วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปลาสยุมพร.. ปลาเซือม.. ปลาชะโอน..

ปลาสยุมพร ปลาเซือม ปลาชะโอน



ปลาสยุมพร ปลาเซือม

ปลาชะโอน

ชื่ออังกฤษ: Butter catfish, One-spot glass catfish

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ompok bimaculatus

อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน Siluridae

ปลาชะโอน เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง

ลักษณะทั่วไป

มีรูปร่างหัวสั้นและแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ปากเล็ก ตาโตอยู่เหนือมุมปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณท้อง หนวดใต้คางสั้น ครีบหลังเล็ก ครีบอกใหญ่ ครีบหางเว้าตื้นมีปลายแฉกมน ตัวมีสีตามสภาพน้ำ ตัวมักมีสีคล้ำและมีจุดประสีคล้ำ ที่เหนือครีบอกมีแต้มกลมสีคล้ำ ในบริเวณน้ำขุ่นมักมีตัวสีขุ่น ขาวซีด ครีบใส มีแต้มสีคล้ำบริเวณโคนหาง

ถิ่นอาศัย

ปลาที่อาศัยในแหล่งน้ำใส ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำของทุกภาค ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง

ขนาด

มีขนาดประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 40 เซนติเมตร

นิสัย

อาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ

ประโยชน์

บริโภคโดยปรุงสด โดยเฉพาะทอดกรอบ มีรสชาติดีมาก ปลารมควัน และปลาเค็ม เคยเป็นสินค้ามีชื่อของทะเลสาบเขมรด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะปลาที่เป็นสีเผือก

ชะโอน มีชื่อเรียกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ เช่น "สยุมพร", "เนื้ออ่อน" ในภาษาอีสานเรียก "เซือม" และเรียกสั้น ๆ ในภาษาใต้ว่า "โอน" เป็นต้น

ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย

นอกจากนี้ในวิกิพีเดียยังมีข้อมูลสกุลของปลาชะโอนดังนี้

สกุลปลาชะโอน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ompok, อังกฤษ: Butter catfish)

เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae)

มีลักษณะสำคัญคือ นัยน์ตามีเยื่อใส ๆ คลุม โดยที่เยื่อนี้ติดกับขอบตา ปากแคบและเฉียงขึ้นด้านบน มุมปากยื่นไม่ถึงนัยน์ตา ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 3-4 ก้าน มีหนวด 2 คู่ ที่ริมปากบน 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ ฟันที่กระดูกเพดาปากชิ้นล่างมีสองกลุ่มแยกจากกันเห็นได้ชัด ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 7-8 ก้าน

พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สกุลของปลาชะโอนมีดังนี้

Ompok bimaculatus (Bloch, 1794)

Ompok binotatus Ng, 2002

Ompok borneensis (Steindachner, 1901)

Ompok fumidus Tan & Ng, 1996

Ompok hypophthalmus (Bleeker, 1846)

Ompok jaynei Fowler, 1905

Ompok leiacanthus (Bleeker, 1853)

Ompok malabaricus (Valenciennes, 1840)

Ompok miostomus Vaillant, 1902

Ompok pabda (Hamilton, 1822)

Ompok pabo (Hamilton, 1822)

Ompok pinnatus Ng, 2003

Ompok platyrhynchus Ng & Tan, 2004

Ompok pluriradiatus Ng, 2002

Ompok rhadinurus Ng, 2003

Ompok sindensis (Day, 1877)

Ompok supernus Ng, 2008

Ompok urbaini (Fang & Chaux, 1949)

Ompok weberi (Hardenberg, 1936)

จากหนังสือสาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ พ.ศ. 2547



ปลาชะโอนพลุ

และมีงานวิจัยของศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดชลบุรี โดย

ชลธิศักดิ์ และคณะ (2536) ได้ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาชะโอนโดยวิธีผสมเทียม เมื่อ พ.ศ. 2533 ที่ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดชลบุรี ดังนี้

ปลาชะโอน Ompok biculatus ปลาชะโอนอยู่ในลำดับปลาหนัง (Order Siluriformes)

อยู่ในวงศ์ปลาแดง (Family Siluridae)

ลูกปลาชะโอนหรือปลาสยุมพร (Genus Ompok)

