วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พรรณไม้ชายน้ำ..เหงือกปลาหมอ


เหงือกปลาหมอด่าง



เหงือกปลาหมอด่าง



เหงือกปลาหมอด่าง



เหงือกปลาหมอดอกขาว



เหงือกปลาหมอดอกขาว



เหงือกปลาหมอดอกขาว



เหงือกปลาหมอดอกขาว



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง


เหงือกปลาหมอดอกขาว

ชื่อสามัญ Sea holly

ชื่อวิทยาศาสตร์ Acanthus ebracteatus Vahl

เหงือกปลาหมอดอกม่วง

ชื่อวิทยาสาสตร์ Acanthus ilicifolius Linn.

วงศ์ : ACANTHACEAE

ชื่ออื่น : แก้มหมอ แก้มหมอเล จะเกร็ง อีเกร็ง อีเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน

เหงือกปลาหมอเป็นไม้พุ่มสูง 0.5-1.0 เมตร พบตามป่าชายเลนและบริเวณน้ำกร่อย ชนิดดอกขาวพบในภาคกลางและภาคตะวันออก

ชนิดดอกม่วงพบในภาคตะวันออก และภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป

ลักษณะ

ลำต้นกลมเรียบ แข็ง สีเขียวแกมเทา มักมีหนามตามข้อ ๆ ละ 4 หนาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาง 6-20 ซม. ขอบใบเว้าหยักซี่ฟันห่าง ๆ ปลาซี่เป็นหนามแหลม ผิวใบเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวแข็ง

ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ชนิดดอกขาวมีกลีบดอกสีขาว ชนิดดอกสีม่่วงมีกลีบดอกสีม่วงอมฟ้า มีแถบสีเหลืองอ่อนกลางกลีบ ผลเป็นฝักรูปไข่หรือทรงกระบอก

ตำราไทย

ส่วนที่ใช้ : ต้น และใบ ทั้งสดและแห้ง ราก เมล็ด

สรรพคุณ :

ต้นทั้งสดและแห้ง - แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ

ใบ - เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย

-ใช้น้ำคั้นใบทาศีรษะช่วยบำรุงรักษารากผม

- เป็นยาอายุวัฒนะโดยปรุงรวมกับพริกไทยในอัตรา 2 : 1 บดทำเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 1-2 เม็ด

ราก

- ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด

- รักษามุตกิดระดูขาว

เมล็ด

- ปิดพอกฝี

- ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย

ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล

สารานุกรมไทยสมุนไพรเล่มที่1 สมุนไพร สวนสิริรุกขชาติ และ

http://www.rspg.or.th

เหงือกปลาหมอเป็นพรรณไม้ที่ตามชายฝั่งแม่น้ำ ชายฝั่งคลอง คูน้ำต่าง ๆ สำหรับชายคลอง คูน้ำ เด็ก ๆ มักไม่มีส่วนเกี่ยวช้องด้วยนัก นอกจากการไปตกปลาหรือเด็กผู้ชายไปหาปูทะเล แต่สำหรับชายฝั่งแม่น้ำมีความเกี่ยวข้องกับเด็ก ๆ มาก อย่างน้อยก็ตอนเล่นน้ำในแม่น้ำ ถ้าว่ายไปเล่นเลยหัวสะพานบ้านตามริมฝั่งก็จะมีต้นเหงือกปลาหมอแผ่ลำต้นและใบออกมาก่อความรำคาญอกรำคาญใจให้ เพราะใบเป็นซี่หนามแหลมประทุษร้ายพวกเรา หรือบางทีเรามีความจำเป็นต้องเดินลุยไปริมฝั่งก็จะเจอศัตรูตัวร้ายคือใบของเหงือกปลาหมอ

ได้รู้จักคุณประโยชน์ ของเหงือกปลาหมอตอนที่พี่สาวถูกเงี่ยงปลาดุกทะเลยักใส่มือ เพราะผู้ใหญ่ไปเก็บใบเงือกปลาหมอเอามาตำแล้วพอกที่แผล ซึ่งพลอยโพยมก็จำไม่ได้แล้วว่าต้องใช้เหล่้าขาวด้วยหรือไม่ การใช้ใบไม้ หรือส่วนต่าง ๆ ของ พันธุ์ไม้ต่าง ๆ มาทา พอก หรือ กิน เป็นเรื่องธรรมดาแล้วแต่กรณีความจำเป็นต้องพึ่งพาสมุนไพร ต่อมาเมื่อสมุนไพรต่าง ๆ โด่งดังเป็นที่นิยมก็มีการศึกษาค้นคว้าคุณประโยชน์ของสมุนไพรต่าง ๆมาก ได้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกมากมาย จนรู้สึกว่าพืชพรรณไม้ทั้งหลายมีความมหัศจรรย์ คุณประโยชน์ครอบจักรวาลประมาณนั้นเลยทีเดียว ทำให้นึกถึงหมอชีวกโกมารภัจจ์ในครั้งพุทธกาล ที่บอกว่าต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้

ดอกของต้นเหงือกปลาหมอหากมีเวลาได้พินิจพิจารณา ก็เป็นดอกไม้ที่มีความงามในตนเองไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะดอกเหงือกปลาหมอสีม่วง

ความงามนี้ดึงดูดใจให้พลอยโพยมต้องลุยลงไปถ่ายภาพเก็บไว้ ในขณะที่ถ่ายภาพ ก็ไม่ได้คิดว่าจะนำมาใช่หรือไม่ แต่เพราะอยากเก็บภาพไว้ชื่นชมเพราะปัจจุบันพลอยโพยมมิใช่คนริมฝั่งแม่น้ำอีกต่อไปหากแต่เป็นคนบนที่ดอนเสียแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น