วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปลากะพงลาย

ปลากะพงลาย

                                                        ปลากะพงลาย จากงานนิทรรศการ


ชื่อสามัญอังกฤษของกะพงลายในงานนิทรรศการนี้ คือ Barred Tigerfish

ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Coius quadrifasciatus ( Sevastianov : 1809)


ส่วนข้อมูลจากวิกิพีเดีย ซึ่งอ้างอิงจาก หนังสือสารานุกรมปลาไทย โดย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล มีข้อมูลว่า

ชื่อสามัญไทย    ปลากะพงลาย

ชื่อสามัญอังกฤษ:  Silver tiger fish, American tiger fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า   Datnioides polota

อยู่ในวงศ์ปลาเสือตอ Datnioididae

                                                           ภาพปลากะพงลายจากวิกิพีเดีย


ปลากะพงลายเป็นปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง

ลักษณะทั่วไป

มีรูปร่างคล้ายกับปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่ทว่ามีช่วงปากและรูปทรงลำตัวที่เรียวยาวและแหลมกว่าปลาเสือตอลายใหญ่ (D. pulcher) หรือ ปลาเสือตอลายเล็ก (D. undecimradiatus)

แต่ลำตัวแบนข้างน้อยกว่า หัวเล็กกว่า ในขณะที่มีเกล็ดโตกว่าปลาทุกชนิดในสกุลเดียวกัน

และมีสีของลำตัวออกขาวเหลือบเงินและเขียวแวววาว ลายแถบสีดำ ขวางบนลำตัว มีขนาดเรียวเล็ก7 แถบ ลายแถบตรงข้อหางแถบสุดท้ายเป็นขีดขาดกันแลดูคล้ายจุดสองขีด





ถิ่นอาศัย

พบกระจายพันธุ์บริเวณปากแม่น้ำหรือป่าโกงกางชายฝั่งทะเลที่เป็นน้ำกร่อย ตั้งแต่อินเดียจนถึงปาปัวนิวกินี และออสเตรเลีย

ในประเทศไทยพบในแหล่งธรรมชาติตามปากแม่น้ำแทบทุกแห่งทั่วประเทศ

นิสัย

เป็นปลามีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว

ขนาด

ขนาดความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร นับว่ามีขนาดใกล้เคียงกับปลาเสือตอลายเล็ก



ปลากะพงลายเป็นปลาที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาในวงศ์เดียวกันชนิดอื่น ๆ

ขอบคุณ - ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย



นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับปลากะพงลาย อีกแหล่ง ดังนี้

ปลาเสือตอที่พบในแหล่งน้ำทางภาคอีสานเป็นปลาเสือตอลายเล็กมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius Undecimraciatus หรือในชื่อเรียกที่รู้จักในตลาดปลาสวยงามว่า "เสือตอลายเล็ก" พบมากในแม่น้ำโขงแถบจังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ยโสธร ในแม่น้ำมูล มีจำนวนค่อนข้างมาก ราคาซื้อขายขนาดเล็ก 2 นิ้วฟุต ตัวละ 20-50 บาท ปลาเสือตออีกชนิดหนึ่งคือ ปลาเสือตอน้ำกร่อยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius Quadrifasciatus หรือเรียกว่า "ปลากะพงลาย" เป็นปลาเสือตอที่ลายเล็กที่สุดมีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว พบในแหล่งธรรมชาติตามปากแม่น้ำแทบทุกแห่งทั่วประเทศ จัดเป็นปลาเสือตอที่ราคาถูกที่สุด ปลาเสือตอชนิดที่นิยมและมีราคาสูงที่สุดในปัจจุบันคือ ปลาเสือตอลายใหญ่และเสือตอลายคู่(ลาย 7 ขีด) ปลาเสือตอทั้ง 2 ชนิดนี้ต้องนำเข้ามาจากประเทศเขมร เป็นปลาที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ทะเลสาบในประเทศเขมรโดยมีพ่อค้าคนกลางเก็บรวบรวม ปลาเสือตอทุกขนาดลำเลียงเข้ามาในประเทศไทยเพื่อขายส่งต่อไปยังต่างประเทศทั่วโลกเป็นสินค้าปลาสวยงามนิ้วละ 60-100 บาท ส่วนปลาเสือตอลายคู่ราคาจะสูงกว่าปลาเสือตอลายใหญ่เกือบ 3 เท่าตัว

ขอบคุณข้อมูลจาก http://aqua.c1ub.net/forum/lite.php?topic=87588.0



ปลากะพงลายนี้ ที่บางกรูดเรียกปลากะพงข้างลาย เหมือนเอกสารงานวิจัยของสันทนา ดวงสวัสดิ์และคณะเมื่อ ปี พ.ศ 2526 พบได้ในเขตอำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองและอำเภอบางคล้า ส่วนในหนังสือภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย จะมีปลากะพงปานข้างลาย แต่เป็นปลาในวงศ์ปลากะพง รูปร่าง เหมือนปลากะพงทั่วไป ซึ่งมีหลายชนิดเช่น กะพงข้างเหลือง กะพงขาว (กะพงน้ำจืด) กะพงเขียว กะพงแดงสั้นหางปาน กะพงปานข้างลาย (อยู่ในวงศ์ปลากะพงแดง ) กะพงแสม ( ครืดคราด,ออดแอด) ชื่อท้องถิ่นอื่นของปลากะพงแสม อ่านแล้ว พิลึกกึกกือคงมีที่มาที่ไปของ ชื่อปลาครืดคราด ปลาออดแอดเป็นแน่แท้

                                                 ภาพปลากะพงปานข้างลายจากวิกิพีเดีย

ถือว่าปลากะพงข้างลายเป็นชื่อเรียกตามท้องถิ่นชาวแปดริ้ว ของปลากะพงลาย

ส่วนที่ในบางครั้งวงการค้าขาย เรียกปลากะพงลายกันว่า"เสือตอแปดริ้ว", "เสือตอบางปะกง" หรือ "เสือตอน้ำกร่อย" นั้น น่าจะเป็นการเพิ่มมูลค่าการซื้อขาย เพราะปลากะพงลายมีลักษณะคล้ายปลาเสือตอลายเล็กมาก ผู้ซื้อที่ไม่รู้จักก็จำแนกไม่ได้ และปลากะพงลายนี้ก็ตกได้แถบปากแม่น้ำทั่วประเทศ



ปลากะพงลายเป็นปลาที่พบเห็นได้ทั่วไปในลำน้ำบางปะกง การตกปลาริมฝั่งแม่น้ำตามบ้านเรือนก็สามารถตกปลากะพงลายนี่้ได้ ง่าย ๆ ส่วนผู้ที่ลงทุนลงเรือออกไปตกปลาไกลฝั่งแม่น้ำ ก็จะได้ปลากะพงลาย ง่าย ๆ เช่นกัน แต่อาจได้ปลาชนิดอื่น ๆ รวมทั้งปริมาณปลาที่ตกได้ที่มากกว่า

สำหรับชื่ออังกฤษ และชื่อวิทยาศาสตร์ ของปลากะพงลาย ในรายงานเอกสารวิชาการของ สันทนา ดวงสวัสดิ์ และคณะ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Datnioides quadrifasciatus ต้องขออภัย เพราะพลอยโพยม มิใช่ชาวมีนกรตัวจริงเสียงจริง ผู้จะนำข้อมูลไปใช้ กรุณาศึกษาก่อนนำไปใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น