วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พรรณไม้ชายน้ำ...ปรงทะเล

ปรงทะเล


ปรงทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acrostichum aureum L.
ชื่อพื้นเมือง: ปรงทะเล
ชื่ออื่น : ปรงทอง, ปรงไข่, ปรงใหญ่, บีโย (มลายู-สตูล)
วงศ์ PTERIDACEAE



ปรงทะเล เป็นไม้พื้นล่าง สูง 1 – 3 เมตร เป็นพืชพวกเฟิร์น สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์




 มีระบบรากฝอย และบริเวณโคนต้นมีรากค้ำยัน




ลำต้น
เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ชูส่วนของใบขึ้นมาเป็นกอ เหง้ามีเกล็ดใหญ่สีน้ำตาลคล้ำ





ใบ

ลักษณะใบยาว ใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปใบหอก ก้านใบมีหนามแข็งสั้นๆ ใบย่อยรูปขอบขนานแคบ หรือรูป ใบหอก ขอบเรียบ มี 15 - 30 คู่ เรียงสลับ ผิวเรียบเป็นมัน ใบที่ไม่สร้างสปอร์ ปลายใบกลม ถึงหยักเว้า และมีติ่งหนามสั้นๆ ฐานใบรูปลิ่มถึงมนกลม สองข้างไม่เท่ากัน เส้นกลางใบนูนเด่น เส้นใบสานกันเป็นร่างแห ก้านใบย่อยสั้น ใบย่อยที่สร้างสปอร์อยู่ตอนปลายกิ่ง มีขนาดเล็กกว่าใบย่อยที่ไม่สร้างสปอร์ซึ่งอยู่ทางด้านโคนใบ กลุ่มของ อับสปอร์เรียงตัวชิดกัน เต็มพื้นที่ด้านล่างของแผ่นใบย่อย มีขนปกคลุมเล็กน้อย ที่ปลายยอด สีน้ำตาล




ขยายพันธุ์โดยใช้สปอร์และลำต้น
ลักษณะเด่น ใบยาว ใบประกอบยาวได้ถึง 3 เมตร ปลายใบกลมหรือตัด มีติ่งหนาม
ปรงทะเล มักขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ด้านหลังป่าชายเลน และป่าน้ำกร่อย หรือ พื้นที่ป่าชายเลนที่ถูกทำลาย ชายคลอง บริเวณดินเลน บางครั้งพบตามที่โล่งในป่าพรุ



ประโยชน์
ใบอ่อนสีแดงใช้กินได้
ยางจากต้นใช้ทาแผล หรือ ฝีเพื่อดูดหนอง และดับพิษ หัวฝนผสมน้ำข้าวสารทาแก้เริม ต้มพอกแผลที่มีอาการบวมฟกช้ำดำเขียว หัวปรงกับหัวว่าวและหัวจากตำเข้าด้วยกัน ใส่น้ำ ใช้ทาแผลแก้เริม งูสวัด




ใบอ่อนสีแดง





ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://tanhakit.blogspot.com
http://www.aquatoyou.com



ปรงทะเล พบเห็นได้ทั่วไป และจากการที่เป็นพืชตระกูลเฟิร์นที่แพร่พันธ์ได้ด้วยลำต้นและสปอร์ ปรงทะเลจึงแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วและมากมาย ปรงทะเลที่พบมักเเป็นกอใหญ่ สูงเลยตัวคน แมัจะมีสรรพคุณทางสมุนไพร แต่ก็นับว่าเป็นพืชกึ่งวัชพืชไม่เป็นที่ต้องการของชาวบ้านนักและเพราะพบได้ทั่วไป หากปรงทะเลมาขึ้นในบริเวณบ้านหรือสวน หรือพื้นที่ใช้ทำประโยชน์อื่น ก็จะถูกกำจัดทิ้ง แต่หากจำเป็นจะต้องใช้ประโยชน์จากปรงทะเลขึ้นมาละก็ จะต้องลุยเข้าไปตามดงหญ้ารก ๆ ชื้นแฉะชุ่มฉ่ำด้วยน้ำ ( ที่ค่อนข้างสกปรก) กันละ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านบางกรูดไม่นิยมใช้ยาสมุนไพรจากปรงทะเลนัก เสาะห่าคุณสมบัติตัวยาที่ต้องการจากพืชพรรณอื่น ๆ ทดแทน การจะขุดหัวปรงนั้นไม่ใช่ของง่าย เพราะต้องขุดลงไปในดินเลนนั่นเอง









