วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๕

พุทธคยา ๕


๔. พระแท่นวัชรอาสน์




พระแท่นวัชรอาสน์


วััชรอาสน์หรือบัลลังก์เพชร

เป็นแท่นหินสี่เหลี่ยมสลักเสลาลวดลายศิลปกรรมเป็นแบบฉบับที่ดีเลิศ อันพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างขึ้นไว้ ณ รัตนบัลลังก์ ที่พระพุทธองค์ประทับตรัสรู้ใต้ควงไม้โพธิ์ เพื่อเป็นเครื่องสักการะะบูชาตรงที่พระมหาบุรุษได้ทรงประทับนั่งบำเพ็ญเพียรจนได้ตรัสรู้
พระแท่นนี้ เพื่อเป็นที่รองรับเครื่องสักการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่แต่ละครั้งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังเป็นจำนวนมากมาย
การที่ทรงสร้างเป็นแท่นศิลา และเรียกว่าวัชรอาสน์ ก็เพื่อเป็นการน้อมรำลึกว่า เมื่อพระองค์ประทับนั่งที่โคนต้นโพฺธิ์นี้เพื่อตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงตั้งสัตย์อธิษฐานว่าหากพระพุทธองค์ยังไม่ได้ตรีสรู้ ก็จะไม่ลุกจากที่นี่เลย ปณิธานนี้แสดงน้ำพระทัยอีนหนักแน่นมั่นคงของพระพุทธองค์ราวแท่งศิลา และในที่สุด พระพุทธองค์ทรงบรรลุถึงจุดหมาย คือทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ



พระแท่นสร้างด้วยหินทรายสีแดงขัดเงา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว ๗ ฟุต ๖ นิ้ว กว้าง ๔ ฟุต ๑๐ นิ้ว หนา ๕ นิ้วครึ่ง
พื้นด้านบนแกะสลักเหมือนถักหินเป็นดาวสี่แฉก มีบางท่านมองว่าคล้ายเป็นเพชรที่เจียระไนแล้ว เป็นรูปหวนเพชรและเพชรซีกประดับประดับอยู่รอบเรือนแหวน
ด้านกว้างสลักเป็นศิลปดอกมณฑารพสลับกับพระยาหงส์แบบโบราณ ๕ ตัว
ด้านยาวแกะเป็นรูปดอกมณฑารพ จำนวน ๑๖ ดอก
ฐานแกะสล้กเป็นศิลปคล้ายดอกบัว
พ.ศ.๒๔๒๓ นายพลคันนิ่งแฮม ได้ขุดพบพระแท่นวัชรอาสน์จมอยู่ใต้กองอิฐซึ่งสูงหนาถึง ๒๐ ฟุต และแตกกระจาย เป็น ๕ ส่วน




ความหมายของภาพแกะสลัก

พระเดชพระคุณพระเทพโพธิวิเทศ (ทองหยอด ภูริปาโล ป.ธ.๙ PhD ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยาได้ให้ความหมายของสัญลักษณ์ที่สลักบนพระแท่นวัชรอาสน์ดังนี้



๑. พื้นที่ด้านหน้าแกะสลักลวดลายหัวแหวนเพชรมีรัศมีพุ่งไปโดยรอบสี่ด้าน หมายถึง ความเด็ดเดี่ยวเข้มแข็งแห่งน้ำพระทัยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ประทับนั่งบนบัลลังก์พร้อมด้วยอธิษฐานจิตอย่างเด็ดเดี่ยวและเข้มแข็งแห่งน้ำพระทัยของพระองค์ " ถึงเลือดเนื้อจะเหือดแห้งไปคงเหลือแต่เอ็นและกระดูกก็ตามที่ หากไม่ได้ตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณแล้วไซร้ จะไม่ลุกจากอาสนะนี้ "
ส่วนพระรัศมีหมายถึงสัจธรรมที่แผ่ออกไปทุกสารทิศทั่วโลก

๒ รูปดอกบัวด้านข้าง หมายถึง เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้วพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ได้เป็นที่ยอมรับของประชาชนทุกเหล่า และได้รับการเทิดทูนยิ่งกว่าคำสอนของศาศนาอื่นใดเหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ เป็นดอกไม้ที่งดงามต้องตาต้องใจของประชาชนทั่วไป

๓. รูปพระยาหงส์เปรียบเสมือนพระองค์หลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์เสด็จจาริกไปประกาศสัจธรรมแก่ชาวโลกทุกหมู่เหล่าซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งเย้ายวนประเล้าประโลมให้ลุ่มหลง แต่ไม่ทำให้พระองค์จมลงสู่ห้วงแห่งกิเลศนั้นได้ เสมือนหนึ่งว่าพระยาหงส์เมื่อปล่อยลงในน้ำก็ไม่จมลงในน้ำฉันนั้น

