คล้าดอกขาว..คราวชูช่อ
ต้นคล้าชนิดที่กรีดเปลือกไปใช้เย๋็บจากหรือสานเสื่อคล้า
สานเสื่อคล้า
คล้า
ชื่อ วิทยาศาสตร์ Thalia geniculata L.
ชื่อวงศ์ MARANTACEAE
คล้าเป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี ชอบขึ้นตามริมน้ำ หรือที่ชื้นแฉะ ลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน สูงประมาณ ๒ เมตร ใบคล้ายใบพุทธรักษา เส้นใบแตกเป็นเส้นขนานเห็นชัด ก้านใบตอนล่างแผ่เป็นกาบประกบลำต้น ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกมีก้านช่อยาวแข็ง ชูดอกขึ้นมาเหนือกลุ่มใบ ดอกย่อยสีขาว ไม่มีก้านดอก
ลำต้นเหนือพื้นดิน ใช้ปลือกนำมาทำเครื่องจักสาน
พืชในวงศ์คล้า MARANTACEAE มีอยู่ ๓๐ สกุล จำนวนประมาณ ๓๕๐ ชนิด
ต้นคล้าในภาพ เรียกว่าคล้าน้ำ ซึ่งคล้าน้ำมีหลายชนิด
ต้นคล้า นิยมนำมาใช้เย็บจาก โดยผ่าเป็นเส้นเอาไส้ออก เหลือเพียงผิวคล้า ตากให้แห้ง ปลายด้านหนึ่งเสี้ยมแหลมให้เป็นรูปสามเหลี่ยมสามารถปักเย็บลงบนใบจากมีตับทางจากเป็นแกนตับจากได้ ในระหว่างการเย็บจากต้องใช้มีดคอยเสี้ยมปลายหัวแหลมของเส้นคล้า หากปลายแหลมนี้ทู่ปักเย็บจากไม่ลงแล้ว
ทางภาคตะวันออกบางท้องที่นิยมนำเส้นคล้ามาสานเสื่อ เช่นที่จังหวัด ระยอง จันทบุรี
เสื่อคล้า เป็นเสื่อที่ผลิตจากต้นคล้า โดยคัดเลือกต้นคล้าที่มีลำต้นตรงกลมสวย โคนใหญ่ ตัดโคนตัดปลาย ผ่าเป็นสี่ส่วน เอาไส้ออกนำมาครูดไส้ออกอีกครั้ง เหลือเพียงผิวคล้า ตากแดดประมาณ สองถึงสาม วัน เมื่อคล้าถูกแดดก็จะเหี่ยว จากสีเขียว เป็นสีน้ำตาลไหม้เอามารีดกับไม้กลมๆให้แบน แล้ว นำมาแขวนไว้ ก่อนนำมาสานสานเสื่ มักพรมน้ำ เพื่อให้ผิวคล้านุ่มขึ้นทำให้สานง่ายโดยใช้ลายสอง เช่นเดียวกับเสือกก จะใหญ่หรือเล็กขึ้นกับขนาดของความยาวของต้นคล้า
เสื่อคล้าผืนหนึ่ง เสื่อสานเสร็จต้องพับคล้าร้อยริมด้วยหวายทุกด้านให้มั่นคง ความกว้างยาวของเสื่อคล้าโดยทั่วไปมีความกว้างยาวเท่ากันประมาณ ๑ เมตร หรืออย่างใหญ่ประมาณ ๓ เมตร มีลักษณะแข็ง พับไม่ได้ วิธีเก็บรักษาใช้วางกับพื้นบ้าน การม้วนต้องม้วนทแยงมุม เพียงหลวมๆ นิยมใช้ในครัวเรือน เพราะไม่สะดวก ในการเคลื่อนย้ายที่จังหวัดพิษณุโลก ยังนิยม นำคล้ามาสานเป็นภาชนะอื่นๆ อีก เช่น เครื่องมือประมงพื้นบ้าน ขะนาง ข้อง และไซ เป็นต้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีการนำต้นคล้ามาสานเป็นกระติบข้าว ตะกร้า หวด แต่เนื่องจากเมื่อนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาใช้แล้ว ตะกร้าและหวดไม่สามารถรับน้ำหนักได้เท่ากับการสานจากไม้ไผ่จึงไม่นิยมใช้ ปัจจุบันมีการนำคล้ามาสานเฉพาะกระติบข้าวเท่านั้น
ทางอีสาน ก็มีการนำคล้ามาสานเป็นกระติบข้าวกันหลายจังหวัด
ที่่จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ เมืองแปดริ้ว มีอำเภอบางคล้า เป็นแหล่งที่มีสวนผลไม้มากอำเภอหนึ่ง ในอดีตมีต้นคล้าขึ้นเป็นจำนวนมาก ชื่อบางคล้านั้นได้มาจากพรรณไม้นี้นั่นเอง คนบางคล้าก็เคยนิยมใช้คล้าในงานจักสาน แต่ในปัจจุบัน ต้นคล้าในอำเภอบางคล้าก็ลดน้อยลงไปมาก เท่าที่เหลืออยู่ เป็นการปลูกไว้เพื่อนำลำต้นมาใช้เย็บจากเท่านั้น ซึ่งแม้แต่ ตับจากเองที่ใช้ในการมุงหลังคาบ้านเรือน โรงเรือนต่างๆ ก็ยังลดน้อยลงไปอีก
บ้านที่มุงหลังคาจากนั้นจะเย็นสบายเหมาะสำหรับบ้านในท้องทุ่งท้องนามากกว่ามุงหลังคาด้วยวัสดุอื่นๆ แต่อายุการใช้งานไม่ทนทานเหมือนวัสดุสมัยใหม่ การลงแขกมุงหลังคาบ้านด้วยจากก็เลือนหายไปจากชีวิตชนบทของชาวแปดริ้วไปด้วย เช่นเดียวกับการลงแขก ดำนา เกี่ยวข้าว
ที่บางกรูดไม่นิยมใช้เสื่อคล้า มักนำคล้ามาผ่าเป็นเส้นซึ่งจะเล็กและยาวกว่าการใช้สานเสื่อ เพื่อใช้เย็บตับจาก
คล้าน้ำ
พบเห็นได้ทั่วไปเป็นที่นิยมปลูก
คล้าชนิดนี้ต้องปลูกอยู่ในน้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น