พลอยโพยมนึกถึงปรงเม็กซิกัน ปรงญี่ปุ่น ที่มีรูปทรงสวยงาม มีราคาแพงเพราะถือเป็นปรงนอก สังเกตว่าลำต้นที่เป็นเหง้าหรือหัวจะโผล่พ้นดินขึ้นมา ดังนั้นใบของปรงจะไม่ระเลื้อยรกรุงรังเหมือนปรงทะเลบ้านเรา หากคิดวิธีการให้เหง้า ลำต้น ของปรงทะเลโผล่พ้นดินขึ้นมาได้ ก็อาจจะได้รูปทรงของปรงทะเลที่สวยงาม แต่พอห้วหรือเหง้าลอยพ้นดินขึ้นมาจะทำให้คูณสมบัติของสารต่าง ๆ ในหัวปรงทะเลคงเดิมหรือไม่กันละหนอ




สภานที่ของภาพนี้เป็นคูน้ำข้างถนนในหมูบ้าน เผอิญส่วนบริเวณนี้เป็นแอ่งน้ำด้วย ในภาพมีทั้งปอทะเล ปรงทะเล ขลู่ สาบเสือ ถัดแถบนี้ไปมีทั้งแสม และลำพู และวัชพืชอื่น ๆ มากมาย พลอยโพยมผ่านบริเวณนี้ตอนบ่าย ดอกปอทะเลเปลี่ยนเป็นสีส้มแล้วบนต้น และมีที่หล่นลอยอยู่ในน้ำ

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พรรณไม้ชายน้ำ...เบญจมาศน้ำเค็ม

เบญจมาศน้ำเค็ม



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wedella biflora (L.) DC.

วงศ์ : COMPOSITAE

ชื่ออื่น : ผักคราดทะเล



เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ยาวประมาณ 1 - 5 เมตร ราก มีรากฝอยแตกออกตามข้อรอบ ลำต้นที่สัมผัสดินชื้น ลำต้น ไม้เนื้ออ่อน ลำต้นเล็กเรียว มีกิ่งมาก มักแผ่ทอดยอดคลุมพื้นดิน กิ่ง ใบ และช่อดอก มีขนสั้นสีขาว สากมือ

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่ แกมรูปขอบขนาน ถึงรูปหอก ปลายเรียวแหลม ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบหย้กคล้ายฟันเลึ่อย ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน เส้นใบเด่นชัด 3 เส้น จากโคนใบ มีก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร



ดอก ออกเบียดชิดกันแน่นคล้ายดอกเดี่ยวบนปลายก้านช่อตามง่ามใบใกล้ยอด และเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 1-7 เซนติเมตร ดอกเล็กมาก สีเหลือง

ออกดอกเดือนกรกฎาคม-กันยายน



ผล เป็นผลแห้ง รูปไข่กลับ ด้านบนมีขนสั้นๆ แข็ง และโค้งงอ



มักขึ้นอยู่รวมกัน พบไดัทั่วไปตามพี้นที่ป่าชายเลนที่ชื้นแฉะอยู่เสมอ



ประโยชน์ ต้นต้มน้ำกินแก้ปวดหัว และเป็นไข้มาลาเรีย ใบ ใช้บดเป็นยาพอกที่ท้องหญิงคลอดบุตร รักษารอยปริตามผิวหนัง แก้หน้าท้องลาย และใช้พอกตามรอยด่าง แก้ผิวหนังด่าง แผลที่ถูกของมีคมบาด และแก้เส้นเลือดขอด
น้ำที่คั้นจากใบนำมาผสมกับนมวัวดื่ม เป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ
ดอก เป็นยาถ่ายอย่างแรง
ราก ต้มเป็นยาซับระดู ขับปัสสาวะ เป็นยารักษากามโรคชนิดหนองใน และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
tanhakit.blogspot.com
http://www.aquatoyou.com




