วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554
หนังสืออื่น ๆ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
หนังสืออื่น ๆ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ยังมีหนังสืออีกหลายเล่มซึ่งเป็นผลงานของพระยาศรีสุนทรโวหาร ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก เห็นแค่ชื่หนังสือก็ งง ว่าหมายถึงอะไร ขอแนะนำพอสังเขปสั้นๆดังนี้ปกีระณำพจนาดถ์ซึ่งมีคำอธิบายนิพนธ์โดยกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ในการนำมาจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ซึ่งเป็นการพิมพ์ครั้งที่สอง มีระยะเวลาห่างจากการพิมพ์ครั้งแรก ๕๐ เศษ เวลานี้หาฉบับยาก นักเรียนรุ่นใหม่มีน้อยคนที่จะรู้จัก แต่ถ้าใครเป็นนักเรียนที่ใส่ใจในเรื่องหนังสือแลภาษาไทยจริง ๆ ถ้าไม่รู้จักหนังสือนี้ก็บกพร่องไป หนังสือนี้มีประโยชน์หลายทาง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ผู้แต่งหนังสือ ปกีระณำพจนาดถ์นี้ เป็นใหญ่ในพวกอาจารย์หนังสือไทยในตอนต้นรัชกาลที่ ๕ ตลอดมาราวครึ่งรัชกาล เป็นศาลฎีกาในเรื่องหนังสือไทย เมื่อตัดสินว่ากระไรก็เป็นคำพิพากษาสุดท้าย ใครจะเถียงว่ากระไรอีกก็ฟังไม่ขึ้นในสมัยนั้น........
ในน่า ๕๓ ข้าพเจ้าเห็นฉลาดแต่งดีมาก อ่านแล้วหยุดหัวเราะหลายครั้ง ตรงที่ "บ่าวพระยารามคำแหงตกม้า " นั้นขันนัก ข้าพเจ้าเคยถือว่าพระยาศรีสุนทร (น้อย) แต่งกลอนแลโคลงอย่างสง่าผ่าเผย พึ่งจะมารู้ว่ามีขันคราวนี้
ข้าพเจ้าขอแนะนำให้ท่านอ่านหนังสือนี้ ถึงแม้เคยอ่านนานแล้วก็ควรอ่านอีกครั้งหนึ่ง
พิทยาลงกรรณ์
19 พศจิกายน ๒๔๗๓
ใจความมีทั้งหมด ๑๖ หน้า
ในปกีระณำพจนาดถ์@ จะเริ่มริเกลากลอนสุนทรแถลง
นิพนธ์พจน์บทแยบแบบแสดง จะแจ้งแจงคำใช้ไว้เป็นเลา
สำหรับเด็กนักเรียนได้เขียนหัด พอกำจัดทางโทษที่โฉดเขลา
จักเจริญเรื่องรู้อย่าดูเบา ดีกว่าเดาโดนคลำแต่ลำพัง
จะคิดคัดคำใช้ไว้เป็นอย่าง คำต่างต่างเติมติดคิดต่อตั้ง
พอเป็นเครื่องเตือนใจระไวระวัง แม้นเขียนพลั้งเสียศักดิ์ภูมนักเรียน
คำที่ใช้ไว้วางต่างต่างเลศ ล้วนส่อเหตุใช่จะว่าเป็นพาเหียร
อาไศรยแยบแบบมคธบทจำเนียร เป็นที่อ้างอย่างเขียนให้ถูกคำ
ลางวาจาเล่าก็มาแต่พากย์อื่น มีดาศดื่นตื้นฦกสุขุมขำ
ถ้าแม้นไม่ศึกษาอุสาหจำ ก็จะคลำคลุมโปงตะโพงดัน
๑ ตัวสกดกานกานสารนุสนธิ์ โดยยุบลหกอักษาจงผ่อนผัน
คือ ญ ณ น ร ล ฬ ปัน เป็นส่วนกันใช้แปลกแยกตามความ....
...