เป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด

มีลักษณะโดยทั่วไป คือ

หัวสั้น และแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวแบนข้างและยาว ส่วนหลังโค้งสูงขึ้นเล็กน้อย ปากกว้าง ขากรรไกรล่างยื่นออกมาเลยขากรรไกรบนเล็กน้อย ตาขนาดค่อนข้างโตอยู่สูงกว่าหลังมุมปากเล็กน้อย มีหนวด 2 คู่ คือหนวดที่ริมฝีปากยาวถึงประมาณท้อง และหนวดใต้คางสั้น ครีบหลังมีขนาดเล็ก ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบท้องอยู่ตรงข้ามกับครีบหลัง ครีบหางแบบ 2 แฉกเว้าตรงกลางและปลายมน ลักษณะที่เด่นอีกอย่างหนึ่งคือ มีจุดสีดำขนาดใหญ่อยู่เหนือครีบอก

ถิ่นอาศัย

มีการแพร่กระจายในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย พม่า เวียดนาม ตลอดจนมาเลเซีย เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลำคลองที่มีกระแสน้ำไหลเบาๆ หรือน้ำนิ่ง

นิสัย

อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง อาหาร

ปลาชะโอนมีลักษณะนิสัยการกินอาหารเป็นปลากินเนื้อ กินลูกปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร

ขนาด

ขนาดโตที่สุดที่พบในธรรมชาติมีความยาวประมาณ 50 ซ.ม

ที่มาของข้อมูล

www.fisheries.go.th/if-chonburi/web2/images/.../ompok.doc

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลของปลาชะโอนหิน



ปลาชะโอนหิน

ปลาชะโอนหิน

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Silurichthys schneideri

อยู่ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae)

ปลาชะโอนหิน เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง

ลักษณะทั่วไป

มีลำตัวแบนข้างและเรียวยาว ตามีขนาดเล็กมาก หัวและปากเล็ก ปากล่างสั้นกว่า มีหนวด 2 คู่ ลำตัวสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอมม่วง ลำตัวและครีบมีลายประหรือลายหินอ่อน ครีบหลังอันเล็กมี 2 - 3 ก้าน ครีบหางและครีบก้นต่อเนื่องกัน ปลายครีบหางด้านบนยาวเรียว มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร การแยกเพศยังไม่สามารถทำได้ชัดเจน จะสังเกตได้เฉพาะฤดูผสมพันธุ์ คือ ปลาเพศผู้จะมีส่วนของลำตัวยาวและขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย ส่วนเพศจะสังเกตได้จากบริเวณส่วนท้องจะบวมเป่งและผนังท้องจะบางและนิ่มกว่าเพศผู้

ถิ่นอาศัย

พบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำตกในป่า เช่น น้ำตกลำนารายณ์และน้ำตกกระทิง จ. จันทบุรี, น้ำตกลานสกา จ.นครศรีธรรมราช, อุทยานแห่งชาติปางสีดา เป็นต้น

นิสัย

พฤติกรรมมักซ่อนตัวอยู่ใต้วัสดุลอยน้ำเช่น ใบไม้ร่วง หากินในเวลากลางคืน

อาหาร

ได้แก่ แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก

ในปี พ.ศ. 2547 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสระแก้วได้ออกสำรวจปลาชะโอนหินอย่างจริงจังที่อุยานแห่งชาติปางสีดา พบว่ามีอาศัยอยู่ที่กิโลเมตรที่ 23 บริเวณห้วยน้ำเย็น ซึ่งอยู่ในเขตป่าลึกที่มีลักษณะเป็นป่าดิบชื้นและมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-300 เมตร และได้มีการนำมาศึกษาและทำการเพาะขยายพันธุ์จนประสบความสำเร็จโดยการผสมเทียม

ประโยชน์

เลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ ปลาชะโอนหินมีชื่อเรียกอื่นอีกเช่น "ลิ้นแมว" เป็นต้น



ปลาชะโอนหิน

ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย ชะโอนหิน

สำหรับข้อมูลของ ปลาชะโอนในลำน้ำบางปะกง ที่เคยสำรวจพบเมื่อ ปี พ.ศ. 2526 ของสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติโดย สันทนา ดวงสวัสดิ์ และคณะ ที่พบในอำเภอเมือง อำเภอบางคล้า และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ใช้ชื่อตามรายงานดังกล่าวว่า kryptopterus bieekeri ซึ่งพลอยโพยมต้องขออภัย ที่ไม่สามารถจัดข้อมูลปลาชะโอน ให้ เป็นหนึ่งเดียวได้ เลยขอเสนอตามข้อมูลดิบที่มี โดยคงฃื่อปลาตามรายงานหรือข้อมูล ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีการเปลี่ยนชื่อใหม่หรือไม่เพราะกรมประมงเองก็มีการ up date ชื่อปลาต่าง ๆ อยู่เช่นกัน

2 ความคิดเห็น: