วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

[บทความ] ตะวันลับฟ้า...ที่เอโดะ

ตะวันลับฟ้า...ที่เอโดะ


ถ้านกทั้งหลายไม่ยอมร้องเพลง…ฉันจะฆ่ามันให้หมด (โนบูนะงะ)
ถ้านกทั้งหลายไม่ยอมร้องเพลง…ฉันจะสอนให้มันร้อง (ฮิเดโยชิ)
ถ้านกทั้งหลายไม่ยอมร้องเพลง…ฉันจะเฝ้ารอให้มันร้องเอง (อิเอยาสุ)

นี่คือคำบรรยายถึงลักษณะนิสัยของอดีตผู้ยิ่งใหญ่ของญีปุ่นในยุคที่ญี่ปุ่นมี โชกุน ซามูไร ไดเมียวได้เป็นอย่างดี

(รศ.เพ็ญศรี กาญจโนมัย)



โอดะ โนบุนะงะ เป็น ไดเมียว คนสำคัญใน ยุคเซงโงกุ ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

เมื่อโชกุน ตระกูลอะชิคะงะ" ถูกแย่งชิงอำนาจการปกครอง ทำให้บรรดาไดเมียวทั้งหลายที่ปกครองหัวเมืองต่าง ๆ พากันกระด้างกระเดื่อง ประกาศตั้งตนเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับการปกครองของโชกุนทำให้ญี่ปุ่นในยุคสมัยนั้นก้าวเข้าสู่สภาวะ สงครามกลางเมือง ของประเทศญี่ปุ่น
ในยุคเซงโงกุ โอดะ โนบุนะงะ ก้าวขึ้นมามีอำนาจเหนือสุด ในช่วงระหว่างสงคราม

โอดะ โนบุนะงะได้ผูกสัมพันธ์กับไดเมียวในตระกูลต่าง ๆ และยกกองกำลังของตนเข้าทำสงครามกับไดเมียวที่ไม่ยอมผูกสัมพันธ์ด้วย จนได้รับชัยชนะ ในปี ค.ศ. 1567

หลังจากได้รับการร้องขอจากองค์จักรพรรดิให้ช่วยคืนอำนาจการปกครองให้แก่พระองค์ โนบุนะงะยอมเข้าช่วยเหลือโดยการยกกองกำลังโจมตี เมืองหลวงขององค์จักรพรรดิ์ จับกุมตัวโชกุน อะชิคะงะ โยชิอากิ และบีบบังคับให้เป็นหุ่นเชิดของตนเอง ซึ่งจากความดีความชอบในครั้งนั้น ทำให้องค์จักรพรรดิพระราชทานรางวัลให้แก่โนบุนะงะ โดยแต่งตั้งให้เขาเป็น ไนไดจิน หรือเอกอัครมหาเสนาบดี มีอำนาจเป็นอย่างมาก โนบุนะงะเป็นไนไดจิน จนถึงปี ค.ศ. 1573 อะชิคะงะ โยชิอากิ คิดกระด้างกระเดื่อง ทรยศต่อโนบุนะงะ จึงถูกจับตัวมาลงโทษและขับไล่ออกจากเมืองหลวง เป็นอันสิ้นสุดอำนาจการปกครองของโชกุนตระกูล อะชิคะงะ ที่ปกครองประเทศญี่ปุ่นมายาวนานกว่า 200 ปี

ต่อมาภายหลังโอดะ โนบุนะงะ ถูกลอบสังหาร และเป็นยุคของโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ นายทหารคนสนิทของโนบุนะงะ เรืองอำนาจ เมื่อ ฮิเดโยชิ อสัญกรรมลง จึงเป็นความรุ่งเรืองของ โทะกุงะวะ อิเอยาสุ



ตระกูลโทะกุงะวะ เป็นตระกูลไดเมียวที่ทรงอำนาจของญี่ปุ่น โดยสืบเชื้อสายจากจักรพรรดิเซอิวะ ซึ่งจักรพรรดิเซอิวะ ทรงมาจากตระกูลฟุจิวะระ (ค.ศ.850-880) และสืบสายเลือดมาจากตระกูลมินะโมโตะ
ในภายหลัง โทะกุงะวะ อิเอยาสุ จึงมีสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 (พ.ศ. 2146) และตั้งบะคุฟุแห่งเอโดะขึ้นนับเป็น บะคุฟุ ต่อจาก มุโระมะชิ บะคุฟุ

โทะกุงะวะ อิเอยาสุ ถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1616 ที่ปราสาทซุนปุ อายุ 73 ปี หลังจากที่ถึงแก่อสัญกรรมแล้วโทะกุงะวะ อิเอยาสุ ได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้า มีชื่อว่า โทโช ไดงอนเง็น (Tōshō Daigongen) เป็นพระโพธิสัตว์ที่ลงมาโปรดสัตว์บนโลกมนุษย์ มีศาลเจ้าคือ ศาลเจ้านิกโกะ โทโช (Nikkō Tōshō-gū) ในจังหวัดโทะชิงิ (Toshigi) ในปัจจุบัน

และสกุลโทะกุงะวะ ก็สืบเชื้อสายโชกุนต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่งสิ้นสุดการปกครองของโชกุนในสมัยของโทะกุงะวะ โยชิโนบุ โชกุนคนสุดท้าย


โทะกุงะวะ อิเอยาสุ

นับได้ว่าตระกูลโทะกุงะวะ นั้นเป็นตระกูลที่ปกครองประเทศโดยรัฐบาลทหาร ส่วนตระกูลฟุจิวะระ ปกครองประเทศฝ่ายราชสำนักโดยการควบคุมจักรพรรดิ แม้สองตระกูลนี้จะสืบเชื้อสายเดียวกันแต่กลับเป็นอริกันตลอดเวลา เนื่องจากตระกูลโทะกุงะวะอยู่ฝ่ายโชกุน ส่วนตระกูลฟุจิวะระ เป็นฝ่ายจักรพรรดิ จนกระทั่งเกิดการปฏิรูปเมจิขึ้นใน ค.ศ. 1868 ตระกูลโทะกุงะวะสิ้นอำนาจเนื่องจากบะคุฟุถูกทำลาย แต่ในขณะเดียวกันอำนาจของฟุจิวะระก็ล่มสลายไปด้วย เนื่องจากราชสำนักได้ถูกล้มเลิกเปลี่ยนเป็นรัฐสภา

โทะกุงะวะ ได้สืบสายตระกูลเป็นโชกุน รวม 15 คน มีสตรีที่โด่งดังในตระกูล โทะกุงะวะ ในศตวรรษ ที่ 19 คือ เทนโชอิน


โทะกุงะวะ โยชิโนบุ

เทนโชอิน หรือที่รู้จักกันในนามว่า "อัตสึโกะ" เป็นภริยาของโชกุนโทะกุงะวะ อิเอซาดะ โชกุนลำดับที่ 13 ของ บะคุฟุโทะกุงะวะ
เทนโชอินเกิดที่แคว้นสัทสึมะ เป็นธิดา ผู้นำตระกูล อิไมสุมิ ชิมะสึ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูล ชิมะสึ เมื่อแรกเกิดนั้น บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้เธอว่า "คัตสึ"

ขณะมีอายุได้ 18 ปี ชิมะสึ นะริอะกิระ ไดเมียวแคว้นสัทสึมะได้รับเธอเป็นบุตรบุญธรรม พร้อมทั้งได้ตั้งชื่อเธอใหม่ว่า "อัตสึโกะ" เพื่อส่งตัวเธอไปยังปราสาทเอโดะ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะให้เธอเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างแคว้นสัทสึมะกับรัฐบาลโชกุนผ่านทางการแต่งงานกับโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ เมื่อมาถึงปราสาทเอโดะแล้ว เธอได้เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าชายโคะโนะเอะ ทะดะฮิโระ (ต่อมาท่านผู้นี้ได้ดำรงตำแหน่ง คัมปะกุ ในระหว่าง ค.ศ. 1862 - 1863) และได้รับชื่อใหม่ว่า "ฟุจิวะระ โนะ สุมิโกะ"

