข้าว (ชื่อสามัญ)
Mystus singaringan (ชื่อวิทยาศาสตร์)
LONG-FATTY FINNED MYSTUS (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ดขนาดเล็ก เป็นปลาแขยงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ลำตัวค่อนข้างกลมและยาว หัวค่อนข้างเล็ก ปากทู่มีหนวด 4 คู่ ครีบหลังปลายยาวเป็นกระโดงสูง ครีบหูมีก้านเดี่ยวแข็งและแหลมคมข้างละอัน ครีบไขมันใหญ่และยาว แพนครีบหางอันบนมีปลายยาวเรียวเป็นรยางค์ ลำตัวส่วนบนมีสีเทาอมฟ้า ด้านหลังเข้มและสีจะค่อนจางลงถึงบริเวณท้องจะเปลี่ยนเป็นสีครีมหรือสีขาว
ถิ่นอาศัยมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ส่วนมากอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล เช่น แม่น้ำ ลำคลองและลำธาร
อาหารกินปลา ลูกกุ้ง แมลงน้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
ขนาดความยาวประมาณ 8-25 ซ.ม.
ประโยชน์เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหาร
ปลาแขยงใบช้าว
ปลาแขยงข้างลาย
(เพิ่มเติม)
ปลาแขยงข้างลาย (ชื่อสามัญ)
Mystus multiradiatus (ชื่อวิทยาศาสตร์)
IRIDESCENT MYSTUS (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
อยู่ในวงศ์ปลากด
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด มีขนาดค่อนข้างเล็ก ลำตัวป้อมสั้น ด้านข้างแบน หัวแหลม ปากเล็ก มีหนวด 4 คู่ ครีบหลังมีก้านเดี่ยวแข็งและแหลมคมหนึ่งอัน ครีบหูมีเงี่ยงแหลมคมข้างละอัน มีแถบสีขาวเงิน 2 แถบ พาดไปตามความยาวลำตัว ด้านหลังมีสีน้ำตาลปนดำเข้ม
ถิ่นอาศัยพบทั่วไปตามแม่น้ำลำคลอง และหนองบึง
ปลาแขยงที่ยังพบมากในแม่น้ำเจ้าพระยา คือปลาแขยงข้างลาย
นิสัย ปลาแขยงชอบอพยพไปที่น้ำท่วม ในช่วงฤดูน้ำหลาก
อาหารกินลูกกุ้ง ลูกปลา ตัวอ่อนแมลงน้ำ ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย
ขนาดความยาวประมาณ 10-18 ซ.ม.
ประโยชน์นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อใช้ปรุงอาหารได้
ปลาแขยงข้างลาย
ปลาแขยงข้างลาย
ปลาแขยงธง
แขยงธง (ชื่อสามัญ)
Heterobagrus bocourti (ชื่อวิทยาศาสตร์)
BOCOURT'S RIVER CATFISH (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวด้านข้างแบน หัวเล็ก ตาค่อนข้างโต ปากค่อนข้างเล็ก มีหนวด 4 คู่ ครีบหลังมีขนาดใหญ่และยาวสูงเด่นคล้ายชายธง ครีบหูมีเงี่ยงแหลมคมข้างละอัน ครีบไขมันมีขนาดใหญ่และยาว ครีบหางเว้าลึก แพนหางส่วนบนมีปลายยาวเป็นเส้นรยางค์
ถิ่นอาศัยโดยปกติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล ตามแม่น้ำและลำคลอง อาจเข้าไปหากินในแหล่งน้ำนิ่งเป็นครั้งคราว
อาหารกินลูกปลา ลูกกุ้ง ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
ขนาดความยาวประมาณ 10-24 ซ.ม.
ประโยชน์เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหาร
ปลาแขยงกง อีกง มังกง
ปลามังกง หรือ ปลาอีกง (อังกฤษ: Long-whiskered catfish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mystus gulio
อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae)
เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง เป็นปลาหนัง มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมหนา ปกติมีสีเทาอมทอง หรือเทาอมม่วง ท้องมีสีขาว กินกุ้ง ตัวอ่อนของแมลง แพลงก์ตอนพืชและสัตว์เป็นอาหารเมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดประมาณ 12-15 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 46 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่บริเวณน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำ
ปลามังกง หรือ ปลาอีกง มีชื่อเรียกหลากหลายมาก เช่น ปลากดหมู, ปลากด หรือ ปลาแขยงกง พบชุกชุมที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งคำว่า "บางปะกง" นั้นก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "บางมังกง" อีกทีหนึ่ง
ปัจจุบัน มีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ และนิยมรวบรวมลูกปลาวัยอ่อนขายเป็นปลาสวยงามด้วย มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝน โดยจะว่ายไปวางไข่ในบริเวณน้ำจืด
ปลาอีกง
ปลามังกง หรือ ปลาอีกง มีชื่อเรียกหลากหลายมาก เช่น ปลากดหมู, ปลากด หรือ ปลาแขยงกง พบชุกชุมที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งคำว่า "บางปะกง" นั้นก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "บางมังกง" อีกทีหนึ่ง
ปัจจุบัน มีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ และนิยมรวบรวมลูกปลาวัยอ่อนขายเป็นปลาสวยงามด้วย มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝน โดยจะว่ายไปวางไข่ในบริเวณน้ำจืด
ที่มาของข้อมูล กรมประมง ,วิกิพีเดีย และ
http://thailist.blogspot.com/2009/08/3-2.html
ที่มาของภาพ อินเทอร์เนท
ในบทเห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้งทรงเรียกปลาแขยงว่า ปลาชะแวง
ปลาแขยงหิน
แขยงหิน (ชื่อสามัญ)
กดหิน (ชื่อสามัญ)
SIAMESE ROCK CATFISH (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
Leiocassis siamensis (ชื่อวิทยาศาสตร์)
ปลาแขยงหิน
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวค่อนข้างยาว ไม่มีเกล็ด หัวแบนราบลงเล็กน้อย ตามีผิวหนังใสปิดคลุม มีฟันซี่แหลมเล็ก ๆ อยู่บนขากรรไกร และเพดานปาก มีหนวด 4 คู่ มีรูจมูกข้างละหนึ่งคู่ แต่ละคู่อยู่ห่างจากกัน ครีบหลังและครีบหูมีหนามแหลม ลำตัวมีพื้นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีแถบดำหรือน้ำตาลเข้มพาดขวางลำตัว แถบที่ว่านี้จะมีขนาดโตกว่าช่วงสีพื้นของลำตัว ขนาดและที่ตั้งของแถบเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของปลา
ถิ่นอาศัยอยู่ตามลำธาร เช่น บริเวณปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี ฯลฯ
อาหารกินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก
ขนาดความยาวประมาณ 17 ซ.ม.
