วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

[บทความ] เรียงร้อย... สร้อยความ นามว่าอ้อย..2

เรียงร้อย... สร้อยความ นามว่าอ้อย..2



ในอดีต จากคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา อ้อยเป็นพืชไร่ที่สำคัญที่สุดของชาวจีนแต้จิ๋วที่มาตั้งถิ่นฐานได้นำอ้อยเข้ามาเป็นพืชทางการค้าในสยามทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ พ.ศ. 2353 และภายในระยะเวลาสิบปี อ้อยได้เป็นสินค้าที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของไทย แหล่งเพาะปลูกอ้อยที่ใหญ่อยู่ในจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและนครปฐม


เมืองฉะเชิงเทราเดิมราษฎโรได้ปลูกอ้อยอยู่ในขอบเขต คือเป็นการผลิตพอเลี้ยงชีพได้ บริโภคในครัวเรือนและการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ แต่ใน พ.ศ. 2350 อุตสาหกรรมน้ำตาลได้ก่อตัวขึ้น ดังนั้นเมืองฉะเชิงเทราจึงมีการตั้งโรงหีบอ้อยเพื่อทำน้ำตาลขึ้นและทำให้น้ำตาลกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองนี้




จากหลักฐานพบว่าชาวจีนในเมืองฉะเชิงเทรา ทำไร่อ้อยขนาดใหญ่ตั้งแต่ก่อน พ.ศ.2398 เช่นหลักฐานจากบันทึกเล่าเรื่องกรุงสยามของปาลเลกัวร์ กล่าวถึงเมืองฉะเชิงเทราไว้ดังนี้
"เหตุรัชกาลที่ 3 พบว่า การเก็บผลประโยชน์จากอากรสมพัตสร พ.ศ. 2398 ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยได้ 7,360 บาท "

ทั้งจังหวัดเป็นที่ราบใหญ่อุดมไปด้วยนาข้าว สวนผลไม้และไร่อ้อย มีโรงหีบอ้อยไม่ต่ำกว่า 20 โรง ซึ่งเจ้าของเป็นคนจีน...

จากหลักฐาน ร่างสารตรา กล่าว่า "พวกจีนที่ตั้งบ้านเรือนทำสวนใหญ่ไร่อ้อยชุกชุม " ร่างสารตรานี้เป็นหลักฐานทำให้ทราบว่า ผู้ที่ริเริ่มบุกเบิกอุตสาหกรรมน้ำตาลในจังหวัดฉะเชิงเทรา คือชาวจีน



จากงานวิจัยของ ม.ล.วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธ์ เรื่อง "การเพาะปลูกอ้อยและอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย ใน คริสต์ศตวรรษ ที่ 19" มีความตอนหนึ่งว่า " เมืองฉะเชิงเทราเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลทรายที่สำคัญ มีโรงหีบตั้งอยู่กว่า 30 โรง
ในสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนสนธิสัญญาบราว์ริ่ง ที่เมืองฉะเชิงเทรามีการตั้งโรงหีบอ้อยประมาณ 28 โรง ทางการได้ส่งเจ้าหน้าที่จากกรุงเทพฯ ออกไปตรวจตราดูแลไร่อ้อยที่เมืองฉะเชิงเทราอยู่เสมอ โดยให้หมั่นตรวจไร่อ้อยทั้งอ้อยต่อและอ้อยปลูกใหม่ แล้วต้องรายงานเข้าไปในกรุงเทพ ฯ อยู่เนือง ๆ หากเจ้าเมืองฉะเชิงเทราละเลยไม่รายงาน ทางเมืองหลวงก็จะทวงถามถึงการสำรวจเหล่านี้ เพื่อจะได้รู้ว่าในแต่ละปีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยของเมืองฉะเชิงเทราเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าไร จะได้ปรับปรุงส่งเสริมให้ถูกต้อง
ดังความตอนหนึ่งว่า
" มีตราโปรดเกล้า ฯ ออกมาว่าราษฎรไทย จีน ในแขวงเมืองฉะเชิงเทรา ผู้ใดจะทำสวนอ้อย ตั้งโรงหีบขึ้นอีก ก็ให้พระยาวิเศษฤาไชย กรรมการ จัดแจงหาที่ให้ราษฎรไทย จีน ตั้งโรงหีบ สวนอ้อย ขึ้นให้ได้มาก " (สังฆราช ปาลเลกัวร์ -2506 เล่าเรื่องเมืองไทย หน้า 74 )