เบญจมาศน้ำเค็มซึ่งชาวบางกรูดเรียกหากันว่า คราดทะเล ( โดยไม่มีคำว่าผัก ) เป็นพรรณไม้ที่ชาวบ้านถือว่าเป็นวัชพืขอย่างหนึ่ง พบได้ทั้วไป เข่น ริมคูคลอง ชายทุ่ง ที่ค่อนข้างชื้นแฉะ แม้แต่ชายถนนที่ติดลำรางทางน้ำ หรือพื้นที่ที่มิได้ทำประโยชน์อะไรของชาวบ้าน หากจะใช้ประโยชน์ คราดทะเลก็จะถูกฟันทิ้งอย่างไม่ไยดี ทั้งที่ดอกก็มีความสวยงามพอตัว ( แต่ในทางสมุนไพรกลายเป็นยาถ่ายอย่างรุนแรง) ส่วนสรรพคุณทางสมุนไพร ของต้นใบและรากของคราดทะเล ก็มีผู้รู้บอกต่อ ๆ กันมาบ้างเหมือนกัน แต่ชาวบ้านทั่วไปก็นิยมใช้ยาสมัยใหม่มากกว่าเพราะสะดวกสบายกว่ากัน ประเภทใกล้เกลือกินด่าง สมุนไพรที่ต้องนำมาต้ม นำมาบด ดูออกจะเป็นการยุ่งยาก



วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฝั่งชายน้ำ..งามล้ำพรรณไม้

ฝั่งชายน้ำบางปะกง  กับดงไม้หลากหลายพรรณ



แสม จาก ลำพูที่บ้านนอู่ตะเภาฝั่งตรงข้ามวัดบางกรูด



ต้นจากและแสมมีลำพูแทรกที่หน้าวัดบางกรูด


จาก แสม ลำพู จากบริเวณเดียวกับภาพข้างบน



กอแถบแถบน้ำที่ปากคลองหนองบัว ตำบลท่าพลับ อำเภอบ้านโพธิ์ ข้างวัดบางกรูด



กอถอบแถบน้ำริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ปากคลองหนองบัว ลักษณะคล้ายกอถอบแถบน้ำฝั่งบ้านของพลอยโพยมแต่มีขนาดกอใหญ่กว่านี้ ยื่นล้ำชายฝั่งน้ำกว่าภาพนี้  เป็นพรรณไม้ที่เคยช่วยชีวิตในวัยเด็กของพลอยโพยม ที่ตกน้ำและไม่ลอยเลยบ้านไปไกล




ปากคลองหนองบัวตำบลท่าพลับข้างวัดบางกรูด



ฝั้่งตำบลบางกรูดตรงข้ามคลองหนองบัวตำบลท่าพลับฝั่งขวา



ฝั้่งตำบลบางกรูดตรงข้ามคลองหนองบัวตำบลท่าพลับฝั่งซ้าย


ฝั้่งตำบลบางกรูดตรงข้ามตลาดโรงสีล่าง ตำบลท่าพลับ


ลำพูและจากที่ชายฝั่งแม่น้ำข้างวัดผาณิตาราม ตำบลบางกรูด


ฝั่งตรงข้ามวัดผาณิตามรามด้านซ้ายมือ


ฝั่งตรงข้ามวัดผาณิตามรามด้านขวามือ


ฝั่งตรงข้ามร้านอาหารริมแม่น้ำในตัวเมืองฉะเชิงเทรา



แนวต้นจากถ่ายจากหน้าสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา


แสม จาก ลำพู ที่ฝั่งน้ำที่บริเวณแข่งเรือพายในงานแห่หลวงพ่อโสธรที่ตรงข้ามตลาดในเมืองฉะเชิงเทรา



