วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

[บทความ ] ความเชื่่อ.. เกี่ยวพันวันสงกรานต์

ความเชื่่อ.. เกี่ยวพันวันสงกรานต์






นางสงกรานต์มีท่าที่ในการขี่พาหนะที่แตกต่างกัน ๔ ท่า โดยกำหนดเวลาเอาเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษเป็นเกณฑ์คือ

๑. ถ้าพระอาทิตย์ยกในระหว่างเวลารุ่งเช้า จนถึงเที่ยง นางสงกรานต์ยืนบนพาหนะ
๒.ถ้าพระอาทิตย์ยกในระหว่างเที่ยงจนถึงค่ำ นางสงกรานต์นั่งบนพาหนะ
๓.ถ้าพระอาทิตย์ยกในระหว่างค้ำไปจนถึงเที่ยงคืน นางสงกรานต์นอนลืมตาบนพาหนะ
๔.ถ้าพพระอาทิตย์ยกในระหว่างเวลาเที่ยงคืนไปจนถึงรุ่งเช้า นางสงกรานต์นอนหลับตาบนพาหนะ

ความเชื่อเกี่ยวกับอิริยาบทของนางสงกรานต์ จากปฎิทิน ๑๐๐ ปี ของ ส วรศิลป์ และตำราพรหมชาติของเก่า มีดังนี้
๑ ถ้านางสงกรานต์ยืนมา จะเกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้
๒.ถ้านางสงกรานต์นั่งมา จะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตาย เกิดเหตุเภทภัยต่าง ๆ
๓.ถ้านางสงกรานต์นอนลืมตา ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข
๔.ถ้านางสงกรานต์นอนหลับตา พระมหากษัตริย์เจริญรุ่งเรืองดี







นาคให้น้ำ
เป็นความเชื่อของชาวนาในครั้งโบราณสนใจกันมาก เพราะน้ำมีความสำคัญต่อการทำนา เมื่อฝนไม่ตกน้ำไม่มีก็ทำนาไม่ได้
ถ้าฝนตกมากน้ำท่วมนาข้าวก็เสียหาย เมื่อมีการประกาศสงกรานต์ จึงต้องแจ้งเรื่องน้ำไว้ด้วย
การให้น้ำของนาค ตั้งแต่ครั้งโบราณมีความเชื่อตาม ปี สิบสองนักษัตร ดังนี้

ปีชวด นาคราชให้น้ำ ๓ ตัว หมายความว่า ฝนแรกน้อย กลางปีงาม ปลายปีน้ำมาก
ปีฉลู นาคราชให้น้ำ ๕ ตัว หมายความว่า ฝนต้น กลาง ปลาย เสมอกัน
ปีขาล นาคราชให้น้ำ ๓ ตัว หมายความว่า ฝนแiกงาม กลางปีน้อย ปลายปีมาก
ปีเถาะ นาคราชให้น้ำ ๒ ตัว หมายความว่า ฝนแรกงาม กลางปีงาม ปลายปีงาม
ปีมะโรง นาคราชให้น้ำ ๓ ตัว หมายความว่า ฝนแรกงาม กลางปีงาม ปลายปีน้อย
ปีมะเส็ง นาคาราชให้น้ำ ๓ ตัว หมายความว่า ฝนแรกงาม กลางปีงาม ปลายปีน้อย
ปีมะเมีย นาคราชให้น้ำ ๕ ตัว หมายความว่า ฝนแรกงาม กลางปีงาม ปลายปีงาม
ปีมะแม นาคราชให้น้ำ ๓ ตัว หมายความว่า ฝนต้น กลาง ปลาย เสมอกัน
ปีวอก นาคราชให้น้ำ ๒ ตัว หมายความว่า ฝนแรกน้อย กลางปีงาม ปลาบปีมาก
ปีระกา นาคราชให้น้ำ ๔ ตัว หมายความว่า ฝนแรกน้อย กลางปีงาม ปลายปีมาก
ปีจอ นาคราชให้น้ำ ๗ ตัว หมายความว่า ฝนแรกน้อย กลางปีงาม ปลายปีมาก
ปีกุน นาคราชให้น้ำ ๕ ตัว หมายความว่า ฝนแรกงาม กลางปีน้อย ปลายปีมาก

ประกาศสงกรานต์ ในสมัยโบราณหาดูได้ยากเพราะไม่มีการพิมพ์ประกาศสงกรานต์ในปฏิทิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เขียนรูปนางสงกรานต์ปิดไว้ที่ประตูพระบรมมหาราชวัง

ในสมัยพลอยโพยมเด็ก ๆ จะพบเห็นหนังสือประกาศสงกรานต์ พิมพ์เป็นหนังสือเล่ม เล็ก เล็ก ขนาดหนังสือสวดมนต์เท่านั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น