จากหลักฐานร่างสารตราที่ทางการแจ้งไปยังเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา มีความว่า
" ให้พระยาวิเศษฤาไชย คิดอ่านจัดแจงให้ราษฎรไทย จีน ลาวและเขมร ทำไร่อ้อยขึ้นให้ได้มาก ถ้ามีแห่งใด ตำบลใดควรจะทำไร่อ้อยได้ หากที่ดินบริเวณนั้นมีผู้จับจองไว้ก่อน แต่ปล่อยทิ้งให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าอยู่ ก็ให้พระยาวิเศษฤาไชยหาตัวราษฎรผู้จับจองที่นั้นไว้มาไต่ถามว่าจะทำนา ทำสวน ในที่ดินหรือไม่ หากเกินกำลังที่จะทำได้ก็อย่าให้หวงที่ไว้ ให้พระยาวิเศษฤาไชยจัดแจงให้ราษฎรคนอื่นทำไร่อ้อยให้เต็มพื้นที่นั้น" (จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1201)




นอกจากนั้นทางการ (รัฐบาล) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังลงทุนตั้งโรงงานทำน้ำตาลทรายด้วยตนเอง มีการตั้งโรงหีบอ้อยหลวงที่นครไชยศรี 2 โรง ที่ฉะเชิงเทรา 1 โรง และที่พนัสนิคม 1 โรง

(พนัสนิคมตั้งขึ้นเป็นเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2371 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคและจัดระเบียบการปกครองใหม่เป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จึงโปรดเกล้าฯให้เมืองพนัสนิคม เมืองบางละมุง และเมืองบางปลาสร้อยรวมกัน และเมืองพนัสนิคมจึงเป็นอำเภอของชลบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2441 ตั้งแต่นั้นมา )





นอกจากนั้นทางการ (รัฐบาล) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังลงทุนตั้งโรงงานทำน้ำตาลทรายด้วยตนเอง มีการตั้งโรงหีบอ้อยหลวงที่นครไชยศรี 2 โรง ที่ฉะเชิงเทรา 1 โรง และที่พนัสนิคม 1 โรง

(พนัสนิคมตั้งขึ้นเป็นเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2371 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคและจัดระเบียบการปกครองใหม่เป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จึงโปรดเกล้าฯให้เมืองพนัสนิคม เมืองบางละมุง และเมืองบางปลาสร้อยรวมกัน และเมืองพนัสนิคมจึงเป็นอำเภอของชลบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2441 ตั้งแต่นั้นมา )



โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองฉะเชิงเทรา เป็นการลงทุนตั้งโรงหีบอ้อยหลวงขนาดใหญ่ ใน พ.ศ. 2380-2382 ใช้เงินถึง 30,712 บาท ใช้เนื้อที่เพาะปลูกอ้อย 223 ไร่ มีการจ้างแรงงานชาวจีนปลูกอ้อยและเป็นแรงงานในโรงหีบอ้อยเกือบทุกอย่าง โดยมอบหมายให้พระยาวิเศษฤาไชย เจ้าเมืองฉะเชิงเทราเป็นผู้ดูแลใช้จ่ายเงิน





นับจากต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมาอุตสาหกรรมน้ำตาลตกอยู่ในภาวะซบเซา และผลิตเพื่อการบริโภคภายในเท่านั้น โรงงานที่ผลิตน้ำตาลขนาดเล็กอาศัยแรงงานคนและสัตว์ใช้เงินลงทุนไม่สูงนัก มีปริมาณส่งออกสูงสุดใน พ.ศ. 2402 ส่งออกประมาณ 204,000 หาบต่อปี หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ลดปริมาณการส่งออก อุตสาหกรรมน้ำตาลเริ่มตกต่ำอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2413 เป็นต้นมา เพราะยุโรปซึ่งเป็นตลาดสำคัญซื้อน้ำตาลจากไทย สามารถผลิตน้ำตาลได้เพียงพอไม่ต้องซื้อจากไทยอีก รวมทั้งไทยไม่สามารถแข่งขันกับน้ำตาลที่ผลิตในบริเวณหมู่เกาะฟิลิปปินส์ คิวบา และชวาได้ อุตสาหกรรมน้ำตาลไทยเริ่มเสื่อมลงเรื่อย ๆ การปลูกอ้อยใน จังหวัดฉะเชิงเทราลดลงไป


นอกจากนี้ข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยขึ้นมา พื้นที่ ที่เคยปลูกอ้อย ค่อย ๆ ลดลง ราษฎรหันมาปลูกข้าวทดแทน เพราะมีกำไรดีกว่าและพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะในการปลูกข้าว