แนวชายฝั่งตรงข้ามสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จังหวัดฉะเชิงเทรา



ฝั่งตรงข้ามเยื้องสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จังหวัดฉะเชิงเทราทางด้านขวามือ


แนวต้นลำพูที่ท่าน้ำศูนย์วิจัยพัฒนาประมงชายฝั่งฉะเชิงเทราเวลาน้ำขึ้น


แนวต้นลำพูที่ท่าน้ำศูนย์วิจัยพัฒนาประมงชายฝั่งฉะเชิงเทราเวลาน้ำลง



แสม ลำพู จาก ด้านข้างปากตลองของศูนย์วิจัยพัฒนาประมงชายฝั่งฉะเชิงเทรา





แนวไม้ที่อำเภอบางปะกงฝั่งตรงข้ามศูนย์วิจัยพัฒนาประมงชายฝั่งฉะเชิงเทรา



บริเวณตรงข้ามวัดแสนภูดาษ อำเภอบ้านโพธิ์ จะเห็นจาก ลำพู และตะบูนขาว



ปอทะเลที่ชายฝั่งแม่น้ำวัดแสนภูดาษ อำเภอบ้านโพธิ์



แสมและโพทะเล กอถอบแถบน้ำ ฝั่งวัดแสนภูดาษ อำเภอบ้านโพธิ์


ฝั่งตรงข้ามวัดแสนภูดาษฝั่งซ้ายมือ




ป่าจากที่อำเภอบางคล้าจังหวัดฉะเชิงเทรา


ต้นตะบูนขาวในป่าจากริมแม่น้ำบางปะกงที่ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงชายฝั่งฉะเชิงเทรา อำเภอบางปะกง


ต้นตะบูนขาวในป่าจากริมแม่น้ำบางปะกงที่บ้านอู่ตะเภาตำบลบางกรูด



แสม ลำพู คลัก ตะบูนขาวที่คลองบางกรูด วัดบางกรูด


 พรรณไม้ชายน้ำเหล่านี้พบโดยทั่วไปตามชายฝั่งแม่น้ำบางปะกง เกือบทั้งลำน้ำ พลอยโพยมพยายามสื่อความจากภาพว่า แม้คืนวันจะคล้อยเคลื่อนเลื่อนไปจากอดีตนานหลายสิบปี แต่สภาพโดยรวมของสองริมฝั่งบางปะกง ยังคงมีสภาพของพรรณไม้ป่าชายเลนเหล่านี้แม้แต่ในตัวเมืองฉะเชิงเทรา ความเจริญทางด้านการก่อสร้างอาคารร้านเรือนต่าง ๆ จะอยู่ฝั่งตัวเมือง แต่ฝั่งตรงข้ามแค่มีลำน้ำกั้นกลางยังมีสภาพธรรมชาติอันร่มรื่นเขียวชะอุ่มด้วยป่าจากพรรณไม้หลักของลำน้ำเมืองฉะเชิงเทราแทรกแซมด้วยแสม ลำพู  คลัก ตะบูนขาวถอบแถบน้ำ ปอทะเล โพทะเล วัชพืชอื่น ๆ เลื้อยระ ปกคลุมกิ่งก้านสาขาของพรรณไม้เหล่านี้   และยังมีพรรณไม้อื่น ๆ ที่อยู่ในแนวชั้นในเข้ามา รวมถึงพรรณไม้ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงอีก   ซึ่งภูมิทัศน์เหล่านี้หาได้น้อยมากจากเมืองริมแม่น้ำอื่น ไม่ว่า กรุงเทพฯ เมืองใหม่ หรืออยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อน
สมดังคำกลอนในหนังสือวันวานของบางกรูดของพลอยโพยมว่า
เมืองฉะเชิงเทรานั้น


" ดุจดั่่งอัญมณีแห่งลุ่มน้ำ
เลอค่าล้ำเหนือใครในพหล
"ฉะเชิงเทรา" เนาเฟื่องเรื่องสกล
 เปรียบเมืองมนตร์แดนสวรรค์นิรันดร์กาล"