วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

[บทความ] เรือน้อยใหญ่...ในลำน้ำบางปะกง

เรือน้อยใหญ่...ในลำน้ำบางปะกง

หากไม่นับเรือพ่วง เรือชุดนี้เป็นเรือขนาดเล็ก






เรือเข็ม หรือเรือโอ่

เป็นเรือที่ปรับเพิ่มเติมมาจากเรือบดธรรมดาให้ดูยาวเพรียวขึ้น มีท้ายแหลม หัวแหลม
เป็นเรือต่อรูปร่างเพรียวยาว 3-4 วา นิยมต่อด้วยไม้สักหรือไม้มะยมหอม มีทวนหัวและทวนท้ายคล้ายเรือบด ตะปิ้งหัวท้ายมนโค้งเล็กน้อย บางลำทำเป็นแผ่นประกบเป็นสัน นั่งพายคนเดียว หรือสองคนก็ได้บางทีใส่กระทงนั่งเรือ ใส่พนักพิงไว้ที่กลางลำเรือแล้วเวลาพายต้องเหยียดขาออกไปข้างหน้า ใช้พาย 2 ใบ เรือแบบนี้น้ำหนักเบาพายได้เร็ว ใช้สำหรับไปธุระ หรือใช้พายแข่งขัน
ภาพเรือลำนั้ทำสำหรับพายคนเดียว และตกแต่งลำเรือให้ดูสวยงาม






เรือบด

เรือบดเป็นเรือที่พระหลาย ๆ วัด นิยมใช้พายเรือบิณฑบาตตามริมน้ำเพราะพายง่าย
เป็นเรือต่อแบบฝรั่งทำด้วยไม้สักต่อกระดาน 4 แผ่น มีรูปร่างหัวเรียว ท้ายเรียว เพรียวบาง บางลำหัวเรือเรียวแต่ท้ายตัดเป็นเหลี่ยมแบบเรือทหาร ต่อจากไม้หรือสังกะสี คล้ายกับเรือกรรเชียงของชาวตะวันตก บางลำมีลักษณะเป็นเกล็ด คือใช้ไม้แผ่นเล็ก ๆ หรือใช้แผ่นสังกะสีเรียงซ้อนกันเป็นเกล็ด ส่วนตัวโครงเรือทำด้วยไม้
.
ถ้าเรือบดแบบเพรียวหัวเพรียวท้าย ต่อด้วยไม้แผ่นตัดเป็นรูปโค้งปีกกา ปิดส่วนหนึ่งของด้านบนหัวและท้ายเรือ ซึ่งเรียกว่า ตะปิ้ง เอาด้านใดเป็นหัวเรือก็ได้

ชาวเรือมีไว้ใช้พายออกจากเรือใหญ่ เรือของชาวบ้านใหญ่กว่า และมีไว้ติดบ้าน เข้าใจว่าเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า โบต กล่าวกันว่าเข้ามาในเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ 4




เรือบดนั่งได้ 2 คน




เรือบด

ตอนเด็ก ๆ ถ้าไปไหนคนเดียว เด็ก ๆ จะชอบพายเรือบด เพราะรูปร่างเล็กเพรียว ทำให้พายได้เร็วกว่าเรือชนิดอื่น รองลงมาก็คือเรือป๊าบ





เรืออีแปะ


เรืออีแปะ เป็นเรือต่อคล้ายเรือสำปั้น แต่หัวท้ายเรือสั้นกว่า และถากตรงเสริมกราบรอบตลอดลำเรือ ท้องแบน มีตำนานเล่าว่า เดิมเป็นเรือสำปั้นหลุดลอยตามลมพายุฝนมา มีผู้เก็บเรือได้ และไม่รู้ว่าเรือลำนี้เป็นของใคร มีการสอบถามหาเจ้าของเรือ มีผู้อ้างเป็นเจ้าของหลายคน และตกลงไม่ได้ว่าใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง ผู้เก็บเรือได้ จึงทำการดัดแปลงเรือเสียใหม่ ให้แตกต่างจนจำไม่ได้ว่าเคยเป็นเรือสำปั้นมาก่อน ต่อมาเรืออีแปะเป็นที่นิยมของพ่อค้าชาวจีนนำไปใช้เป็นเรือขายโอเลี้ยง กาแฟ





เรือป๊าบ

เป็นเรือต่อที่มีลักษณะหัวท้ายเรียวมน กลางลำกว้าง ท้องแบนกลมเกือบแบน พัฒนามาจากเรือแตะของภาคกลาง ช่างต่อมักใช้ไม้สักต่อจากภาคเหนือ อาจส่งไม้มาต่อแถวย่านรังสิตโดยใช้กงเรือไม่ใช้เปี๊ยะมีพื้นส่วนหัวและส่วนท้ายเรือ กลางลำลดพื้นลงต่ำ
ใช้บรรทุกของได้เล็ก ๆ น้อย ๆ หรือโดยสารได้ไม่เกิน 3 คน ความยาวเรือประมาณ 2 วา ใช้สอยทั่วไปตามริมหนอง คลอง แม่น้ำ





เรือป๊าบ





เรือเป็ด หรืออีเป็ด


เรือเป็ด มีทั้งเรือขุดและเรือต่อ หัวท้ายแบน ๆ ก็มี หัวท้ายแหลมก็มี ตรงกลางป่อง เรืออีเป็ด ก็เรียก ขุดเบิกส่วนท้องเรือให้กว้างผายออก เสริมกระดานขึ้นทั้งซ้ายและขวา เพื่อให้ขนาดใหญ่ขึ้น หัวเรือแบนคล้ายปากเป็ด แบ่งเป็นเรือเป็ดทะเล เรือเป็ดน้ำจืด เรือเป็ดทะเลใช้ใบแขวนขนาดใหญ่สองเสา บางลำมีประทุนแล่นได้เร็ว หัว ท้ายสูงกว่าเรือเป็ดน้ำจืด




เรือเป็ดหรืออีเป็ด




เรือเป็ดหรืออีเป็ด








เรือพ่วง

เรือพ่วง ลักษณะเป็นเรือบรรทุกสินค้าหลายๆลำผูกโยงกันเป็นพวง แล้วมีเรือยนต์หรือเรือกลไฟลากจูง เรียกกันว่าเรือโยง
เรือที่พ่วงในสมัยก่อนมักเป็นเรือกระแชง หรือเรือเอี้ยมจุ๊น



เรือพ่วง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น