ต้นหมาก

หมาก

มะพร้าว



ต้นจาก




นอกจากอ้อย ข้าว แล้ว ยังมี
หมาก (มีบทความของ ชัย เรืองศิลป์ กล่าวถึงว่า "หมากที่ไหนก็ไม่อร่อยและมีปริมาณมากเหมือนกับหมากแปดริ้ว (ฉะเชิงเทรา) และหมากก็เป็นสินค้าส่งออก
มะพร้าว ซึ่งทางการสนับสนุนเพราะนอกจากบริโภคภายในแล้ว ยังมีการส่งออกนอกประเทศด้วย
สัปปะรด มีโรงเครื่องจักรทำสัปปะรดดองตั้งคอยรับซื้อผลผลิตเพื่อส่งขายไปยังประเทศสิงคโปร์
จาก การทำป่าจากจะมีรายได้จากการทำจากสูงกว่าการทำนา ได้ผลผลิตเร็ว ใช้พื้นที่น้อย จึงเป็นอีกอาชีพ ที่ขาวจีนเมืองฉะเชิงเทรา นิยมทำ
ที่มาของข้อมูล ปริญญานิพนธ์ของ อังคณา แสงสว่าง



ความผูกพันของอ้อย สัปปะรด และชาวฉะเชิงเทราในปัจจุบัน

จังหวัดฉะเชิงเทรามีพื้นที่ปลูกอ้อย 53,228 ไร่ ในท้องที่อำเภอสนามชัยเขต อำเภอท่าตะเกียบ และอำเภอแปลงยาว ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 8,500 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทรา จะขายอ้อยให้กับโรงงานน้ำตาลที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรีทั้งหมด ซึ่งอยู่เขตเศรษฐกิจฯ ที่ 9 จังหวัดชลบุรี

ส่วนสัปปะรด มีพื้นที่ปลูก 19,765 ไร่ ในท้องที่อำเภอสนามชัยเขต ท่าตะเกียบ และแปลงยาวเป็นสับปะรดโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 7,300 กิโลกรัม




การทำน้ำตาลจากอ้อยในประเทศไทยนั้น มีหลักฐานว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยทำเป็นน้ำตาลงบ แหล่งผลิตอยู่ที่ จังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร และพิษณุโลก ซึ่งปัจจุบันยังมีการผลิตน้ำตาลงบอยู่ในบางจังหวัด ต่อมาใน ปี พ.ศ. 1951 และ พ.ศ. 1955 ได้มีการส่งออกน้ำตาลทรายแดงไปยังประเทศญี่ปุ่น การผลิตน้ำตาลทรายแดงได้ดำเนินกิจการด้วยดีโดยมีแหล่งผลิตใหม่ที่ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และ จังหวัดชลบุรี เมื่อปริมาณการผลิตมีมากกว่าความต้องการบริโภค จึงมีการส่งออกไปยังต่างประเทศ ก่อนที่แหล่งผลิตจะย้ายมายังลุ่มน้ำท่าจีน และบริเวณตอนล่างของลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยมีการส่งออกอย่างมากในสมัยรัชกาลที่ 2 และ 3 (พ.ศ. 2352-2375) และเริ่มเสื่อมถอยจนต้องมีการนำเข้าในปี พ.ศ. 2436 จนกระทั่งได้มีการพัฒนาการผลิตน้ำตาลด้วยกรรมวิธีสมัยใหม่ในยุโรป ทำให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกตกต่ำลง การผลิตน้ำตาลในประเทศไทยจึงต้องหยุดกิจการไปบ้าง เหลือเพียงการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศเท่านั้น
ต่อมาการบริโภคได้เพิ่มขึ้น จนกระทั่งต้องมีการนำเข้าจากประเทศ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย รัฐบาลจึงเริ่มมีความคิดเกี่ยวกับ โครงการอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายขึ้น



การปลูกอ้อยเริ่มใหม่อีกครั้งประมาณปี พ.ศ. 2475 มีโครงการขอตั้งโรงงานน้ำตาลที่จังหวัดชลบุรีโดยเอกชนสนใจที่จะลงทุนผลิตน้ำตาลด้วยวิธีการสมัยใหม่ ต่อมารัฐบาลได้ตั้งโรงงานน้ำตาลขึ้นมาเองในปี พ.ศ. 2480 ชื่อว่า "โรงงานน้ำตาลไทยลำปาง" อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยผลิตน้ำตาลทรายขาว เพื่อที่จะลดการนำเข้าจากต่างประเทศ การผลิตน้ำตาลทรายขาวในประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2480 โรงงานที่ทันสมัยแห่งแรกสร้างขึ้นที่ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ในสมัยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี มีชื่อว่า "โรงงานน้ำตาลไทยลำปาง"