ฟุจิวะระ โนะ สุมิโกะ ได้แต่งงานกับโชกุน โทะกุงะวะ อิเอซาดะ อยู่ในตำแหน่งมิไดโดโกโระ หรือ มิไดโดโกโระ อัตสึโกะ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1858 (พ.ศ. 2401) โชกุน โทะกุงะวะ อิเอซาดะ ได้เสียชีวิตโดยที่มิได้มีบุตรด้วยกัน และผู้เป็นพ่อบุญธรรรมของเธอ ชึมะสึ นะริอะกิระ ก็ได้เสียชีวิตลงในปีเดียวกัน เธอจึงเข้าพิธีตัดผมตามประเพณีของ บะกุฟุ และได้รับนามใหม่ว่าว่า "เทนโชอิน" มีตำแหน่งเป็น โอมิไดโดโกโระ (ผู้ปกครองสูงสุดของฝ่ายใน)


ศาลเจ้าโทโชชุ

โชกุน โทะกุงะวะ อิเอโมชิ ซึ่งเป็นโชกุนลำดับที่ 14 ของตระกูล โทะกุงะวะ ได้เสกสมรสกับเจ้าหญิงคะสุโนะมิยะ พระธิดาในสมเด็จพระจักรพรรดินินโกะ กับท่าน คังเงียวอิน และเป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระจักรพรรดิโคเมอิ ตามนโยบายเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบะคุฟุ (รัฐบาลโชกุน) กับราชสำนัก

ทางแคว้นสัทสึมะได้ร้องขอให้ท่านเทนโชอินเดินทางกลับมาแคว้นสัทสึมะ แต่เทนโชอินปฏิเสธ ต่อมา โชกุน โทะกุงะวะ อิเอโมชิสิ้นชีวิต และ เจ้าหญิงคะสุโนะมิยะ มิไดโดโกโระ ได้เข้าพิธีตัดผมในพุทธศาสนาได้รับนามพระราชทานใหม่จากสมเด็จพระจักรพรรดิโคเมอิว่า "เซคังอิน" โทะกุงะวะ


ปราสาทนาโงย่าสร้างโดยโชกุน โทะกุงะวะ

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัย เอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจเพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนใน โดยเกิดสงครามโบะชิ ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ
รัฐบาลโชกุน โทะกุงะวะ ถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทะกุงะวะ โยชิโนบุ เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน

เทนโชอินได้ร่วมมือกับท่านเซคังอิน ช่วยเหลือในการเจรจาให้รัฐบาลบะคุฟุยอมจำนนต่อรัฐบาลของสมเด็จพระจักรพรรดิโดยสันติ


ศาลเจ้า Toshogu

เทนโชอินได้ใช้เวลาที่เหลือช่วงในบั้นปลายดูแลโทะกุงะวะ อิเอซะโตะ ผู้นำตระกูลโทะกุงะวะลำดับที่ 16 จนกระทั่งเสียชีวิตที่เมืองเอโดะ ขณะมีอายุได้ 48 ปี ร่างของเธอได้นำไปฝังไว้ที่วัดคันเอย์จิ ย่านอุเอโนะ เขตการปกครองพิเศษคันโต กรุงโตเกียว เคียงข้างกับร่างของโชกุนโทะกุงะวะ อิเอซาดะ ผู้เป็นสามี

เรื่องราวของสตรีท่านนี้ได้มีการนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง "เจ้าหญิงอัตสึ" โดยบรรษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งญี่ปุ่น (NHK) ในปี พ.ศ. 2551 โดยอาศัยเค้าโครงจากนิยายอิงชีวประวัติจริงชื่อ "เทโชอินอัตสึฮิเมะ"