๔ รูปสลักที่แกะเป็นดอกมณฑารพ หมายถึงในภัทรกัปป์นี้จะมีแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ตรัสรู้ธรรมอันถูกต้องและสามารถนำให้หมู่สัตว์ข้ามพ้นห้วงน้ำแห่งทุกข์ได้เหมือนดอกมณฑารพต้นหนึ่งจะมีดอกเพียงดอกเดียวเท่านั้น






ปััจจุบันแท่นวัชรอาสน์นี้ ตั้งอยู่ระหว่างพระเจดีย์พุทธคยาอยู่ทางทิศตะวันออก กับ ต้นพระศรีมหาโพธิ์อยู่ทางทิศตะวันตก แท่นวางอยู่บนฐานที่ฉาบไว้ด้วยปูนบนพื้นผิวแกะสลัก





พระแท่นวัชรอาสน์นี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ๑ ใน ๓ ของโพธิมงคล ที่ผู้ศรัทธาจะต่องได้กราบนั้น ความปิติอย่างสูงจักเกิดขึ้นในขณะนั้น ราวกับว่าได้เข้าฝ้าพระพุทธองค์ถึงที่ประทับและกราบลงตรงอาสน์ที่มีพระองค์ประทับอยู่ กับทั้งนำเครื่องสักการะตั้งบูชาบนพระแท่นศักดิ์นี้ พลางน้อมจิตว่าได้ถวายเครื่องสักการะถึงพระหัตถ์ของพระองค์ ณ วัชรอาสน์แล้ว น้อมจิตรำลึกถึงพระมหาปณิธานอันแรงกล้าของพระบรมศาสดา ณ ที่นี้ จนบรรลุถึงความรู้แจ้งเห็นจริงในสรรพสิ่งของโลก

เพื่อรักษาคุ้มครองพระแท่นและต้นพระศรีมหาโพธิ์ให้ปลอดภัยจากการสัมผัสจับต้องของผู้เข้าชม เป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ทางการจึงสร้างกำแพงล้อมต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระแท่นไว้ กำแพงนี้ถูกตกแต่งด้วยพวงมาลัย ผ้าสีต่างๆ และสายธงทิวต่างๆ ที่ชาวพุทธนำมาบูชาผูกไว้รอบกำแพง จนผู้ชมเดินรอบฐานพระมหาเจดีย์พุทธคยาไม่สามารถมองเห็นพระแท่นได้ในระดับสายตา
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุททฺโธ)
ภาพเก่าเล่าเรื่องพระพุทธองค์ โดยพระมหาสุวิทย์ ธัมมสิริ (นาลาด)








ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุททฺโธ)
ภาพเก่าเล่าเรื่องพระพุทธองค์ โดยพระมหาสุวิทย์ ธัมมสิริ (นาลาด)



(ผู้เขียนหมายถึงพระมหาสุวิทย์ ธัมมสิริ (นาลาด)


พระแท่นวัชรอาสน์ก่อนการทำรั้วกั้น



















ปััจจุบันการจะกราบพระแท่นวัชรอาสน์ทำได้เพียงในภาพเท่านั้น



มณฑารพ ดอกไม้ทิพย์แห่งสวรรค์



“มณฑารพ” หรือ “มณฑา” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Talauma candollei Bl.”
อยู่ในวงศ์ Magnoliaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับพวกจำปา จำปี และยี่หุบ
ดอกมณฑา เป็นไม้พุ่มสูงราว ๓-๑๐ เมตร เปลือกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ มีขนาดใหญ่ รูปรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา มักเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ หรือส่วนยอดของลำต้น มีสีเหลืองนวล

มีกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน ๓ กลีบ กลีบดอก ๖ กลีบ เรียงเป็น ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ กลีบดอกค่อนข้างหนา แข็ง ดอกมีกลิ่นหอมและส่งกลิ่นไปไกล โดยเฉพาะในตอนเช้าตรู่ จะส่งกลิ่นหอมแรงมาก และออกดอกตลอดปี ส่วนผลรูปรี ออกเป็นกลุ่ม และเนื่องจากมณฑามีดอกสวยและกลิ่นหอมจึงนิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ



ดอกไม้ทิพย์แห่งเมืองสวรรค์ที่ชื่อ “มณฑารพ” หรือ “มณฑา” นั้น
ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า

“ดูกรอานนท์ ไม้สาละทั้งคู่ ผลิดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปราย ลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า ก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต
ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยอด เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ”

ในเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ทุกหนแห่งในเมืองกุสินาราเต็มไปด้วยดอกมณฑารพ

“...สมัยนั้น เมืองกุสินาราเดียรดาษไปด้วยดอกมณฑารพโดยถ่องแถวประมาณแค่เข่า จนตลอดที่ต่อแห่งเรือน บ่อของโสโครกและกองหยากเยื่อ ครั้งนั้นพวกเทวดาและพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมมาลัยและของหอม ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์...”

หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะเถระซึ่งอยู่ที่เมืองปาวา ได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับที่เมืองกุสินาราเป็นเวลาหลายวันแล้ว จึงตั้งใจจะไปเฝ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร ๕๐๐ รูป ขณะที่กำลังเดินทางไปเมืองกุสินาราอยู่นั้น ได้หยุดพักหลบแสงแดดอยู่ใต้ร่มไม้ข้างทาง ได้เห็น อาชีวก คนหนึ่ง ( อาชีวกหมายถึง นักบวชนิกายหนึ่งนอกพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาล ) ซึ่งมาจากเมืองกุสินารา ถือ “ดอกมณฑารพ” ที่ผูกติดกับกิ่งไม้ต่างร่ม เดินสวนทางมา


ภาพพระมหากัสสปเถระ ขอบวช ภายหลังได้รับการบกย่องว่าเป็น เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maewmong&month=26-11-2011&group=539&gblog=1

พระมหากัสสปะซึ่งเวลานั้นยังไม่ทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ก็นึกสังหรณ์ใจ เพราะดอกมณฑารพเป็นดอกไม้ทิพย์ที่ไม่มีในโลกมนุษย์ และจะปรากฏเฉพาะตอนที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้า เช่น ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน วันจาตุรงคสันนิบาต และวันที่ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นต้น ซึ่งเทพเทวดาจะบันดาลให้ดอกมณฑารพตกลงมาจากเทวโลก

พระมหากัสสปะจึงได้สอบถามข่าวคราวของพระพุทธองค์จากนักบวชนอกศาสนาผู้นั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานมา ๗ วันแล้ว และดอกมณฑารพนี้ก็ได้เก็บมาจากบริเวณที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานนั่นเอง

เมื่อได้ยินดังนั้นพระมหากัสสปะจึงรีบเร่งนำพระภิกษุสงฆ์ออกเดินทางไปยังเมืองกุสินารา

นอกจากนี้ มณฑารพยังเป็นดอกไม้ของนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดีที่มีนามว่า กิริณีเทวี

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพดอกมณฑารพจาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12425


บรรดาภิกษุผู้เป็นอริยบุคคลได้ปลงสังเวช ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนก็เศร้าโศกร่ำไรรำพันว่า ดวงตาของโลกได้อ้นตรธานไปแล้ว
บรรพชิตผู้บวชเมื่อแก่ ชื่อสุภัททวุฒิบรรพชิต ได้บอกกับเหล่าภิกษุว่า “อย่าเลย พวกเราอย่าเศร้าโศกอย่าร่ำไรไปเลย เราพ้นดีแล้ว ด้วยว่าพระมหาสมณะคอยเบีัยดเบียนพวกเราอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใดก็จักกระทำสิ่งนั้นได้ตามใจทั้งสิ้น "

พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้น ก็คิดว่า พระบรมศาสดาปรินิพพานเพียง ๗ วัน ก็มีเหตุที่จะทำให้สงฆ์ล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเสียแล้ว จึงดำริจะให้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย เพื่อรวบรวมให้เป็นหมวดหมู่สำหรับเหล่าสงฆ์จักได้ปฏิบัติตาม ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

 "ดูก่อนอานนท์ ธรรมวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว "

จากนั้นพระมหากัสสปะเตือนภิกษุทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า

" ความพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักที่ชอบทั้งหมดต้องมี สิ่งใดเกิดแล้วมีแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ย่อมมีความดับไปทำลายไปเป็นธรรมดา ความปรารถนาว่าขอสิ่งนี้อย่าได้ดับไปทำลายไปเลย มิใช่ฐานะที่จะเป็นได้"

แต่ในเฉพาะเวลานั้นพระมหากัสสปะต้องเดินทางไปที่ปรินิพพาน และจัดการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระให้เสร็จเสียก่อน จึงออกเดินทางไปยังเมืองกุสินาราทำหน้าที่เป็นประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ในพระราชูปถัมภ์ของกษัตริย์มัลละทั้งหลาย


ขอขอบคุณภาพจาก www.dhammakaya.or.th

ในวันเพ็ญเดือน ๑๐ หลังปรินิพพานแล้ว ๔ เดือน อันเป็นช่วงเวลาเข้าพรรษาพอดี จึงเริ่มมีการสังคายนาที่คูหาสัตตบรรณพต กรุงราชคฤห์ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นเอกอัครราชูปถัมภก พระสงฆ์ทั้ง ๕๐๐ รูปที่ร่วมกันสังคยนาล้วนแต่พระอรหันต์ผู้ขีณาสพ
การสังคายนาใช้เวลา ๗ เดือน จึงแล้วเสร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น