น้ำตาลมะพร้าว

ความหมายของคำว่าเกี่ยวกับน้ำตาลที่ปรากฏใน หนังสืออักขราภิธานศรับท์ ฉบับหมอ บรัดเล เขียนเมื่อ พ.ศ. 2416 ต้นรัชกาลที่ 5
มีคำว่าน้ำตาลชนิดต่างๆ ดังนี้
“ น้ำตาล คือ น้ำที่ไหล หยด ออกมาจากงวงตาลนั้น,
น้ำตาลกรวด, คือ น้ำตาลที่เป็นก้อนแข็งเหมือนกรวดนั้น, เหมือนน้ำตาลกรวดที่ทำด้วยน้ำตาลทราย,
น้ำตาลงบ, คือ น้ำตาลที่เขาทำเป็นงบๆ นั้น เช่น งบอ้อย,
น้ำตาลจาก, คือ น้ำตาลที่เขาทำจากงวงจากนั้น เช่น น้ำตาลมะพร้าว,
น้ำตาลทราย, คือ น้ำตาลที่เป็นเม็ดๆ เหมือนทรายนั้น,
น้ำตาลตะงุ่น, คือ น้ำตาลที่เขี่ยวไว้ข้นๆ นั้น เช่น น้ำตาลตะงุ่นเมืองเพ็ชร์บุรี,
น้ำตาลโตนฎ, คือ น้ำตาลที่เกิดแต่ต้นโตนฎนั้น เช่น น้ำตาลเพ็ชร์บุรี,
น้ำตาลปี่, คือ น้ำตาลที่ใส่เป็นรูปปี่นั้น เช่น น้ำตาลเพ็ชร์บุรี,
น้ำตาลปึก คือ น้ำตาลที่เขาหลอมเป็นปึกนั้น เช่น น้ำตาลงบ,



น้ำตาลเตา, คือ น้ำตาลที่เขาเคี่ยวมาจากเตานั้น เช่น น้ำตาลม่อนั้น,
น้ำตาลม่อ, คือ น้ำตาลที่เขาหยอดใส่หม้อนั้น เช่น น้ำตาลที่เขาขายตามตลาด,
น้ำตาลมะพร้าว, คือ น้ำตาลที่เกิดแต่มะพร้าวนั้น,
น้ำตาลหลอม, คือ น้ำตาลที่เหลวไปแล้วหลอมใส่หม้ออีกครั้งหนึ่ง เช่น น้ำตาลหลอม เพ็ชร์บุรี,
น้ำตาลสด, คือ น้ำตาลที่รองมาใหม่ๆ ยังไม่ได้เคี่ยวให้แห้งนั้น เช่น น้ำตาลในกระบอก,
น้ำตาลส้ม, คือ น้ำตาลที่ดองไว้ให้เปรี้ยว เช่น น้ำส้มกินเมา...”



งวงตาลและลูกตาล

ชื่อน้ำตาลชนิดต่างๆ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 อธิบายว่า

“น้ำตาล.สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรต์และไดแซ็กคาไรต์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็นความหมายเฉพาะอย่างและทำด้วยอะไร ก็เติมคำนั้นๆ ลงไป เช่น ทำจากตาล เรียกน้ำตาลโตนด, ทำจากมะพร้าว เรียกว่าน้ำตาลมะพร้าว, ทำเป็นงบ เรียกว่าน้ำตาลงบ, ทำจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทำให้เป็นน้ำตาลทราย เรียกว่าน้ำตาลทรายดิบ, ทำเป็นเม็ดๆ เหมือนทรายเรียกว่าน้ำตาลทราย, ทำเป็นก้อนแข็งๆ เหมือนกรวด เรียกว่าน้ำตาลกรวด, เคี่ยวให้ข้นๆ เรียกว่าน้ำตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลทำเป็นรูปปี่เรียกว่าน้ำตาลปี่, หลอมเป็นปึก เรียกว่าน้ำตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่าน้ำตาลหม้อ, รองมาใหม่ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่าน้ำตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่าน้ำตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน หมักเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์ กินแล้วเมา เรียกว่าน้ำตาลเมา...”

http://report-easy.blogspot.com/2009/07/blog-post_3413.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น