วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

[บทความ] ราชธานี....กรุงศรีอยุธยา

ราชธานี.. กรุงศรีอยุธยา



ประเทศไทยเริ่มนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยก่อนหน้านั้นไทยยังไม่เป็นราชอาณาจักรที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยชัดเจนนับตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์ ในปีพ.ศ.1792 ถึงรัชกาลที่ 9 ในราชวงศ์จักรี ปัจจุบัน พ.ศ. 2554 รวมนับได้ 762 ปี ไทยมีราชธานี 4 ราชธานี
สมัยสุโขทัย 120 ปี (เหลื่อมทับสมัยอยุธยา 27ปี)"
สมัยอยุธยา 417 ปี
สมัยกรุงธนบุรี 15 ปี (รวมเวลาว่างเว้นกษัตริย์ระหว่างการกู้ชาติ 1ปี)
สมัยรัตนโกสินทร์ 229 ปี (นับถึงปัจจุบัน)



มีราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์ปกครอง 8 ราชวงศ์
1. ราชวงศ์พระร่วง (อาณาจักรสุโขทัย)120 ปี มีพระมหากษัตริย์ 9 พระองค์
2.ราชวงศ์อู่ทอง (อาณาจักรอยุธยา ) (2ครั้ง) 41 ปี มีพระมหากษัตริย์ 3 พระองค์
3.ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (อาณาจักรอยุธยา ) 178 ปี มีพระมหากษัตริย์ 13 พระองค์
4.ราชวงศ์สุโขทัย (อาณาจักรอยุธยา ) 61 ปี มีพระมหากษัตริย์ 7 พระองค์
5.ราชวงศ์ปราสาททอง (อาณาจักรอยุธยา 58 ปี มีพระมหากษัตริย์ 4 พระองค์
6.ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (อาณาจักรอยุธยา ) 79ปี มีพระมหากษัตริย์ 6 พระองค์ค์
7.ราชวงศ์ธนบุรี (อาณาจักรธนบุรี ) 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ 1 พระองค์
8.พระมหาจักรีวงศ์ (กรุงรัตนโกสินทร์ 229 ปี มีพระมหากษัตริย์ 9 พระองค์
(ทั้งนี้ไม่นับขุนวรวงศาธิราช สมัยอยุธยา )



พระเจ้าอู่ทอง ปฐมบรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1893 เป็นสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 1 ครองราชย์สมบัติ 20 ปี
ความเป็นมาของพระองค์ ก่อนสถาปนาราชธานี ตามข้อสันนิษฐาน หลักฐานและโบราณดคี ลายแทงอักษร พงศาวดารเขมร จดหมายเหตุชาวต่างชาติ มีด้วยกันหลายแนวความคิด




เช่น
1.พระเจ้าอู่ทองมาจากอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแนวความคิดของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ แต่ในปัจจุบันแนวความคิดนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเนื่องจากการสำรวจหลักฐานทางโบราณคดี
สรุปว่าเมืองอู่ทองโบราณนี้ร้างไปแล้วเป็นเวลาถึง 300 ปีก่อนยุคของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

2.สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มผู้ปกครองทางเหนือ ในตำนานสิงหนวัติกล่าวว่า พระเจ้าอู่ทองสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าพรหมกุมาร มีต้นวงศ์อยู่ที่เมืองเชียงแสนหรือแคว้นโยนกนคร ต่อมาพระเจ้าพรหมได้อพยพมาสร้างเมืองที่เชียงรายหรือเวียงไชยปราการ

3.พระเจ้าอู่ทองมาจากเมืองเพชรบุรี(พริบพรี) ที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุลาลูแบร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ยังมีตำนานที่กล่าวอ้างอิงถึงอยู่บ้าง โดยกล่าวว่า สมเด็จพระบรมราชาสถาปนาพระพุทธไตรรัตนนายกได้ 1 ปีก็เสด็จออกผนวช แล้วสถาปนาเจ้าชายวรเชษฐ์ ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ครั้นลาสิกขาแล้ว ก็โปรดให้เจ้าชายวรเชษฐ์ไปครองเมืองเพชรบุรี ซึ่งตำนานระบุว่าต่อมาคือสมเด็จพระรามาธบดีที่ 1