ประโยชน์นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อใช้ปรุงอาหารได้
เป็นปลาแขยงที่พลอยโพยมไม่เคยเห็นในสมัยเด็ก ๆ
ปลาแขยง
( เพิ่มเติม )
กาพย์ยานี ๑๑
ชะแวงแฝงฝั่งแนบ
ชะวาดแอบแปลบปนปลอม
เหมือนพี่แนบแอบถนอม
จอมสวาทนาฎบังอร
กาพย์เห่เรือ เห่ชมปลา พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
ปลาแขยง เป็นปลาที่อยู่รวมตัวกันเป็นฝูง แหวกว่ายไปที่ใดก็ไปเป็นฝูงเหมือนปลาซิว
ในสมัยเด็กปลาแขยงเป็นปลาที่พลอยโพยมใกล้ชิดมากที่สุด ไม่ว่าจะทำอะไรในแม่น้ำเช่น ล้อมซั้ง ยกยอ รออวน ใช้เบ็ดตกปลา เอาสวิงช้อนหากุ้งหาปลาในแม่น้ำ หรือยามที่ลงว่ายน้ำ เล่นน้ำในแม่น้ำ ล้างถ้วย ชาม หม้อไหหรือภาชนะอะไรก็แล้วแต่ที่หัวสะพานท่าน้ำที่บ้าน จะต้องพบเจอปลาแขยงและพบเป็นฝูง ๆ บางครั้งเอากระแป๋งตักน้ำในแม่น้ำก็พบปลาแขยง ลำบากลำบนต้องเอาปลาแขยงออกจากกระแป๋งอีก คือเทน้ำทิ้งทั้งกระแป๋ง ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีเอาก้นประแป๋งส่ายไปมา หลาย ๆ ที เพื่อไล่ปลาแขยงออกไปจากบริเวณที่จะจ้วงตักน้ำเสียก่อน
หากจะนับว่าปลาแขยงเป็นปลาที่ก่อความเดือดร้อนรำคาญใจในวัยเด็กก็ว่าได้ ไม่ว่าจะอยู่ในกระบวนการหากุ้งหาปลาโดยวิธีใดก็แล้วแต่ เนื่องจากเป็นของไม่ต้องใจ ไม่ต้องประสงค์จำนงหาแต่ได้มาทุกครา
เนื่องจากในสมัยนั้นกุ้งหอยปูปลาในแม่น้ำลำคลองหนองบึง มีมากมายอุดมสมบูรณ์ ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาแปบ ปลาหางไก่ ปลาแขยง และปลาตัวเล็กตัวน้อยอื่น ๆ แม้แต่ปลากระดี่ เป็นปลาที่คนรุ่นพลอยโพยมไม่บริโภคกัน เพราะตัวเล็กเกินไป ปลาตัวใหญ่มีออกมากมาย ปลาเล็กปลาน้อยพวกนี้หากพบเจอเป็น ๆ เราก็ปล่อยคืนแหล่งน้ำไป แค่ปลาตัวใหญ่ เราก็กินไม่ทันเนื่องจากไม่มีไฟฟ้า ไม่มีตู้เย็น การแปรรูปปลา ก็มีเพียงใส่เกลือตากแดดเป็นปลาเค็ม ( ปลาช่อน) ทำลูกชิ้น ( ปลากราย) ซึ่งทำแล้ว แค่วันสองวันก็กินหมดเพราะค้างหลายวันก็ไม่อร่อยแล้ว ปลาเล็กปลาน้อยเหล่านี้เป็นส่วนเกินต้องการ
การที่ปล่อยคืนในแหล่งน้ำและเป็นปลาที่ไม่บริโภค ยิ่งทำให้จำนวนปลาพวกนี้มากขึ้น และค่อนข้างดื้อดึง เช่นตั้งใจตกปลาโดยใช้เบ็ด ปลาแขยงก็ชอบเสนอตัวเสนอหน้ามาให้ก่อนปลาอื่น ๆ คนตกปลาได้มาต้องเกิดอาการหัวเสีย ร้องว้า.... เวลายกเบ็ดขึ้นมา เสียเวลาปลดเบ็ดอีก และปลาแขยงเป็นปลาที่มีเงี่ยง เวลาจับตัวปลาต้องระมัดวะวังจะถูกปลายักเงี่ยงใส่ให้เจ็บมือต้องร้องโอดโอยกัน
เวลาล้างถ้วยชามหม้อ ปลาแขยงและปลาซิวก็มาก่อกวน ดิ้นรนขวนขวาย ว่ายเข้าอยู่ในหม้อ ในอวย ต้องสาดน้ำไล่ฝูงปลาออกไปห่างๆ
และเวลาลงเล่นน้ำในช่วงที่มีฝูงปลาแขยงเยอะ ๆ เราก็จะถูกปลาแขยงตอดก้นกันเป็นประจำ
การยกยอ พอเราปล่อยไปรู้สึกเหมือนเขาวนกลับมาเข้ายออีกซ้ำ ๆ จนต้องเหวี่ยงไปไกล ๆ ยอ
จนบัดนี้พลอยโพยมไม่รู้ว่ารสชาติปลาแขยงเป็นอย่างไร หลายสิบปีต่อมารู้สึกแปลกใจที่เห็นมีปลาแขยงขาย ต่อมาก็ประหลาดใจที่ปลาแขยงถูกนำมานำปรุงเป็นอาหารหลายอย่าง พอ ๆ กับแปลกใจที่เห็นปลาซิวสดราคา กิโลกรัมละ 120 บาท
ท่านผู้อ่านที่บริโภคปลาแขยง ปลาซิว ปลาตัวเล็กตัวน้อย(ปลาน้ำจืด) เหล่านี้ได้ คงไม่ตำหนิพลอยโพยมในเรื่องนี้ เหตุผลที่ไม่เคยกินนั้นเนื่องจากสมัยก่อน กุ้งหอยปูปลา อุดมสมบูรณ์มากมาย และพลอยโพยมมีบ้านอยู่ริมแม่น้ำ มีผู้ชำนาญการล้อมซั้งถึงสี่ซั้ง ล้วงปูทะเลเก่ง งมกุ้งก้ามกรามเก่ง
การตกปลา ถือเป็นการละเล่นของเด็ก
การยกยอหวังผลคือกุ้งไม่ได้หวังปลาเล็กปลาน้อยริมฝั่ง
การรออวนเพราะต้องการกุ้งเคย
หรือการหากุ้งปลาด้วยวิธีอื่น เราก็มีจุดมุ่งหมายและต้องการเพียงตรงตามวัตถุประสงค์เท่านั้น
(แก้ไข)
ปลาแขยง ปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด จัดอยู่ในวงศ์ปลากด เป็นปลาขนาดเล็ก มีหนวดยาว มีครีบหลังอันแหลมคม ครีบหูทั้งสองมีเงี่ยงแหลม พบตามแหล่งน้ำไหล แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง คลอง บึงทั่วไปทุกภาค ปลาแขยง มีหลาย ชนิด คือ ปลาแขยงหิน ปลาแขยงธง ปลาแขยงหมู ปลาแขยงนวล ปลายแขยงใบข้าว ปลาแขยงข้างลาย ซึ่งในปัจจุบันจะไม่ค่อยได้พบเห็นปลาแขยงธงกันแล้ว
ปลาแขยง
ปลาแขยงเป็นปลาที่เคลื่อนที่แหวกว่ายไปเป็นฝูงตามนิสัยปกติ สำหรับปลาแขยงฝูงนี้ เป็นปลาที่เลี้ยงไว้ในตู้ปลา จะมีปลาแขยงหลาย ๆ ตัว ลงเกาะบนพื้นตู้เป็นระยะ ๆ
อ๊ะ อ๊ะ กำลังเพลิน ๆ มีกุ้งก้ามกรามตัวหนึ่งเคลื่อนตัวมาทางมุมพักผ่อนของกลุ่มปลาแขยง
ปลาแขยงตัวที่ใกล้กุ้งก้ามกรามที่สุดเริ่มขยับครีบเตรียมแหวกว่ายย้ายที่หนีกุ้งก้ามกรามที่ส่งก้ามคู่หน้ามารบกวนอารมณ์สุนทรี ฉันไปแหวกว่ายกับเพื่อน ๆ และหมู่ญาติดีกว่า
กุ้งก้ามกรามคืบคลานเข้ามาใกล้ โดยมีสองก้ามยื่นนำทางเคลียพื้นที่ของตนเอง
อันที่จริงตอนถ่ายภาพต้องการภาพปลาตะเพียนทองที่ว่ายอยู่เหนือกลุ่มปลาแขยง ซึ่งในตู้ปลานี้มีทั้ง ปลาตะเพียนทอง ปลาแขยงและกุ้งก้ามกรามอยู่ร่วมกัน
ทุกชีวิตเคลื่อนไหวร่วมกันโดยมีกลุ่มปลาตะเพียนทองแหวกว่ายอยู่บนสุดไม่ลงพื้นตู้ปลาเลย ว่ายไปว่ายมาทั้งกลุ่มปลาตะเพียนทอง
ถัดลงมาเป็นกลุ่มปลาแขยงที่มีหลาย ๆ ตัว ลงนอนพื้นบ่อย ๆ ครั้งละ หลาย ๆ ตัว แต่ไม่นานก็กลับไปแหวกว่ายรวมกลุ่มปลาแขยง
กุ้งก้ามกรามซึ่งอันที่จริงก็ว่ายน้ำได้แต่นาน ๆ ครั้งจึงจะว่ายน้ำ ส่วนใหญ่ลงเกาะพื้นคืบคลานเพ่นพ่านไปทั่วพื้นตู้สุดแต่ใจอยากจะไปมุมไหน
กุ้งก้ามกรามทำท่าจะข้ามโขดหินที่อีกด้านยังมีปลาแขยงนอนเกาะกับพื้นอยู่
พอเข้าไปใกล้ปลาแขยงที่ลงเกาะพื้นอยู่ ดูท่าทางว่าปลาแขยงจะไม่สบอารมณ์กับเจ้าตัวยุ่งกุ้งก้ามกรามแบบเบื่อเหลือระอาเต็มทน คงจะรำคาญก้ามยาวของกุ้งก้ามกรามก็เลยหนีไปดีกว่า
ปลาแขยง
ปลาแขยงตัวนี้ ยังอยู่ห่างจากกุ้งก้ามกรามที่รุกล้ำเข้ามาในฝูงจึงไม่สนใจ สงบเงียบอยู่ในมุมเดิมที่ยึดได้พื้นที่ เพื่อนปลาแขยงว่ายไปมุมอื่นกันแล้วแต่ฉันจะอยู่ตรงนี้แหละ และกุ้งก้ามกรามก็เปลี่ยนทิศทางไปทางอื่นแล้วไม่มากวนใจให้หงุดหงิด เฮ้อ...เบื่อเจ้ากุ้งแสนยุ่งตัวนี้จริง ๆ
ปลาแขยงใบข้าว
แขยงใบข้าว (ชื่อสามัญ)
Mystus singaringan (ชื่อวิทยาศาสตร์)
LONG-FATTY FINNED MYSTUS (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ดขนาดเล็ก เป็นปลาแขยงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ลำตัวค่อนข้างกลมและยาว หัวค่อนข้างเล็ก ปากทู่มีหนวด 4 คู่ ครีบหลังปลายยาวเป็นกระโดงสูง ครีบหูมีก้านเดี่ยวแข็งและแหลมคมข้างละอัน ครีบไขมันใหญ่และยาว แพนครีบหางอันบนมีปลายยาวเรียวเป็นรยางค์ ลำตัวส่วนบนมีสีเทาอมฟ้า ด้านหลังเข้มและสีจะค่อนจางลงถึงบริเวณท้องจะเปลี่ยนเป็นสีครีมหรือสีขาว
ถิ่นอาศัยมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ส่วนมากอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล เช่น แม่น้ำ ลำคลองและลำธาร
อาหารกินปลา ลูกกุ้ง แมลงน้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
ขนาดความยาวประมาณ 8-25 ซ.ม.