(เพิ่มเติม) ส่วน โทะกุงะวะ โยชิโนบุได้รับการแต่งตั้ง เป็น ไดเมียวแห่งแคว้นชิสึโอกะ แต่ในอีกไม่กี่ปีต่อมาก็สูญเสียฐานะดังกล่าวไป เนื่องจากระบบแว่นแคว้นและระบบศักดินาแบบดั้งเดิมทั้งหมดถูกรัฐบาลเมจิยกเลิก
ในปี ค.ศ. 1902 จักรพรรดิเมจิได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โยชิโนบุตั้งตระกูลของตนขึ้นใหม่ในฐานะตระกูลสาขาของตระกูลโทะกุงะวะ โดยได้รับพระราชทานยศเจ้าขุนนางชั้นสูงสุดคือ ชั้นโคชะคุ (เทียบเท่ากับคำว่า Prince หรือเจ้าชายในภาษาอังกฤษ) เพื่อเป็นบำเหน็จแก่การรับใช้ชาติญี่ปุ่นด้วยความภักดีของ โยชิโนบุ

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
ภาพจาก อินเทอร์เนท


สุสานโทะกุงะวะ

ในบทละคร จะสื่อความที่ เจ้าหญิงอัตสึ สามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้เป็นอย่างดี สามารถดูแลรับผิดชอบตระกูล โทะกุงะวะ ซึ่งมีสมาชิกตระกูลมากมาย หลังย้ายออกจากปราสาทเอโดะ ต้องปรับเปลี่ยนความเป็นอยู่และการจัดการต่าง ๆ ในการดำรงตระกูล โทะกุงะวะ และยังคงความสำคัญของ เทนโชอิน สตรีที่ยิ่งใหญ่ของฝ่ายในไว้จวบสิ้นชีวิต

น่าประทับใจกับบทละครตอนจบ ที่ขอนำมาเล่าต่อ
เทนโชอินบอกว่า " ข้าจะถ่ายทอดเรื่องราวของ โทะกุงะวะ ซึ่งท่าน อิเอซาดะ ที่เสียไปได้พูดไว้ ให้ลูก ๆ หลาน ๆ ได้รู้ ข้าจึงมีชีวิตอยู่มาจนทุกวันนี้
ข้าจะสอนเขาว่า ความสุขของคนเรานั้นไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่ง ไม่ได้อยู่ที่ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินใด ๆ แต่มันอยู่ที่ความรู้สึกในอก อบอุ่นจากการมีเพื่อนที่รู่้ใจ และการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขร่วมกับครอบครัวต่างหาก
ขุนนางที่เข้ามาเยี่ยม ตอบว่า เพียงได้คุยกับท่านเทนโชอินอย่างนี้ รู้สึกมีกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งทุจริตการโกหกหลอกลวง และเรื่องน่าเบื่ออื่น ๆ อีกมากมาย
เทนโชอิน ตอบว่า โลกมันก็เป็นอย่างนี้เอง สวรรค์จึงบัญชาให้ทุกคนเกิดมาพร้อมกับหน้าที่ ซึ่งต้องทำให้สำเร็จเพื่อปรับปรุงโลกให้ดีขึ้น มันเป็นบัญชาสวรรค์
และแล้วผู้ซึ่งได้รับบัญชาจากสวรรค์มาทำหน้าที่บนโลกนี้ก็ได้กลับไปสวรรค์ ในวันที่ 20 เดือน 11 ปีเมจิที่ 6 ในขณะที่กำลังปักผ้าให้ทายาทใหม่ของตระกูลคนหนึ่ง

ในปลายสมัย บะคุฟุ โทะกุงะวะ ถึงสมัยเมจิ เมื่อประเทศญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างใหญ่หลวง มีสตรีคนหนึ่งได้เลือกดำเนินชีวิตไปตามเส้นทางที่ตัวเองเชื่อว่าเป็นสิ่งดีงาม ..เรื่องราวของ อัตสึ ผู้หญิงคนนั้น..