4.พระเจ้าอู่ทองอยู่ที่บริเวณอยุธยานี้เดิมอยู่แล้ว เดิมเป็นเจ้าเมืองอโยธยา เมื่อมีโรคระบาดดังกล่าวก็ได้เสด็จมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณที่เป็นกรุงศรีอยุธยาในปัจจุบัน

5.พระเจ้าอู่ทองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองลพบุรี โดยอ้างหลักฐานทางลายลักษณ์อักษรจากชินกาลมาลีปกรณ์ ที่กล่าวถึงกษัตริย์จากเมืองอโยธยปุระเสด็จมาจากเมืองกัมโพชหรือลพบุรี มายึดเมืองชัยนาท แล้วตั้งขุนนางชื่อวัฏเดชหรือขุนหลวงพะงั่วครองเมืองสุพรรณภูมิ ญาติของวัฏเดชได้อภิเษกกับพระเจ้าอู่ทองแล้วพระองค์ก็ได้เสด็จกลับไปที่เมืองอโยธยปุระ

6.อยพหนีการกบฎของทาสชาวเขมรมาจากนครวัด โดยหัวหน้าทาสที่ก่อการกบฎมีนามว่า แตงหวาน (ตระซก ประแอม) ซึ่งพงศาวดารเขมรฉบับแรกสุด ก็อ้างว่าตระซกประเอมนี้คือบรรพบุรุษต้นกำเนิดของชาวเขมร การที่ชินกาลมาลีปกรณ์แห่งล้านนาบันทึกว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากแคว้นกัมโพช ก็ตรงกันว่า แม้อพยพมาอยู่อยุธยาก็ยังคงเป็นกษัตริย์ของกัมโพช (นครวัด) ดังเดิม




ในรัชสมัยของพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างวัดวัดพุทไธสวรรย์ เมื่อปี พ.ศ. 1876 วัดป่าแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 1900 วัดพระราม เมื่อปี พ.ศ. 1912 เมื่อสวรรรคต พระราชโอรสองค์โต คือพระราเมศวร ทรงสืบราชสมบัติพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 เมื่อพระชนม์ 27 พรรษา

พระราเมศวร พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2
เนื่องจากทรงมีพระมารดาเป็นพระขนิษฐาของขุนหลวงพะงั่ว ทรงครองราชสมบัติได้เพียงปีเดียว ขุนหลวงพะงั่วพระมาตุลาในพระองค์ทรงยกกองทัพมาจากเมืองสุพรรณบุรีประชิดกรุงศรีอยุธยา พระองค์จึงถวายราชสมบัติให้พระมาตุลาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา และโปรดให้พระราเมศวร ไปครองเมืองลพบุรี อันเป็นเมืองที่มีฐานะเป็น
เมืองลูกหลวงและเป็นเมืองหน้าด่าน



สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3

เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1931 พระเจ้าทองลันพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

สมเด็จพระเจ้าทองลัน พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4
สมเด็จพระเจ้าทองลัน หรือ สมเด็จพระเจ้าทองจันทร์ หรือ เจ้าทองลัน หรือ เจ้าทองลั่น หรือ เจ้าทองจันทร์ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะที่มีพระชนมายุ 15 พรรษา ทรงครองราชย์ได้เพียง 7 วัน สมเด็จพระราเมศวรได้ยกพลมาแต่เมืองลพบุรีและขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่ 2 เมื่อมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และให้สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าทองลัน สมเด็จเจ้าทองลัน ถือว่าเป็นพระมหากษัตริย์ในประวัติศาสตร์ไทยที่มีระยะเวลาครองราชย์น้อยที่สุดเพียงแค่ 7 วัน
สมเด็จพระราเมศวรเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1938 ทรงครองราชสมบัติรวม 2 ครั้งเป็นระยะเวลา 8 ปี โดยสมเด็จพระรามราชาธิราช พระราชโอรสของพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติต่อ