ประโยชน์เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหาร
ปลาแขยงใบช้าว
ปลาแขยงข้างลาย
(เพิ่มเติม)
ปลาแขยงข้างลาย (ชื่อสามัญ)
Mystus multiradiatus (ชื่อวิทยาศาสตร์)
IRIDESCENT MYSTUS (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
อยู่ในวงศ์ปลากด
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด มีขนาดค่อนข้างเล็ก ลำตัวป้อมสั้น ด้านข้างแบน หัวแหลม ปากเล็ก มีหนวด 4 คู่ ครีบหลังมีก้านเดี่ยวแข็งและแหลมคมหนึ่งอัน ครีบหูมีเงี่ยงแหลมคมข้างละอัน มีแถบสีขาวเงิน 2 แถบ พาดไปตามความยาวลำตัว ด้านหลังมีสีน้ำตาลปนดำเข้ม
ถิ่นอาศัยพบทั่วไปตามแม่น้ำลำคลอง และหนองบึง
ปลาแขยงที่ยังพบมากในแม่น้ำเจ้าพระยา คือปลาแขยงข้างลาย
นิสัย ปลาแขยงชอบอพยพไปที่น้ำท่วม ในช่วงฤดูน้ำหลาก
อาหารกินลูกกุ้ง ลูกปลา ตัวอ่อนแมลงน้ำ ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย
ขนาดความยาวประมาณ 10-18 ซ.ม.
ประโยชน์นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อใช้ปรุงอาหารได้
ปลาแขยงข้างลาย
ปลาแขยงข้างลาย
ปลาแขยงธง
แขยงธง (ชื่อสามัญ)
Heterobagrus bocourti (ชื่อวิทยาศาสตร์)
BOCOURT'S RIVER CATFISH (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวด้านข้างแบน หัวเล็ก ตาค่อนข้างโต ปากค่อนข้างเล็ก มีหนวด 4 คู่ ครีบหลังมีขนาดใหญ่และยาวสูงเด่นคล้ายชายธง ครีบหูมีเงี่ยงแหลมคมข้างละอัน ครีบไขมันมีขนาดใหญ่และยาว ครีบหางเว้าลึก แพนหางส่วนบนมีปลายยาวเป็นเส้นรยางค์
ถิ่นอาศัยโดยปกติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล ตามแม่น้ำและลำคลอง อาจเข้าไปหากินในแหล่งน้ำนิ่งเป็นครั้งคราว
อาหารกินลูกปลา ลูกกุ้ง ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
ขนาดความยาวประมาณ 10-24 ซ.ม.
ประโยชน์เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหาร
ปลาแขยงกง อีกง มังกง
ปลามังกง หรือ ปลาอีกง (อังกฤษ: Long-whiskered catfish)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mystus gulio
อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae)
เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง เป็นปลาหนัง มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมหนา ปกติมีสีเทาอมทอง หรือเทาอมม่วง ท้องมีสีขาว กินกุ้ง ตัวอ่อนของแมลง แพลงก์ตอนพืชและสัตว์เป็นอาหารเมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดประมาณ 12-15 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 46 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่บริเวณน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำ
ปลามังกง หรือ ปลาอีกง มีชื่อเรียกหลากหลายมาก เช่น ปลากดหมู, ปลากด หรือ ปลาแขยงกง พบชุกชุมที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งคำว่า "บางปะกง" นั้นก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "บางมังกง" อีกทีหนึ่ง
ปัจจุบัน มีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ และนิยมรวบรวมลูกปลาวัยอ่อนขายเป็นปลาสวยงามด้วย มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝน โดยจะว่ายไปวางไข่ในบริเวณน้ำจืด
ปลาอีกง
ปลามังกง หรือ ปลาอีกง มีชื่อเรียกหลากหลายมาก เช่น ปลากดหมู, ปลากด หรือ ปลาแขยงกง พบชุกชุมที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งคำว่า "บางปะกง" นั้นก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "บางมังกง" อีกทีหนึ่ง
ปัจจุบัน มีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ และนิยมรวบรวมลูกปลาวัยอ่อนขายเป็นปลาสวยงามด้วย มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝน โดยจะว่ายไปวางไข่ในบริเวณน้ำจืด
ที่มาของข้อมูล กรมประมง ,วิกิพีเดีย และ
http://thailist.blogspot.com/2009/08/3-2.html
ที่มาของภาพ อินเทอร์เนท
วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
[บทความ] ปลาซิวเยือน ...เกลื่อนธารา
ปลาซิวเยือน ...เกลื่อนธารา
ปลาซิวข้างขวาน
ปลาซิว เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
อันดับปลากินพืช มีหลายสกุลเช่น
สกุล Rasbora ที่มีลำตัวยาว ตัวใส
สกุล Danio, สกุล Esomus ที่มีหนวดยาวเห็นชัดเจน,
สกุล Chela ที่มีรูปร่างอ้วนป้อม โดยมากแล้วเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวไม่เกิน 5 เซนติเมตร หากินบริเวณผิวน้ำ
แต่ก็ยังมีหลายสกุล หลายชนิดที่กินเนื้อหรือกินลูกปลาเล็กเป็นอาหาร และมีขนาดลำตัวใหญ่กว่านั้น เช่น ซิวอ้าว (Luciosoma bleekeri) หรือ สะนาก (Raiamas guttatus) เป็นต้น
ปลาซิวข้างขวานเล็ก
ปลาซิว เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิด ในหลายสกุล
โดยปลาจำพวกปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 80 เซนติเมตร
นอกจากนี้แล้ว ปลาซิว ยังอาจจะเรียกรวมถึงปลาในวงศ์อื่นหรืออันดับอื่นได้อีกด้วยที่มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายเคียงกัน เช่น ซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) อันดับปลาหลังเขียว หรือ ปลานีออน (Paracheirodon innesi) ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) อันดับปลาคาราซิน เป็นต้น
อนึ่ง คำว่า ปลาซิวในนัยทางภาษาไทยใช้เปรียบเทียบกับคนขี้ขลาดหรือใจไม่สู้ ว่า ใจปลาซิว
อาจเป็นเพราะเป็นปลาขนาดเล็กตายง่าย ไม่สามารถทนอยู่ในสภาวะที่ขาดน้ำได้เป็นเวลานาน หรือไม่สามารถทนอยู่ได้ในสภาวะที่น้ำขาดออกซิเจนหรือในน้ำที่มีปริมาณของออกซิเจนน้อย
