วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

[บทความ]คนอ้ายลาว

คนอ้ายลาว


คนอ้ายลาว

ชนเผ่า ไป่เยว่ เป็นหนึ่งในร้อยชนเผ่าคนเถื่อน ที่คนจีน( ฮั่น ) เหยียดหยาม
(ไป่เยว่) มีชนเผ่าพันธุ์ไท รวมอยู่ด้วย เป็นชนเผ่าที่หากินอยู่กับน้ำ นอนบ้านทรงรังนก เสาสูงเพื่อหนีน้ำ


ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชทนได้เล่าตำนานการกำเนิดคน อ้ายลาว ไว้ในหนังสือเรื่องของชนชาติไทย ดังนี้
สมัยที่ยังไม่จำแนกเผ่า ยังไม่มีเผ่าไท มีหญิงคนหนึ่งชื่อ ซายัด อาศัยอยู่แถบภูเขา อ้ายลาว วันหนึ่งนางไปจับปลาที่แม่น้ำ ระหว่างลุยน้ำ เท้าของนางซายัดเดินสะดุดท่อนไม้ท่อนใหญ่

ความแข็งของท่อนไม้ไม่ทำให้นางซายัดรู้สึกเจ็บ แต่กลับมีความรู้สึกแปลกประหลาด
ต่อมาไม่นาน นางซายัดมีครรภ์ ยิ่งนานเดือน ครรภ์ก็โตมาก ๆ ขึ้น เมื่อถึงวันคลอด นางซายัด ได้คลอดบุตรโดยทะยอยกันออกมา รวม 10 คน เป็นชายทั้งหมด


วันหนึ่งนางซายัด พาบุตรชายทั้ง 10 คนไปที่ริมแม่น้ำจุดเดิมที่นางเคยเดินสะดุดท่อนไม้ ก็พบท่อนไม้ท่อนเดิม แต่คราวนี้กลายเป็นมังกร โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ และถามว่า
"ลูกข้าอยู่ที่ไหน "
มีมังกรตัวใหญ่โตโผล่อยูเบื้องหน้าก็น่ากลัวอยู่แล้วและยังพูดได้อีก ทำให้นางซายัดและบุตรชายอีก 9 คนตกใจ พากันวิ่งหนีเตลิดไป ทิ้งลูกชายคนตัวเล็กไว้คนเดียว (น่าจะเป็นบุตรที่คลอดคนสุดท้าย)



นางซายัดตั้งสติได้นับจำนวนบุตรชายจึงพบว่าหายไป 1 คน ด้วยความรักลูก นางซายัดจึงกลับไปที่ริมน้ำ ก็พบบุตรชายคนเล็กนั่งพิงอยูข้างมังกร
มังกรไม่มีท่านดุร้าย ทั้งยังแสดงความเมตตาแลบลิ้นออกมาเลียเด็กน้อย
นางซายัดเห็นภาพนี้ ก็อุทานออกมาด้วยภาษาชาวป่า ( เยว่) ว่า "เก๋าหล่ง
เก๋า แปลว่าพิง หล่ง แปลว่านั้ง
ด้วยเหตุนี้ นางซายัด จึงตั้งชื่อบุตรชายคนนี้ว่า เก๋าหล่ง



นับวันที่เจริญเติบโตขึ้น เก๋าหล่ง ก็ยิ่งเฉลียวฉลาดกว่าบรรดาพี่น้องทุกคน ความเฉลียวฉลาดเหล่านั้นเชื่อกันว่าได้มาเพราะถูกมังกรเลีย
ต่อมา เก๋าหล่ง ก็ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าเผ่าดูแลพวกพ้องที่เชิงภูเขา
มีหมู่บ้านใกล้ ๆ กัน มีผัวเมียคู่หนึ่งมีบุตรสาว 10 คน นางซายัดได้ไปสู่ขอมาเป็นภรรยาของบุตรชายทั้ง 10 คนของนาง
วันเวลาผ่านไป ผัวเมีย 10 คู่ ที่หมู่บ้านนี้ ก็เกิดบุตรสืบเชื้อสายแตกหน่อขยายวงศ์วานหว่านเครือ มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง



คนเหล่านี้เรียกตัวเองตามชื่อภูเขาที่อยู่ว่า คนอ้ายลาว
และเมื่อไปปะปนกับชนเผ่าอื่นไม่รู้ว่าใครเป็นใคร คนอ้ายลาว จึงสักสัญลักษณ์ความเป็น "คนอ้ายลาว"ไว้บนร่างกายเป็นรูปมังกร

ตำนานคนอ้ายลาวนี้คล้ายกับตำนานน่านเจ้า ทั้งอ้ายลาวน่านเจ้ามีเค้าเป็นเผ่าไท มีเล่ากันอยู่หลายสำนวน แต่ละสำนวนบอกเค้าลางว่ามีวิถีที่ผูกพันกับน้ำ

จากบทความ ลูกมังกร ของ กิเลน ประลองเชิง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับ วันที่ 6 ธันวาคม 2554


จากบทความนี้ น่าจะเป็นที่มาของการสักสัญลักษณ์ตามตัวของคนลาวบางกลุ่ม
เชื้อสายลาวประกอบด้วย
พวกลาวพุงขาว ลาวเวียง ลาวท่าล้าน ลาวกาว ลาวพวน รวมทั้งลาวเมืองสุพรรณ ลาวหลวงพระบาง และลาวโซ่ง โดยทั่วไปชาวลาวมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมร่วมเชื้อสายที่เป็นแบบฉบับเฉพาะ
ลาวพุงดำที่อยู่ในล้านนาทางภาคเหนือของสยาม เช่น ในเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา



การเรียกชาวลาวตามถิ่นที่อยู่อยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นลาวล้านช้าง ส่วนฝั่งขวาคือไทล้านนา

การเรียกลาวพุงขาวและลาวพุงดำ
พวกล้านช้างเป็นลาวพุงขาว เพราะพวกนี้ไม่นิยมสักตามตัว แต่ไทล้านนา เรียกว่า ลาวพุงดำจะมีรอยสักเต็มทั้งตัวทั้งแขน ไหล่ หน้าอก พุง และหน้าขา



(ไป่เยว่) หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของจีน

ไป่เยว่ เป็นคำที่ยังไม่แพร่หลายนัก ซึ่งได้มีการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “จากไป่เยว่สู่ไทถึงไทยสยาม” เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2554 จัดโดย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

การศึกษาทางประวัติศาสตร์ พันธุศาสตร์ และภาษาศาสตร์ของจีน พบว่า ต้นกำเนิดของชนที่พูดภาษาตระกูลไท-กะได คือ พวกไป่เยว่ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของจีน มีถิ่นฐานกระจายกว้างตั้งแต่มณฑลเจียงซู เจ้อเจียง ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง กวางสี ไปจนถึงเวียดนามเหนือ ยูนนานและกุ้ยโจว ต่อมาบางส่วนถูกกลืนกลายเป็นจีนที่พูดภาษาอู๋ (เซี่ยงไฮ้ ซูโจว ถึงเวินโจว) ภาษาหมิ่น (ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว และไหหลำ) ภาษาเยว่ (กวางตุ้ง) ที่ไม่ถูกกลืน พัฒนามาเป็นชนชาติส่วนน้อยที่พูดภาษาตระกูลไท-กะได หรือก้ำ-ไท ในจีน ซึ่งในหนังสือ “The Language of China” แสดงสถิติล่าสุดเมื่อ ปี ค.ศ. ๒๐๐๐ ว่ามี ๒๒ ภาษา รวมประชากร ๒๕ ล้านคนเศษ อีกส่วนหนึ่งเคลื่อนย้ายออกจากจีนไปอยู่ในเวียดนาม-ลาว-ไทย พม่า และอัสสัม

อนึ่งยังมีหลักฐานทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ อีกมากที่แสดงว่าไป่เยว่เป็นบรรพชนของชนที่พูดภาษาตระกูลก้ำ-ไท หรือไท-กะได ปัจจุบัน

http://www.greenworld.or.th/relax/event/1384

1 ความคิดเห็น: