วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555
[ บทความ] เล่าซ้ำประตูน้ำ...บ้านท่าถั่ว
หัวตลาดประตูน้ำท่าถั่ว
ต้นมะม่วงต้นนี้คงแปลกใจที่พลอยโพยมมาที่นี่หลายครั้ง แม้จะมีกล้องในมือแต่ก็ไม่เคยถ่ายภาพ คราวนี้มะม่วงต้นนีี้กำลังชูช่อร้องเชื้อเชิญพลอยพโยมว่า เข้ามาเถอะ และก็ถ่ายภาพไว้เถอะอีกหลาย ๆ ปี ภาพตรงนี้ก็จะเปลี่ยนไปอีกนะ
สองครั้งก่อนที่เธอมาฉันไม่มีช่อเชื้อเชิญเธอ แต่วันนี้ช่อมะม่วงของฉันก็สวยงามเหมือนช่อมะม่วงที่อื่น ๆ ใช่ไหม
ทำให้พลอยโพยมมีแรงใจเดินเข้าไปข้างในเป็นครั้งที่สาม
คลองที่ไม่สุนทรีในการเก็บภาพแต่ก็คือสภาพจริงของวันนี้
เมื่อก่อนนั้นลำคลองท่าถั่วนี้ ก็ใช้ อาบน้ำซักผ้า ของผู้คนในคลองและที่ตลาดแห่งนี้
พบคุณป้าท่านหนึ่งกำลังขูดมะพร้าวด้วยกระต่ายขูดมะพร้าวแต่สถานที่ค่อนข้างมืดและลืมปรับ เมนู ของกล้อง
เดินเข้ามาหลายครั้งแล้วแต่ไม่กล้าถ่ายภาพเก็บไว้เพราะใจหดหู่มากกับสภาพที่เห็น
ถ้าตอนเด็ก ๆ ไม่เคยมาที่ตลาดนี้ จะนึกภาพสมัยก่อนไม่ได้เลยว่าเป็นอย่างที่เขียนได้อย่างไร
บริเวณกลางตลาดจะเห็นว่ายังมีแนวของห้องแถวเข้าไปอีกยาว
บ้านเรือนของคนที่ยังมีหลงเหลืออยู่ในตลาดประตูน้ำท่าถั่ว
แต่เป็นคนรุ่นหลังที่มาขอเช่าห้องอยู่อาศัยเพื่อการเข้ามาทำงานใบบริเวณใกล้เคียง มิใช่ทายาทของพ่อค้าแม่ค้ารุ่นก่อน
จากแม่น้ำบางปะกงหันหน้าสู่ปากอ่าวเลยวัดผาณิตารามจะมีคลองใหญ่ เมื่อเลี้ยวขวาเข้ามานี่คือคลองท่าถั่ว หรือชื่อทางการคือคลองประเวศบุรีรมย์ เรือที่จะสัญจรผ่านประตูน้ำท่าถั่วต้องจอดรอเวลาการเปิดบานประตูที่ด้านนอกบานประตู
ด้านนอกสู่ปากคลองท่าถั่วซึ่งจะบรรจบกับแม่น้ำบางปะกง
บานประตูน้ำชั้นนอก
บานประตูน้ำชั้นนอก
การทำงานของบานประตูน้ำชี้นใน
การทำงานของบานประตูน้ำชั้นใน
บ้านพักเจ้าหน้าที่ และที่ทำการสถานีประตูน้ำ
ทางเดินริมคลองไปสู่ประตูน้ำชั้นนอกซึ่งเดินได้จากตัวตลาด
บานประตูน้ำขั้นใน
บานประตูชั้นใน
เรื่อที่มาจากคลองสวนที่ต้องการออกสู่ปากคลองท่าถั่วเพื่อออกสู่แม่น้ำบางปะกง ต้องจอดรอเวลาเปิดประตูน้ำของสถานี ระหว่างที่รอ ผู้คนก็จะขึ้นไปตลาดที่อยู่ริมฝั่ง รวมทั้งเรือหางยาวที่วิ่งรับจ้างซึ่งมีสิทธิจอดเป็นที่เป็นทางเป็นแถวหน้าตลาดได้ เจ้าของเรือก็อยู่เรียกผู็โดยสารอยู่บนฝั่ง
บริเวณที่มีเรือนและศาลาเล็ก ๆ พื้้นดินเป็นรูปโค้ง เป็นระบบจัดทางของน้ำเป็นสองทาง ทางซ้ายมือเมื่อหันหน้าหาภาพ เป็นเส้นทางให้เรื่อที่จะสัญจรเข้าออกประตูน้ำใช้เส้นทางนี้ตรงไปที่ประตูบานชั้นใน ส่วนทางขวามือของภาพเป็นเส้นทางหรือช่องทางปิดเปิดน้ำในแม่น้าเข้ามาในประตูน้ำ หรือเพื่อระบายออกเมื่อครั้งยังไม่ตั้งเครื่องสูบน้ำ
ทางเดินเข้าออกของน้ำ และทางสัญจรของเรือจะเป็นคนละเส้นทางกัน จะเห็นลำไม้ไผ่ผูกเป็นมัดยาว ขวางกลางระหว่าทางเดินของทางนี้เพื่อสกัดผักตบชวาด้วย
บริเวณริมคลองท่าถั่วที่มีตลาดท่าถั่วอยู่ริมฝั่ง
หลังบานประตูชั้นใน
ฝั่งที่มีภาพคน คือบริเวณริมคลองที่เป็นที่ตั้งของตลาดประตูน้ำท่าถั่วจะเป็นตลาดอยู่ฝั่งเดียวของลำคลอง
ตัวบานประตูปิดเปิด ที่เวลาปกติจะขึ้นไปเดินก็ได้
จะเห็นบานประตูชั้นนอกอีก 1 บาน
ตัวบานประตูที่ปิดเปิดได้ด้วยระบบเครื่องทุ่นแรง
เครื่องทุ่นแรงส่วนหนึ่งที่ใช้ในการเปิดบานประตู
ด้านหลังของบานประตูชั้นในคือลำคลองประเวศบุรีรมย์
ซึ่งในส่วนบริเวณแถบนี้ไปถึงคลองสวน ชื่อท้องถิ่นที่เรียกกันของคลองประเวศบุรีรมย์ในช่วงนี้คือเรียกกันว่าคลองท่าถั่ว
ด้านขวามือที่เห็นหลังคาบ้าน และทางซีมนต์ลาดลงน้ำนั้นคือบริเวณตลาดท่าถั่วเป็นหัวตลาด ตัวตลาดท่าถั่วเป็นเรือนแถวยาวเข้าไป แต่บัดนี้มีแนวต้นไม้ปิดบังเสียหมด เมื่อสมัยก่อนแนวต้นไม้ขวามือคือแนวจอดเรือมากมายหลายประเภทด้วยวัตถุประสงค์ เข้ามาทำธุรกรรมต่าง ๆ กัน ที่ตลาดประตูน้ำท่าถั่ว
ที่ทำการสถานีประตูน้ำท่าถั่ว
จะอยู่ระหว่างกึ่งกลางบานประตูชั้นนอก และชั้นในและอยู่คนละฝั่งกับตลาดประตูน้ำท่าถั่ว
ทางเดินริมคลองระหว่างบานประตูชั้นในไปสู่บานประตูชั้นนอก
ท่อระบายน้ำเพื่อระบายน้ำจากภายในประตูน้ำ มี 6 ท่อ เป็นระบบที่กรมชลประทานมาดำเนินการภายหลัง
ซึ่งในการรอรับน้ำจากวิกฤตน้ำท่วม ต้องเดินเครื่องสูบน้ำออก เพราะน้ำภายในที่รับการผันน้ำจากกรุงเทพ ฯ ฝั่งตะวันนอก ผ่านมาสู่คลองประเวศบุรีรมย์นั้น ระดับน้ำภายในประตูต่ำกว่าระดับข้างนอกประตูน้ำ