๑๑. จรเข้แลจะเข้อีกตะเฆ่ จงรู้เล่หวาจาอย่าฉงน
จรเข้สัตวร้ายในสายชล มันกินคนคาบพาในวารี
ดีดจะเข้เร่นิ้วดูพลิ้วพลิก กระจุกกระจิกเช่นกับเพลงกระจับปี่
ในคำเรียกว่าจะเข้เครื่องดนตรี จงรู้ที่เขียนใช้ถูกใจความ
อีกลูกล้อลากไม้ใช้กันถม คนนิยมเรียกตะเฆ่คำสยาม
อีกสามคำจำให้อยู่อย่าวู่วาม ถ้าผลีผลามมักง่ายจะอายคน
๔๓ อุส่าหจำเถิดจะร่ำให้สิ้นสุด ยังสมุทกับสมุดนี้คำคู่
คือสมุททอสกดกำหนดดู ก็จงรู้ว่ามคธบทบาฬี
ในคำแปลว่ากระแสทะเลฦก จงตริตฤกความประกอบให้ชอบที่
ดอสกดพจน์สยามความก็มี ต้องใช้ที่สมุดขาวสมุดดำ
ที่บางคนเขียนใช้สมุจยะ ภาษาพระฝ่ายข้างวัดจัดเนกขัม
สมุดนี้ของไทยใช้ประจำ ไม่ควรค้ำให้มันเขินจนเกินเกณฑ์
พวกบ้าน ๆ มักจะพาลพาโลติ ว่าอุตริเป็นตำราขรัวตาเถร
อันคิด ๆ นี้ยากต้องบากเบน ไม่ควรเกณฑ์ก็อย่าเกณฑ์ให้เกินกิน
๔๖ พักภักตรภักดิ์ภักษมีทั้งสี่ศับท์ บทบังคับคำแปลกแยกขยาย
อันพักนี้คำสยามความธิบาย คือหยุดพักพอสะบายแลพักพล
ภักตรนี้คำกำพุชสมมุติว่า คือดวงหน้าใช้แพร่งทุกแห่งหน
ว่าผิวภักตรวรภักตรภักตรพิมล แทบทุกคนรู้แปลได้แน่นอน
ภักดิ์ตัวนี้เดิมทีเป็นภัตด ในลัทธิเรียนร่ำท่านพร่ำสอน
แผลงเป็นภักแม่กกยกสุนทร คิดอักษรจัดว่าเป็นการันต์
ท่านใช้ว่าดังพระยาบำเรอภักดิ์ สวามิภักดิ์สุจริตไม่บิดผัน
หลวงมหาใจภักดิ์ได้รักกัน เช่นนี้นั้นแปลประจักษ์ว่าภักดี
คำมคธบทเดิมว่าภัตดิ ตามลัทธิสังสกฤฏอักษรศรี
แผลงตัวตะไปเป็นกะสระมี จึงกลายเป็นภักดีเช่นนี้นา
ที่ใช้ตรงว่าภักดีก็มีมาก เป็นคำหลากในสยามภาษา
พระยาราชภักดีมีสมยา หลวงเสนาภักดีมหาดไทย
ภักดีกับภักดิ์คำเดียวกัน แต่ประทันฑฆาฎอย่าสงไสย
อ่นแต่ภักดิเป็นการันต์ไป เช่นคำใช้สวามิภักดิประจักษ์ความ
อีกภักที่มีษอทัรฑฆาฎ คำนักปราชชักมาใช้ในสยาม
จะแปลว่าอาหารก็สมความ นิยมตามคำไทยใช้ว่ากิน
เหมือนคำเชิญภักษ์ภุญช์ภักษาหาร พระยามารจับเป็นภักษ์เสียหมดสิ้น
อันคำภักยักย้ายหลายระบิล ให้รู้ถิ่นที่จะใช้อย่าไขว้กัน
หนึ่งจะช่วยชี้ไว้ให้ประจักษ์ ยังอีกพรรคสกดคอมีรอหัน
แปลว่าพวกแลว่าหมู่ดูสำคัญ ไว้ประกันแก้เขลาที่เง่างม
มีคำล่ากับหล้า เนิ่นนานกับ ชำนาญ อง กับองค์ อาจหาญ ห้าวหาญ ทวยหาญ กับหาร รอสกด และปะหาน บวชกับผนวช
ปราโมช กับ ปราโมทย สังเวชกับสมเพช พบกับภพ รด รศ รถ ฯ เป็นต้น
รวมคำกลอน ๑๐๑ บท ความยาวบ้างสั้นบ้างตามเนื้อหาที่ท่านอธิบาย ตามกลุ่มคำ กลุ่มละ ๑ บท อธิบายยกเป็นกลอนสัมผัสต่อเนื่องกันทั้ง ๑๐๑ บท
หนังสือฉันทวิภาคเป็นหนังสือกล่าวถึงลักษณะกลอนฉันท์ตามวิธีในคัมภีร์ วุตโตทัย ที่ต้องใข้คำ คะรุ ละหุ แลคณะ (คะณะแปลว่าหมู่คือรวม คะรุ และ ละหุ เป็นหมู่ ๆ กัน)
ตัวอย่างเช่น
สัททุลละวิกิฬิตะ ฉันท์ ๑๙... ดุจแบบเบาราณท่านวางไว้ดังนี้
@ เบื้องบั้นในวะนะเวศวะนาดรนุไพร
แถวธารน้ำ ไหลระริน ฯ
@นานามัจฉะก็ว่ายคคร้ายนุจรถวิล
แถกสาครแลสิน ธุนอง ฯ
@ กุ้งกั้งงมังกรกรกฏกุมและกุมพิลก็ปอง
แฝงฟาดเฉนียงนอง ฉะฉาน ฯ
รวมถึงกาพย์ต่างๆ กาพย์ห่อโคลง
รวมทั้งฉันท์ในจินดามณีอีกแบบที่เรียกว่า ฉันท์ลันโลง ซึ่งคล้ายกับโคลง อีกหลายฉันท์ เช่น สิงหะคติกำกามลิห์ฉันท์ พยัฆฉันท์ มณฑกฉันท์ นาคบริพันธฉันท์ มฤคฉันท์ มณีรัตน์ฉันท์ ฉันทจักร ประทุมฉันท์ ภุมราฉันท์ รัตนมาลาฉันท์ ฯ
หนังสือไวพจน์ประพันธ์ขุนโอวาทวรกิจ ได้เขียนคำอธิบายว่า หนังสือกลอนไวพจน์ ตลอดจนกลอนพิศาลการันต์ ที่พระยาศรีสุนทรโวหารแต่งขึ้นไว้นั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นของบำรุงปัญญา เป็นคุณประโยชน์แก่นักเรียนเป็นอันมากยิ่งกว่าแบบสอนซึ่งมีอยู่แล้วนั้น เพราะท่านรวมสอนไว้ในเรื่องนี้ ว่าด้วยตัวสกดในคำนั้น ๆ แลแปลชี้แจงอธิบายความในศับท์นั้น ๆ โดยพิสดารกว้างขวางถ้วนถี่
แม้นถึงว่ากุลบุตรที่ยังมิได้เรียนรู้ในมคธพากย์คัมภีร์ ถ้าได้อ่านดูชัดเจนในหนังสือนี้แล้ว อาจรู้ปรุโปร่งตลอดตามแบบสอนนี้ได้ ก็หนังสือสองเรื่องนี้ รวมเป็นสิบสี่เล่มสมุดไทย...
ส่วนกรมศิลปากร ได้เขียนเป็นคำนำว่า
หนังสือไวพจน์ประพันธ์นี้ เป็นหนังสือเกี่ยวเนื่องกับชุดมูลบทบรรพกิจ ใช้เป็นหนังสือเรียนในโรงเรียหลวงเช่นเดียวกัน ให้ความรู่้เกี่ยวกับการใช้ตัวสะกดการันต์ตลอดจนคำแปลศัพท์ ที่ใช้กันอยู่ในสมัยเมื่อใช้หนังสือนี้เป็นแบเรียน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๒๙ ( จ.ศ. ๑๒๔๘)ตัวอย่าง
แมลงภู่พู่เรือเจือกันอยู่ พระแสงทวนเทอดพู่ชูไสว
ภู่กับพู่ระคนปนกันไป นี่คำใช้ภู่พู่ดูคดี
ไม่ไหม้ม่ายสามเสียงเรียงกันไว้ จงรู้ใช้ความต่างทางวิถี
ตัวไม่เอกปฏิเสธเลศวิธี ของไม่มีขอไม่ได้ไม่ให้ปัน
เจ้าไม่มาข้าไม่เห็นไม่เล่นละ ไม่ธุระก็ไม่รู้เอนดูฉัน
อันไม่เอกคำไทยใช้จำนัน ล้วนจัดสรรปฏิเสธเหตุยุบล
ตัวไหม้โทหอนำจงกำหนด ใช้ในบทเพลิงไหม้อย่าได้ฉงน
อันคำม่ายแม่เกยเฉลยกล ใช้ว่าคนแม่ม่ายพ่อม่ายเมีย...
@กัญญากัลยาคู่หมาย โดยบทธิบาย
ทั้งสองนี้แปลว่านาง
@กัญญามคธคำกลาง สังสกฤษฏวาง
บทแผลงจึงแปลงกัลยา
@ กัลยาณีหนึ่งวาจา โดยแปลกันมา
ว่านางอันงามเฉิดฉัน.....
ดิน
@ เรียกว่าแผ่นดินนี้ คำเชิดชี้ในสยาม
ชฏิลนี้เป็นนาม พวกโยคีฤาษีไพร
@ บดินทรคำมคธ แปลตามบทว่าเจ้าใหญ่
คำต้นยักย้ายไป เปลี่ยนใช้ความตามระบิล
@ ตัวอย่างมีอ้างว่า รัษฏาธิบดินทร์
พระนามเจ้าธรณินทร์ ภูบดินทร์นั้นก็มี
@ นฤบดินทร์เล่า นามพระเจ้าจอมปรัศวี
ย้ายแยกแจกวจี ที่เปลี่ยนใช้ในกาพย์กลอน
@ แปลว่าเป็นเจ้าใหญ่ ในด้าวแดนแผ่นดินดอน
สาธกยกสาธร อุทาหรณ์ให้เห็นทาง....
ผึ้ง
ผึ้งพึ่งโทเอก
เขียนมาเอนก แบบภาษาไทย
น้ำผึ้งรวงผี้ง ผึ้งโทขานไข
ที่พึ่งอาไสรย พึ่งเอกอาจิณ ฯ...
พิศาลการันต์
ตัวอย่าง
ค
@ ลำดับถัดจัด คอ การันต์บท ที่กำหนดจงพิจารณ์จะอ่านเขียน
ให้สมกับภูมรู้เป็นผู้เพียร ได้เล่าเรียนอย่าพลั้งระวังตน
ในมคธขัดคะว่าพระขรรค์ ต้องเขียนใช้ รอ หันทุกแห่งหน
ที่ท้ายคำ คอ คิดติดประดน นี่เป็นแบบแยบยนต์อย่างบุราณ
ท้าวภุชงค์แปลว่าองค์พระยานาค ข้อวิภาคฝ่ายบทมคธขาน
คล้ายกับคำโภชฌงค์เจ็ดประการ สติปรีชาญาณวิริยา
...... เป็นต้น
หนังสือ อุไภยพจน์ตัวอย่าง
ฝูงวานรแอบนอนที่เนินหาด
หมู่อำมาตย์แม้นประมาทไม่เป็นผล
เจ็บพระทนต์เหลือการจะทานทน
สุดจะยลแยบยนต์เป็นพ้นใจ
นิมิตรฝันว่าได้สรรพอามิศ
ขุนพินิจเขียนวาดอาวาศใหญ่
หนทางคดพลคชไม่ครรไล
การจันไรถ้าอุบัติต้องบัตรพลี....
หนังสือนิติสารสาธก เล่ม ๑.......
พระบาทพระบรมินทร์ปิ่นสยาม
โดยพระนามอยู่เกล้าเราทั้งหลาย
ทรงพระมหากรุณาไม่คลาคลาย
แก่เดกชายลุตรนัดดาข้าละออง
หวังจะให้เรียนรู้ได้ฟูเฟื่อง
ให้ปราชเปรื่องแดนดินสิ้นทั้งผอง
ทรงสู้เสียราชทรัพย์อเนกนอง
พระไทยปองจะให้เปนประโยชน์คุณ
แก่บุตรหลานเหล่าเสวกามาตย์
ให้ฉลาดเฟื่องฟื่นทุกหมื่นขุน
ด้วยกำลังพระเมตตากอบการุญ
พระเดชคุณเกลี่ยเกล้าเราทั้งมวน
โปรดให้ตั้งโรงสะกูล์มีครูสอน
ทั้งบทกลอนการกระวีมีครบถ้วน
พวกนักเรียนรู้เรื่องอย่าเรรวน
ทุกคนควรคิดคะนึงถึงพระคุณ......
