วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

[บทความ] ภาพเรือ... วันเมื่อวาน

ภาพเรือ... วันเมื่อวาน

เริอที่เคยใช้สัญจรทางน้ำในอดีต เรือเหล่านี้เคยลอยลำขวักไชว่ในลำน้ำบางปะกง




เรือมาด (ประเภทเรือขุด)



เรือมาด



เรือยนตร์ (ประเภทเรือต่อ)

เป็นเรือที่ใช้เครื่องยนตร์ในการขับเคลื่อน มีพวงมาลัยบังคับเรือ เป็นเรือที่คหบดีชาวน้ำนิยมมีไว้ใช้ส่วนตัวเวลาไปทำธุระต่าง ๆ ส่วนใหญ่ เป็นเรือชั้นเดียว ไม่เป็นสองชั้นดังในภาพ



เรือยาว (ประเภทเรือขุด)




เรือยาว



เรือสำปั้น (ประเภทเรือต่อ)


เป็นเรือต่อโดยใช้กระดาน ๓ แผ่น มาต่อประกบกันเข้าเป็นเรือ แผ่นหนึ่งเป็นท้องเรือ แล้วเสริมต่อข้างละแผ่น ภาษาแต้จิ๋วเรียกซำปั้ง แปลว่า กระดานสามแผ่น ชาวมลายูเรียกเรือสามป้าน เรือสามป้านมีออกชื่อในสมัยกรุงธนบุรี ในหมายรับสั่ง เมื่อคราวรับพระแก้วมรกตว่า “ พวกละคร โขน งิ้ว ลงเรือแสดงในเรือสามป้าน”



เรือสำปั้น


เรือสำปั้นในสมัยกรุงธนบุรี จะมีขนาดใหญ่ จึงสามารถบรรทุก โขน ละคร งิ้ว ลงไปแสดงได้ ต่อมาช่างไทย เห็นว่าเรือ สำปั้นจีนไม้ฉำฉาไม่งดงามไม่น่าดู จึงดัดแปลงแก้ไข ให้มีรูปร่าง เพรียวกะทัดรัดขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญในการต่อเรือ คือสมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุญนาค) ครั้งยังเป็น พระยาสุริยวงศ์มนตรี จางวางมหาดเล็ก โดยขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น และมีรูปร่างคล้ายเรือมาดมีขนาดยาวประมาณ 7-8 ศอก เรือชนิดนี้เดิม มีไว้ใช้ในราชการและเรียกชื่อว่า เรือสำปั้นตลอดมา




เรือหางยาว (ประเภทเรือต่อ)


เป็นเรือยนตร์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเพรียวยาว ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่ท้ายเรือ มีท่อโลหะยาวคล้ายหางติดใบจักร ใช้แทนหางเสือไปในตัว และยกขึ้นลง โยกไปทางซ้าย ทางขวา เพื่อเปลี่ยนทิศทางได้




เรืิออีโปง (ประเภทเรือขุด)



เรือโปง ลุ่มโปง พิเศษกว่าเรือขุดอื่นๆ เพราะทำจากต้นตาลผ่าซีกเป็น ๒ ซีกใช้แกลบสุมไว้จนเหลือแต่เปลือกนอก แล้วเลื่อยกระดานปิดท้ายยาด้วยชัน พายในบริเวณน้ำตื้น หรือระหว่างบ้านใกล้เรือนเคียง บรรทุกของหนักไม่ได้ อายุการใช้งานสั้น ถือเป็นเรือพื้นบ้านอย่างแท้จริง และก็พบ ว่ามีเรือโปงไม้สักบ้าง



เรืออีโปงขุดจากต้นตาล




เรือเอี้ยมจุ๊น (ประเภทเรือต่อ)


เป็นเรือขนาดใหญ่ นิยมต่อด้วยไม้เคี่ยม ท้องเรือเรียวแหลมเล็กน้อย หัวและท้ายเรือจะเป็นทวนไม้ตั้งขึ้นแข็งๆ เรียกว่าทวนตั้ง ไม่อ่อนโค้ง เหมือนทวนเรือกระแซง ระดับเรือจากหัวถึงท้าย เกือบจะอยู่ในระดับเดียวกัน หางเสือเป็นประเภทที่ใช้คล้องติดกับหลักท้ายเรือ ไม่เหมือนหางเสือเรือกระแซง ที่เกี่ยวติดกับท้ายเรือ ท้ายเรือมีขยาบเป็นหลังคา สำหรับเป็นที่พักและนั่งถือหางเสือ
เรือเอี้ยมจุ๊น ในภาษาแต้จิ๋ว ออกเสียงว่า เอี้ยมจุ๊น แปลว่าเรือเกลือ เคยบรรทุกเกลือมาก่อน อีกทั้งเจ้าของเรือ ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน นิยมใช้บรรทุกสินค้าขนาดหนักอย่างกว้างขวาง บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง เคลื่อนที่โดยการลากจูงด้วยเรือยนต์




เรือเอี้ยมจุ๊น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น