วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

[บทความ] พญานาค..อนันตนาคราช..

พญานาค...อนันตนาคราช

นาคเป็นสัญลักษณ์แห่งน้ำ


ขอคารวะเทพไท้เทวา

ชาวฮินดูถือว่า นาคเป็นผู้ใกล้ชิดกับเทพองค์ต่างๆ เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ เช่น อนันตนาคราช ที่เป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ตรงกับความเชื่อของลัทธิพราหมณที่เชื่อว่า นาค เป็นเทพแห่งน้ำ และจะมีคำเสี่ยงทายถึงปริมาณของน้ำและฝนที่จะตกในแต่ละปีเพื่อการเกษตร เรียกว่า "นาคให้น้ำ"
จำนวนนาคให้น้ำมีไม่เกิน 7 ตัว ถ้าปีไหนอุดมสมบูรณ์มีน้ำมากเรียกว่า "นาคให้น้ำ 1 ตัว" แต่หากปีไหนแห้งแล้งเรียกว่าปีนั้น "มีนาคให้น้ำ 7 ตัว" จะวัดกลับกันกับจำนวนนาค ก็คือที่น้ำหายไป เกิดความแห้งแล้งนั้นก็เพราะ พญานาคเกี่ยงกันให้น้ำ แต่ละตัวจึงกลืนน้ำไว้ในท้องไม่ยอมพ่นน้ำลงมา ซึ่งคำทำนายเรื่องนาคให้น้ำนี้ จะปรากฏเห็นได้ชัดที่สุด คือ ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของไทย

ที่อยู่ของพญานาคมีตั้งแต่ในแม่น้ำ หนอง คลอง บึงต่างๆ ในอากาศ จนไปถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พวกพญานาคอยู่ในการปกครองของท้าววิรูปักขะผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก เหตุที่มาเกิดเป็นพญานาคเพราะทำบุญเจือด้วยราคะ


นารายณ์บรรทมสินธุ์


พญานาค เป็น ความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกชื่อต่าง ๆ กัน แต่มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย" มหากาพย์มหาภารตะ" นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ

นาคเป็นโอรสของพระกัศยปเทพบิดรกับนางกัทรุ พระกัสยปยังมีชายาอีกองค์คือนางวินตาแม่ของพระยาครุฑ มูลเหตุที่ครุฑกับนาคเป็นศัตรูกัน เพราะมารดาทั้งสองฝ่ายพนันกันว่า สีม้าของพระอาทิตย์คือสีอะไรตกลงเดิมพันกันว่าใครแพ้ต้องยอมเป็นทาสของอีกฝ่ายหนึ่ง ผลคือนางกัทรุชนะพนันนางวินตา บุตรของนางทั้งสองคือนาคและครุฑจึงเป็นศัตรูคอยสู้รบกันเสมอมา

ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคแตกต่างกันไป แต่ที่มีพื้นฐานเหมือนกันคือมีลักษณะเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดงมีเกล็ดเหมือนปลา มีหลายสีตามแต่บารมี คือสีเขียว สีดำ หรือ 7 สีเหมือนสีรุ้ง
และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุ หรือที่เรียกกันว่าอนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ

นาคเป็นเจ้าแห่งงู แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ อยู่ที่สวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา



นารายณ์บรรทมสินธุ๋
คุณบัญชา ธนบุญสมบัติ (สวทช.)

นาคแบ่ง ออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่
คือตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง
ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว
ตระกูลฉัพพยาปุตตะพญานาคตระกูลสีรุ้ง
ตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ

พญานาคเกิดได้ทั้ง 4 แบบ คือ
แบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที
แบบสังเสทชะ เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมม
แบบชลาพุชะ เกิดจากครรภ์
แบบอัณฑชะ เกิดจากฟองไข่
พญานาคชั้นสูงเกิดแบบโอปปาติกะ