...
เตลงพากย์ว่าคำมอญสุนทรแถลง
แตลงแกงแหล่งฆ่าคนควรผลาญ
ท่านเชิญบทกฎหมายถึงวายปราณ
จึงประหารผู้นั้นได้พลันมรณ์
............
ไอสติมแม่น้ำโสตงเรียง
สบงเสบียงอีกแสบกแจกออกมา
สบักสบาปฉบังตั้งกำหนด
ฉบบฉบับคนสบถสบัดว่า
เขบ็จขบวนถ้วนครบจำนันจา
ฉอ่ำฉอุ่มฉอับมาดูน่ากลัว
ยิ่งสอาดยังสอิดเสอียนผอบ
ถ้วนคำรบคำได้ที่ใชทั่ว
ชักมาแจกแจ้งกระจายพอหายมัว
ที่ในตัวแบบอย่างอ้างวาจา........
ยังมีหนังสือ สังโยคพิธานแปล หนังสือ อนันตวิภาค หนังสือ มหาสุปัสสีชาดก หนีงสือ คำนมัสการคุณานุคุณคำมนัสการคุณานุคุณ
อรหํง สมฺมาสมฺพุทโธ ภควา
องค์ใด พระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน
ตัดมูลกิเลศมาร บมิหม่นมิหมองมัว...
พุทธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ.
สฺวาขาโต ภควตา ธมฺโม
ธรรมะคือคุณากร ส่วนชอบสาธร
ดุจดวงประทีปชัชวาล...
ธมฺมํ นมสฺสามิ
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสังฺโฆ
สงฆ์ใดสาวกศาสดา รับปฏิบัติมา
แด่องค์สมเด็จภควันต์.......
สงฆํ นมามิ
อนนฺตคุณสมฺปนฺนา ชเนตฺติ ขนกา อุโภ
ข้าขอนบขนกคุณ ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลกูล ผดุงจวบเจริญวัย
ฟูมฟักทนุถนอม บบำราศนาไกล
..............
มยหํ มาตาปิตุนํ ปาเท วนฺทามิ สาทรํ
ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรา นุสสาสกา
อนึ่ง ข้าคำนับน้อม ต่อพระครูผู้การุญ
โอบเอื้อและเจือจุน อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ
....
ปญฺญา วุฑฒิ กะเรเตเต ทินฺโนวาเท นมามิหํ
..
โลกานุปาลโก ราชาสพฺพภูตานุกมฺปโก
อนึ้ง ข้าขอถวายบังคม พระบาทบรม
นรินทรราชเรืองนาม
เป็นปิ่นพื้นภพภูมิสยาม ทุกเทศเขตคาม
นิคมสีมามณฑล....
ตสฺส คุโณ อนนฺโตว ตสฺส คุเณ นมามิหํ
เทวา เทวิทฺธิสมฺปนฺนา ภูตหิโตปหารกา
ขออัญชุลีกร อมรเทพทุกแห่งหน
เสื้อเมืองอันเรืองรณ พระทรงเมืองอันเรืองฉาย
พระกาฬไชยศรี บริรักษ์ บ เว้นวาย
ล้วนฤทธิฺขจรขจาย จังหวัดขัณฑสีมา.....
สกฺกจฺจนฺเต นมสฺสามิ ปูเชมิ เจว สาทรํ
หนังสือวรรณพฤติคำฉันท์
ซึ่งในหนังสือมีคำอธิบาย ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดังนี้หนังสือวรรณพฤติคำฉันท์นี้ แต่งในรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๒๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้คัดเลือกทาคาถาสุภาสิตภาษามคธ คั้งเป็นกระทู้แจกจินตกวีใมนสมัยนั้น ให้ช่วยกันแปลแต่งเป็นฉันท์ต่าง ๆ ในภาษาไทย แล้วโปรดให้ช่างเขียนเข้ากรอบละฉันท์ คิดเป็นเครื่องประดับพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ กับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ เมื่องานพระเมรุแล่วเห็นจะส่งกรอบฉันท์นั้นนั้นไปเก็บรักษาไว้แล้วย้ายที่ไปอีกหลายแห่ง ในที่สุดไปพบอยู่ใต้พระวิมานในพระวังบวร ฯ พะองค์เจ้าวงศ์จันทร์ ส่งประทานมายังหอพระสมุด ชำรุดเปนอันตรธานไปเสียมาก กรรมการสืบหาต้นฉบับ ก็ไม่ได้ความว่าจะมีใครรวบรวมฉันท์เหล่านี้ไว้บ้าง จนเมื่อเร็ว ๆนี้ เมื่อย้ายหอพระสมุด ฯ ขนหนังสือมาจัดใหม่ จึงไปพบหนังสือเก่าจำพวก ๑ มีอยู่ในหอพระสมุด ฯ เดิมเปนของข้าพเจ้าเอง ได้คัดหนังสือเรื่องต่าง ๆ ไว้ เมื่อครั้งยังอยู่กรมศึกษาธิการ ได้พบเรื่องวรรณพฤตืคำฉันท์มีอยู่ ข้าพเจ้าจะได้คัดมาจากฉบับของผู้ใดก็จำไม่ได้เสียแล้ว แลจะมีฉันท์ที่ได้แต่งในคราวนั้นทั้งหมดฤาไม่ก็ทราบไม่ได้ ชื่อกวีที่แต่งฉันท์ ก็ได้ไว้แต่ ๑ คือ เจ้าพระยาภาสกรวงษ์ ๑ พระยาศีสุนทรโวหาร (น้อย ) ๑ ขุนวิสุทธากร ๑ นอกนั้นไม่ปรากฎ จะรอสืบหาต่อไปให้ได้จนจบบริบูรณ์ก่อนจึงพิมพ์ก็เห็นว่าช้า จึงพิมพ์ในสมุดเล่มนี้เสียชีั้นหนึ่ง....
(ในหนังภาษาไทย เล่มนี้พิมพ์เฉพาะแต่ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เท่านั้น..
ฉนทา โทสา ภยา โมหา ธมฺมํ โย นาติวตฺตติ
อาปุรติ ตสฺส ยโส สุกฺกปกฺเขว จนฺทิมา
สุรสสิริฉันท์
ใคร บ ลุอำนาจ อคติฉกาจกรรม์
ไม่ผละละเมิดธรรม์ เพราะปิยกมลโกรธ
อีกภยะกริ่งเกรง ปรชนคุมโทษ
หนึ่งมุทเฉาโฉด จตุรวิรัติมาน
จักบริบูรณ์กูล คุณะยศะไพศาล
เฉกศศิในกาล ชุษณดิถีเถกิง
...........
ท้ายเล่มของหนังสือเล่มนี้ เป็นฉันท์กล่อมช้างสำคัญ ในรัชกาลที่ ๕
เช่น ฉํนท์กล่อมพระยาเสวตวรวรรณ
(ท้ายบทของฉันท์นี้ มีกาพย์ขับไม้)
ฉันท์กล่อมพระมหารพีพรรณคชพงษ์
ฉันท์กล่อมพระยาเสวตรสุวภาพรรณ
ฉันท์กล่อมพระเทพตชนัตนกริณี
พระศรีสวัสดิเวตรวรรณ
ฉํนท์กล่อมพระเสวตรวรลักษรณ์
ฉันท์กล่อมพระเสวตรวรสรรพางค์
และพระเสวตรวิสุทธิ์เทพามหาพิฆเนศวร์
(ลาไพร ชมเมือง สอนช้าง) ใช้กล่อมพระเทพคชรัตน์กรินี และพระศรัสวัสดิเสวตรวรรณ
ฉันท์กล่อมพระเสวตรสุนทรสวัสดิ์
ฉันท์กล่อมพระเสวตรสกลวโรภาษ จากหน้า ๕๔๑-๖๕๕)
ป้ายกำกับ:
บทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น