เจ้าหญิงอัตสึในบทละคร

เพิ่มเติม

มีบทความวิเคราะห์ ใน www.gotoknow.org
ถึงสาเหตุที่ทำให้ตระกูลโทะกุงะวะ ต้องสิ้นสุดอำนาจ การปกครองระบบโชกุน ใน ค.ศ. 1868 ดังนี้

ตระกูลโทะกุงะวะ ได้ปกครองญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1603 โชกุนคนแรกของตระกูลคือ โทะกุงะวะ อิเอยาสู เป็นบุคคลที่มีความสามารถเฉลียวฉลาด เป็นผู้วางโครงสร้างสังคมใหม่ของญี่ปุ่นให้มีความยั่งยืนถึง 265 ปี เป็นผู้ควบคุมการปกครอง ผูกขาดเศรษฐกิจ คือทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่สุดคือที่ดิน และ ทรัพยากรมนุษย์ และควบคุมระบบสังคม โดยไม่มีอภิสิทธิ์ชน
ตระกูลโทะกุงะวะ ได้กำหนดโครงสร้างการปกครอง ระเบียบแบบแผนสังคมไว้มากมาย แต่หารู้ไม่ว่า สิ่งที่ตนสร้างนั้นได้กลับมาทำร้ายทำลายตนเองในภายหลัง

สามารถจำแนกสาเหตุแห่งความเสื่อมของโทะกุงะวะ ได้ดังนี้
1. การครอบครองทรัพยากรในแผ่นดิน ตระกูล โทะกุงะวะ ได้ผูกขาดและเป็นเจ้าของที่ดินกว่าครึ่งของญี่ปุ่นที่มีการผลิตข้าว ควบคุมพื้นที่เพาะปลูกที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ เชื่อว่า ที่ดินคือพื้นฐานอำนาจสำคัญของกองทัพ คืออำนาจอันชอบธรรม นอกจากนั้นยังได้พัฒนาและควบคุมการค้าภายในประเทศและพ่อค้า รวมถึงกิจกรรมพาณิชย์และการค้าระหว่าประเทศและการเดินเรือ

2. การปกครอง มีการกำหนดคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐ มีหน้าที่รับผิดชอบนโยบายโดยทั่วไปและเจ้าขุนนางตลอดจนทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแก่โชกุนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและเป็นทั้งผู้บริหารราชการแผ่นดิน มีการตั้งคณะรองที่ปรึกษา มีการแบ่งหน้าที่เช่น บริหารราชการ ควบคุมกรมกองต่าง ๆ ของส่วนกลาง เช่น กรมนครบาล กรมสังฆการี กรมตรวจราชการ และการบริหารราชการตุลาการ ขุนนางที่เข้ามาทำงานคือคนที่ถูกเลือกจากโทะกุงะวะ
ในกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงผนวกกับวัฒนธรรมตะวันตกที่ถาโถมเข้ามาในประเทศไป ทำให้ระบบการปรกครองแบบ โทะกุงะวะ ล้าหลัง ผู้นำไม่มีความสามารถในการปกครองประเทศ ไม่สามารถรู้เท่าทันกับสภาพเหตุการณ์ที่เป็นภัยคุมคามที่ตนกำลังประสบ

3. ระบบการตรวจสอบและการควบคุมขุนนาง ตระกูล โทะกุงะวะ มีระบบการตรวสอบขุนนางและการคานอำนาจขุนนางอย่างเข็มงวดเพื่อเป็นการบั่นทอนกำลังและทรัพยากรของขุนนางมิให้ตั่งตัวจนไม่สามารถสร้างฐานอำนาจของตนจนไปถึงการก่อกบฏ เช่น ขุนนางทุกคนจะต้องปฏิญาณตนแสดงความจงรักภักดีต่อระบบ โทะกุงะวะ คนที่จะเป็นขุนนางจะต้องมีความใกล้ชิดกับสายตระกูล โทะกุงะวะ ขุนนางจะต้องมีปราสาทเป็นของตนเอง ต้องมีงบประมาณบำรุงปราสาทและบริวารของตนเพื่อรักษาฐานะและเกียรติ์ ห้ามซ่อมแซมปราสาทก่อนได้รับอนุญาต, มีการกำหนดการเข้าเวร ขุนนางจะต้องเข้ามาแสดงความจงรักภักดีต่อโทะกุงะวะ ที่ เอโด ปีละ 1 ครั้ง ครั้งละ 4 เดือน, มีระบบตำรวจลับเพื่อตรวจสอบข้าราชการ, ขุนนางถูกเกณฑ์กำลัง ทรัพย์สินเงินทอง เพื่อนำไปซ่อมบำรุงปราสาทราชวังและวัด เป็นจำนวนคราวละมาก ๆ, ไม่กำหนดหน้าที่ให้แก่ข้าราชการเด่นชัด ทำให้ข้าราชการไม่สามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ ได้
เมื่อต้องประสบกับการถูกควบคุมอย่างเข็มงวด ซามูไรและขุนนางที่เคยมีอำนาจก็รวมตัวกันเรียกร้องให้มีการปฏิรูปล้มล้างระบบศักดินาสวามิภักดิ์ และต่อต้านรัฐบาลที่รวมอำนาจไว้ในมือแต่เพียงผู้เดียว การที่ขุนนางและซามูไรซึ่งเป็นขั้วอำนาจเก่าแข็งข้อต่อต้านต่อระบบการปกครองแบบ โทะกุงะวะ นั้นมีผลต่อระบบโทะกุงะวะ โดยตรง

