วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การแพทย์ โบราณ



ชนชาติที่มีความเจริญในอดีตมีการแพทย์ที่เป็นระบบของตนเอง เช่น อียิปต์ จีน และอินเดีย 

มีการพบหลักฐานเกี่ยวกับการใช้ยาและปรุงยาที่มีอายุประมาณ 3,000 - 4,000 ปี  เช่นตำรา ลิ้นหนงเปิ่นลาวของจีน และ Eber Papyrus ของอียิปต์  จากบันทึกเหล่านี้ทำให้เชื่อได้ว่า ศาสตร์แห่งตัวยาเป็นความรู้ที่เก่าแก่และต้องรู้ควบคู่ไปกับ ศาสตร์ของการปรุงยา ซึ่งเป็นศิลปะชั้นสูง ในบันทึก Eber Papyrus มียามากกว่า 800 ชนิด ปรุงออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น ยานัตถฺุ์ ยากลั้วคอ ยาสูดดม ยาเหน็บ ยาขี้ผึ้ง  และยากิน 

ข้อมูลจาก สารานุกรมไทยสมุนไพร เล่ม 1







ขอบคุณภาพจากhttp://iyakoop.exteen.com/20080917/entry-7
ศาสนาพราหมณ์ ถือกำเนิดเมื่อราว 1,000-1,500   ปี ก่อน พุทธกาล เป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากคริสต์และอิสลาม เป็นศาสนาที่ไม่มีองค์ศาสดา ศาสนานี้มีต้นกำเนิดมาแต่ครั้งโบราณ ตั้งแต่ชนชาติอารยันเรืองอำนาจในใจกลางทวีปเอเชีย
ชาวอารยัน หรืออริยกะ หรือ อินโด-ยูเรเปียนนั้น  เป็นการรวมของคนหลายเชื้อชาติเข้าด้วยกัน อาทิ กรีกโบราณ เปอร์เชีย อิหร่าน
ทางด้านภูมิศาสตร์นั้น ไซบีเรีย  ในปัจจุบันนี้ แต่เดิมคือใจกลางทวีปเอเชียของชาวอารยันมา ก่อน เคยเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ผืนแผ่นดินที่เคยติดกันเป็นพื้นเดียวกัน เกิดการแตกแยกและชั้นบรรยากาศเปลี่ยนไป จนใจกลางทวีปเอเชียนี้แห้งแล้ง เป็นมูลเหตุแห่งการย้ายถิ่นฐานในเวลาต่อมาในทางวรรณคดีนั้น เรียกแผ่นดินที่เรียงต่อกันเป็นพื้นเดียวว่า ชมพูทวีป”  

ดังนั้นการเรียกอินเดียในเวลาต่อมา ว่า ชมพูทวีปนั้น เป็นเพราะความเคยชินของชนชาติอารยัน  หาใช่อินเดียคือชมพูทวีปไม่  และคำนี้มักปรากฏในวรรคดี ของภาษาบาลีและสันสกฤต
สังคมและพระเป็นเจ้าในศาสนาฮินดูในยุคหลัง เป็นวิวัฒนาการที่ต่อเนื่องมาจากชนชาติอารยัน เข้ามายังดินแดนของชนพื้นเมืองของอินเดีย ซึ่งชนชาติอารยันมี วัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นแบบอย่างและ เป็นปฐมบรรพบุรุษของชนชาติกรีก อิหร่านและอินเดีย
ดังนั้นอินเดียโบราณ ที่พวกอารยันมีอิทธิพลนี้ คือแม่พิมพ์อันสำคัญซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนา มาเป็นศาสนาพราหมณ์ และฮินดู  ในลำดับต่อมา
คำว่าฮินดู และอินดุส นั้นแผลงมาจากคำว่า สินธุ หรือสินธู นั่นเอง
ที่มา   ธนเดช ธนเดชสวัสดิ์



วิชาแพทย์แผนโบราณของ ประเทศอินเดีย  เป็นศิลปวิทยาต่างๆ จากพราหมณ์

ชนชาติอารยันมีวิชาความรู้มาก นับถือพระเจ้าและเทวดา คำว่าอารยันมาจากคำว่าอารยะ แปละว่า เจริญ หรือผู้ดี  คัมภีร์ของอารยันได้แก่ฤคเวท ยชุรเวท สามะเวท  เรียกทั้งสามว่า ไตรเวท และมีอาถรรพ์เวทเป็นเวทที่ 4 


ในเวททั้ง 4 นี้มีวิชาความรู้ต่างๆ รวมไว้อยู่มาก ถ้าใครรู้พระเวททั้ง 4 ก็เป็นอันรู้วิชาหมดทุกอย่าง พระพุทธเจ้าก็ทรงรู้พระเวททั้ง 4 เมื่อครั้งเรียนกับอาฬารดาบสและอุทกดาบส เวทหนึ่งๆ ก็จะมีแยกย่อยออกเป็นอุปเวท โดยอยุรเวทนั้นเป็นอุปเวทของเวททั้ง 4 เพราะมีการกล่าววิชาแพทย์แทรกอยู่ในพระเวททั้ง 4 แต่มีอยู่มากใน ฤคเวท และ อาถรรพ์เวท  อายุรเวทเป็นอุปเวทที่ตั้งขึ้นใหม่เมื่อคราวรวบรวมวิชาแพทย์ในครั้งนั้น

            อายุรเวทมาจากคำว่าอายุ แปลว่าชีวิต เวทแปลว่าวิชา อายุรเวทก็คือวิชาที่ว่าด้วยชีวิต มิใช่เพียงแค่การตรวจโรค บำบัดโรค หรือมิใช่เพียงแต่รักษาโรคด้วยการใช้ยาอย่างที่เข้าใจกันเดี๋ยวนี้ แต่เป็นวิชาแพทย์ทั้งหมด ทั้งการป้องกันโรค การบำบัดโรค ทั้งทางยา ทางผ่าตัด การทำให้ชีวิตคนชีวิตสัตว์มีความสุขอายุยืน
การแพทย์ในช่วงพุทธกาล 
นับแต่แต่ก่อนพระพุทธเจ้า 377 ปี จนถึง พุทธศักราช843  เป็นยุคที่อินเดียเจริญมาก ในวิชาการแพทย์ ทั้งวิชาการและปฏิบัติการ

             ในสมัยพุทธกาล ปรากฎว่า พระพุทธศาสนาและวิชาแพทย์เจริญมากมีพุทธธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนากว้างขวางมาก คนสำคัญในยุตนี้มีมากเช่นนาคชุนนักเคมีตัวยง และหมอชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำองค์พระพุทธเจ้า
             ความสามารถของหมอชีวกโกมารภัจจ์ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการตรวจโรคของหมอโบราณว่ามีความแม่นยำมาก ถ้าไม่แม่นจริงจะผ่าหัวผ่าท้องคนโบราณไม่ได้ทั้งแสดงความรู้ความสามารถในการผ่าตัด
พระพุทธเจ้าทรงสนับสนุนให้ให้ภิกษุสงฆ์ เรียนวิชาแพทย์ในระบบอยุรเวท ด้วยเหตุผล 4ประการคือ

1.
 พระพุทธเจ้าทราบความจริงและประโยชน์ ของวิชาแพทย์ในระบบอายุรเวท ว่าเป็นวิชาที่สามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสรรพได้ตามสมควร เพราะจากการที่พระองค์ศึกษาพระเวทมาก่อนจากอาฬารดาบสและอุทกดาบสผู้เป็นอาจารย์ ทรงรอบรู้ในพระเวททั้ง 4ยั้น จะเห็นได้จากในสิกขาวินัยของพระก็มีเรื่องสุขวิทยาอนามัยอยู่มาก


2. พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ที่ขาดจากญาติพี่น้อง พ่อ แม่ ลูกเมีย ตัวคนเดียว เมื่อภิกษุใดเจ็บป่วย ภิกษุต้องบอกกล่าวกัน และต้องช่วยรักษาพยาบาลกัน  ผู้ใดช่วยเหลือผู้เจ็บไข้พระองค์ถือว่าเท่ากับได้ช่วยพระองค์ด้วย

3. ภิกษุต้องรู้วิชาแพทย์เพื่อป้องกันโรค บำบัดโรคให้แก่ตัวเอง เท่าที่สามารถทำได้ เช่นเมื่อไปเป็นพุทธธรรมเผยแพร่พระศาสนายังที่ต่างๆ

4. ภิกษุต้องใช้วิชาแพทย์ช่วยเหลือผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยที่พบเห็นและขอให้ช่วยเป็นการแผ่เมตตา กรุณา ปลูกศรัทธาให้เกิดแก่คนทั่วไป

                 ด้วยเหตุ 4 ประการนี้ของพระบรมศาสดาที่กล่าวมานั้น พระจึงเป็นหมอ และแต่โบราณมา ประชาชนทั้งหลายก็ได้อาศัยหมอพระ ไม่มีใครทำให้ด้วยน้ำใจอย่างพระ คนที่เป็นหมอชั้นหลังๆ ก็เรียนวิชาแพทย์จากพระ   การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ต้องอาศัยสงฆ์ผู้รู้ธรรมชั้นสูง สงฆ์ต้องมีกำลังใจกำลังกาย แข็งแรงปราศจากโรคและสามารถช่วยเหลือพยาบาลคนเจ็บไข้ได้ เป็นหลักที่พระบรมศาสดาและสาวกของพระองค์กระทำมาก่อน เรียกกันว่าพุทธธรรมทูติ ตรงกับหมอศาสนาหรือคณะมิชชันนารีของคริสธรรมซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง
 
การเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณผู้ใดจะเรียนต้องแสวงหาฤาษีหรืออาจารย์ที่มีความชำนาญในการแพทย์ เข้าฝากตัวเป็นศิษย์แล้วขอเล่าเรียน ต้องเข้ามาอยู่ในครอบครัวของอาจารย์ เมื่ออาจารย์เห็นควรก็รับ เห็นไม่ควรก็ไม่รับ เมื่อรับไว้แล้วก็จะดูนิสัยใจคอกันไปอีกนาน ถ้าควรให้วิชา ควรจะให้อะไรไม่ให้อะไร ศิษย์บางคนถึงกับต้องลาออกไปเอง ไม่ได้อะไรเลยหรือจะได้ก็เพียงการนวด ศิษย์ดีจริง ๆ เท่านั้นที่จะเรียนวิชาแพทย์ได้สำเร็จ ทำให้การเป็นหมอในสมัยโบราณเป็นการยากลำบากมาก    
  


ประเทศอินเดียหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 

   วิชาแพทย์แผนโบราณในระบบอายุรเวทของชาวอินเดียนี้ ชาวมุสลิมได้เอาไปประเทศอารเบียก่อนนานแล้ว และในปี พ.ศ.1243 พระเจ้ากาหลิบ ได้ทรงรับสั่งให้แปลตำราแพทย์อายุรเวทให้เป็นภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการแพทย์ในยุโรปในปัจจุบัน และในช่วงนี้ได้ถ่ายทอดตำราแพทย์นี้ไปถึง จีน กรุงโรม และ ขอม 

 และนับเป็นต้นเค้าวิชาแพทย์ของฝรั่งในยุโรปด้วย วิชาแพทย์ของเอเชียในระบบอายุรเวทยังไปถึงประเทศจีน อิหร่าน และกรุงโรม และในครั้งนั้นประเทศกัมพูชาก็ได้วิชาแพทย์นี้ไปและได้จัดตั้งอโรคยศาลาถึง 102 แห่ง          