ส.พลายน้อย เขียนเรื่อง พญานาค ไว้ว่า
พญานาคในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ได้แยกไว้ละเอียด 1,024 ฃนิด ในหนังสือปรมัตถโชติกะมหาอภิธัมมัตถสังคหฏีกา ปริเฉจ ที่ 5
โดยจัดหมวดหมู่ เป็นลำดับชั้น คือนาค มี 4 ประเภท จัดตามพิษของนาค นาค ทั้ง 4 ประเภท ๆ หนึ่ง มีวิธีทำอันตราย ได้ 4 วิธี นาคทั้ง 16 ชนิดนี้ แบ่งวิธีที่พิษเข้าไปทำอันตรายออกเป็น อีก 4 ชนิด นาคทั้ง 64 ชนิดนี้ แบ่งตามวิธีเกิด อีก 4 ชนิด รวมเป็นนาค 256 ชนิด ชนิดหนึ่ง ๆ แบ่งที่ เกิด ชนิดละ 2 แบบ คือ พญานาคที่เกิดในน้ำ และพญานาคที่เกิดบนบก รวมเป็น 512 ชนิกด ทั้ง 512 ชนิดนี้ ยังเป็นเป็นพญานาคที่เสวยกามคุณ และไม่เสวยกามคุณ รวมเป็นพญานาค ทั้งสิ้น 1,024 ชนิด

อายุของพญานาคไม่แน่นอน บางทีอายุสั้น บางทีอายุยาว พญานาคที่มีอายุยาวนั้น ถึงแม้พระพุทธเจ้าในภัทรกัปอุบัติขึ้น 5 พระองค์ พญานาค ก็ยังมีชีวิตยืนยาวอยู่ได้ เช่น พระยานาค ชื่อ กาละ ซี่งมีอายุตั้งแต่พระ กกุสันธะ จนถึงพระสมณะโคตมะ และจะอยู่จนถึง พระศรีอริยเมตตรัย
(โดย ส.พลายน้อย)
นาคสามารถขึ้นลง ตั้งแต่ใต้บาดาลพื้นโลกจนถึงสวรรค์ ในทุกตำนานมักจะกล่าวถึงนาคที่ขึ้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองสวรรค์ ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิด ตามสภาวะเหตุการณ์นั้น

พญานาค เป็นสะพาน (สายรุ้ง) ที่เชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ โลกศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อที่ว่า พญานาค กับ รุ้ง เป็นอันเดียวกัน ก็คือสะพานเชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์นั่นเอง



นารายณ์บรรทมสินธุ์
คุณบัญชา ธนบุญสมบัติ (สวทช.)

ใน มหานิบาตชาดก มีเรื่อง ภูริทัตชาดก เป็นเรื่องที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนาคราชชื่อ ภูริทัต โอรสของท้าวทศรถแห่งเมืองนาคบำเพ็ญศีลบารมี
รวมทั้งในวรรณคดีก็มีปรากฎมากมาย แม้แต่ในพุทธกาลที่เจ้าชายสิทธัตถะลอยถาดทองที่นางสุชาดานำข้าวมธุปายาสมาถวาย ณ แม่น้ำเนรัญฃรา ถาดทองก็จมไปถึงเมืองพญานาค พญากาลภุชคินทร์ผู้ครองแคว้นได้ยินเสียงถาดกระทบกับพื้นถ้ำก็ตกใจตื่นขึ้น กล่าวกันว่าพญากาลภุชคินทร์นี้นอนนานมาก มีพระพุทธเข้าตรัสรู้องค์หนึ่ง ก็จะตื่นขึ้นมาครั้งหนึ่งจากเสียงถาดที่กระทบถ้ำที่อยู่

ส่วนในตำนานพุทธประวัติก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน

หลังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข อยู่ 7 วัน มีฝนตกพรำๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน ได้มีพญานาคชื่อมุจลินทร์ ( มี 5 เศียร)ซึ่งอยู่ใกล้สระมุจลินทร์เข้ามาวงด้วยขด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกาย หลังจากฝนหายแล้ว คลายขนดออก แปลงเพศเป็นชายหนุ่มยืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า

และในสมัยนั้น มีพญานาคตนหนึ่งนั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วได้เกิดศรัทธา จึงได้แปลงกายเป็น มนุษย์ขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่อยู่มาวันหนึ่งเข้านอนในตอนกลางวัน หลังจากหลับแล้วมนต์ได้เสื่อมกลายเป็นงูใหญ่ จนพระภิกษุรูปอื่นไปเห็นเข้า ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงให้พระภิกษุนาคนั้นสึกออกไป เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉาน นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน

ต่อจากนั้นมาพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติไม่ให้สัตว์เดรัจฉาน ไม่ว่าจะเป็นนาค ครุฑ หรือสัตว์อื่นๆ บวชอีกเป็นอันขาด และก่อนที่อุปัชฌาย์จะอุปสมบทให้แก่ผู้ขอบวชจะต้องถาม อันตรายิกธรรม หรือข้อขัดข้องที่จะทำให้ผู้นั้นบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้ รวม 8 ข้อเสียก่อน ในจำนวน 8 ข้อนั้น มีข้อหนึ่งถามว่า "ท่านเป็นมนุษย์หรือเปล่า" และจึงเรียกการบวชนี้ว่า "บวชนาค" ซึ่งเรื่องนี้มีผู้รู้กล่าวว่าเป็นนิยายมากกว่าเรื่องจริง ท่านวัดถนนได้แต่งอธิบายถึงคำที่มาของคำว่านาคไว้ดังนี้"



การกวนเกษียรสมุทร

" ด้วยคำบุราณท่านกล่าวไว้นั้นมีมาก ว่าพญานาคฝากชื่อ กิตติศัพท์ก็เล่าลือสนั่นก้อง แต่ความอันนี้ไม่ถูกต้องตามพุทธฎีกา ด้วยคัมภีร์มหาวัดด์นั่้นท่านว่า พญานาคตนหนึ่งมีศรัทธา นิมิตกายาเหมือนมนุษย์ มาบวชในพระพุทธศาสนา ครั้นนานมาผู้เป็นเจ้าประมาท รูปนิมิตนั้นก็เคลื่อนคลาดกลับกลายเป็นพญานาค สมเด็จพระพุทธองค์ ผู้ทรงสวัสดิ์ภาคทราบพระโสต จึงมีพระพุทธฏีกาโปรดประทาน นามชื่อว่าสัตว์ดิรัจฉานมีชาติอันต่ำช้า ห้ามมิ ให้บวชในพระศาสนาตถาคต ความในมหาวัดค์หมดแต่เท่านี้ ทั้งอัตถกถาบาลีก็ดูหมด คำที่ว่าพญานาคฝากชื่อนั้นมิได้ปรากฎในคัมภัร์ใด ท่านทั้งปวงพึงเข้าใจฉะนี้เถิด นามชื่อว่าเจ้านาคนั้นเกิดกุลบุตร เพราะเหตุท่านสมมติเมื่อจะบวช แต่พอได้เปลี่ยนปากสวดนั้นง่ายง่าย กับอนึ่งได้อธิบายในนาคศัพท์ มีอัตถรับตามกระแส ท่านแปลว่าไม่กระทำบาป ท่านจึงจัดเข้ามาให้เห็นเป็นนามลาภแก่อุปสมบท นามชื่อว่านาคจึงปรากฎเป็นดังนี้

พญานาคเป็นพาหนะของพระพิรุณซึ่งเป็นใหญ่ในการให้น้ำฝน เป็นผู้บันดาลให้ฝนตก (ตามคติไทย)