ปลาซิวหางแดง
ปลาซิวส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก มีลำตัวเพรียวยาว แบนข้างเล็กน้อยถึงแบนข้างมาก สันท้องกลม ส่วนหัวใหญ่ปลายแหลม จะงอยปากค่อนข้างแหลม ปากกว้างมุมปากเฉียง ตาอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัวไม่สามารถมองเห็นจากทางด้านล่าง ปากมีขนาดเล็ก เฉียง ขากรรไกรล่างจะยื่นออกมาเล็กน้อย บางครั้งริมฝีปากบนยื่นออกมาเล็กน้อย มีปมที่ปลายสุดของขากรรไกรล่างที่เรียกว่า symphyseal knob ไม่มีหนวด บางชนิดอาจมีหนวดขนาดเล็กบริเวณจะงอยปาก
พบได้ทั่วไปที่พบได้ทุกภาคของประเทศไทย จัดเป็นปลาในกลุ่ม Cyprinid ปลาในสกุลนี้จะมีรูปร่างลักษณะสีสันแถบสีที่คล้ายคลึงกันจึงยากที่จะแยกชนิดออกจากกันได้ชัดเจน อาจพบได้หลายสกุลในประเทศไทย
ถิ่นที่อยู่อาศัย ปลาซิวในสกุล Rasbora จะพบได้ในแหล่งน้ำจืดต่างๆ ได้แก่ พื้นที่ลุ่มขนาดเล็ก ลำธาร แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบขนาดเล็กและใหญ่ บ่อหนอง คลองบึง เป็นต้น ซึ่งจะพบได้ทั้งในแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำไหล
ปลาซิวหางแดง
เป็นปลาที่มีความสำคัญในห่วงโซ่อาหารในแหล่งน้ำ โดยจะเป็นอาหารของสิ่งที่มีชีวิตที่มีขนาดใหญ่กว่า และยังเป็นปลาที่กินแมลงน้ำเป็นอาหาร นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพราะมีแถบสีที่มีลักษณะสีสันสวยงามโดยเฉพาะเมื่ออยู่รวมกันเป็นฝูง
ในปัจจุบันมีการรวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อจำหน่ายเป็นปลาสวยงามทั้งในและต่างประเทศ ส่วนการเพาะเลี้ยงนั้นยังมีอยู่น้อย จึงนับว่าเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำอีกกลุ่มหนึ่ง
ปลาซิวเจ้าฟ้า
การแพร่กระจาย พบว่ามีการแพร่กระจายของ Rasbora บริเวณอินเดียตะวันตก พม่า ไทย มาเลเซีย กัมพูชา ลาว เวียดนาม เกาะสุมาตรา บาหลี ชวา ลอมบอร์ก ซุมบาวา ฟิลิปปินส์ตอนใต้และบอร์เนียว (ทรงพรรณ และคณะ, 2529)
ปลาซิวเจ้าฟ้า
ปลาซิวสกุล Rasbora ในประเทศไทยพบไม่น้อยกว่า 30 ชนิด
ซึ่งจากการรายงานของ Britten (1954) ที่พบในประเทศไทยทั้งหมดมี 12 ชนิด และจากการศึกษาของทรงพรรณ และคณะ (2529) พบว่ามีในประเทศไทยทั้งหมด 16 ชนิด หลายชนิดที่ถูกพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดย Kottelat (1984) พบ Rasbora hobelmani เป็นครั้งแรกบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำปิง และบางชนิดที่พบแต่ไม่เคยมีรายงานว่าพบในประเทศไทย ได้แก่ Rasbora agilis พบที่คลองโต๊ะแดง อ. สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ส่วน Rasbora daniconius labiosa พบที่ลุ่มน้ำตาปี จ. สุราษฎร์ธานี สำหรับปลาซิวในสกุล Rasbora ในประเทศไทยนั้นยังมีอีกหลายชนิดที่ไม่สามารถแยกชนิดได้ชัดเจน ซึ่งยังมีความสับสนอยู่มาก
ปลาซิวเจ้าฟ้ารัฐฉาน
อนึ่ง คำว่า ปลาซิวในนัยทางภาษาไทยใช้เปรียบเทียบกับคนขี้ขลาดหรือใจไม่สู้ ว่า ใจปลาซิว นอกจากนี้แล้วยังมักถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบคู่กับปลาสร้อยว่า ปลาซิว ปลาสร้อย หมายถึง สิ่งที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีความสำคัญนัก เพราะปลาทั้งสองจำพวกนี้เป็นปลาขนาดเล็ก พบได้ทั่วไป
ปลาซิวสอบวาเจ้าฟ้ารัฐฉาน
สอบวา (sawbwa = สอ - บวา) เป็นภาษาพม่า แปลว่า เจ้าฟ้า (saopha) ปลาที่ได้ชื่อว่าเจ้าฟ้ามักต้องเป็นปลาที่สวย เช่น ปลาซิวเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ (Amblypharyngodon chulabhornae) หรือปลาหมอแซงแซว (Neolamprologus brichardi) แห่งทะเลสาบทังกันยิกา ที่ได้รับสมญาว่า "เจ้าหญิงแห่งบูรุนดี"
แม้ว่าวงการปลาสวยงามทั่วไปจะเพิ่งรู้จักปลาซิวสอบวา ทว่าที่จริงมันถูกค้นพบนานเกือบร้อยปีแล้ว แหล่งอาศัยของปลาซิวชนิดนี้อยู่ในทะเลสาบอินเล ทางตอนล่างของรัฐฉาน ประเทศพม่า ทะเลสาบอินเลตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาหินปูน สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร อากาศหนาวเย็น ภูมิประเทศยังบริสุทธิ์ด้วยธรรมชาติของป่าดง พืชพรรณแน่นขนัด สัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ ถูกรบกวนจากมนุษย์น้อยมาก เนื่องจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
โดย พิชิต ไทยยืนวงษ์
ภาพข้างต้นจากอินเทอร์เนท
ที่มาของข้อมูล กรมประมง,วิกิพีเดีย ,เจ้าน้อยฟิชชิ่ง
อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ภาพปลาซิวดังกล่าวข้างบนนี้เป็นปลาซิวที่พลอยโพยมไม่เคยรู้จัก ได้พบบทความและภาพสวยงามมากจนเกินห้ามใจจึงนำมาเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวบางกรูดเลย
ปลาซิวที่มาเยือน...เกลื่อนธารา ที่บางกรูด คือ ปลาซิวควาย
ปลาซิวควาย
ชื่อสามัญ ซิวควาย
ชื่อสามัญ ซิวควายข้างเงิน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ SILVER RASBORA
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rasbora argyrotaenia
(กรมประมง )
ปลาซิวควาย (อังกฤษ: Silver rasbora, Yellowtail rasbora)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora tornieri
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
ชื่อพ้องRasbora argyrotaenia
(วิกิพีเดีย )
ลักษณะทั่วไป
มีรูปร่างยาวทางกระบอก แบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กไม่มีหนวด ตาโต ครีบเล็ก ครีบหางเว้าลึก มีเกล็ดใหญ่ ตัวมีสีเหลืองอ่อนอมทอง มีแถบสีเงินพาดตามความยาวกลางลำตัวจนถึงโคนหาง ครีบสีเหลืองอ่อนมีขอบสีคล้ำ
ขนาดความยาวประมาณ 5-17 ซ.ม.
เป็นปลาผิวน้ำ ชอบรวมกลุ่มอยู่กันเป็นฝูง ลำตัวยาวเรียว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวว่องไว ด้านข้างของลำตัวจะมีแถบสีเงิน และมีสีเหลืองสดอมส้มพาดคู่ขนานไปกับแถบสีเงินตามความยาวลำตัว แถบสีเงินของปลาซิวชนิดนี้จะส่งประกายสดใส เมื่อถูกแสงไฟหรือแสงแดด เนื่องจากมีขนาดใหญ่กว่าปลาซิวชนิดอื่น จึงเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า "ปลาซิวควาย"
อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำไหล แพร่กระจายทั่วอยู่ทุกภาคของประเทศไทย พบเห็นได้ทั่วไป
รวมถึงลำธารในที่สูงบางแห่ง พบในภาคใต้ ภาคกลาง ถึงแม่น้ำโขง มีพฤติกรรมชอบตอมตะไคร่หรือสาหร่ายบริเวณใต้แพหรือท่าน้ำ อาหารได้แก่ พืชน้ำ ลูกน้ำ ตัวอ่อนของแมลง และแมลงน้ำ รวมทั้งแมลงที่บินอยู่ตามผิวน้ำขนาดเล็ก
ปลาซิวควาย
ภาพจากกรมประมง
โดยที่ ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ได้รายงานว่า เป็นปลาทีมีขนาดใหญ่ที่สุดในจำพวกปลาซิวที่พบได้ในประเทศไทย พบชุกชุมในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ถูกจับได้คราวละมาก ๆ ชาวชนบทนิยมใช้เป็นอาหารรับประทานกัน
เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภคโดยปรุงสด ทำปลาร้าหรือปลาแห้ง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
ภาพนี้เป็นภาพปลาซิว สามตัว ยังมีชีวิตอยู่ ที่พลอยโพยมได้มาจากเรือ เท้าวเป๊ะ หรือ เรือสำเป๊ะ หรือเรือเช้าเป๊ะ คือเรือผีหลอกในเช้าวันหนึ่ง พร้อมปลาอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียนขาว ปลากระแห ปลากะพง ปลาหางกิ่ว ปลาแปบ ปลากระทุงเหว ฯ ชนิดละไม่มากตัว
เมื่อมาถึงบ้าน ก็เตรียมการและถ่ายภาพปลาที่ซื้อมาและตายไปแล้วตอนที่ซื้อมา คิดว่าปลาที่อยู่ในน้ำคงยังไม่เป็นไร พอถึงคราวจะถ่ายภาพปลาซิว พบว่าปลาซิวเป็น ๆ สามตัวนั้นเหลือที่ยังมีชีวิต แค่ตัวเดียว ก็จับมาเรียงกับตัวที่ตายแล้ว
ไม่นานนัก ปลาซิวตัวที่ยังหายใจผะแผ่ว ๆ ก็ตายไปเป็นตัวสุดท้าย ด้วยระยะเวลาที่ไม่กี่นาทีทั้ง ๆ ที่มีน้ำแฉะ ๆ รองให้ที่ใบตอง แต่ปลาซิวอาจตกใจที่ถูกมือคนมาถูกตัวและจับวางบนใบตอง มีเสียงกล้อง ดัง หลาย ๆ ครั้ง ปลาซิวตัวสุดท้ายก็เลยตายตามเพื่อนฝูงปลาซิวไปด้วยกัน
ปลาซิว หมดลมหายใจทอดกายบนใบตอง
ยังพอมองเห็นปลาซิวสองตัวข้างบนมีดวงตาที่สดใสแวววาวอยู่ เพราะเพิ่งตายใหม่ ๆ ผิดกับสามตัวล่างที่ดวงตาขุ่นมัวไม่มีแววเสียแล้ว ชั่วเวลาไม่นานปลาซิวเป็น ๆ สามตัวก็ตายหมดเลยไม่เหลือ
ปลาซิวเป็นที่นิยมนำมาเลี้ยงใส่ตู้ปลา กลายเป็นปลาสวยงามประดับตู้ปลา ภาพปลาซิวนี้พลอยโพยมยังใช้กล้องไม่รู้จักเมนูของกล้องที่เลือกถ่ายภาพของสัตว์น้ำได้ และสถานที่ตั้งตู้ปลาก็เป็นลักษณะที่จะมีเงาอื่นสะท้อน เมื่อรู้จักการใช้กล้องดีขึ้นก็ไม่มีปลาซิวให้ถ่ายภาพได้ใหม่ในภาพชุดที่สอง ส่วนปลาซิวชุดที่หนึ่งนั้นในขณะถ่ายภาพอยู่ ปลาซิวในตู้ปลาพากันแตกตื่นแหวกว่ายด้วยลักษณะตระหนกตกใจอกสั่นขวัญหาย พลอยโพยมก็เกรงว่าถ้ามีปลาซิวเป็นโรคหัวใจอยู่รวมในตู้ปลา เกิดหัวใจปลาซิววายไป ปลาซิวตัวอื่น ๆ จะ พลอยตายไปด้วยไหม ก็เกรงใจเจ้าของปลาไม่กล้าไปถ่ายภาพซ้ำอีก
ในสมัยเด็ก ๆ ปลาซิวนี้จะพลอยติดมาใน สวิง แห อวน ทุกครั้งที่เราออกไปหาจับกุ้ง จับปลา ด้วยวิธีที่หลากหลายดังได้กล่าวมาแล้วของวิถีชาวน้ำปกติธรรมดา แต่จะถูกคัดออกทิ้งลงน้ำไปหมดที่ยังเป็นปลาซิว เป็น ๆ แต่บางครั้งจำนวนปลาซิวหลงพลอยฟ้าพลอยฝนติดมากับสัตว์น้ำอื่น ๆ ทั้งตัวใหญ่ ตัวเล็กตัวน้อย ค่อนข้างมาก เราก็จะเอาไปต้มให้น้องหมาชื่อ "ดอกรัก" และ น้องหมาชื่ออื่น ๆ ในรุ่นถัดมากินกับน้ำข้าว ( สมัยนั้นน้องหมาได้กินน้ำข้าวข้น ๆ เพราะการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ ไม่มีไฟฟ้าใช้ และที่บ้านไม่ใช้วิธีการนึ่งข้าวกินกันในบ้าน)
แต่ในบางครั้ง ลูกปลาซิวตัวเล็ก ๆ นี้ หลงติดอยู่กับกุ้งเค็ม ( ที่ออกรสหวานเค็ม ไม่ใช่รสเค็มอย่างเดียว) พลอยโพยมรู้สึกว่าปลาซิวตัวน้อยนี้อร่อย เพราะเนื้อปลาซิวจะถูกอาบอิ่มไปด้วยน้ำตาลผสมเกลือตอนต้มกุ้งเค็ม ซึ่งน้ำที่ต้มนี้ยังซึมเข้าไปในเนื้อกุ้งต้มได้ไม่อาบอิ่มเท่า
เมื่อสองสามปีมานี้ กุ้งหอย ปูปลา เติบโตไม่ทันกับประชากรมนุษย์ที่มากขึ้น สัตว์น้ำทุกชนิดมีน้อยลง ตัวเล็กลงเพราะถูกจับมาก่อนถึงวัยอันควร ลูกกุ้งลูกปลา ปลาเล็ก ปลาน้อย ลูกปลาเล็ก ลูกปลาน้อย ลูกกุ้ง หอยชนิดต่าง ๆ ปูชนิดต่าง ๆ ถูกจับมาหมด
ปลาซิวกลายเป็นปลาที่นำมาขายได้และมีผู้คนนิยมซื้อ เพราะกินได้ทั้งตัวเป็นการเสริมแร่ธาตุแคลเซี่ยม บางคนก็เอาปลาซิวมาทอดขายเป็นปลาซิวแก้ว (เรียกชื่อให้ไพเราะเชิญชวนคนซื้อให้ตัดสินใจซื้อมากิน)
ปลาซิวแก้วทอดก็กรอบอร่อยดีเพราะมีการชุบแป้งช่วยเล็กน้อย แต่ราคาขายฟังแล้วตกใจกับราคาว่าปลาที่เราเคยทิ้งขว้างหรือเอามาต้มให้น้องหมากินราคาแพงขนาดนั้น ก็ลองซื้อมาชิมดูเพราะอายคนขายว่าไม่กล้าซื้อมากิน เนื่องจากพลอยโพยมยังทำงานอยู่ในขณะนั้น และแม่ค้ารู้จักกันดี (พอวันนี้พลอยโพยมไม่มีหัวโขนสวม เวลาถามราคาสินค้าหลาย ๆ อย่าง ถ้ารู้สึกว่าราคาแพงเกินไป พลอยโพยมก็ไม่ซื้อสบายใจดี )
แล้วก็มีแม่ค้าเอาปลาซิวตัดหัวออกคัดตัวโตหน่อยมาใส่ถาดขายเคียงข้าง กุ้งและปลาอื่น ๆ ราคากิโลกรัมละ 120 บาท (ทั้งที่ปลาไม่สด แช่น้ำแข็ง) มีอยู่คราวหนึ่งได้ปลาที่ค่อนข้างสดไม่แช่น้ำแข็ง พลอยโพยมซื้อมาแต่ไม่ได้เอามาทอด กลับเอามาทำปลาซิวต้มเค็ม