4. การควบคุมสถาบันกษัตริย์ โทะกุงะวะ ถวายพระเกียรติแด่องศ์พระจักรพรรดิอย่างสูง จักรพรรดิต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่โทะกุงะวะ วางไว้อย่างเคร่งครัด ข้าราชการในราชสำนักต้องปฏิบัติตนและสวามิภักดิ์ต่อ โทะกุงะวะ เท่านั้น

การที่พระราชอำนาจของจักรพรรดิโดนควบคุมได้กลายมาเป็นข้ออ้างของเหล่าอำนาจเก่าที่คิดจะโค้นล้างอำนาจโทะกุงะวะ ในภายหลัง โดยมีข้อกล่าวหาที่ว่า โทะกุงะวะ ละเมิดพระราชอำนาจ การปฏิวัติเป็นไปเพื่อถวายพระอาจอำนาจคือพระจักรพรรดิ

5. การควบคุมทางสังคม สังคมญี่ปุ่นในระบบ โทะกุงะวะ จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชนชั้นได้ ทุกคนชนชั้นต้องปฏิบัติตามยศถาบรรดาศักดิ์ลำดับชั้นในสังคมโดยยึดถือตามคติขงจื้อ เมื่อกระแสธารวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาในประเทศมากจนสามารถสกัดกั้นได้ ระบบ โทะกุงะวะ จึงสั่นคลอน



เจ้าหญิงอัตสึ


6. เศรษฐกิจ สภาพบ้านเมืองในสมัย โทะกุงะวะ มีความสงบสุขถึง 265 ปี ทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้น ผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น เป็นการเกษตรเพื่อการค้า มีการจัดสรรที่ดิน พื้นที่การเพาะปลูก เศรษฐกิจที่ดีนั้นมีส่วนสำคัญมาจากระบบการเข้าเวรของขุนนางที่ต้องเดินทางไปแสดงความจงรักภักดีที่เอโดะ รายทางของเส้นทางคมนาคมเกิดการขยายตัวทางการค้า มีการจับจ่ายใช้เงินเป็นจำนวนมากของเหล่าขุนนางเพื่อรักษาเกียรติยศและศักดิ์ศรีและคณะผู้ติดตาม ซึ่งก็เป็นไปตามจุดประสงค์ของโทะกุงะวะ ที่ไม่ต้องการให้เจ้าขุนนางและเหล่าซามูไรลืมตาอ้าปากได้ การจับจ่ายอย่างฟุ่มเฟือยนี่เองที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศพังยับ เมื่อใช้จ่ายจนไม่เหลือเงินทอง เหล่าเจ้าขุนนางและซามูไรก็ไปกู้นี้ยืมสินเป็นจำนวนมหาศาลจากพ่อค้า มากจนไม่สามารถชดใช้หนี้สินได้ พ่อค้าถูกบังคับให้ปล่อยเงินกู้ แล้วมักจะไม่ค่อยได้คืน ส่งผลให้ระบบการเงินของประเทศกระทบกระเทือน รัฐจึงต้องขึ้นภาษีจากชาวนาอย่างหนัก เก็บค้าธรรมเนียมยิบย้อยจากพ่อค้า เมื่ออับจนหนทางรัฐได้ใช้วิธีผลิตเงินเหรียญโดยการผสมแร่ทองคำผิดสัดส่วนจนเงินตราขาดคุณค่าเป็นจริง เคราะห์ซ้ำกรรมซัดภัยธรรมชาติได้ซ้ำเติมให้ญี่ปุ่นตกอยู่ฐานะลำบากหนัก พืชพรรณธัญญาหารเสียหาย ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภค สินค้าสูงจนประชาชนไม่สามารถชื้อได้ ขาดแคลนปัจจัย 4 ผู้คนอดอยาก ถึงกระนั้นเจ้าขุนนาง ซามูไร ชนชั้นสูงก็ยังไม่เลิกนิสัยฟุ่มเฟือยช่วยกันสร้างหนี้สินให้กับตนเองและประเทศไม่หยุดหย่อน จนไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อีกต่อไป

ระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบทุนนิยมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชนชั้นทางสังคม ชนนั้นพ่อค้า เจ้าของที่ดินร่ำรวยขึ้น ในขณะที่ชนชั้นขุนนาง ซามูไร และชาวนายากจนลง ระบบชนชั้นที่เคยเคร่งครัดในอดีตที่ไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างง่ายดายได้ค่อย ๆ หมดความศักดิ์สิทธิ์ลง เกียรติ์และศักดิ์ศรีซามูไรตกต่ำไร้ศักดิ์ศรี เงินมีค่ามากกว่าดาบ เปลี่ยนอาชีพจากซามูไรไปทำการค้า,การเกษตร พ่อค้าที่เคยถูกเหยียดหยามตามคตินิยมขงจื้อเดิมกลับมีความหมายมากขึ้น มีอำนาจต่อรองทางการเมืองมากขึ้นและเป็นที่พึ่งทางการเงินที่สำคัญของซามูไรและขุนนาง ชาวไร่ชาวนาทิ้งไร่ทิ้งนาหลังไหลเข้าสู่ตัวเมือง เจ้าขุนนางตามแว่นแคว้นต่างเริ่มหันหลังให้ระบบโตกูงาวา พัฒนากำลังทหารท้าทายอำนาจรัฐ

ความเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมากจากเศรษฐกิจนี้เป็นอันตรายต่อระบบโทะกุงะวะ อย่างร้ายแรงจน โทะกุงะวะ ไม่สามารถยับยั้งได้ และเมื่อรวมกับระบบการปกครองอันล้าหลัง จำทำให้ประเทศไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

7. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โทะกุงะวะ มีอคติต่อชาวตะวันตกและศาสนาคริสต์ซึ่งถือว่าเป็นภัยต่อญี่ปุ่นและรัฐบาลโทะกุงะวะ โดยตรง รัฐบาลโทะกุงะวะ มีนโยบายโดดเดี่ยว คนในห้ามออกคนนอกห้ามเข้า ห้ามต่อเรือขนาดใหญ่เดินทางค้าขายระหว่างประเทศ ส่วนการค้าระหว่างประเทศมีลักษณะแบบผูกขาดมีการกำหนดเมืองท่า นางาซากิ เป็นเมืองท่าค้าขายเดียวไว้ค้าขายกับประเทศจีนและฮอลันดาเท่านั้น จากการผูกขาด

เมื่อชาติตะวันตกที่เข้าไปค้าขายกับจีนได้เลงเห็นว่า ญี่ปุ่นมีความสำคัญไม่ว่าจะเป็นที่เหมาะสมในการจอดพักเรือ เติมเชื้อเพลิง เติมเสบียง จึงเป็นแรงกระตุ้นเรียกร้องให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือการที่ญี่ปุ่นใช้ระบบผูกขาดทางการค้านั้นได้สร้างความไม่พอใจให้กับชาติมหาอำนาจตะวันตกเป็นอย่างมาก ดังนั้นสหรัฐอเมริกาจึงเป็นตัวตั้งตัวตีให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ จนมีการทำสงครามระหว่างกันและได้นำไปสู่การทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและจำต้องเปิดประเทศในที่สุด