ในปี พ.ศ. 1743 พวกมหมัดเข้าบุกรุกและยึดครองอินเดียเมืองสำคัญหลายเมืองถึงแก่ความพินาศ และฆ่าพระภิกษุสงฆ์ไปเสียมาก ที่รอดตายก็หนีไปตามเมืองต่างๆและอินเดียตอนใต้ หนีเข้าพม่าบ้าง ตำรับตำราถูกเผาทำลายเป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่นั้นมาศิลปะวิทยาการแพทย์ของอินเดียก็เสื่อมโทรมตามลำดับ
การที่ถูกปกครองด้วยชนชาวอาหรับ ทำให้เอกสารหลักฐาน ผู้คนและความรู้ที่มีอยู่ ถูกทำลาย 

ต่อมาอินเดียถูกอังกฤษยึดครอง และอังกฤษได้ เก็บทรัพย์สมบัติและตำรับตำรา หลักฐานต่าง ๆ ไปเป็นจำนวนมาก จากการยึดครองตำรา และเครื่องมือแพทย์ในยุคนั้น อังกฤษได้พบเครื่องมือผ่าตัดมากมายกว่า 100 ชิ้น ซึ่งเป็นเครื่องมือยุคของท่านชีวกโกมารภัจจ์ เครื่องมือต่างๆทำจากเหล็กอย่างดี มีความคม สามารถผ่าเส้นผมได้  เช่น มีดผ่าตัด เข็มเย็บแผล  เลื่อยตัดกระดูก เครื่องเจาะอวัยวะ  ขอเกี่ยว  หมุดหยั่ง ช้อนขูด เครื่องถ่าง ปากคีบ  หลอดฉีด  เครื่องสวน  ผ้าพันแผล 14 ชนิด เฝือกชนิดต่าง ๆ  ผ้าขี้ผึ้งปิดและรักษาแผลหลายชนิด  เป็นต้น อุปกรณ์ต่างๆที่พบ มีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างดีเยี่ยม

ในอาณาจักร แผ่นดินขอม  
เมื่อมีการถ่ายทอดตำรับตำรามาทำให้มีการศึกษาวิชาการแพทย์อย่างกว้างขวาง และ ในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้จัดตั้งอโรคยาศาลา  ได้เริ่มสร้างขึ้น มีทั้งหมด 102 แห่ง ทางบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และกำหนดผู้มีหน้าที่พยาบาลไว้ชัดเจน ได้แก่ แพทย์ ( หมอ ) พยาบาล เภสัช ผู้จดสถิติ  ผู้ปรุงอาหาร และยา  รวม 92 คน และมีพิธีกรรมบวงสรวง  พระคุรุไภสัชไวฑุรย์ประภา  ตามความเชื่อของทางศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน ซึ่งปัจจุบันที่คงเหลือให้เห็นถึงอโรคยาศาลา คือ หมู่บ้านเขวา จังหวัดมหาสารคาม ตามจารึกที่พบอธิบายถึงแนวคิดการสร้างอโรคยาศาลาของพระองค์ว่า โรคทางกายของประชาชน เป็นโรคทางใจที่เจ็บปวดยิ่งของพระมหากษัตริย์ ทุกข์ของประชาราษฎร์คือทุกข์ของพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงสร้างโรงพยาบาลขึ้นมาเพื่อบำบัดความทุกข์ของราษฎร

เส้นทางแพทย์อายุรเวทเข้าสู่ประเทศจีน
ในช่วงของความรุ่งเรือง จากหลักฐานบันทึกของนักศึกษาชาวจีนชื่อ ยวนจวง เดินทางไปศึกษา ในปีพ.ศ.1172-1187
 ที่มหาวิทยาลัยนาลันทะ มีชนชาติต่าง ๆ เข้าศึกษาถึง56 ชาติรวมถึงชาวยุโรปด้วย มีนักศึกษา 8,500 คนมีอาจารย์ 1,510 คน มีหมู่บ้านให้นักศึกษาพักอาศัย ถึง 100 ตำบลและเพิ่มเป็น 200 ตำบล ใน พ.ศ.1218