สมเด็จพระรามราชาธิราช พระมหากษัตริย์พระองค์ ที่ 5 แห่งกรุงศรีอยุธยา
ระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์นั้น บ้านเมืองเป็นปกติสุขดี พระองค์ได้ทรงส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ. 1940 และก็ได้ส่งทูตแลกเปลี่ยนสัมพันธไมตรีอยู่เสมอในระยะต่อ ๆ มา สมเด็จพระรามราชาธิราชพยายามที่จะขยายอำนาจไปยังอาณาจักรล้านนา แต่ไม่เป็นผล ทางอาณาจักรสุโขทัยก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจ นอกจากนี้ พระองค์ยังไม่ไว้วางพระทัยเจ้านครอินทร์ พระราชนัดดาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ซึ่งทางพระเจ้ากรุงจีนให้ความสนิทสนม อีกทั้งยังยกย่องว่าเป็นกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง
ในปลายรัชสมัยของพระองค์ พระองค์เกิดมีข้อพิพาทกับเจ้าพระยามหาเสนาบดี ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีและเป็นผู้บังคับบัญชาทหาร เจ้าพระยามหาเสนาบดีได้หนีไปอยู่ฟากปทาคูจาม แล้วได้ร่วมกับเจ้านครอินทร์ ยกกำลังจากเมืองสุพรรณบุรีมายึดกรุงศรีอยุธยา แล้วทูลเชิญเจ้านครอินทร์ขึ้นครองราชย์กรุงศรีอยุธยา ส่วนสมเด็จพระรามราชาธิราชได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปครองเมืองปทาคูจาม พระองค์ทรงครองกรุงศรีอยุธยาได้ 15 ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อปีใดไม่ปรากฏ

สมเด็จพระอินทราชา พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6

สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีนครินทราธิราช หรือ สมเด็จพระนครินทราธิราชเป็นพระราชโอรสในเจ้าเมืองสุพรรณบุรีและเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 1952
ทรงครองราชย์ได้ 15 ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 1967 ในครั้งนั้นเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยาพระราชโอรสของพระองค์ต่างยกพลเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อหมายในราชสมบัติ จึงเกิดการชนช้างกันขึ้น ณ สะพานป่าถ่าน จนสิ้นพระชนม์ทั้ง 2 พระองค์ เป็นเหตุให้เจ้าสามพระยาพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ได้ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา โดยมีพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2

เจ้านครอินทร์เคยเสด็จไปเมืองจีนในปี พ.ศ. 1920 เมื่อครั้งยังครองเมืองสุพรรณบุรี พระเจ้ากรุงจีน (จักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง)ให้ความสนิทสนม อีกทั้งยังยกย่องว่าเป็นกษัตริย์อีกองค์หนึ่ง โดยจดหมายเหตุทางจีนออกพระนามพระองค์ว่า "เจียวลกควนอิน" ซึ่งมาจากพระนาม เจ้านครอินทร์
หลังจากที่ขึ้นครองราชย์ พระองค์และพระเจ้ากรุงจีนได้แต่งราชทูตเพื่อเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างกันอีกหลายครั้ง โดยจดหมายเหตุจีนออกพระนามพระองค์หลังขึ้นครองราชสมบัติแล้วว่า "เจียวลกควนอินตอล่อทีล่า" ซึ่งมาจากพระนาม เจ้านครอินทราธิราช



สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ องค์ ที่ 7

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 คือเจ้าสามพระยาพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของสมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) เป็นพระมหากษัตริย์ องค์ ที่ 7 แห่งกรุศรีอยุธยา มีพระนามเดิมว่า เจ้าสามพระยา พระองค์ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปปกครองชัยนาท ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญทางเหนือและได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไท) แห่งกรุงสุโขทัย

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรือ สมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนาถบพิตร มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระราเมศวร ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชสมภพที่อยุธยา แต่เติบโตและมีชีวิตในวัยเยาว์ที่พิษณุโลก พระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลานานที่สุดในบรรดากษัตริย์อยุธยา คือ 40 ปี ทรงเป็นพระโอรสในพระเจ้าสามพระยาและก็ยังเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระอินทราชา มีพระราชมารดาเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง

ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย
ภาพจาก อินเทอร์เนท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น