เหล่าบรรดาขุนนางและประชาชนไม่พอใจอย่างยิ่งที่รัฐบาลโทะกุงะวะ โอนอ่อนผ่อนตามชาติตะวันตกจนรู้สึกอับอายขายหน้า ได้เกิดขบวนการต่อต้านตะวันตกและต่อต้านรัฐบาลโทะกุงะวะ ไปทั่วประเทศพร้อม ๆ กัน จนทำให้ระบบโทะกุงะวะ ต้องสั่นคลอน

8. ขบวนการต่อต่านรัฐบาล เมื่อบ้านเมืองประสบปัญหากับเศรษฐกิจตกต่อ ภัยคุกความจากมหาอำนาจตะวันตก ขวบการการเคลื่อนไหวของเหล่าซามูไรก็ได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแคว้นจากเจ้าขุนนางวงนอก โดยถือว่ารัฐบาลโทะกุงะวะ ไม่มีความสามารถในการบริหารประเทศและสิ้นสุดความชอบธรรมในการปกครอง โชกุนต้องถวายอำนาจคือพระจักรพรรดิ ขบวนการนี้ได้รับความนิยมนี้ไปทั่วประเทศเนื่องจากกว่าได้อ้างว่ากระทำเพื่อจักรพรรดิ มืได้กระทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน
ขบวนการต่อต้านรัฐบาลที่นำโดยเจ้าขุนนาง ซามูไร ที่นำโดยแคว้นสัตสึมา โชชูและโตชา ได้นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจโชกุนแห่งตระกูลโทะกุงะวะ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1867

ตระกูลโทะกุงะวะ ไม่อาจต้านทานต่อกระแสเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารประเทศได้อีกต่อไปจึงยอมสละอำนาจและถวายคืนอำนาจพระจักรพรรดิ ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการปกครองระบอบโชกุนที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษ 12 ต่อจากนี้ไป ผู้ที่เข้ามารับอาสาแก้ไขปัญหาประเทศต้องทำงานอย่างหนัก รัฐบาลที่นำโดยกลุ่มคณะเมจิจะต้องฟื้นฟูประเทศไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหาต่างประเทศโดยเฉพาะสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ทำกับต่างชาติ นับตั่งแต่ปี ค.ศ. 1688 เป็นต้นไปประเทศญี่ปุ่นในสมัยนี้จึงถูกเรียกว่าสมัย “เมจิ”

บทความนี้เขียนโดย คุณวาทิน ศานติ์สันติ

จากบทละครสื่อว่า บรรดาซามูไร และขุนนาง ที่เข้ายึดอำนาจของโชกุน โทะกุงะวะ ค่อย ๆ ทยอย ล้มหายตายจากไปทีละคนตามกฎแห่งกรรม แกนนำสำคัญที่ยึดมั่นอุดมการณ์ถูกฆ่าตายอีกทอดหนึ่งหลายคน

ดวงอาทิตย์อุทัย ในไม่ช้า ก็ลาลับขอบฟ้าไป และหมุนเวียนส่องแสงใหม่ในวันถัดไป... แต่ตระกูล โทะกุงะวะ ไม่อาจเป็นอาทิตย์อุทัย ในวันถัดไปที่เอโดะได้อีกต่อไป ตระกูล โทะกุงะวะ ได้ถึงที่สัจธรรม ตามพระไตรลักษณ์ คือ
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวง คงอยู่ไม่ได้
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นตัวตน
แม้แต่ตัวปราสาทเอโดะ เอง ก็เสียหายจากระเบิดของสงครามโลกครั้งที่สอง ต้องมีการซ่อมแซมใหม่

ขออภัย กับการเขียนชื่อภาษาญี่ปุ่น ที่สับสนกัน เช่น โทะกุงะวะ ควรใช้คู่ กับ อิเอะยะสุ ถ้าแก้ไขก็มีที่แก้ไขมากมาย บทความก็เลยเป็นลักษณะเขียนชื่อแบบหัวมังกุท้ายมังกร ซึ่งมีหลายชื่อในบทความอันต่อเนื่องกันมานี้ ขออภัยมาณ ที่นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น