การแพทย์ในยุคต่าง ๆ ของไทย





สมัยสุโขทัย
จากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่บนเขาหลวง หรือเขาสรรพยา เพื่อให้ราษฎรได้เก็บสมุนไพรมาใช้ในยามเจ็บป่วย ปัจจุบันภูเขาดังกล่าวอยู่ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ในยุคนี้ศาสนาพุทธลัทธิหินยานมีบทบาทมาก การศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆ ล้วนอยู่ที่วัด เชื่อว่าพระภิกษุยุคนั้นมีความรู้รักษาตนเองด้วยด้วยสมุนไพร และยังได้ช่วยเหลือแนะนำประชาชนให้ดูแลตนเองได้


สมัยอยุธยา


สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีระบบการจัดหายาที่ชัดเจน สำหรับประชาชนมีแหล่งจำหน่ายยาสมุนไพรทั้งในและนอกกำแพงเมือง มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์

สมัยรัตนโกสินทร์

สมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้รวบรวมและจารึกตำรายาและฤาษีดัดตน ตำราการนวดไทยไว้ตาม ศาลาราย มีการจัดตั้งกรมหมอ ผู้รับราชการเรียกว่า หมอหลวง ส่วนหมอที่ ประชาชนทั่วไปเรียกว่า หมอราษฎร หรือหมอเชลยศักดิ์
สมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านาภาลัย
ในปี พ.ศ.   2359มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อว่า กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย
สมัยรัชกาลที่ 3.พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้ง โรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งแรก คือ ” วิทยาลัยการแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์ ”
มีการบันทึกตำรับยาต่างๆ บนหินอ่อนประดับไว้ตามผนังโบสถ์ ศาลา บนผนังเสาและกำแพงวิหารคดรอบเจดีย์สี่องค์ ณ พระเชตุพนวิมลมังคลารามและศาลาต่างๆ
จัดหาสมุนไพรที่ใช้ปรุงยา และหายากมาปลูกในวัดโพธิ์ เป็นจำนวนมาก
ทรงให้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่างๆ
สมัยรัชกาลที่ 4.พระบาทสมเด็จพระจุลเกล้าเจ้าอยู่หัว
นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้
สมัยรัชกาลที่ 5พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปี พ.ศ.  2431จัดตั้งศิริราชพยาบาล มีการเรียนการสอน การรักษา ทั้งการแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตกร่วมกัน

มีการพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับใช้ในโรงเรียนแพทย์ เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2438  ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม1-4  เป็นตำราแห่งชาติฉบับแรก
ต่อมาพระยาพิษณุประสาทเวช เห็นว่าตำรานี้ยากแก่ผู้ศึกษา จึงพิมพ์ตำราขึ้นใหม่ ได้แก่ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง 2 เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป(เวชศึกษา)
สมัยรัชกาลที่ 6พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปี พ.ศ.  2456  สั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทย
ปี พ.ศ.  2466  ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
สมัยรัชกาลที่ 7.พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตรากฎหมายเสนาบดี การประกอบโรคศิลปะออกเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความรู้จากตำราในหลักวิทยาศาสตร์ประเภทแผนโบราณ คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความรู้จากตำราหรือการเรียน สืบต่อกันมาไม่ได้ศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์
สมัยรัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
มีการตั้งกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นในปี พ.ศ.  2485 ซึ่งเป็นนโยบายเกี่ยวกับ สมุนไพรว่าจะจัดให้มีการตรวจค้นหาความรู้ ในเรื่องสรรพคุณยาสมุนไพรและยาอื่น ๆ ในประเทศ เพื่อนำมาดัดแปลงเป็นยาแผนตะวันตกและขยายการทำยาให้มากชนิดและ มีปริมาณมากขึ้น
สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระภูมิพลอดุลเดชมหาราช
ปี พ.ศ.  2500  จัดตั้งสมาคมของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณที่วัดโพธิ์
ปี พ.ศ.   2525 ก่อตั้งโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://samunpri-meedee.com
http://www.ttmed.psu.ac.th/read.php?71
http://www.samunpri.com/?page_id=235

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น