ผลที่ได้คือเททิ้งให้น้องหมายุคใหม่ที่ต้องกินข้าวหุงหม้อไฟฟ้าแบบของคน โดยแยกหม้อหุงข้าวกันคนละหม้อ หม้อน้องหมา และหม้อคน น้องหมาหลาย ๆ ตัว ได้ส่วนแบ่งปลาซิวต้มเค็มกินกันถ้วนหน้า เพราะปลาซิวคาวแรงมาก หลับหูหลับตาอย่างไรก็กินไม่ได้ อาจเป็นเพราะปลาซิวตัวโตกว่าสมัยที่มีหลง ๆ ติดอยู่ในกุ้งเค็ม ตอนเราเด็ก ๆ และมี แค่ ไม่กี่ตัว หรือรู้สึกคาวเพราะไม่คุ้นลิ้น กับชีวิตที่ห่างกันเกือบห้าสิบปี และวัยที่สูงขึ้นทำให้รับรู้สัมผัสต่าง ๆ ทางลิ้นผิดไปจากเดิมตอนเป็นเด็ก ๆ
ถ้าจะว่าไม่มีฝีมือทำก็ยากที่พลอยโพยมจะยอมรับ เพราะเราก็กินกุ้งกินปลามาตลอด การต้มอาหารด้วยการใช้เนื้อสัตว์ ต้องใส่ในหม้อหรือกระทะขณะที่น้ำเดือดจัด เมื่อใส่เนื้อสัตว์ลงในน้ำเดือดจัดนั้นแล้วห้ามใช้ทัพพีหรือช้อนคนในหม้อจนกว่าเนื้อนั้นจะสุก จึงจะคนได้ในการปรุงรสชาติ ขนาดปลาตะเพียนต้มเค็มตัวใหญ่ ๆ ยังคาวน้อยกว่า น้องปลาซิวต้มเค็มในครั้งนั้น หรือเป็นเพราะปลาซิวเหล่านั้นเป็นปลาซิวในบ่อเลี้ยงปลาของเกษตรเลี้ยงปลา ไม่ใช่ปลาซิวหากินในแหล่งน้ำธรรมชาติ จึงมีกลิ่นคาวแรงจัดกว่าที่ควรเป็น
ส่งผลให้พลอยกินปลาซิวทอดกรอบ ไม่ได้ไปด้วยในขณะนี้
ปลาซิวชอบอยู่กันเป็นฝูง ๆ ในสมัยเด็กหากเอาหม้อชามรามไห ไปล้างที่หัวสะพานท่าน้ำตอนน้ำขึ้น ฝูงปลาซิว ปลาแขยง จะว่ายรี่เข้ามากินเศษอาหาร ฮุบกันสนุกสนาน ถ้าเป็นปลาซิว การฮุบกินเศษอาหารเสียงจะดังน้อยกว่าปลาแขยง หากเอาหม้อช้อนตักลงไปในฝูงปลาเหล่านี้ ก็จะได้ปลาติดมากับหม้อคราวละหลาย ๆ ตัว ก็สนุกดีไปอีกแบบ แต่ก็เพิ่มภาระว่าต้องล้างหม้อให้สะอาดจากเศษอาหารแล้ว ต้องล้างความคาวของปลาเหล่านี้ออกไปด้วย ในความรู้สึกปลาเหล่านี้น่าจะมีจ่าฝูงนำทาง จะว่ายไปทางโน้นทางนี้โดยมีผู้นำฝูง แต่ตัวหัวหน้าที่นำก็แยกไม่ออกว่าเป็นตัวไหน เพราะไม่มีสัญลักษณ์อะไรบอก เช่น ตัวใหญ่กว่าปลาตัวอื่น ๆ ก็ไม่ใช่ จะว่าว่ายนำมาโดดเด่นตัวเดียวข้างหน้าก็ไม่ใช่อีกเช่นกัน หรือว่าปลาพวกนี้มี เซนส์พิเศษอะไรในบางอย่างการอยู่รวมกันเป็นฝูง เคลื่อนที่ไปเป็นฝูง ๆ ยิ่งการว่ายน้ำแบบตีโค้งเข้ามายังที่หมายพลอยโพยมก็เคยพบเห็นมาแล้ว เอแล้วจะไปหาคำตอบจากใครดีกันละนี่ สื่อภาษาถามปลาก็ไม่ได้
ที่มาของข้อมูล
กรมประมง,วิกิพีเดีย ,เจ้าน้อยฟิชชิ่ง
อภินันท์ สุวรรณรักษ์,ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปลาซิวข้างขวาน
ปลาซิว เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
อันดับปลากินพืช มีหลายสกุลเช่น
สกุล Rasbora ที่มีลำตัวยาว ตัวใส
สกุล Danio, สกุล Esomus ที่มีหนวดยาวเห็นชัดเจน,
สกุล Chela ที่มีรูปร่างอ้วนป้อม โดยมากแล้วเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวไม่เกิน 5 เซนติเมตร หากินบริเวณผิวน้ำ
แต่ก็ยังมีหลายสกุล หลายชนิดที่กินเนื้อหรือกินลูกปลาเล็กเป็นอาหาร และมีขนาดลำตัวใหญ่กว่านั้น เช่น ซิวอ้าว (Luciosoma bleekeri) หรือ สะนาก (Raiamas guttatus) เป็นต้น
ปลาซิวข้างขวานเล็ก
ปลาซิว เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิด ในหลายสกุล
โดยปลาจำพวกปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 80 เซนติเมตร
นอกจากนี้แล้ว ปลาซิว ยังอาจจะเรียกรวมถึงปลาในวงศ์อื่นหรืออันดับอื่นได้อีกด้วยที่มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายเคียงกัน เช่น ซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) อันดับปลาหลังเขียว หรือ ปลานีออน (Paracheirodon innesi) ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) อันดับปลาคาราซิน เป็นต้น
อนึ่ง คำว่า ปลาซิวในนัยทางภาษาไทยใช้เปรียบเทียบกับคนขี้ขลาดหรือใจไม่สู้ ว่า ใจปลาซิว
อาจเป็นเพราะเป็นปลาขนาดเล็กตายง่าย ไม่สามารถทนอยู่ในสภาวะที่ขาดน้ำได้เป็นเวลานาน หรือไม่สามารถทนอยู่ได้ในสภาวะที่น้ำขาดออกซิเจนหรือในน้ำที่มีปริมาณของออกซิเจนน้อย
ปลาซิวหางแดง
ปลาซิวส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก มีลำตัวเพรียวยาว แบนข้างเล็กน้อยถึงแบนข้างมาก สันท้องกลม ส่วนหัวใหญ่ปลายแหลม จะงอยปากค่อนข้างแหลม ปากกว้างมุมปากเฉียง ตาอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัวไม่สามารถมองเห็นจากทางด้านล่าง ปากมีขนาดเล็ก เฉียง ขากรรไกรล่างจะยื่นออกมาเล็กน้อย บางครั้งริมฝีปากบนยื่นออกมาเล็กน้อย มีปมที่ปลายสุดของขากรรไกรล่างที่เรียกว่า symphyseal knob ไม่มีหนวด บางชนิดอาจมีหนวดขนาดเล็กบริเวณจะงอยปาก
พบได้ทั่วไปที่พบได้ทุกภาคของประเทศไทย จัดเป็นปลาในกลุ่ม Cyprinid ปลาในสกุลนี้จะมีรูปร่างลักษณะสีสันแถบสีที่คล้ายคลึงกันจึงยากที่จะแยกชนิดออกจากกันได้ชัดเจน อาจพบได้หลายสกุลในประเทศไทย
ถิ่นที่อยู่อาศัย ปลาซิวในสกุล Rasbora จะพบได้ในแหล่งน้ำจืดต่างๆ ได้แก่ พื้นที่ลุ่มขนาดเล็ก ลำธาร แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบขนาดเล็กและใหญ่ บ่อหนอง คลองบึง เป็นต้น ซึ่งจะพบได้ทั้งในแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำไหล
ปลาซิวหางแดง
เป็นปลาที่มีความสำคัญในห่วงโซ่อาหารในแหล่งน้ำ โดยจะเป็นอาหารของสิ่งที่มีชีวิตที่มีขนาดใหญ่กว่า และยังเป็นปลาที่กินแมลงน้ำเป็นอาหาร นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพราะมีแถบสีที่มีลักษณะสีสันสวยงามโดยเฉพาะเมื่ออยู่รวมกันเป็นฝูง
ในปัจจุบันมีการรวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อจำหน่ายเป็นปลาสวยงามทั้งในและต่างประเทศ ส่วนการเพาะเลี้ยงนั้นยังมีอยู่น้อย จึงนับว่าเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำอีกกลุ่มหนึ่ง
ปลาซิวเจ้าฟ้า
การแพร่กระจาย พบว่ามีการแพร่กระจายของ Rasbora บริเวณอินเดียตะวันตก พม่า ไทย มาเลเซีย กัมพูชา ลาว เวียดนาม เกาะสุมาตรา บาหลี ชวา ลอมบอร์ก ซุมบาวา ฟิลิปปินส์ตอนใต้และบอร์เนียว (ทรงพรรณ และคณะ, 2529)
ปลาซิวเจ้าฟ้า
ปลาซิวสกุล Rasbora ในประเทศไทยพบไม่น้อยกว่า 30 ชนิด
