วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

[บทความ]มัศยา ..ปลากระทุงเหว

มัศยา....ปลากระทุงเหว



ชื่อไทย ปลากระทุงเหว ปลาเข็มแม่น้ำ ปลากะทุงเหวเมือง
ชื่อสามัญ Round - tail garfish , Freshwater garfish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Xenentodon cancila (Buchanan)
อยู่ในวงศ์ปลากระทุงเหว (Belonidae)

ปลากระทุงเหวเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลาเข็ม

นับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Xenentodon



ลักษณะทั่วไป รูปร่างยาวเรียวทรงกระบอกคล้ายเข็ม ลำตัวค่อยข้างกลมรูปไข่ ท้องแบน จะงอยปากยื่นยาว แหลมแบบปากนก ปากบนและล่างมีฟันแหลมคมซี่เล็ก ๆ เรียงเป็นแถว จะงอยปากตอนปลายมีสีแดงเป็นแต้ม

ครีบอกใหญ่และแหลมใช้สำหรับกระโดดพ้นจากผิวน้ำเพื่อหลบหลีกศัตรูและไล่จับอาหาร ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหางซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามกันเกือบจะเป็นเส้นตรง มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ประมาณส่วนที่ 4 ของความยาวลำตัวจากส่วนหัวไปยังส่วนหาง ไม่มีสันแข็งที่คอดหาง ครีบหางตัดตรงเว้าเล็กน้อย บางและเห็นได้ชัดเนื่องจากมีลักษณะเป็นสันแข็ง ตรงส่วนท้ายมีเกล็ดแบบโค้งมนปลายแหลม (ctenoid) เรียงซ้อนทับกันเป็นระเบียบ คล้ายการปูกระเบื้องหลังคาโบสถ์ ในตัวผู้มีส่วนหลังยกสูงที่บริเวณต่อจากท้ายทอยและเป็นสันมีสีแดง กระดูกแก้มไม่มีเกล็ด เส้นข้างตัวไม่เป็นสัน

ลำตัวมีสีเหลืองอ่อนหรือขุ่น ด้านบนมีสีเขียวอ่อน ด้านข้างลำตัวมีสีเงินและมีแถบสีคล้ำพาดขวางตามแนวยาวถึงโคนหาง ครีบใส ด้านท้องและด้านข้างของลำตัวสีบรอนซ์เงิน ตรงกึ่งกลางของฐานครีบหางจะมีจุดสีดำหนึ่งจุด



ถิ่นอาศัย-อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ตามผิวน้ำพบในแหล่งน้ำไหลทั่วทุกภาค พบบ้างในหนองและบึงที่มีทางน้ำติดกับแม่น้ำ
การแพร่กระจาย เป็นปลาที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนในเกือบทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีน้ำไหลสม่ำเสมอ ในทวีปเอเชียพบในประเทศไทย อินเดีย พม่า กัมพูชา มาเลเซีย เกาะสุมาตรา บอร์เนียว และสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังพบในแหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิอบอุ่นเกือบตลอดปีของประเทศสหรัฐอเมริกา

สำหรับประเทศไทยจะพบได้ทั่ว ๆ ไปในแถบปากน้ำสมุทรปราการ แม่น้ำแม่กลอง ท่าจีน ท่าฉลอม รวมถึงแหล่งน้ำต่าง ๆ ในภาคตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี รวมทั้งในเขตภาคใต้ เช่น ในทะเลสาบสงขลา แม่น้ำตาปี จังหวัด สุราษฎร์ธานี
สำหรับในแหล่งน้ำจืดพบได้ทั่วไปในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสาขาตั้งแต่ภาคเหนือจนมาถึงภาคกลางในหลาย ๆ จังหวัด



ปลากระทุงเหว
การสืบพันธุ์ โดยการนำแม่พันธุ์ปลากะทุงเหวมาปล่อยในบ่อซีเมนต์ ปล่อยให้ผสมพันธุ์ มีวัสดุวางไข่ลักษณะไข่จะเป็นไข่จม สีเหลืองเข้ม ที่ผิวเปลือกไข่มีเส้นใยเล็ก ๆ จำนวนมาก หรือผสมพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ (Controled natural method)


อาหารธรรมชาติ -อาหารของปลากะทุงเหวในธรรมชาติ จะหากินด้วยการจับปลาขนาดเล็กหรือลูกปลาซึ่งมักจะว่ายเข้ามาเลี้ยงตัวในบริเวณใกล้ชายฝั่ง หรือที่มีน้ำค่อนข้างตื้น สำหรับในเขตน้ำจืดมักจะกินพวกลูกกุ้งหรือแมลงบางชนิด

ขนาด -มีความยาวประมาณ 10 - 25 เซนติเมตร จากการรายงานของ Smith (1945) ขนาดใหญ่ที่สุดที่พบความยาว 32 เซนติเมตร



ปลากระทุงเหวอ้าปาก

ขนาด -มีความยาวประมาณ 10 - 25 เซนติเมตร จากการรายงานของ Smith (1945) ขนาดใหญ่ที่สุดที่พบความยาว 32 เซนติเมตร


นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และใช้บริโภคเป็นอาหาร แม้เนื้อปลาจะมีกลิ่นเหม็นเขียวก็นำมาใส่เกลือตากแห้งรับประทานได้ มีการเพาะเลี้ยงกันในบางพื้นที่ และนิยมตกเป็นเกมกีฬา
มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเข็มแม่น้ำ" เป็นต้น


http://www.bestfish4u.com/Freshwater-fish.php

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง


ปลากระทุงเหวในเรือผีหลอก

ปลากระทุงเหวเมื่อมาอยู่ใกล้กับปลาบึก ก็เป็นปลาที่มีขนาดห่างไกลกันราวกับอยู่คนละขั้วโลกเลยทีเดียว เห็นภาพปลากระทุงเหวแล้วก็ยังนึกไม่ออกว่า ทำไมปากปลากระทุงเหวต้องยาวขนาดนี้ด้วย ที่บางกรูดเวลาเราจะพูดเปรียบเทียบถึงคนที่หน้าตาไม่ค่อยดีนักว่าหน้าตาเหมือนปลากระทุงเหว หรือเปรียบเทียบกับปลาอีกชนิดคือปลาจวด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น