วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

[บทความ]เรือล่อง...ในท้องน้ำ

เรือล่อง...ในท้องน้ำ



เรือผีหลอก

เรือผีหลอก ที่บางกรูดเรียกเรือลำนี้ว่าเรือสำเป๊ะ เรือเช้าเป๊ะ
รูปร่างเพรียวกว้างประมาณ 50-60 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 วา 2 ศอก(ประมาณ 9 เมตร ) หัวเรือเรียวเล็ก ท้องเรือแบนราบจึงแล่นในน้ำตื้นได้สะดวก คล่องตัวในการแจวหรือพายทวนน้ำ พื้นตอนท้ายเรือใช้ไม้กรุปิดและเปิดได้ยาว 1 เมตร สำหรับให้คนยืนแจวเรือ พายเรือ ภายในมีที่ว่างสำหรับขังปลาขนาดใหญ่ที่จับได้ ตลอดลำเรือมีกงขึ้นห่างเป็นช่วง ๆ ท้องเรือปล่อยโล่งไม่มีไม้ปิดแต่ใช้ทางมะพร้าวตัดปลายใบเล็กน้อยป้องกันมิให้ปลาที่กระโดดเข้ามาหนีออกไปได้



เรือพายม้า

เป็นเรือขุดเสริม จากซุงไม้สักหรือไม้ตะเคียน เป็นเรือท้องกลม หัว ท้ายเชิด ทางหัวจะยาวและต่ำกว่าทางท้ายเรือเล็กน้อย ข้างเรือจะเสริมกราบให้สูงขึ้นด้วยไม้เพียงแผ่นเดียว มีขนาดกว้าง 3-5 นิ้ว มีกงตั้ง มีไม้หูกระต่ายติดขวางอยู่ที่หัวเรือและท้ายเรือ เพื่อรับกับกราบเรือ และเพื่อเสริมกราบเรือให้สูงขึ้น ตรงกลางลำป่องออก หัว ท้าย ปูแคร่เกือบเสมอกับปากเรือ ส่วนกลางลำปกติใช้บรรทุกสิ่งของ เรือพายม้าขนาดใหญ่จะมีขยาบหรือประทุนอยู่ตอนท้าย สำหรับพักอาศัย ใช้แจวในการเคลื่อนที่เรือ

บางทีอาจเรียกว่า เรือไพม้า หรือพลายม้า เผ่นม้า แพม้า พะม้า
สมเด็จเจ้าฟ้ากำรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ฯ ทรงสันนิษฐานว่า คงได้รับแบบอย่างมาจากพม่า เพราะรูปร่างเหมือนเรือขุดขนาดเล็กของพม่าและชื่อเรือพายม้า คงเพี้ยนมาจากชื่อเดิมคือเรือพม่า



เรือพายม้า




เรือมาดสำหรับแข่งขัน



เรือมาด

ขุดด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น สัก ตะเคียน ลักษณะ หัว ท้าย รี ท้องกลม รูปร่างคล้ายเรือพายม้า แต่หัวท้ายเรือแบนกว้างกว่า ไม่เสริมกราบแต่มีขอบทาบปากเรือภายนอก เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของปากเรือ กลางลำกว้างเสริมกง เป็นระยะ หัวท้ายเรือมีแอกสั้นๆ ไม่ยื่นมากไว้ผูกโยงเรือ และแอกเหยียบขึ้นลงเรือ มีหลายขนาด ขนาดเล็กใช้พาย ขนาดใหญ่นิยมแจวมากกว่าพาย ใช้บรรทุกของหนัก ถ้าเดินทางไกลก็มีประทุนปูพื้นกลางลำเรือ จะเรียกว่าเรือมาดประทุน หากมีเก๋งกลางลำเรือจะเรียกเรือมาดเก๋ง สามารถทำประทุนและปูพื้นใช้ อยู่อาศัยแทนบ้านเรือนได้



เรือมาด (ภาพนี้จะเห็นได้ชัดของการเป็นเรือขุด)






เรือยาว

เป็นเรือขุดมีหลักการมากกว่าเรืออื่น เรือยาวเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ใช้ตามงานประเพณี ขุดจากไม้ต้นเดียวตลอดลำ จากไม้ตะเคียนได้แก่ ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนหนู ตะเคียนหยวก ตะเคียนดง ตะเคียนไพร หัวเรือเรียกโขนเรือ ท้ายเรือเรียกหางเรือ เรือพุ่งน้ำด้วยดี แช่น้ำได้นาน เมื่อขุดเป็นเรือ ถ้ารักษาดีดี ทนทานนับร้อยปี การขุดเรือต้องทำตามบริเวณวัด





เรือยาวที่วัดบางแตน




เรือยาวที่วัดบางแตน



เรือพระบิณฑบาตวัดเทพราช












เรือพระบิณฑบาตวัดเทพราช




เรือพระบิณฑบาตวัดบางกรูด




เรือพระบิณฑบาตที่วัดบางแตน


เรือลำนี้ถือว่าเป็นลำเอกของวัด เคยใช้พายล่องในลำน้ำบางปะกง
วัดบางแตนนี้อยู่ฝั่งอำเภอบ้านสร้างจังหวัดปราจีนบุรี แต่อีกฝั่งของลำน้ำคือตำบลบางขนากอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา





เรือพระบิณฑบาตที่วัดบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี


เพิ่มเติม



เรือพระบิณฑบาตที่วัดหนามแดง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น