ซึ่งจากการรายงานของ Britten (1954) ที่พบในประเทศไทยทั้งหมดมี 12 ชนิด และจากการศึกษาของทรงพรรณ และคณะ (2529) พบว่ามีในประเทศไทยทั้งหมด 16 ชนิด หลายชนิดที่ถูกพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดย Kottelat (1984) พบ Rasbora hobelmani เป็นครั้งแรกบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำปิง และบางชนิดที่พบแต่ไม่เคยมีรายงานว่าพบในประเทศไทย ได้แก่ Rasbora agilis พบที่คลองโต๊ะแดง อ. สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ส่วน Rasbora daniconius labiosa พบที่ลุ่มน้ำตาปี จ. สุราษฎร์ธานี สำหรับปลาซิวในสกุล Rasbora ในประเทศไทยนั้นยังมีอีกหลายชนิดที่ไม่สามารถแยกชนิดได้ชัดเจน ซึ่งยังมีความสับสนอยู่มาก
ปลาซิวเจ้าฟ้ารัฐฉาน
อนึ่ง คำว่า ปลาซิวในนัยทางภาษาไทยใช้เปรียบเทียบกับคนขี้ขลาดหรือใจไม่สู้ ว่า ใจปลาซิว นอกจากนี้แล้วยังมักถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบคู่กับปลาสร้อยว่า ปลาซิว ปลาสร้อย หมายถึง สิ่งที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีความสำคัญนัก เพราะปลาทั้งสองจำพวกนี้เป็นปลาขนาดเล็ก พบได้ทั่วไป
ปลาซิวสอบวาเจ้าฟ้ารัฐฉาน
สอบวา (sawbwa = สอ - บวา) เป็นภาษาพม่า แปลว่า เจ้าฟ้า (saopha) ปลาที่ได้ชื่อว่าเจ้าฟ้ามักต้องเป็นปลาที่สวย เช่น ปลาซิวเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ (Amblypharyngodon chulabhornae) หรือปลาหมอแซงแซว (Neolamprologus brichardi) แห่งทะเลสาบทังกันยิกา ที่ได้รับสมญาว่า "เจ้าหญิงแห่งบูรุนดี"
แม้ว่าวงการปลาสวยงามทั่วไปจะเพิ่งรู้จักปลาซิวสอบวา ทว่าที่จริงมันถูกค้นพบนานเกือบร้อยปีแล้ว แหล่งอาศัยของปลาซิวชนิดนี้อยู่ในทะเลสาบอินเล ทางตอนล่างของรัฐฉาน ประเทศพม่า ทะเลสาบอินเลตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาหินปูน สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร อากาศหนาวเย็น ภูมิประเทศยังบริสุทธิ์ด้วยธรรมชาติของป่าดง พืชพรรณแน่นขนัด สัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ ถูกรบกวนจากมนุษย์น้อยมาก เนื่องจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
โดย พิชิต ไทยยืนวงษ์
ภาพข้างต้นจากอินเทอร์เนท
ที่มาของข้อมูล กรมประมง,วิกิพีเดีย ,เจ้าน้อยฟิชชิ่ง
อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ภาพปลาซิวดังกล่าวข้างบนนี้เป็นปลาซิวที่พลอยโพยมไม่เคยรู้จัก ได้พบบทความและภาพสวยงามมากจนเกินห้ามใจจึงนำมาเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวบางกรูดเลย
ปลาซิวที่มาเยือน...เกลื่อนธารา ที่บางกรูด คือ ปลาซิวควาย
ปลาซิวควาย
ชื่อสามัญ ซิวควาย
ชื่อสามัญ ซิวควายข้างเงิน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ SILVER RASBORA
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rasbora argyrotaenia
(กรมประมง )
ปลาซิวควาย (อังกฤษ: Silver rasbora, Yellowtail rasbora)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora tornieri
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
ชื่อพ้องRasbora argyrotaenia
(วิกิพีเดีย )
ลักษณะทั่วไป
มีรูปร่างยาวทางกระบอก แบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กไม่มีหนวด ตาโต ครีบเล็ก ครีบหางเว้าลึก มีเกล็ดใหญ่ ตัวมีสีเหลืองอ่อนอมทอง มีแถบสีเงินพาดตามความยาวกลางลำตัวจนถึงโคนหาง ครีบสีเหลืองอ่อนมีขอบสีคล้ำ
ขนาดความยาวประมาณ 5-17 ซ.ม.
เป็นปลาผิวน้ำ ชอบรวมกลุ่มอยู่กันเป็นฝูง ลำตัวยาวเรียว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวว่องไว ด้านข้างของลำตัวจะมีแถบสีเงิน และมีสีเหลืองสดอมส้มพาดคู่ขนานไปกับแถบสีเงินตามความยาวลำตัว แถบสีเงินของปลาซิวชนิดนี้จะส่งประกายสดใส เมื่อถูกแสงไฟหรือแสงแดด เนื่องจากมีขนาดใหญ่กว่าปลาซิวชนิดอื่น จึงเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า "ปลาซิวควาย"
อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำไหล แพร่กระจายทั่วอยู่ทุกภาคของประเทศไทย พบเห็นได้ทั่วไป
รวมถึงลำธารในที่สูงบางแห่ง พบในภาคใต้ ภาคกลาง ถึงแม่น้ำโขง มีพฤติกรรมชอบตอมตะไคร่หรือสาหร่ายบริเวณใต้แพหรือท่าน้ำ อาหารได้แก่ พืชน้ำ ลูกน้ำ ตัวอ่อนของแมลง และแมลงน้ำ รวมทั้งแมลงที่บินอยู่ตามผิวน้ำขนาดเล็ก
ปลาซิวควาย
ภาพจากกรมประมง
โดยที่ ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ได้รายงานว่า เป็นปลาทีมีขนาดใหญ่ที่สุดในจำพวกปลาซิวที่พบได้ในประเทศไทย พบชุกชุมในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ถูกจับได้คราวละมาก ๆ ชาวชนบทนิยมใช้เป็นอาหารรับประทานกัน
เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภคโดยปรุงสด ทำปลาร้าหรือปลาแห้ง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
ภาพนี้เป็นภาพปลาซิว สามตัว ยังมีชีวิตอยู่ ที่พลอยโพยมได้มาจากเรือ เท้าวเป๊ะ หรือ เรือสำเป๊ะ หรือเรือเช้าเป๊ะ คือเรือผีหลอกในเช้าวันหนึ่ง พร้อมปลาอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียนขาว ปลากระแห ปลากะพง ปลาหางกิ่ว ปลาแปบ ปลากระทุงเหว ฯ ชนิดละไม่มากตัว
เมื่อมาถึงบ้าน ก็เตรียมการและถ่ายภาพปลาที่ซื้อมาและตายไปแล้วตอนที่ซื้อมา คิดว่าปลาที่อยู่ในน้ำคงยังไม่เป็นไร พอถึงคราวจะถ่ายภาพปลาซิว พบว่าปลาซิวเป็น ๆ สามตัวนั้นเหลือที่ยังมีชีวิต แค่ตัวเดียว ก็จับมาเรียงกับตัวที่ตายแล้ว
ไม่นานนัก ปลาซิวตัวที่ยังหายใจผะแผ่ว ๆ ก็ตายไปเป็นตัวสุดท้าย ด้วยระยะเวลาที่ไม่กี่นาทีทั้ง ๆ ที่มีน้ำแฉะ ๆ รองให้ที่ใบตอง แต่ปลาซิวอาจตกใจที่ถูกมือคนมาถูกตัวและจับวางบนใบตอง มีเสียงกล้อง ดัง หลาย ๆ ครั้ง ปลาซิวตัวสุดท้ายก็เลยตายตามเพื่อนฝูงปลาซิวไปด้วยกัน