น้ำจะไหลออกตามช่องทาง ด้านข้างของประตูน้ำ เป็นแนวการระบายน้ำจากเครื่องสูบน้ำภาพถัดไป
ช่องทางเดินของการระบายน้ำด้วยเครื่องสูบน้ำ
ช่องทางระบายน้ำออกจากชั้นในของประตูน้ำ
ทางบรรจบของช่องระบายน้ำด้วยเครื่องสูบ ทั้ง 6 ท่อ
ที่บรรจบกับปากประตูน้ำที่เปิดรับน้ำตามธรรมชาติ และเปิดให้เรือสัญจรไปมา
(เพิ่มเติม )
ในสมัยก่อนจะมีเรือบรรทุกสินค้าเป็นเรือกระแชงบรรทุกสินค้ามาจากกรุงเทพมหานครหรือ ปทุมธานี มาที่เมืองฉะเชิงเทรา โดยผ่านประตูน้ำท่าถั่ว รวมทั้งยังมีเรือยนต์โดยสารเดินทางผ่านไปมาระหว่างกรุงเทพมหานครและฉะเชิงเทรา การไปกลับคลองสวนก็โดยสารเรือยนต์ได้
แม่ละม่อมต้องไปเก็บค่าเช่านาของยายขาที่ตำบลแสนภูดาษ ทั้งที่อยู่ริมแม่น้ำ และอยู่ในคลองแสนภูดาษ เขตอำเภอบ้านโพธิ์เดียวกันทุก ๆ ปี หากอยู่ในคลองแสนภูดาษแม่ละม่อมจะต้องเข้าออกประตูน้ำเลาะมาตามคลองใหญ่และคลองสาขา แม่ละม่อมจะคุมเรือสำหรับบรรทุกข้าวค่าเช่ากลับมาที่บางกรูด สองถึง สี่ลำ แล้วแต่ว่า จะไปที่ไหน ค่าเช่าเท่าไร แม่ละม่อมจะมีลุงช้อย น้านุ้ย และแรงงานคนอื่น ๆ ที่อยู่หลังบ้านในคลองศาลเจ้าอีกหลายคนที่จ้างมาเพื่อไปตวงข้าว ขนข้าวเปลือกจากลานข้าวลูกนาที่เช่านาลงเรือ เมื่อมาถึงบ้านก็ขนข้าวเปลือกนี้เข้ายุ้งข้าว โดยจะหุงข้าว ทำกับข้าว ใส่หม้อ ใส่ปิ่นโต ถ้วยชามช้อนเอาใส่กระจาด เตรียมน้ำกินใส่เรือไปแต่เช้ามืด มื้อเช้าก็คงกินในเรือหน้าประตูน้ำ ส่วนมื้อกลางวันก็กินที่บ้านลูกนา กว่าจะกลับก็บ่ายคล้อย
ยังจดจำได้ว่าเคยมาที่ประตูน้ำท่าถั่วนี้เพื่อจะไปคลองสวน ทางเดียวที่จะมาก็คือนั่งเรือมาทางน้ำ เมื่อเลี้ยวขวาจากแม่น้ำบางปะกงเข้าสู่คลองท่าถั่วนี้จะมีประตูน้ำบานเหล็กกั้นไว้ มีเรือจอดรอกันหลายลำด้วยธุรกรรมต่าง ๆ กัน ทั้งเรือเครื่อง เรือยนต์ที่เป็นเรือจูง เรือพ่วงและเรือแจวหลาย ๆ ลำ ขาไปแม่ละม่อมขึ้นบกไปที่ตลาดประตูน้ำเพื่อลงเรือต่อ ส่วนใหญ่เป็นเรือหางยาวที่จอดรอที่หน้าตลาดมากมาย เจ้าของเรือจะร้องบอกเองว่าเรือของตนจะไปที่ไหน ผู้โดยสารก็ไปตามเรือที่จอด ตอนขาไปแม่ละม่อมไม่สนใจร้านค้าต่าง ๆ เลย
ที่ด้านในก็มีเรือรอที่จะออกมาข้างนอกไปสู่แม่น้ำ