พญานาค

พญานาคอนันตนาคราช

“พญานาคอนันตนาคราช” เป็นชื่อพญานาคซึ่งขดร่างเป็นแท่นให้พระนารายณ์บรรทมใต้เกษียรสมุทร เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าาเศษะ หรือ เศษนาค เป็นเจ้าแห่งบาดาล มี 1,000 เศียร
สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 29 ได้เล่าถึง “พญานาคอนันตนาคราช” ว่า
ประวัติของอนันตนาคราชแตกต่างกันไปหลายตํานาน ว่ากันว่าาพญานาคกับครุฑเป็นพี่น้องงร่วมบิดากัน คือ พระกัศยปะ แต่ต่างมารดากัน มารดาของนาคชื่อ นางกัทรุ มีบุตรเป็นนาค 1,000ตัว ตัวที่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ อนันตนาคราช ซึ่งเป็นพี่ชายใหญ่ เมื่อมีการกวนเกษียรสมุทร อนันตนาคราชก็ถูกเทพนํามาใช้เป็นเชือกพันเขามันทร ซึ่งใช้กวนเกษียรสมุทรให้เกิดน้ําอมฤต บางตํานานเล่าว่าอนันตนาคราชมีเพียง 8 เศียร และมี 8 หาง หรือ 1 หาง แต่ส่วนใหญ่กล่าวว่ามี 1,000 เศียร
โลกตั้งอยู่บนเศียรของอนันตนาคราชหรือเศษนาค เมื่อเศษนาคกระดิกตัวก็จะเกิดแผ่นดินไหว ที่มาของเรื่องนี้อยู่ในมหากาพย์มหาภารตะ ซึ่งเล่าว่าาเศษนาคเป็นพี่ใหญ่ มีพญาวาสุกีแป็นน้องรองลงมา นาคน้อง ๆ ทั้งหลายกระทําบาป แต่เศษะใจบุญจึงได้หลบไปบําเพ็ญตบะอยูเป็นเวลานาน จนพระพรหมเสด็จมาประทานพรตามที่ขอ เศษนาคขอไม่อยู่ร่วมแผ่นดินกับน้อง ๆ พระพรหมจึงโปรดให้ไปครองเมืองบาดาล และเอาเศียรรองรับแผ่นดินไว้
อนันตนาคราชเป็นพาหนะของพระวิษณุหรือพระนารายณ์ โดยอยู่ในลักษณะขดเป็นแท่นบัลลังก์ เพื่อให้พระนารายณ์บรรทม ด้วยลักษณะเช่นนี้เองเป็นที่มาของพระนารายณ์บรรทมสินธุ์

อีกตํานานหนึ่งเล่าว่าเมื่อสิ้นแต่ละกัลย์ เศษนาคจะเป็นผู้พ่นพิษไฟพิษไฟทําลายสัตว์โลกทั้งปวง แต่ตัวเองไม่ตาย จึงได้ชื่อว่า อนันตะ ซึ่งแปลว่าไม่มีที่สิ้นสุด

ตามไศวนิกายเล่าว่า เศษนาคเกิดจากสายธุรํา (สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา เรียกว่า สายธุรํา, ธุหรํ่ายัชโญปวีต หรือ สายมงคล ก็เรียก) ซึ่งพระอิศวรทรงเปลื้องออกจากพระวรกาย ดังนั้นจึงเป็นพญานาคที่มีอิทธิฤทธิ์มาก อนันตนาคราชเคยเห็นพระอิศวรฟ้อนรำด้วยท่าอันงดงามและใคร่อยากจะชมอีก จึงทูลขอให้พระอิศวรทรงฟ้อนรําอีกครั้ง พระอิศวรจึงเสด็จลงมาฟ้อนรําในโลกมนุษย์ตรงที่ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิหารฮินดูชื่อ จิทัมพรัม ในอินเดียใต้ มนุษย์ได้จดจำท่ารำต่าง ๆของพระอิศวรไว้เกิดเป็นนตํานานฟ้อนรําของอินเดีย และพระอิศวรก็เป็นที่นับถือกันในชื่อ นาฏราช ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู
อนันตนาคราช หรือเศษนาค นับเป็นนเทพที่ทรงอิทธิฤทธิ์องค์หนึ่ง ซึ่งชาวฮินดูนับถือพร้อมไปกับพระนารายณ์หรือพระวิษณุ