ปลาซิว หมดลมหายใจทอดกายบนใบตอง
ยังพอมองเห็นปลาซิวสองตัวข้างบนมีดวงตาที่สดใสแวววาวอยู่ เพราะเพิ่งตายใหม่ ๆ ผิดกับสามตัวล่างที่ดวงตาขุ่นมัวไม่มีแววเสียแล้ว ชั่วเวลาไม่นานปลาซิวเป็น ๆ สามตัวก็ตายหมดเลยไม่เหลือ
ปลาซิวเป็นที่นิยมนำมาเลี้ยงใส่ตู้ปลา กลายเป็นปลาสวยงามประดับตู้ปลา ภาพปลาซิวนี้พลอยโพยมยังใช้กล้องไม่รู้จักเมนูของกล้องที่เลือกถ่ายภาพของสัตว์น้ำได้ และสถานที่ตั้งตู้ปลาก็เป็นลักษณะที่จะมีเงาอื่นสะท้อน เมื่อรู้จักการใช้กล้องดีขึ้นก็ไม่มีปลาซิวให้ถ่ายภาพได้ใหม่ในภาพชุดที่สอง ส่วนปลาซิวชุดที่หนึ่งนั้นในขณะถ่ายภาพอยู่ ปลาซิวในตู้ปลาพากันแตกตื่นแหวกว่ายด้วยลักษณะตระหนกตกใจอกสั่นขวัญหาย พลอยโพยมก็เกรงว่าถ้ามีปลาซิวเป็นโรคหัวใจอยู่รวมในตู้ปลา เกิดหัวใจปลาซิววายไป ปลาซิวตัวอื่น ๆ จะ พลอยตายไปด้วยไหม ก็เกรงใจเจ้าของปลาไม่กล้าไปถ่ายภาพซ้ำอีก
ในสมัยเด็ก ๆ ปลาซิวนี้จะพลอยติดมาใน สวิง แห อวน ทุกครั้งที่เราออกไปหาจับกุ้ง จับปลา ด้วยวิธีที่หลากหลายดังได้กล่าวมาแล้วของวิถีชาวน้ำปกติธรรมดา แต่จะถูกคัดออกทิ้งลงน้ำไปหมดที่ยังเป็นปลาซิว เป็น ๆ แต่บางครั้งจำนวนปลาซิวหลงพลอยฟ้าพลอยฝนติดมากับสัตว์น้ำอื่น ๆ ทั้งตัวใหญ่ ตัวเล็กตัวน้อย ค่อนข้างมาก เราก็จะเอาไปต้มให้น้องหมาชื่อ "ดอกรัก" และ น้องหมาชื่ออื่น ๆ ในรุ่นถัดมากินกับน้ำข้าว ( สมัยนั้นน้องหมาได้กินน้ำข้าวข้น ๆ เพราะการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ ไม่มีไฟฟ้าใช้ และที่บ้านไม่ใช้วิธีการนึ่งข้าวกินกันในบ้าน)
แต่ในบางครั้ง ลูกปลาซิวตัวเล็ก ๆ นี้ หลงติดอยู่กับกุ้งเค็ม ( ที่ออกรสหวานเค็ม ไม่ใช่รสเค็มอย่างเดียว) พลอยโพยมรู้สึกว่าปลาซิวตัวน้อยนี้อร่อย เพราะเนื้อปลาซิวจะถูกอาบอิ่มไปด้วยน้ำตาลผสมเกลือตอนต้มกุ้งเค็ม ซึ่งน้ำที่ต้มนี้ยังซึมเข้าไปในเนื้อกุ้งต้มได้ไม่อาบอิ่มเท่า
เมื่อสองสามปีมานี้ กุ้งหอย ปูปลา เติบโตไม่ทันกับประชากรมนุษย์ที่มากขึ้น สัตว์น้ำทุกชนิดมีน้อยลง ตัวเล็กลงเพราะถูกจับมาก่อนถึงวัยอันควร ลูกกุ้งลูกปลา ปลาเล็ก ปลาน้อย ลูกปลาเล็ก ลูกปลาน้อย ลูกกุ้ง หอยชนิดต่าง ๆ ปูชนิดต่าง ๆ ถูกจับมาหมด
ปลาซิวกลายเป็นปลาที่นำมาขายได้และมีผู้คนนิยมซื้อ เพราะกินได้ทั้งตัวเป็นการเสริมแร่ธาตุแคลเซี่ยม บางคนก็เอาปลาซิวมาทอดขายเป็นปลาซิวแก้ว (เรียกชื่อให้ไพเราะเชิญชวนคนซื้อให้ตัดสินใจซื้อมากิน)
ปลาซิวแก้วทอดก็กรอบอร่อยดีเพราะมีการชุบแป้งช่วยเล็กน้อย แต่ราคาขายฟังแล้วตกใจกับราคาว่าปลาที่เราเคยทิ้งขว้างหรือเอามาต้มให้น้องหมากินราคาแพงขนาดนั้น ก็ลองซื้อมาชิมดูเพราะอายคนขายว่าไม่กล้าซื้อมากิน เนื่องจากพลอยโพยมยังทำงานอยู่ในขณะนั้น และแม่ค้ารู้จักกันดี (พอวันนี้พลอยโพยมไม่มีหัวโขนสวม เวลาถามราคาสินค้าหลาย ๆ อย่าง ถ้ารู้สึกว่าราคาแพงเกินไป พลอยโพยมก็ไม่ซื้อสบายใจดี )
แล้วก็มีแม่ค้าเอาปลาซิวตัดหัวออกคัดตัวโตหน่อยมาใส่ถาดขายเคียงข้าง กุ้งและปลาอื่น ๆ ราคากิโลกรัมละ 120 บาท (ทั้งที่ปลาไม่สด แช่น้ำแข็ง) มีอยู่คราวหนึ่งได้ปลาที่ค่อนข้างสดไม่แช่น้ำแข็ง พลอยโพยมซื้อมาแต่ไม่ได้เอามาทอด กลับเอามาทำปลาซิวต้มเค็ม
ผลที่ได้คือเททิ้งให้น้องหมายุคใหม่ที่ต้องกินข้าวหุงหม้อไฟฟ้าแบบของคน โดยแยกหม้อหุงข้าวกันคนละหม้อ หม้อน้องหมา และหม้อคน น้องหมาหลาย ๆ ตัว ได้ส่วนแบ่งปลาซิวต้มเค็มกินกันถ้วนหน้า เพราะปลาซิวคาวแรงมาก หลับหูหลับตาอย่างไรก็กินไม่ได้ อาจเป็นเพราะปลาซิวตัวโตกว่าสมัยที่มีหลง ๆ ติดอยู่ในกุ้งเค็ม ตอนเราเด็ก ๆ และมี แค่ ไม่กี่ตัว หรือรู้สึกคาวเพราะไม่คุ้นลิ้น กับชีวิตที่ห่างกันเกือบห้าสิบปี และวัยที่สูงขึ้นทำให้รับรู้สัมผัสต่าง ๆ ทางลิ้นผิดไปจากเดิมตอนเป็นเด็ก ๆ
ถ้าจะว่าไม่มีฝีมือทำก็ยากที่พลอยโพยมจะยอมรับ เพราะเราก็กินกุ้งกินปลามาตลอด การต้มอาหารด้วยการใช้เนื้อสัตว์ ต้องใส่ในหม้อหรือกระทะขณะที่น้ำเดือดจัด เมื่อใส่เนื้อสัตว์ลงในน้ำเดือดจัดนั้นแล้วห้ามใช้ทัพพีหรือช้อนคนในหม้อจนกว่าเนื้อนั้นจะสุก จึงจะคนได้ในการปรุงรสชาติ ขนาดปลาตะเพียนต้มเค็มตัวใหญ่ ๆ ยังคาวน้อยกว่า น้องปลาซิวต้มเค็มในครั้งนั้น หรือเป็นเพราะปลาซิวเหล่านั้นเป็นปลาซิวในบ่อเลี้ยงปลาของเกษตรเลี้ยงปลา ไม่ใช่ปลาซิวหากินในแหล่งน้ำธรรมชาติ จึงมีกลิ่นคาวแรงจัดกว่าที่ควรเป็น
ส่งผลให้พลอยกินปลาซิวทอดกรอบ ไม่ได้ไปด้วยในขณะนี้
ปลาซิวชอบอยู่กันเป็นฝูง ๆ ในสมัยเด็กหากเอาหม้อชามรามไห ไปล้างที่หัวสะพานท่าน้ำตอนน้ำขึ้น ฝูงปลาซิว ปลาแขยง จะว่ายรี่เข้ามากินเศษอาหาร ฮุบกันสนุกสนาน ถ้าเป็นปลาซิว การฮุบกินเศษอาหารเสียงจะดังน้อยกว่าปลาแขยง หากเอาหม้อช้อนตักลงไปในฝูงปลาเหล่านี้ ก็จะได้ปลาติดมากับหม้อคราวละหลาย ๆ ตัว ก็สนุกดีไปอีกแบบ แต่ก็เพิ่มภาระว่าต้องล้างหม้อให้สะอาดจากเศษอาหารแล้ว ต้องล้างความคาวของปลาเหล่านี้ออกไปด้วย ในความรู้สึกปลาเหล่านี้น่าจะมีจ่าฝูงนำทาง จะว่ายไปทางโน้นทางนี้โดยมีผู้นำฝูง แต่ตัวหัวหน้าที่นำก็แยกไม่ออกว่าเป็นตัวไหน เพราะไม่มีสัญลักษณ์อะไรบอก เช่น ตัวใหญ่กว่าปลาตัวอื่น ๆ ก็ไม่ใช่ จะว่าว่ายนำมาโดดเด่นตัวเดียวข้างหน้าก็ไม่ใช่อีกเช่นกัน หรือว่าปลาพวกนี้มี เซนส์พิเศษอะไรในบางอย่างการอยู่รวมกันเป็นฝูง เคลื่อนที่ไปเป็นฝูง ๆ ยิ่งการว่ายน้ำแบบตีโค้งเข้ามายังที่หมายพลอยโพยมก็เคยพบเห็นมาแล้ว เอแล้วจะไปหาคำตอบจากใครดีกันละนี่ สื่อภาษาถามปลาก็ไม่ได้
ที่มาของข้อมูล
กรมประมง,วิกิพีเดีย ,เจ้าน้อยฟิชชิ่ง
อภินันท์ สุวรรณรักษ์,ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)