แต่เมื่อถึงเวลาขากลับ แม่ละม่อมบอกว่าต้องรอเวลาประตูเปิด เวลานั้นก็เป็นเวลาที่แม่ละม่อมพาเดินในตลาด ร้านของกินก็มีมากมายหลายร้าน เช่น ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ขนม น้ำแข็ง ไอศครีม และมีร้านขายของชำ ขายเสื้อผ้า ขายของใช้ต่าง ๆ แทบทุกบ้านเป็นร้านค้าขายของไปในตัว มีโต๊ะ มีแผง วางของขายหน้าร้านและในร้าน
เมื่อถึงเวลาบานประตูเปิดออก ก็จะมีทั้งเรือที่อยู่ข้างในมุ่งหน้าออกมาข้างนอก เรือที่รอด้านนอกก็เข้าไปข้างใน แต่นึก ๆ ก็รู้สึกว่าไม่ใช่เหตุการณ์สับสน ดูมีระเบียบ เพราะ เมื่อถึงทีของเรือที่เรานั่ง เรือของเราก็ผ่านประตูน้ำออกมาได้ เจ้าหน้าที่จะจัดเวลาการมาก่อนหลัง ถ้าแม่ละม่อมมาแบบไปตวงข้าว ก็ต้องไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่ประตูน้ำรู้ จะได้คิวการเข้าการออก
การเข้าออกประตูน้ำเป็นไปตามคิวบางครั้งก็มีเรือออกไปสามสี่ลำ จึงถึงคราวเรือเข้าได้เข้าไปในประตูน้ำบ้าง แล้วก็จะมีเรือออกมาอีก การเปิดประตูน้ำ ไม่ได้กำหนดเวลาตายตัวว่าเวลาเท่าไร สถานีใช้ระดับน้ำเป็นตัวกำหนดเวลา เวลาเปิดประตูน้ำก็คือเวลาที่น้ำในประตูน้ำกับระดับน้ำหน้าประตูน้ำอยู่ในระดับเดียวกัน ซึ่งชาวบ้านที่เป็นชาวน้ำจะรู้เวลาค่อนข้างใกล้เคียง
เพิ่มเติม บริเวณปากคลองประเวศบุรีรมย์ มีประชาชนอาศัยอยู่ทั้งสองฝั่งคลอง ด้านหนึ่งเป็นบ้านปากคลองท่าถั่ว ตำบลสนามจันทร์ อำเภอบ้านโพธิ์ อีกด้านหนึ่งเป็นบ้านท่าถั่ว ตำบลบางกรูด อำเภอบ้านโพธิ์
ศาลาการเปรียญ วัดผาณิตาราม
วัดได้ไม้พื้นและต้นเสามาจากโรงสีข้าวและโรงเลื่อย
ป้ายกำกับ:
บทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เราเคยอยู่ในตลาดประตูน้ำท่าถั่ว...ตรงที่เป็นเครื่องสูบน้ำ
ตอบลบที่บ้านเป็นร้านค้าของชำและของสด...อยู่เป็นหลังที่สองจากทางเข้าตลาด
ตอบลบที่บ้านเป็นร้านค้าของชำและของสด...อยู่เป็นหลังที่สองจากทางเข้าตลาด
ตอบลบเราเคยอยู่ในตลาดประตูน้ำท่าถั่ว...ตรงที่เป็นเครื่องสูบน้ำ
ตอบลบสมัยก่อนประตูน้ำท่าถั่วจะมีเรือเข้าออกตลอดเวลา ตลาดก็คึกคัก มีร้านต้มพะโล้อร่อยมากตาปมชอบไปซื้อไส้หมูพะโล้มากินอร่อยมากผู้คนก็คึกคัก สมัยนั่นผมยังเด็กโตมากับเรือเกลือ ประมาณปี2515.
ตอบลบ