ข้อมูลจาก www.royin.go.th โดย คุณอิสริยา เลาหตีรานนท์


พญานาค

นาควาสุกรี หมายถึง นาคที่มีเศียรถึง 7 เศียร แล้วยังมีพิษร้ายแรงมาก มีความสำคัญในการกวนเกษียรสมุทร พญานาควาสุกรีจะต้องถูกนำมาพันรอบเขามันทระ เพื่อให้เหล่าเทวดาฉุดทางส่วนหัว และเหล่าอสูรช่วยฉุดทางหาง

พญานาคกับสัญลักษณ์ของวิชาแพทย์
พญานาค หมายถึง วิชาแพทย์ ที่พระวิศวามิตร์เล่าไว้ในบ่อเกิดรามเกียรติ์ว่า เทวดาและอสูรต้องการเป็นอมตะ จึงทำพิธีกวนเกษียรสมุทร โดยใช้เขามนทรคีรีเป็นไม้กวน นำพญาวาสุกรี (พญานาค) เป็นเชือก เป็นผลให้เกิดประถมแพทย์ "ธันวันตะรี" ซึ่งผู้ชำนาญในอายุรเวท

ในความเชื่อของชนชาติขอม
มีตำนานเล่ากันไว้ว่า ฝ่ายปฐมกษัตริย์ของขอม ถือกำเนิดจากธิดาพญานาคที่ได้สมสู่กับพราหมณ์อินเดีย ในภายหลังพญานาคจึงได้เป็นผู้ปกปักรักษาราชอาณาจักรขอมและรักษาศาสนสถานด้วย

พญานาคจึงมีเรื่องราวความเป็นมาหลากหลายตามความเชื่อของผู้คน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในท้องถิ่นอีก เช่นความเชื่อของพญานาคลุ่มแม่น้ำโชง ความเชื่อของชาวล้านนา



พระภูริทัต

จากอุทกภัยน้ำท่วมหลายแห่งในมุมโลก โดยเฉพาะที่ประเทศไทยที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ ที่มีนักข่าวเปรียบเทียบเหมือนเรากำลังถูกข้าศึกโอบล้อมบ้าง โจมตีบ้าง เดี๋ยวเมืองโน้นแตก เดี๋ยวด่านป้องกันข้าศึกด้านนี้แตก ราวกับกระแสน้ำเหล่านี้มีชีวิตจิตใจจ้องโจมตีประเทศของเรา มีความรู้สึกยามที่สายน้ำทะลักทะลายเข้าเมืองเข้าหมู่บ่้านต่าง ๆ เหมือนเมืองแตก กันเลยทีเดียว ทำให้นึกถึงคำโบราณที่สอนสั่งพวกเรามาว่า สิ่งใดมีคุณอนันต์ก็ย่อมมีโทษมหันต์ ทุกสิ่งอย่างในโลกนี้ล้วนมีสองด้าน แต่มนุษย์นั้นสุดประเสริฐที่มีความสติปัญญาเฉลียวฉลาดและมีสิทธิ์ในการเลือก เมื่อฉลาดที่จะได้ เลือกที่จะได้ ก็ต้องไม่กลัวกับคำตรงข้าม คำว่าได้ก็ตรงข้ามกับคำว่าเสีย ได้กับเสียก็เป็นของสองด้านที่เป็นคู่ของกันและกัน ในโลกนี้ไม่มีใครที่จะได้ฝ่ายเดียว แต่มันน่าอนาถใจ ที่มีคนได้จำนวนคนไม่มากแต่กลับนำพาเราซึ่งเป็นคนหมู่มาก เสียไปด้วยกันโดยไม่ได้ทำผิดทำบาปอะไร ( ต้องปลอบใจว่าเป็นกรรมเก่าแล้วกัน) เข้าตำราคำพังเพยว่า พลอยฟ้าพลอยฝนโดนไปด้วย หรือ ปลาข้องเดียวกัน ปลาตายตัวเดียวเหม็นโฉ่ไปทั้งข้อง



หิมพานต์
แต่ถ้าเราคิดว่าสายน้ำนี้มีชิวิตจิตใจจริง ก็น่าต้องเห็นใจเข้าใจสายน้ำ เพราะเราฝืน ขัดขืน ขัดขวาง รังแกสายน้ำเขาก่อนเช่นกัน
ธรรมชาติของสายน้ำ นั้นเย็นฉ่ำล้ำระรื่น บุคคลที่ใจเย็น เรามักเปรียบว่าใจเย็นยังกับสายน้ำ คนที่ใจกว้างมีแต่ให้ เราก็พูดเปรียบเทียบว่าใจกว้างเหมือนแม่น้ำ น้ำชำระล้างสิ่งของให้สะอาด แต่วันนี้สายน้ำเองกลับเหม็น หมักหมม และ ขุ่นดำ ซึ่งนั้นก็มิใช่ธรรมชาติของสายน้ำเลยสักนิดเดียว วันนี้ถ้าสายน้ำมีความรู้สึกนึกติด เขาคงบอกว่า นี่ก็ไม่ใช่ตัวตนของเขาเลย สายน้ำมิได้อยากเป็นแบบนี้ สายน้ำตกเป็นเครื่องมือ ของบรรดา เทพเทวา ชั้น จาตุมหาราชิกา ลงโทษมวลมนุษย์ ทั้งพระคงคา พระแม่ธรณี รุกขเทวาและนางไม้ กระหน่ำซ้ำด้วยพญานาคโดยเฉพาะ อนันตนาคราช

พระพิฆเนศ ได้ประทับทรงร่าง ๆ หนึ่ง เมื่อกลางเดือนนี้เอง ท่านบอกว่าขณะนี้มีภาคอวตารของพระนารายณ์ตามความเชื่อของลัทธิพราหมณ์อยู่ที่เมืองไทยของเรา และถูกจาบจ้วงล่วงเกินจนพญาอนันตนาคราชพิโรธจัด ผู้เขียนก็เล่าสู่ท่านผู้อ่าน คนโบราณอีกเช่นกันท่านสอนสั่งเราไว้ว่า ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่


สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

กับอีกหนึ่งคำพีงเพยว่า บาปซ้ำกรรมซัดวิบัติเป็น
ลูกชายผู้เขียนเล่าว่า มี เฟสบุ๊ก โพสต์ว่า เขาเป็นคนจังหวัดนครปฐมแถบบ้านผู้คนก็ช่วยกันทำคันดินเป็นพนังกั้นน้ำเหมือนคนอื่นๆแล้วน้ำก็มาโอบล้อมจ่อคิวที่จะทำนบแตกหรือไหลล้นเช่นสถานที่อื่นๆ วันไหนเวลาไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน พวกเขาก็จัดการสำรวจตรวจตราพนังคันดินนี้ จู่ๆ วันนั้น ก็มีน้ำไหลผ่านเป็นรูที่คันดิน น้ำก็ไหลพรั่งพรูจนประหลาดใจ เพราะพนังไม่พัง น้ำไม่ล้น ไปตรวจหาสาเหตุแล้วก็ต้องอี้งกิมกี่ไปเลย คันดินตรงนั้นถูกปลาไหลและไส้เดือนชอนไชคันดินเป็นรู จึงทำให้น้ำไหลมาจากรูนี้เอง ลูกชายบอกว่า ดูซิแม่ขนาดปลาไหลและไส้เดือนยังรังแกซ้ำเติมพวกเราเลยแม่
บาปซ้ำกรรมซัดจริงๆ นอกจากหมู่เทวาหลายองค์แล้วแม้แต่ ปลาไหลไส้เดือนยังกระหน่ำซ้ำเติมความทุกข์ให้มนุษย์

4 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากคะได้ความรู้เยอะเลย

    ตอบลบ
  2. คำตอบ
    1. ชื่อเต็มๆ คืออะไร
      บางข้อมูล ว่า พญาอนันตนาคราช ปู่_ภุชงค์
      เลย งง ครับ?
      ว่า พญาอนันตนาคราช
      และ ปู่ ภุชงค์
      องค์เดียวกัน หรือ ไม่
      หรือ ข้อมูล ผิด
      รบกวนสอบถามหน่อยนะครับ

      ลบ